กรณีศึกษา กลยุทธ์การเติบโตใหม่ของ RS ที่ชื่อว่า “LEAP”
7 ก.พ. 2022
กรณีศึกษา กลยุทธ์การเติบโตใหม่ของ RS ที่ชื่อว่า “LEAP” | THE BRIEFCASE
ช่วงต้นปีแบบนี้ หลายบริษัทได้มีการออกมาพูดถึงแนวโน้มและแผนธุรกิจ รวมไปถึงการตั้งเป้าการเติบโตทางธุรกิจในปีนี้
โดยเฉพาะบริษัทในตลาดหลักทรัพย์นั้น ข้อมูลดังกล่าวถือว่ามีความสำคัญต่อนักลงทุน
วันนี้เรามาดูหนึ่งบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ นั่นคือ บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) หรือ RS
ที่บอกว่าจะนำ กลยุทธ์ “LEAP” มาช่วยสร้างการเติบโตอย่างก้าวกระโดดให้กับบริษัทในปีนี้
กลยุทธ์นี้คืออะไร ? THE BRIEFCASE จะสรุปให้ฟัง
ก่อนอื่นสรุปสั้น ๆ กันก่อนว่า วันนี้ภาพของ RS ที่หลายคนคุ้นเคยนั้นเปลี่ยนจากบริษัทที่ทำธุรกิจค่ายเพลงในอดีต มาเป็นบริษัทที่มีรายได้จากธุรกิจพาณิชย์มาสักระยะใหญ่แล้ว
โดยในไตรมาส 3 ปี 2564 ที่ผ่านมา รายได้ของบริษัทเท่ากับ 852 ล้านบาท
ซึ่งเมื่อแยกตามโครงสร้างรายได้ของ RS จะประกอบไปด้วย
- ธุรกิจพาณิชย์ เป็นการขายผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงาม 64%
- ธุรกิจสื่อ เป็นการทำสื่อโทรทัศน์ และสื่อวิทยุ 31%
- ธุรกิจเพลงและอื่น ๆ เป็นการขายสินค้าเพลงครบวงจร ผลิตดิจิทัลมิวสิก 5%
เบื้องหลังของการเปลี่ยนแปลงนั้น เกิดจากแนวคิดของ คุณสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ หรือเฮียฮ้อ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ RS ที่มองว่าสภาพแวดล้อมของโลกธุรกิจนั้นไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
พอเรื่องเป็นแบบนี้ เขาจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนบริษัทให้เอาธุรกิจหลักในอดีตอย่าง ธุรกิจบันเทิง (Entertainment) มาผสมผสานกับธุรกิจพาณิชย์ (Commerce)
จนเป็นที่มาของคำว่า “Entertainmerce” กลยุทธ์ใหม่ของคุณสุรชัย ในวันที่รายได้หลักไม่ได้มาจาก ธุรกิจเพลงอีกต่อไป
และเมื่อเร็ว ๆ นี้ ในการแถลงแนวโน้มและแผนธุรกิจ ทางผู้บริหารของ RS บอกว่า บริษัทตั้งเป้ารายได้ 5,100 ล้านบาท ในปี 2565
โดยการนำกลยุทธ์ที่ชื่อว่า “LEAP” มาใช้ ซึ่ง LEAP ประกอบด้วย
1. “L” หรือ Lifestyle Wellbeing Solution
RS ยังคงเกาะเทรนด์ ไลฟ์สไตล์ด้านความงามและสุขภาพของลูกค้า ดังนั้น บริษัทจะยังมุ่งเน้นคัดเลือกสินค้าและบริการที่หลากหลายมาตอบโจทย์ผู้บริโภคในยุครักสุขภาพและความงาม
รวมไปถึงการสรรหาผลิตภัณฑ์เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพ
