กรณีศึกษา Medyceles บริษัทผู้นำเข้ายาและเวชภัณฑ์ความงาม จากติดลบสู่ยอดขาย 1 พันล้านบาท ใน 4 ปี
11 ธ.ค. 2024
Medyceles x BrandCase
- ปี 2019 มีรายได้ 594 ล้านบาท และกำไร 85 ล้านบาท
- ปี 2020 มีรายได้ 281 ล้านบาท และกำไร 99 ล้านบาท
- ปี 2021 มีรายได้ 224 ล้านบาท และกำไร 44 ล้านบาท
- ปี 2022 มีรายได้ 409 ล้านบาท และกำไร 79 ล้านบาท
- ปี 2023 มีรายได้ 655 ล้านบาท และกำไร 133 ล้านบาท
- ปี 2024 คาดการณ์ว่าจะมีรายได้ 1,000 ล้านบาท และกำไรถึง 300 ล้านบาท
- ปี 2020 มีรายได้ 281 ล้านบาท และกำไร 99 ล้านบาท
- ปี 2021 มีรายได้ 224 ล้านบาท และกำไร 44 ล้านบาท
- ปี 2022 มีรายได้ 409 ล้านบาท และกำไร 79 ล้านบาท
- ปี 2023 มีรายได้ 655 ล้านบาท และกำไร 133 ล้านบาท
- ปี 2024 คาดการณ์ว่าจะมีรายได้ 1,000 ล้านบาท และกำไรถึง 300 ล้านบาท
นี่คือรายได้ย้อนหลัง 5 ปี ของบริษัท เมดิเซเลส จำกัด ผู้นำเข้าและจัดจำหน่ายยาและเวชภัณฑ์ความงามที่คลินิกความงามทุกที่ในไทยต่างรู้จักดี
จะเห็นได้ว่าในปี 2020 บริษัท เมดิเซเลส จำกัด มีรายได้ลดลงกว่า 52% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านั้น
แต่แล้วในปี 2022 รายได้บริษัทกลับโตขึ้นแบบก้าวกระโดดอยู่ที่ 82% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านั้น
แต่แล้วในปี 2022 รายได้บริษัทกลับโตขึ้นแบบก้าวกระโดดอยู่ที่ 82% เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านั้น
นั่นหมายความว่าบริษัทใช้เวลาเพียงแค่ 4 ปีเท่านั้น
ในการพลิกรายได้จากติดลบ ให้กลายเป็นรายได้พันล้านบาทได้
ในการพลิกรายได้จากติดลบ ให้กลายเป็นรายได้พันล้านบาทได้
Medyceles ใช้กลยุทธ์อะไรในการกู้วิกฤตินี้ ?
BrandCase สรุปให้ แบบเข้าใจง่าย ๆ
BrandCase สรุปให้ แบบเข้าใจง่าย ๆ
เพื่อให้ทุกคนอินมากขึ้น BrandCase จะขอเล่าเรื่องราวย้อนรอยไปตั้งแต่จุดเริ่มต้นของ บริษัท เมดิเซเลส จำกัด และวิกฤติทางการค้าที่บริษัทนี้เคยเจอจนเกือบจะพังให้ฟังกันก่อน
เรื่องราวของ Medyceles เริ่มต้นจากคุณสุรวุฒิ วูวงศ์ เภสัชกรชาวไทย ที่มองเห็นโอกาสทางธุรกิจในตลาดความงาม จึงได้ร่วมทุนกับบริษัทจากเกาหลีใต้ ก่อตั้ง บริษัท เมดิเซเลส จำกัด ขึ้นมา เพื่อนำเข้ายาและเวชภัณฑ์ความงาม จนเป็นที่รู้จักในวงการคลินิกความงามทั่วประเทศ
ทุกอย่างเหมือนจะไปได้สวย แต่จุดเปลี่ยนก็เกิดขึ้นในปี 2020
เมื่อ Medyceles ต้องเผชิญวิกฤติสงครามทางการค้า จนทำให้สินค้าหลักที่สร้างรายได้กว่า 90% ให้กับบริษัท ถูกระงับการขายนานถึง 3 ปี ซึ่งส่งผลให้ยอดขายของบริษัทลดลงเกือบติดลบในทันที
เมื่อ Medyceles ต้องเผชิญวิกฤติสงครามทางการค้า จนทำให้สินค้าหลักที่สร้างรายได้กว่า 90% ให้กับบริษัท ถูกระงับการขายนานถึง 3 ปี ซึ่งส่งผลให้ยอดขายของบริษัทลดลงเกือบติดลบในทันที
แล้ว Medyceles ใช้กลยุทธ์อะไร ในการพาบริษัทหลุดออกจากวิกฤตินี้ได้ ?
