กรณีศึกษา เจ้าของนันยาง ทำไมถึงมาทำ บริษัทผงชูรส
17 ต.ค. 2023
กรณีศึกษา เจ้าของนันยาง ทำไมถึงมาทำ บริษัทผงชูรส | BrandCase
คนที่ปั้นแบรนด์รองเท้านันยางขึ้นมา คือ คุณวิชัย ซอโสตถิกุล
ตระกูลซอโสตถิกุล ยังเป็นเจ้าของอีกหลายธุรกิจใหญ่ในไทย ซึ่งอีกธุรกิจที่น่าสนใจ คือ บริษัท ไทยชูรส จำกัด ที่ทำผงชูรส ตราชฎาและตราถ้วยไทย
ตระกูลซอโสตถิกุล ยังเป็นเจ้าของอีกหลายธุรกิจใหญ่ในไทย ซึ่งอีกธุรกิจที่น่าสนใจ คือ บริษัท ไทยชูรส จำกัด ที่ทำผงชูรส ตราชฎาและตราถ้วยไทย
คุณวิชัย ซอโสตถิกุล ก่อตั้งแบรนด์นันยางในปี 2496
แล้วมาก่อตั้ง ไทยชูรส เจ้าของผงชูรส ตราชฎา ในปี 2501
แล้วมาก่อตั้ง ไทยชูรส เจ้าของผงชูรส ตราชฎา ในปี 2501
ทั้ง 2 ธุรกิจนี้ดูไม่ค่อยจะมีอะไรเกี่ยวข้องกัน
แล้วเจ้าของรองเท้านันยาง มาทำบริษัทผงชูรส ได้อย่างไร ?
BrandCase สรุปให้ แบบเข้าใจง่าย ๆ
แล้วเจ้าของรองเท้านันยาง มาทำบริษัทผงชูรส ได้อย่างไร ?
BrandCase สรุปให้ แบบเข้าใจง่าย ๆ
จุดเริ่มต้นของนันยาง เกิดจาก ซู ถิง ฟาง
หรือก็คือ คุณวิชัย ซอโสตถิกุล เด็กหนุ่มวัย 15 ปี จากประเทศจีน ที่เดินทางมาทำงานขายเหล็กในไทย เมื่อปี 2460
หรือก็คือ คุณวิชัย ซอโสตถิกุล เด็กหนุ่มวัย 15 ปี จากประเทศจีน ที่เดินทางมาทำงานขายเหล็กในไทย เมื่อปี 2460
แรก ๆ ก็ทำงานเป็นลูกจ้าง ต่อมาตอนอายุ 33 ปี ก็เริ่มขยับขยายมาทำกิจการเป็นของตัวเอง
และได้ก่อตั้ง บริษัท วัฒนสินพาณิชย์ จำกัด ขึ้นมา เพื่อทำธุรกิจนำเข้าและส่งออก
และได้ก่อตั้ง บริษัท วัฒนสินพาณิชย์ จำกัด ขึ้นมา เพื่อทำธุรกิจนำเข้าและส่งออก
โดยมีสินค้าชูโรงที่ได้รับความนิยมอย่างมาก คือ รองเท้าผ้า พื้นยางสีน้ำตาล ก่อนที่ต่อมาจะต่อยอดจากแค่นำเข้ามาขาย เป็นสร้างโรงงานเป็นของตัวเอง
และผลิตรองเท้าผ้าใบแบรนด์ นันยาง
และผลิตรองเท้าผ้าใบแบรนด์ นันยาง
ปัจจุบัน รองเท้าแบรนด์นันยาง ครองส่วนแบ่งกว่า 43% ในตลาดรองเท้านักเรียน และมีรายได้หลักพันล้านบาทต่อปี
แล้วธุรกิจผงชูรส ตราชฎา ของคุณวิชัย เกิดขึ้นตอนไหน ?