นอกจากนี้ บริษัทยังมีการสร้างความแข็งแกร่งในช่องทาง E-Commerce รวมทั้งขยายฐานลูกค้า ด้วยการทำ Loyalty Program ในชื่อ “RS Mall PLUS”
ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกที่ใช้งานกว่า 8 แสนราย โดยบริษัทตั้งเป้าจะเพิ่มสมาชิกเป็น 1.2 ล้านราย ภายในปี 2565
2. “E” หรือ Entertainment Uplift
ผู้บริหาร RS ได้วางคอนเซปต์ให้สถานีโทรทัศน์ช่อง 8 เป็นฟรีทีวีที่สามารถเข้าถึงผู้คนได้หลากหลายเพศและวัย
โดยจะไม่พึ่งพารายได้จากการขายโฆษณาเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการขายลิขสิทธิ์คอนเทนต์ที่มีอยู่เดิมและที่ผลิตใหม่ พ่วงด้วยการทำอิเวนต์ต่าง ๆ
ปัจจุบัน นอกจากการผลิตคอนเทนต์ออนไลน์ใหม่ ๆ ให้เข้าถึงความต้องการของกลุ่มคนรุ่นใหม่แล้ว
ผู้บริหารยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาช่องทางออนไลน์เพื่อสร้างฐานแฟนคลับใหม่ ๆ ให้แก่สถานีโทรทัศน์ช่อง 8
ปัจจุบัน จำนวนผู้ติดตามเพจเฟซบุ๊กของสถานีโทรทัศน์ช่อง 8 มีอยู่กว่า 10.6 ล้านคน ขณะที่บนอินสตาแกรม มีจำนวนผู้ติดตามกว่า 320,000 คน
สำหรับ สถานีวิทยุ COOLISM (FM 93.0 MHz) นั้น
ทางผู้บริหาร RS บอกว่า นอกจากการรักษาฐานผู้ฟัง บริษัทจะนำเสนอกิจกรรมที่โดนใจแก่แฟน ๆ คลื่นวิทยุ โดยเฉพาะการจัดคอนเสิร์ตใหญ่ 3 ครั้งในปีนี้ เพื่อสร้าง Engagement กับคนฟังวิทยุให้มากขึ้น
โดยปัจจุบัน ผู้ฟัง COOLISM มีอายุในช่วง 18-44 ปี และมีจำนวนผู้ชมผ่านทางออฟไลน์และออนไลน์รวมกันกว่า 3.7 ล้านรายต่อเดือน
นอกจากนี้ RS ยังมีการจับมือกับพันธมิตรเพื่อออกซิงเกิลใหม่ เพื่อให้ลูกค้าสามารถฟังเพลงใหม่ ๆ ผ่านแพลตฟอร์มสตรีมมิงต่าง ๆ เช่น Apple Music, JOOX, Spotify และ TrueID
รวมไปถึงสนับสนุนให้ศิลปินในเครือ RS ผลิตคอนเทนต์ใหม่ ๆ ป้อนเข้าช่องทางออนไลน์
3. “A” หรือ Asset Monetization
เป้าหมายของเรื่องนื้คือ การที่บริษัทต้องการจะเพิ่มมูลค่าสินทรัพย์ของเครือบริษัท เพื่อเป็นช่องทางในการสร้างรายได้แหล่งใหม่ ๆ
ปัจจุบัน ผู้บริหาร RS ระบุว่า มีจำนวนผู้ชมและผู้ฟังเพลงรวมกว่า 50 ล้านบัญชี ผ่านทุกช่องทางออนไลน์
ดังนั้น RS จึงพยายามเน้นการสร้างออนไลน์คอนเทนต์รูปแบบใหม่ใน YouTube ทั้งช่อง Rsfriends, Kamikaze และ Rsiam รวมถึงการสร้างออนไลน์คอนเทนต์ร่วมกับช่องทางศิลปินในเครือ RS
4. “P” หรือ Popcoin
กระแสที่มาแรงของสินทรัพย์ดิจิทัล ทำให้ปัจจุบัน ผู้บริหารของ RS ได้นำประโยชน์จากเทคโนโลยี Blockchain มาประยุกต์ใช้ในธุรกิจของเครือ RS
ดังนั้น บริษัทในเครือของ RS จึงทำการพัฒนา Popcoin โทเคนดิจิทัลที่ให้สิทธิ์สำหรับสามารถใช้เข้าร่วมกิจกรรม การจับจ่ายใช้สอยสินค้าและบริการในเครือ RS