1. Growth Hacking Strategies
Growth Hacking Strategies คือ กลยุทธ์การตลาดที่เน้นการสร้างการเติบโตให้กับธุรกิจอย่างรวดเร็ว โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด แต่ให้เกิดผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุด
ซึ่งกลยุทธ์นี้ถือเป็นหนึ่งในกลยุทธ์การปั้นบริษัทที่นิยมในหมู่สตาร์ตอัป และธุรกิจที่ต้องการสร้างการเติบโตอย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น
Medyceles นำแนวคิดในการปั้นธุรกิจแบบสตาร์ตอัปมาปรับใช้กับบริษัท และเน้นไปที่การเติบโตแบบก้าวกระโดด ด้วยการโฟกัสที่ 3 เรื่องสำคัญ ได้แก่
- การทำการตลาดเชิงสร้างสรรค์ ด้วยการคิดค้นกลยุทธ์การตลาดแบบใหม่ ๆ เพื่อเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่
- การใช้ข้อมูลวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค เพื่อพัฒนากลยุทธ์การขายที่ตอบโจทย์และนำเสนอสิ่งที่ตรงใจลูกค้า
- ผลักดันสินค้ารองของบริษัทขึ้นมาแทนสินค้าหลักเดิมที่ถูกสั่งระงับการขายไป เพื่อช่วยพยุงบริษัท
- การใช้ข้อมูลวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค เพื่อพัฒนากลยุทธ์การขายที่ตอบโจทย์และนำเสนอสิ่งที่ตรงใจลูกค้า
- ผลักดันสินค้ารองของบริษัทขึ้นมาแทนสินค้าหลักเดิมที่ถูกสั่งระงับการขายไป เพื่อช่วยพยุงบริษัท
ผลลัพธ์คือ Medyceles สามารถสร้างการเติบโตแบบก้าวกระโดดได้ถึง 346% ในปี 2021
แม้สินค้าหลักจะยังไม่สามารถกลับมาจำหน่ายได้
แม้สินค้าหลักจะยังไม่สามารถกลับมาจำหน่ายได้
2. Re-Launching Strategies
Re-Launching Strategies คือ กลยุทธ์ที่ใช้ในการเปิดตัวสินค้า บริการ หรือแบรนด์อีกครั้งหลังจากที่เคยเปิดตัวมาก่อน โดยอาจมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบ เปลี่ยนแปลงจุดเด่น หรือสร้างภาพลักษณ์ใหม่ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์นั้นกลับมามีความน่าสนใจและตอบโจทย์ความต้องการของตลาดอีกครั้ง
ในปี 2023 สินค้าหลักของบริษัทที่ถูกระงับการขายได้กลับมาสู่ตลาดอีกครั้ง
แต่ก็ต้องบอกว่าระยะเวลาที่สินค้าตัวนี้หายไปจากตลาด ได้ทำให้คนรู้จักแบรนด์น้อยลงไปมากด้วยเช่นกัน
แต่ก็ต้องบอกว่าระยะเวลาที่สินค้าตัวนี้หายไปจากตลาด ได้ทำให้คนรู้จักแบรนด์น้อยลงไปมากด้วยเช่นกัน
โจทย์ที่บริษัทต้องแก้ คือ การสร้างการรับรู้และความเชื่อมั่นให้กับแบรนด์เดิม ที่กลับเข้ามาในตลาดอีกครั้ง ซึ่งโจทย์นี้ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายและไม่ใช่ทุกแบรนด์จะทำได้ และสิ่งที่ Medyceles ทำ มีอยู่ 3 เรื่องหลัก ๆ ได้แก่
- การดึงคุณแต้ว-ณฐพร และคุณนนกุล-ชานน ซูเปอร์สตาร์ตัวท็อประดับประเทศมาเป็นพรีเซนเตอร์ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือและความไว้วางใจให้ลูกค้าเห็น
- ใช้จุดแข็งของบริษัทอย่างการจัดกิจกรรมวิชาการ เพื่อให้ลูกค้ากลับมามั่นใจในสินค้าอีกครั้ง
- การออกโปรโมชันพิเศษกว่า 50 แคมเปญต่อปี ที่ช่วยดึงดูดลูกค้าทั้งลูกค้าเก่าและลูกค้าใหม่ให้สนใจมากขึ้น
- การพัฒนาระบบ CRM ที่ช่วยทำให้เกิดการสร้างฐานลูกค้าที่แข็งแรงมากขึ้น
- ใช้จุดแข็งของบริษัทอย่างการจัดกิจกรรมวิชาการ เพื่อให้ลูกค้ากลับมามั่นใจในสินค้าอีกครั้ง
- การออกโปรโมชันพิเศษกว่า 50 แคมเปญต่อปี ที่ช่วยดึงดูดลูกค้าทั้งลูกค้าเก่าและลูกค้าใหม่ให้สนใจมากขึ้น
- การพัฒนาระบบ CRM ที่ช่วยทำให้เกิดการสร้างฐานลูกค้าที่แข็งแรงมากขึ้น
โดยกลยุทธ์นี้ได้ทำให้ยอดขายสินค้าหลักของบริษัทเพิ่มขึ้นมากถึง 200% ภายในระยะเวลาเพียงแค่ 1 ปี
ซึ่งเรื่องราวของ Medyceles ถือเป็นอีกหนึ่งเคสในโลกธุรกิจ ที่พิสูจน์ให้เห็นถึงความสำคัญของการปรับตัวและการมองหาโอกาสใหม่ ๆ ในวิกฤติ ด้วยการใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ จนสามารถพลิกฟื้นจากวิกฤติครั้งใหญ่ สู่การเติบโตแบบก้าวกระโดดภายในระยะเวลาเพียง 4 ปี
สุดท้ายการเดินทางจากรายได้ติดลบสู่ยอดขายพันล้านบาทของ Medyceles ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของการทำกำไร แต่คือบทพิสูจน์ถึงความมุ่งมั่น ความยืดหยุ่น และการคิดนอกกรอบที่สามารถเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสได้นั่นเอง..
Tag:Medyceles