รู้จัก ความเครียด 4 รูปแบบ ที่คนส่วนใหญ่ มักต้องเจอ
17 ม.ค. 2022
รู้จัก ความเครียด 4 รูปแบบ ที่คนส่วนใหญ่ มักต้องเจอ | THE BRIEFCASE
ทุกคนที่เกิดมา เมื่อต้องพบกับปัญหาต่าง ๆ จนทำให้เกิดความไม่สบายใจ วิตกกังวล รู้สึกกดดัน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะนำไปสู่ความเครียดที่เกิดขึ้นกับตัวเอง
และแน่นอนว่า เมื่อคนเราเกิดความเครียด มันมักจะส่งผลเสียไม่เพียงแต่ตัวเราเอง แต่ยังรวมไปถึงคนรอบข้างด้วย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน การใช้ชีวิตของคนเราทุกวันนี้ที่ต้องพบกับแรงกดดัน การบีบคั้น ทั้งจากเรื่องงานหรือชีวิตส่วนตัวต่าง ๆ ยิ่งเป็นตัวกระตุ้นให้คนจำนวนไม่น้อยเกิดความเครียดได้ง่ายยิ่งขึ้น
Dr. Karl Albrecht ที่ปรึกษาด้านการบริหาร และการฝึกอบรม ผู้ที่ให้คำปรึกษาเรื่องการลดความเครียดแก่นักธุรกิจมาหลายคน บอกว่า
จากประสบการณ์เขานั้น ความเครียดในชีวิตของคนส่วนใหญ่ แบ่งได้เป็น 4 รูปแบบ
แล้วความเครียด 4 รูปแบบนี้ มีอะไรบ้าง ?
THE BRIEFCASE จะสรุปให้ฟัง
1. ความเครียดเรื่องเวลา (Time stress)
“งานต้องส่งให้ทันกำหนด”
“ของต้องส่งให้ลูกค้าอย่างเร็วที่สุด”
“โครงการนี้ต้องตัดสินใจอย่างเร่งด่วนที่สุด”
งานหลายอย่างมีเส้นตายและกรอบเวลาที่ชัดเจน แน่นอนว่า ถ้าเราทำไม่กี่อย่างก็คงไม่มีปัญหา แต่ถ้าเราต้องรับผิดชอบงานหลายอย่างในเวลาเดียวกัน
ยังไม่รวมถึงเรื่องต่าง ๆ ที่นอกเหนือจากงานหรือภารกิจ ที่เราต้องทำภายใต้เวลาที่ถูกกำหนดไว้ ก็อาจทำให้เราเกิดความเครียด
ซึ่งคุณ Karl ก็แนะนำว่า การแก้ปัญหาความเครียดเรื่องเวลา สามารถทำได้ตั้งแต่ปรับปรุงวิธีการทำงาน
เช่น
- เราอาจนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยทำงาน เพื่อประหยัดเวลา
- การทำ Check list ว่างานไหนควรทำก่อน ทำหลัง
- งานไหนควรทำเองหรือมอบหมายให้คนที่เราไว้ใจได้ไปทำ
2. ความเครียดจากการคาดการณ์ (Anticipatory stress)
บางครั้งความเครียดของคนเราก็เกิดขึ้นจากความคิด หรือการคาดการณ์เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
พูดง่าย ๆ ก็คือ คนจำนวนไม่น้อยกลับเครียดไปล่วงหน้าก่อน ทั้ง ๆ ที่เรื่องที่เราคิดยังไม่ได้เกิดขึ้นเลย
เช่น สมมติว่า เราได้รับมอบหมายให้ไปพรีเซนต์งานในที่ประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งมีคนมาหลายร้อย หลายพันคน ต่อมาเรากลัวว่า จะทำมันออกมาไม่ดีในวันงาน
ความกังวลใจจากการคาดการณ์ถึงสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นนี้ ก็นำไปสู่ความเครียดได้มากเช่นกัน