โดย RS ตั้งใจที่จะใช้ Popcoin เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการทำการตลาด ส่งเสริมการขาย เป็นช่องทางหารายได้ใหม่ ๆ และสร้าง Engagement กับลูกค้าคนรุ่นใหม่
อ่านมาถึงตรงนี้ เราน่าจะพอเห็นภาพเกี่ยวกับกลยุทธ์ที่ RS จะนำมาใช้เพื่อช่วยผลักดันให้รายได้ของบริษัทเติบโตขึ้นไปในอนาคต
แต่ไม่ว่าสุดท้าย ผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร RS จะทำรายได้ตามเป้าที่ผู้บริหารอยากเห็นได้หรือไม่ รวมไปถึงการขยับเข้าสู่ธุรกิจใหม่ ๆ จะทำให้บริษัทประสบความสำเร็จมากน้อยแค่ไหน
แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับก็คือ
RS เป็นอีกหนึ่งในองค์กรที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลงตัวเองไปให้ทันกับโลกที่เปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเราอาจจะบอกได้ว่า เป็นเสมือนหนึ่งใน DNA ของบริษัทไปแล้วในวันนี้..
References:
-แบบแสดงรายการข้อมูลปี 2563, บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน)
-คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ไตรมาสที่ 3 สิ้นสุดวันที่ 30 ก.ย. 2564 https://www.set.or.th/set/pdfnews.do?newsId=16364989299121&sequence=2021120398
-https://www.rs.co.th/rs-group-strategies-2022/
-https://www.popcoin.co/
-https://www.bangkokbiznews.com/business/982143
ช่วงต้นปีแบบนี้ หลายบริษัทได้มีการออกมาพูดถึงแนวโน้มและแผนธุรกิจ รวมไปถึงการตั้งเป้าการเติบโตทางธุรกิจในปีนี้
โดยเฉพาะบริษัทในตลาดหลักทรัพย์นั้น ข้อมูลดังกล่าวถือว่ามีความสำคัญต่อนักลงทุน
วันนี้เรามาดูหนึ่งบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ นั่นคือ บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน) หรือ RS
ที่บอกว่าจะนำ กลยุทธ์ “LEAP” มาช่วยสร้างการเติบโตอย่างก้าวกระโดดให้กับบริษัทในปีนี้
กลยุทธ์นี้คืออะไร ? THE BRIEFCASE จะสรุปให้ฟัง
ก่อนอื่นสรุปสั้น ๆ กันก่อนว่า วันนี้ภาพของ RS ที่หลายคนคุ้นเคยนั้นเปลี่ยนจากบริษัทที่ทำธุรกิจค่ายเพลงในอดีต มาเป็นบริษัทที่มีรายได้จากธุรกิจพาณิชย์มาสักระยะใหญ่แล้ว
โดยในไตรมาส 3 ปี 2564 ที่ผ่านมา รายได้ของบริษัทเท่ากับ 852 ล้านบาท
ซึ่งเมื่อแยกตามโครงสร้างรายได้ของ RS จะประกอบไปด้วย
- ธุรกิจพาณิชย์ เป็นการขายผลิตภัณฑ์สุขภาพและความงาม 64%
- ธุรกิจสื่อ เป็นการทำสื่อโทรทัศน์ และสื่อวิทยุ 31%
- ธุรกิจเพลงและอื่น ๆ เป็นการขายสินค้าเพลงครบวงจร ผลิตดิจิทัลมิวสิก 5%
