รู้หรือไม่ว่า ตามกฎหมายแรงงานของฝรั่งเศสนั้น กำหนดให้ชั่วโมงการทำงานตามมาตรฐานอยู่ที่ 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ คือถ้าทำงานสัปดาห์ละ 5 วัน ก็ตกวันละ 7 ชั่วโมง จากข้อมูลของ World Population Review ก็พบว่า Productivity หรือ ผลผลิตจากแรงงานของคนฝรั่งเศสนั้นสูงกว่าค่าเฉลี่ยของกลุ่มประเทศ OECD และกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรปกว่า 25% ทั้ง ๆ ที่ประเทศฝรั่งเศส มีชั่วโมงการทำงานต่อสัปดาห์น้อยที่สุดเป็นอันดับต้น ๆ ของกลุ่มประเทศใน OECD
เมื่อธุรกิจนั้นเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ แน่นอนว่าก็ต้องมีการขยายงาน มีจำนวนคน และฝ่ายต่าง ๆ ในบริษัทเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย ประเด็นคือ ถ้าจำนวนคนและฝ่ายที่เพิ่มขึ้นนั้น มีการทำงานอย่างร่วมมือกัน ประสานงานกัน เป็นไปตามแผนที่วางไว้ ทุกอย่างก็คงจะราบรื่นหรือเกิดปัญหาได้น้อย แต่ในความเป็นจริง หลายครั้งเราอาจพบว่า ยิ่งมีคน ยิ่งมีฝ่าย มากขึ้นในบริษัท ยิ่งทำให้ขาดการติดต่อ ประสานงาน ขาดการให้ความร่วมมือกัน จนสุดท้ายกลายเป็นอุปสรรคของการทำงาน
Dr. Karl Albrecht ที่ปรึกษาด้านการบริหาร และการฝึกอบรม ผู้ที่ให้คำปรึกษาเรื่องการลดความเครียดแก่นักธุรกิจมาหลายคน บอกว่า จากประสบการณ์เขานั้น ความเครียดในชีวิตของคนส่วนใหญ่ แบ่งได้เป็น 4 รูปแบบ แล้วความเครียด 4 รูปแบบนี้ มีอะไรบ้าง ?
รู้จัก ABCDE เทคนิคช่วยรับมือ กับงานที่ล้นมือ ของผู้ก่อตั้ง Flickr
บางบริษัทอาจใช้วิธีโปรโมตคนจากภายในบริษัท แต่บางบริษัทก็อาจใช้วิธีจ้างคนจากข้างนอกมาทำหน้าที่แทน หลายครั้ง ผู้บริหารหรือฝ่าย HR อาจคิดไม่ตกว่า แล้วแบบไหนดีกว่ากันระหว่างโปรโมตคนเก่าหรือรับคนใหม่ เราลองมาดูกันว่าแบบไหนเหมาะกับองค์กรของเรามากกว่ากัน
ปฏิเสธไม่ได้ว่า คนส่วนใหญ่ก็คงอยากทำงานในสายที่ได้เรียนกันมา เพราะจะได้นำความรู้ในห้องเรียน มาใช้ในโลกของการทำงาน แต่ชีวิตจริงในยุคนี้ ต้องยอมรับว่า มีคนจำนวนไม่น้อยที่เรียนจบมาแล้ว กลับเลือกทำงานไม่ตรงกับสิ่งที่ได้เรียนมา หรือที่เรียกกันว่า “จบมาทำงานไม่ตรงสาย” คำถามก็คือ หากเราเป็นหนึ่งในคนกลุ่มนี้ เราควรทำอย่างไร ให้ยังอยู่รอดในยุคนี้ ?
หลายครั้งการดึงคนเก่ง ๆ มาร่วมงาน บริษัทมักต้องทุ่มเงินจำนวนมาก เช่น จ้างด้วยเงินเดือนสูง ๆ จ่ายโบนัสหลายเดือน ซึ่งแน่นอนว่า ถ้าบริษัทเรานั้นมีงบประมาณที่จำกัด ก็อาจทำให้เรื่องที่ว่านี้ท้าทายพอตัว แต่นอกจากเรื่องเงินแล้ว คนเก่ง ๆ สมัยนี้ ยังมีความต้องการในด้านอื่น ๆ ขณะที่ทำงานด้วย เพราะฉะนั้น ลองมาดูกันว่า นอกจากเรื่องเงินแล้ว มันยังมีอะไรอีกบ้าง ที่บริษัทเรา จะใช้ดึงดูดคนเก่ง ๆ ในสมัยนี้ได้
อาการเบื่อ ก็เป็นเรื่องปกติของการทำงานและชีวิต และถึงแม้ความเบื่อหน่ายจะดูเลวร้ายไปบ้าง แต่ถ้าเราจัดการกับความเบื่อได้อย่างเหมาะสม มันก็อาจจะเป็นแรงผลักดันให้เราได้เหมือนกัน
ถ้าเราได้ทำงานกับคนที่เราอยากทำงานด้วย ก็คงจะไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าวันหนึ่งเราต้องไปทำงานร่วมกับคนที่เราไม่ชอบหรือเหม็นหน้า แม้ใจเราไม่อยากจะทำงานนี้ แต่หากจะปฏิเสธว่าขอไม่ทำงานด้วย ก็ดูจะไม่มีความเป็นมืออาชีพสักเท่าไร คำถามก็คือ แล้วเราควรจะทำอย่างไร เมื่อต้องอยู่ในสถานการณ์นี้ แต่ต้องสะท้อนให้เห็นถึง “ความเป็นมืออาชีพ” ของตัวเราได้มากที่สุด ?
แม้ใน “โลกของการศึกษา” นักศึกษาจบใหม่กำลังเดินทางมาถึงความสำเร็จแล้ว แต่สำหรับใน “โลกของการทำงาน” นักศึกษาจบใหม่กลับถูกมองว่าเป็น กลุ่มคนที่ยังมีอายุน้อย ยังไม่มีประสบการณ์ทำงานหรืออาจจะมีแต่น้อย และยังต้องเสียเวลามาสอนงาน หลายคนจึงเกิดสงสัยว่า.. แล้วคนกลุ่มนี้ จะช่วยสร้างประโยชน์ให้องค์กรเติบโตได้อย่างไร ?
เชื่อว่าหลายคน คงเคยเจอปัญหา เสียเวลาไปกับงาน ที่ไม่สำคัญและไม่เร่งด่วน จนทำให้ไม่มีเวลาไปทำงานที่สำคัญและเร่งด่วนจริง ๆ อยู่บ่อย ๆ ซึ่งปัจจัยสำคัญที่มากำหนดเรื่องการจัดสรรเวลา คือ “ความเร่งด่วน” และ “ความสําคัญ” ซึ่งสตีเฟน โควีย์ ได้จัดลำดับความสำคัญของงานออกเป็น 4 รูปแบบ คือ..
“จงทำดี แต่อย่าเด่น จะเป็นภัย” นี่คงเป็นหนึ่งค่านิยม ที่ถูกถ่ายทอดกันมา รุ่นสู่รุ่น ซึ่งเรื่องนี้ก็ไม่ได้มีแค่ในประเทศไทยของเราเท่านั้น เพราะในต่างประเทศก็มีค่านิยมในลักษณะนี้เช่นเดียวกัน ที่เรียกว่า Tall Poppy Syndrome แล้ว Tall Poppy Syndrome คืออะไร ?