หรืออีกกรณี อย่างเช่น ถ้าเราได้รับมอบหมายให้ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ให้กับบริษัท เพื่อสร้างยอดขายเพิ่ม เราก็เริ่มคิดว่า สินค้าตัวใหม่จะขายดีไหม ลูกค้าจะชอบหรือไม่ ถ้าไม่สำเร็จเราจะโดนตำหนิไหม จนเครียดได้
ความเครียดลักษณะนี้เกิดจากความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ จนทำให้ตัวเรานั้น ไม่มั่นใจว่าจะสามารถรับมือกับเหตุการณ์ที่ว่านั้นได้ไหม
คุณ Karl ก็แนะนำว่า การรับมือกับความเครียดรูปแบบนี้
คือพยายามวิเคราะห์สถานการณ์ทั้งหมดที่น่าจะเกิดขึ้นในอนาคต พร้อมทั้งวางแผนรับมือกับแต่ละสถานการณ์ที่เกิดขึ้นไว้ล่วงหน้า
อย่างน้อยก็จะช่วยให้เราไม่ตื่นตระหนกจนเครียด ทั้งยังช่วยให้เราสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ดีขึ้นอีกด้วย
3. เครียดจากสถานการณ์ที่เป็นอยู่ (Situational stress)
ความเครียดรูปแบบนี้ เกิดจากเหตุการณ์ที่มักเกิดขึ้นแบบปัจจุบันทันด่วน ทำให้เรามักไม่สามารถเตรียมพร้อมหรือรับมือกับเรื่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อเทียบกับความเครียด 2 แบบที่ผ่านมา
เช่น รู้สึกไม่สบายใจเมื่อรู้ว่าคนสนิทประสบอุบัติเหตุ หรือถูกลูกค้าโทรมาต่อว่าหรือตำหนิเรื่องงาน หรือบางคนขับรถมาชนท้ายรถเราจนเสียหาย
คุณ Karl บอกว่า แม้เราอาจไม่ได้เตรียมพร้อม หรือมีแผนรับมือกับความเครียดลักษณะนี้มาก่อน แต่วิธีในการจัดการความเครียดแบบนี้ก็คือ ฝึกตั้งสติให้ดี อย่าตื่นตระหนกจนเกินเหตุ แล้วค่อย ๆ วิเคราะห์หรือคิดหาแนวทางแก้ปัญหา เพื่อตอบสนองต่อปัญหาได้อย่างถูกต้อง
4. เครียดจากการเผชิญหน้า (Encounter stress)
ถ้าเราเคยเจอเหตุการณ์ ที่เวลาเจอใคร หรือรู้ว่ากำลังจะเจอใครแล้วรู้สึกเครียดนั้น นั่นหมายความว่า เรากำลังเกิดความเครียดที่เกิดจากการเผชิญหน้า
อย่างเช่น ความเครียดเมื่อต้องพบกับหัวหน้า ลูกค้า หรือเพื่อนร่วมงาน โดยเฉพาะคนที่เราไม่ชอบ หรือกรณีของนักแสดง นักกีฬา ที่เกิดความเครียดลักษณะนี้เมื่อต้องออกมาเจอกับคนจำนวนมาก เวลาที่ออกมาแสดงหรือมาเล่นกีฬาต่อหน้าคนดู
คุณ Karl แนะนำว่า วิธีการลดความเครียดจากการเผชิญหน้า คือ การพัฒนาทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ เพื่อทำให้เราสามารถสร้างความสัมพันธ์ได้ง่ายขึ้นกับคนที่เราไปพูดคุยด้วย
รวมไปถึง การพยายามสร้างความมั่นใจให้กับตัวเอง เวลาที่ต้องไปพบคนจำนวนมาก ๆ
และนี่คือ ความเครียด 4 รูปแบบ ที่คนจำนวนไม่น้อยมักจะพบเจอ
ซึ่งถ้าวันนี้เรากำลังเจอความเครียดต่าง ๆ ที่ว่ามานี้ ลองใช้แนวทางในการลดความเครียดที่ว่ามานี้ดู
ก็น่าจะช่วยให้ความเครียดที่เรากำลังเจออยู่นั้นลดลงไปบ้าง ไม่มากก็น้อย..
