
กรณีศึกษา แผ่นแปะลดไข้ KOOLFEVER เอาไอเดียพนักงาน มาทำสินค้า จนขายดี
3 ก.ค. 2023
กรณีศึกษา แผ่นแปะลดไข้ KOOLFEVER เอาไอเดียพนักงาน มาทำสินค้า จนขายดี | BrandCase
ถ้าให้ลองนึกชื่อแบรนด์ แผ่นแปะลดไข้ เชื่อเลยว่าหลายคนจะนึกออกอยู่แบรนด์เดียว คือ “KOOLFEVER”
รู้ไหมว่า KOOLFEVER เกิดขึ้นจากไอเดียของพนักงานบริษัทญี่ปุ่นแห่งหนึ่ง และก็ถูกนำไปพัฒนาและทดลองอยู่หลายครั้ง จนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์นี้ออกมา
รู้ไหมว่า KOOLFEVER เกิดขึ้นจากไอเดียของพนักงานบริษัทญี่ปุ่นแห่งหนึ่ง และก็ถูกนำไปพัฒนาและทดลองอยู่หลายครั้ง จนเกิดเป็นผลิตภัณฑ์นี้ออกมา
แล้วเรื่องราวของ แผ่นแปะ KOOLFEVER นี้ มีความเป็นมาอย่างไร ?
BrandCase จะเล่าแบบง่าย ๆ ให้อ่านกัน
BrandCase จะเล่าแบบง่าย ๆ ให้อ่านกัน
“มันน่าจะดีนะ ถ้าเกิดว่ามีแผ่นแปะเย็น ๆ บนหน้าผากสำหรับลดไข้ ที่สามารถแปะติดแน่น โดยไม่หล่นลงมา”
นี่คือไอเดียจากพนักงานบริษัท KOBAYASHI บริษัทญี่ปุ่นที่เริ่มจากร้านขายยาเล็ก ๆ จนกลายมาเป็นผู้ผลิตและขายสินค้าเกี่ยวกับสุขภาพชั้นนำในเวลาต่อมา
ซึ่งทางบริษัทเองก็คิดว่าไอเดียนี้น่าสนใจ เพราะยังไม่มีสินค้าแบบนี้ในตลาด
จากนั้นจึงเริ่มต้นศึกษาว่า ปัญหาของวิธีการลดไข้แบบให้ความเย็นบนหน้าผากนี้ มีอะไรบ้าง
จากนั้นจึงเริ่มต้นศึกษาว่า ปัญหาของวิธีการลดไข้แบบให้ความเย็นบนหน้าผากนี้ มีอะไรบ้าง
โดยในเวลานั้น คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่มักจะใช้ผ้าเช็ดตัวเปียกน้ำ แปะบนหน้าผาก
แต่ก็เจอปัญหาว่า ใช้ได้ไม่นานก็แห้งแล้ว
แถมยังไม่สะดวกต่อการใช้งาน เพราะต้องนอนเฉย ๆ มิฉะนั้นผ้าจะหล่นจากหน้าผาก เวลาพลิกตัวไปมา
แถมยังไม่สะดวกต่อการใช้งาน เพราะต้องนอนเฉย ๆ มิฉะนั้นผ้าจะหล่นจากหน้าผาก เวลาพลิกตัวไปมา
พอเข้าใจปัญหาของผู้ใช้งานแล้ว บริษัท KOBAYASHI จึงได้ตัดสินใจที่จะสร้างแผ่นแปะลดไข้ขึ้นมา
ให้สามารถใช้งานได้ง่าย สะดวก และไม่หล่นจากหน้าผาก
ให้สามารถใช้งานได้ง่าย สะดวก และไม่หล่นจากหน้าผาก
ทีนี้ก็มาถึงคำถามที่ว่า แล้วใครจะเป็นลูกค้ากลุ่มแรกที่ใช้ ?