เบื้องหลังของการเปลี่ยนแปลงนั้น เกิดจากแนวคิดของ คุณสุรชัย เชษฐโชติศักดิ์ หรือเฮียฮ้อ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ RS ที่มองว่าสภาพแวดล้อมของโลกธุรกิจนั้นไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
พอเรื่องเป็นแบบนี้ เขาจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนบริษัทให้เอาธุรกิจหลักในอดีตอย่าง ธุรกิจบันเทิง (Entertainment) มาผสมผสานกับธุรกิจพาณิชย์ (Commerce)
จนเป็นที่มาของคำว่า “Entertainmerce” กลยุทธ์ใหม่ของคุณสุรชัย ในวันที่รายได้หลักไม่ได้มาจาก ธุรกิจเพลงอีกต่อไป
และเมื่อเร็ว ๆ นี้ ในการแถลงแนวโน้มและแผนธุรกิจ ทางผู้บริหารของ RS บอกว่า บริษัทตั้งเป้ารายได้ 5,100 ล้านบาท ในปี 2565
โดยการนำกลยุทธ์ที่ชื่อว่า “LEAP” มาใช้ ซึ่ง LEAP ประกอบด้วย
1. “L” หรือ Lifestyle Wellbeing Solution
RS ยังคงเกาะเทรนด์ ไลฟ์สไตล์ด้านความงามและสุขภาพของลูกค้า ดังนั้น บริษัทจะยังมุ่งเน้นคัดเลือกสินค้าและบริการที่หลากหลายมาตอบโจทย์ผู้บริโภคในยุครักสุขภาพและความงาม
รวมไปถึงการสรรหาผลิตภัณฑ์เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพ
นอกจากนี้ บริษัทยังมีการสร้างความแข็งแกร่งในช่องทาง E-Commerce รวมทั้งขยายฐานลูกค้า ด้วยการทำ Loyalty Program ในชื่อ “RS Mall PLUS”
ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกที่ใช้งานกว่า 8 แสนราย โดยบริษัทตั้งเป้าจะเพิ่มสมาชิกเป็น 1.2 ล้านราย ภายในปี 2565
2. “E” หรือ Entertainment Uplift
ผู้บริหาร RS ได้วางคอนเซปต์ให้สถานีโทรทัศน์ช่อง 8 เป็นฟรีทีวีที่สามารถเข้าถึงผู้คนได้หลากหลายเพศและวัย
โดยจะไม่พึ่งพารายได้จากการขายโฆษณาเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการขายลิขสิทธิ์คอนเทนต์ที่มีอยู่เดิมและที่ผลิตใหม่ พ่วงด้วยการทำอิเวนต์ต่าง ๆ
ปัจจุบัน นอกจากการผลิตคอนเทนต์ออนไลน์ใหม่ ๆ ให้เข้าถึงความต้องการของกลุ่มคนรุ่นใหม่แล้ว
ผู้บริหารยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาช่องทางออนไลน์เพื่อสร้างฐานแฟนคลับใหม่ ๆ ให้แก่สถานีโทรทัศน์ช่อง 8
ปัจจุบัน จำนวนผู้ติดตามเพจเฟซบุ๊กของสถานีโทรทัศน์ช่อง 8 มีอยู่กว่า 10.6 ล้านคน ขณะที่บนอินสตาแกรม มีจำนวนผู้ติดตามกว่า 320,000 คน
สำหรับ สถานีวิทยุ COOLISM (FM 93.0 MHz) นั้น
ทางผู้บริหาร RS บอกว่า นอกจากการรักษาฐานผู้ฟัง บริษัทจะนำเสนอกิจกรรมที่โดนใจแก่แฟน ๆ คลื่นวิทยุ โดยเฉพาะการจัดคอนเสิร์ตใหญ่ 3 ครั้งในปีนี้ เพื่อสร้าง Engagement กับคนฟังวิทยุให้มากขึ้น
โดยปัจจุบัน ผู้ฟัง COOLISM มีอายุในช่วง 18-44 ปี และมีจำนวนผู้ชมผ่านทางออฟไลน์และออนไลน์รวมกันกว่า 3.7 ล้านรายต่อเดือน