References
-https://www.mindtools.com/pages/article/albrecht-stress.htm
-https://worldofwork.io/2019/02/albrechts-four-types-of-stress/
ทุกคนที่เกิดมา เมื่อต้องพบกับปัญหาต่าง ๆ จนทำให้เกิดความไม่สบายใจ วิตกกังวล รู้สึกกดดัน สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้จะนำไปสู่ความเครียดที่เกิดขึ้นกับตัวเอง
และแน่นอนว่า เมื่อคนเราเกิดความเครียด มันมักจะส่งผลเสียไม่เพียงแต่ตัวเราเอง แต่ยังรวมไปถึงคนรอบข้างด้วย
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน การใช้ชีวิตของคนเราทุกวันนี้ที่ต้องพบกับแรงกดดัน การบีบคั้น ทั้งจากเรื่องงานหรือชีวิตส่วนตัวต่าง ๆ ยิ่งเป็นตัวกระตุ้นให้คนจำนวนไม่น้อยเกิดความเครียดได้ง่ายยิ่งขึ้น
Dr. Karl Albrecht ที่ปรึกษาด้านการบริหาร และการฝึกอบรม ผู้ที่ให้คำปรึกษาเรื่องการลดความเครียดแก่นักธุรกิจมาหลายคน บอกว่า
จากประสบการณ์เขานั้น ความเครียดในชีวิตของคนส่วนใหญ่ แบ่งได้เป็น 4 รูปแบบ
แล้วความเครียด 4 รูปแบบนี้ มีอะไรบ้าง ?
THE BRIEFCASE จะสรุปให้ฟัง
1. ความเครียดเรื่องเวลา (Time stress)
“งานต้องส่งให้ทันกำหนด”
“ของต้องส่งให้ลูกค้าอย่างเร็วที่สุด”
“โครงการนี้ต้องตัดสินใจอย่างเร่งด่วนที่สุด”
งานหลายอย่างมีเส้นตายและกรอบเวลาที่ชัดเจน แน่นอนว่า ถ้าเราทำไม่กี่อย่างก็คงไม่มีปัญหา แต่ถ้าเราต้องรับผิดชอบงานหลายอย่างในเวลาเดียวกัน
ยังไม่รวมถึงเรื่องต่าง ๆ ที่นอกเหนือจากงานหรือภารกิจ ที่เราต้องทำภายใต้เวลาที่ถูกกำหนดไว้ ก็อาจทำให้เราเกิดความเครียด
ซึ่งคุณ Karl ก็แนะนำว่า การแก้ปัญหาความเครียดเรื่องเวลา สามารถทำได้ตั้งแต่ปรับปรุงวิธีการทำงาน
เช่น
- เราอาจนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยทำงาน เพื่อประหยัดเวลา
- การทำ Check list ว่างานไหนควรทำก่อน ทำหลัง
- งานไหนควรทำเองหรือมอบหมายให้คนที่เราไว้ใจได้ไปทำ
2. ความเครียดจากการคาดการณ์ (Anticipatory stress)
บางครั้งความเครียดของคนเราก็เกิดขึ้นจากความคิด หรือการคาดการณ์เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
พูดง่าย ๆ ก็คือ คนจำนวนไม่น้อยกลับเครียดไปล่วงหน้าก่อน ทั้ง ๆ ที่เรื่องที่เราคิดยังไม่ได้เกิดขึ้นเลย
เช่น สมมติว่า เราได้รับมอบหมายให้ไปพรีเซนต์งานในที่ประชุมผู้ถือหุ้น ซึ่งมีคนมาหลายร้อย หลายพันคน ต่อมาเรากลัวว่า จะทำมันออกมาไม่ดีในวันงาน
ความกังวลใจจากการคาดการณ์ถึงสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้นนี้ ก็นำไปสู่ความเครียดได้มากเช่นกัน
หรืออีกกรณี อย่างเช่น ถ้าเราได้รับมอบหมายให้ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ให้กับบริษัท เพื่อสร้างยอดขายเพิ่ม เราก็เริ่มคิดว่า สินค้าตัวใหม่จะขายดีไหม ลูกค้าจะชอบหรือไม่ ถ้าไม่สำเร็จเราจะโดนตำหนิไหม จนเครียดได้