ก็ต้องบอกก่อนว่า ในช่วงที่คุณวิชัยทำธุรกิจนำเข้า-ส่งออกนั้น เขามีโอกาสได้ทำธุรกิจกับชาวต่างชาติบ่อย ๆ ทำให้ได้พบปะกับเจ้าของกิจการมากมาย ที่เข้ามาทำธุรกิจในไทย
จนกระทั่ง ได้เจอธุรกิจที่น่าสนใจอย่างหนึ่ง คือ ธุรกิจผงชูรส ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีคู่แข่งน้อยมากในเมืองไทยสมัยนั้น
คุณวิชัยในวัย 56 ปี ที่เห็นโอกาสการเติบโตในธุรกิจนี้
จึงก่อตั้ง บริษัท ไทยชูรส จำกัด และสร้างแบรนด์ “ผงชูรส ตราชฎา” ขึ้นมา ในปี 2501
จึงก่อตั้ง บริษัท ไทยชูรส จำกัด และสร้างแบรนด์ “ผงชูรส ตราชฎา” ขึ้นมา ในปี 2501
โดยเน้นทำการตลาด ผ่านเพลงโฆษณาในโทรทัศน์ คล้ายกับที่หลายแบรนด์นิยมทำกันในเวลานั้น จนเกิดเป็นเพลงที่คุ้นหูของใครหลายคน
ยิ่งไปกว่านั้น ไทยชูรส ยังได้สร้างจุดขายในแบบของตัวเองให้เป็นที่จดจำ โดยจะจัดโปรโมชันอยู่ตลอด เช่น แถมช้อน แถมชาม หรือสะสมถุงแลกถ้วย
บริษัทเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ เหมือนที่คุณวิชัยเห็นโอกาสในธุรกิจนี้ในช่วงเริ่มต้น
จากช่วงแรก ๆ ที่ผลิตผงชูรส 50 ตันต่อเดือน ก็กลายเป็น 1,200 ตันต่อเดือน ในปัจจุบัน
ซึ่งหากเราลองเทียบเป็น ขนาดผงชูรสถุงละ 250 กรัม ที่ใช้กันตามบ้านแล้ว
จะคิดเป็นปริมาณการผลิต 4,800,000 ถุงต่อเดือน เลยทีเดียว
จะคิดเป็นปริมาณการผลิต 4,800,000 ถุงต่อเดือน เลยทีเดียว
ทีนี้ลองมาดู ผลประกอบการของ บริษัท ไทยชูรส จำกัด
ปี 2564 รายได้ 989 ล้านบาท กำไร 217 ล้านบาท
ปี 2565 รายได้ 1,065 ล้านบาท กำไร 120 ล้านบาท
ปี 2565 รายได้ 1,065 ล้านบาท กำไร 120 ล้านบาท
ซึ่งในปีที่ผ่านมา จากข้อมูลของ Euromonitor international ตลาดผงชูรสในประเทศไทย มีมูลค่าอยู่ที่ 6,400 ล้านบาท
หมายความว่า ไทยชูรส มีส่วนแบ่งการตลาดผงชูรสในไทย ราว 17%
เป็นอันดับ 3 ในไทย เป็นรองเพียง อายิโนะโมะโต๊ะ และราชาชูรส
เป็นอันดับ 3 ในไทย เป็นรองเพียง อายิโนะโมะโต๊ะ และราชาชูรส
และปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
นอกจากตระกูลซอโสตถิกุล จะเป็นเจ้าของธุรกิจรองเท้าแบรนด์นันยาง และผงชูรสตราชฎาแล้ว
ยังเป็นเจ้าของ บริษัท ซีคอน จำกัด ที่ทำธุรกิจรับสร้างอสังหาริมทรัพย์
และเป็นเจ้าของ บริษัท ซีคอน ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ผู้พัฒนาศูนย์การค้าซีคอนสแควร์ อีกด้วย..
References
-https://www.thaichuros.com/about-us/
-https://www.nanyang.co.th/legend_story.php
-https://www.bangkokbiznews.com/business/business/1065381
-Euromonitor international
-สถาบันอาหารกระทรวงอุตสาหกรรม
-https://www.thaichuros.com/about-us/
-https://www.nanyang.co.th/legend_story.php
-https://www.bangkokbiznews.com/business/business/1065381
-Euromonitor international
-สถาบันอาหารกระทรวงอุตสาหกรรม