นอกจากนี้ RS ยังมีการจับมือกับพันธมิตรเพื่อออกซิงเกิลใหม่ เพื่อให้ลูกค้าสามารถฟังเพลงใหม่ ๆ ผ่านแพลตฟอร์มสตรีมมิงต่าง ๆ เช่น Apple Music, JOOX, Spotify และ TrueID
รวมไปถึงสนับสนุนให้ศิลปินในเครือ RS ผลิตคอนเทนต์ใหม่ ๆ ป้อนเข้าช่องทางออนไลน์
3. “A” หรือ Asset Monetization
เป้าหมายของเรื่องนื้คือ การที่บริษัทต้องการจะเพิ่มมูลค่าสินทรัพย์ของเครือบริษัท เพื่อเป็นช่องทางในการสร้างรายได้แหล่งใหม่ ๆ
ปัจจุบัน ผู้บริหาร RS ระบุว่า มีจำนวนผู้ชมและผู้ฟังเพลงรวมกว่า 50 ล้านบัญชี ผ่านทุกช่องทางออนไลน์
ดังนั้น RS จึงพยายามเน้นการสร้างออนไลน์คอนเทนต์รูปแบบใหม่ใน YouTube ทั้งช่อง Rsfriends, Kamikaze และ Rsiam รวมถึงการสร้างออนไลน์คอนเทนต์ร่วมกับช่องทางศิลปินในเครือ RS
4. “P” หรือ Popcoin
กระแสที่มาแรงของสินทรัพย์ดิจิทัล ทำให้ปัจจุบัน ผู้บริหารของ RS ได้นำประโยชน์จากเทคโนโลยี Blockchain มาประยุกต์ใช้ในธุรกิจของเครือ RS
ดังนั้น บริษัทในเครือของ RS จึงทำการพัฒนา Popcoin โทเคนดิจิทัลที่ให้สิทธิ์สำหรับสามารถใช้เข้าร่วมกิจกรรม การจับจ่ายใช้สอยสินค้าและบริการในเครือ RS
โดย RS ตั้งใจที่จะใช้ Popcoin เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการทำการตลาด ส่งเสริมการขาย เป็นช่องทางหารายได้ใหม่ ๆ และสร้าง Engagement กับลูกค้าคนรุ่นใหม่
อ่านมาถึงตรงนี้ เราน่าจะพอเห็นภาพเกี่ยวกับกลยุทธ์ที่ RS จะนำมาใช้เพื่อช่วยผลักดันให้รายได้ของบริษัทเติบโตขึ้นไปในอนาคต
แต่ไม่ว่าสุดท้าย ผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร RS จะทำรายได้ตามเป้าที่ผู้บริหารอยากเห็นได้หรือไม่ รวมไปถึงการขยับเข้าสู่ธุรกิจใหม่ ๆ จะทำให้บริษัทประสบความสำเร็จมากน้อยแค่ไหน
แต่สิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับก็คือ
RS เป็นอีกหนึ่งในองค์กรที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลงตัวเองไปให้ทันกับโลกที่เปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเราอาจจะบอกได้ว่า เป็นเสมือนหนึ่งใน DNA ของบริษัทไปแล้วในวันนี้..
References:
-แบบแสดงรายการข้อมูลปี 2563, บริษัท อาร์เอส จำกัด (มหาชน)
-คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ไตรมาสที่ 3 สิ้นสุดวันที่ 30 ก.ย. 2564 https://www.set.or.th/set/pdfnews.do?newsId=16364989299121&sequence=2021120398
-https://www.rs.co.th/rs-group-strategies-2022/
-https://www.popcoin.co/
-https://www.bangkokbiznews.com/business/982143