ความเครียดลักษณะนี้เกิดจากความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ จนทำให้ตัวเรานั้น ไม่มั่นใจว่าจะสามารถรับมือกับเหตุการณ์ที่ว่านั้นได้ไหม
คุณ Karl ก็แนะนำว่า การรับมือกับความเครียดรูปแบบนี้
คือพยายามวิเคราะห์สถานการณ์ทั้งหมดที่น่าจะเกิดขึ้นในอนาคต พร้อมทั้งวางแผนรับมือกับแต่ละสถานการณ์ที่เกิดขึ้นไว้ล่วงหน้า
อย่างน้อยก็จะช่วยให้เราไม่ตื่นตระหนกจนเครียด ทั้งยังช่วยให้เราสามารถควบคุมสถานการณ์ได้ดีขึ้นอีกด้วย
3. เครียดจากสถานการณ์ที่เป็นอยู่ (Situational stress)
ความเครียดรูปแบบนี้ เกิดจากเหตุการณ์ที่มักเกิดขึ้นแบบปัจจุบันทันด่วน ทำให้เรามักไม่สามารถเตรียมพร้อมหรือรับมือกับเรื่องต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อเทียบกับความเครียด 2 แบบที่ผ่านมา
เช่น รู้สึกไม่สบายใจเมื่อรู้ว่าคนสนิทประสบอุบัติเหตุ หรือถูกลูกค้าโทรมาต่อว่าหรือตำหนิเรื่องงาน หรือบางคนขับรถมาชนท้ายรถเราจนเสียหาย
คุณ Karl บอกว่า แม้เราอาจไม่ได้เตรียมพร้อม หรือมีแผนรับมือกับความเครียดลักษณะนี้มาก่อน แต่วิธีในการจัดการความเครียดแบบนี้ก็คือ ฝึกตั้งสติให้ดี อย่าตื่นตระหนกจนเกินเหตุ แล้วค่อย ๆ วิเคราะห์หรือคิดหาแนวทางแก้ปัญหา เพื่อตอบสนองต่อปัญหาได้อย่างถูกต้อง
4. เครียดจากการเผชิญหน้า (Encounter stress)
ถ้าเราเคยเจอเหตุการณ์ ที่เวลาเจอใคร หรือรู้ว่ากำลังจะเจอใครแล้วรู้สึกเครียดนั้น นั่นหมายความว่า เรากำลังเกิดความเครียดที่เกิดจากการเผชิญหน้า
อย่างเช่น ความเครียดเมื่อต้องพบกับหัวหน้า ลูกค้า หรือเพื่อนร่วมงาน โดยเฉพาะคนที่เราไม่ชอบ หรือกรณีของนักแสดง นักกีฬา ที่เกิดความเครียดลักษณะนี้เมื่อต้องออกมาเจอกับคนจำนวนมาก เวลาที่ออกมาแสดงหรือมาเล่นกีฬาต่อหน้าคนดู
คุณ Karl แนะนำว่า วิธีการลดความเครียดจากการเผชิญหน้า คือ การพัฒนาทักษะด้านมนุษยสัมพันธ์ พัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ เพื่อทำให้เราสามารถสร้างความสัมพันธ์ได้ง่ายขึ้นกับคนที่เราไปพูดคุยด้วย
รวมไปถึง การพยายามสร้างความมั่นใจให้กับตัวเอง เวลาที่ต้องไปพบคนจำนวนมาก ๆ
และนี่คือ ความเครียด 4 รูปแบบ ที่คนจำนวนไม่น้อยมักจะพบเจอ
ซึ่งถ้าวันนี้เรากำลังเจอความเครียดต่าง ๆ ที่ว่ามานี้ ลองใช้แนวทางในการลดความเครียดที่ว่ามานี้ดู
ก็น่าจะช่วยให้ความเครียดที่เรากำลังเจออยู่นั้นลดลงไปบ้าง ไม่มากก็น้อย..
References
-https://www.mindtools.com/pages/article/albrecht-stress.htm
-https://worldofwork.io/2019/02/albrechts-four-types-of-stress/