คำตอบในตอนนั้น บริษัทตัดสินใจเลือก “เด็ก” เป็นลูกค้ากลุ่มแรก
การออกแบบสินค้าชนิดนี้ในช่วงแรก จึงเน้นใช้งานง่ายสำหรับเด็กทั่วไป
ตัวแผ่นแปะเลยถูกออกแบบ ให้มีความบางและนุ่ม เพื่อให้เด็กรู้สึกเหมือนมีแม่ที่กำลังลูบหัวเด็กที่ป่วย
ตัวแผ่นแปะเลยถูกออกแบบ ให้มีความบางและนุ่ม เพื่อให้เด็กรู้สึกเหมือนมีแม่ที่กำลังลูบหัวเด็กที่ป่วย
และตัวแผ่นแปะเองต้องสามารถให้ความเย็นได้เป็นเวลานาน เพื่อที่จะบรรเทาความร้อนจากคนป่วยออกมาให้ได้มากที่สุด
ในที่สุด หลังจากใช้เวลาในการพัฒนาและทดสอบสินค้าอย่างยาวนาน KOOLFEVER ก็ถูกวางจำหน่ายเข้าสู่ตลาดเป็นครั้งแรก ในประเทศญี่ปุ่น
ซึ่งก็ได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดี จนสามารถขยายไปยังตลาดต่างประเทศได้
ในปีที่ผ่านมา KOBAYASHI Pharmaceutical มีรายได้จากการขาย KOOLFEVER มากกว่า 2,000 ล้านบาท
โดยแบ่งเป็น
- ยอดขายในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวมประเทศไทย 956 ล้านบาท
- ยอดขายในประเทศจีน 907 ล้านบาท
- ยอดขายในประเทศสหรัฐอเมริกา 245 ล้านบาท
ซึ่งในแต่ละประเทศก็จะมีชื่อแบรนด์ที่แตกต่างกันออกไป
เช่น ในไทยใช้ชื่อว่า KOOLFEVER
ในสหรัฐอเมริกาใช้ชื่อว่า BeKoool
หรือในประเทศญี่ปุ่นใช้ชื่อว่า Netsusama sheet
เช่น ในไทยใช้ชื่อว่า KOOLFEVER
ในสหรัฐอเมริกาใช้ชื่อว่า BeKoool
หรือในประเทศญี่ปุ่นใช้ชื่อว่า Netsusama sheet
อ่านมาถึงตรงนี้ คงเห็นแล้วว่า ไอเดียเล็ก ๆ ของคนในบริษัทก็สามารถกลายมาเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่สำคัญให้กับบริษัทได้
และหากเรามาดูบทเรียนในกระบวนการ การพัฒนาสินค้าในครั้งนี้ ก็ดูจะคล้ายกับวิธีการ Design Thinking หรือการคิดเชิงออกแบบ ที่มี 5 แนวทางสำคัญด้วยกัน นั่นคือ
- เข้าใจปัญหาของลูกค้าจริง ๆ (Empathize)
KOBAYASHI สำรวจตลาดจนพบว่า ลูกค้าใช้ผ้าเช็ดตัวเปียก เพื่อลดไข้ แต่ไม่สะดวกในการใช้งาน
KOBAYASHI สำรวจตลาดจนพบว่า ลูกค้าใช้ผ้าเช็ดตัวเปียก เพื่อลดไข้ แต่ไม่สะดวกในการใช้งาน
- กำหนดปัญหาของลูกค้าให้ชัดเจน (Define)
ลูกค้าอยากได้แผ่นแปะลดไข้ที่สะดวก ใช้งานง่าย และไม่แห้งเร็วจนเกินไป
ลูกค้าอยากได้แผ่นแปะลดไข้ที่สะดวก ใช้งานง่าย และไม่แห้งเร็วจนเกินไป
- ออกแบบทางแก้ปัญหา (Ideate)
KOBAYASHI ตัดสินใจสร้างแผ่นแปะลดไข้ โดยเจาะกลุ่มลูกค้าเด็กที่ป่วยง่ายก่อน
KOBAYASHI ตัดสินใจสร้างแผ่นแปะลดไข้ โดยเจาะกลุ่มลูกค้าเด็กที่ป่วยง่ายก่อน
- สร้างสินค้าต้นแบบ (Prototype)
แผ่นแปะลดไข้ต้องนุ่ม ไม่หนา และสามารถลดไข้ให้กับเด็กได้
แผ่นแปะลดไข้ต้องนุ่ม ไม่หนา และสามารถลดไข้ให้กับเด็กได้
- ทดสอบสินค้า (Test)
นำสินค้าไปทดสอบกับเด็ก จนได้ผล แล้วค่อยวางขายในตลาด
นำสินค้าไปทดสอบกับเด็ก จนได้ผล แล้วค่อยวางขายในตลาด
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่บริษัท KOBAYASHI ทำ ไม่ได้เรียงวิธีการแบบนี้ชัดเจน แต่หัวใจของวิธีการก็คล้าย ๆ กัน
คือเข้าใจปัญหาของลูกค้า ออกแบบ และทดลองหลายครั้ง ซ้ำแล้วซ้ำเล่า
จนสร้างผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้จริง ๆ ..
จนสร้างผลิตภัณฑ์ที่ตอบโจทย์ลูกค้าได้จริง ๆ ..