อธิบาย FIFO จัดการสินค้าแบบ “เข้าก่อน ออกก่อน” แบบตู้แช่น้ำ ใน 7-Eleven
29 ก.ย. 2024
วิธีจัดการสินค้าแบบหนึ่งที่นิยมใช้กัน คือ “FIFO” ที่ย่อมาจากคำว่า First In First Out แปลตรงตัวก็คือ “เข้าก่อน ออกก่อน”
ซึ่งตัวอย่างที่อธิบายวิธีแบบนี้ได้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ ตู้แช่เครื่องดื่ม ใน 7-Eleven
ซึ่งตัวอย่างที่อธิบายวิธีแบบนี้ได้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ ตู้แช่เครื่องดื่ม ใน 7-Eleven
แล้วยังมีอะไรที่ต้องรู้อีกบ้าง เกี่ยวกับคำว่า FIFO ที่ว่านี้ ?
BrandCase จะสรุปให้อ่านกัน แบบเข้าใจง่าย ๆ
BrandCase จะสรุปให้อ่านกัน แบบเข้าใจง่าย ๆ
ถ้าเราเดินเข้าไปใน 7-Eleven แล้วเปิดตู้แช่น้ำเพื่อหยิบเครื่องดื่มเย็น จะเห็นว่า ตู้ถูกออกแบบให้ทะลุไปด้านหลังเชื่อมกับห้องเย็น
ซึ่งในห้องด้านหลัง ก็จะมีเครื่องดื่มสต็อกไว้ด้านใน และพนักงานสามารถเติมเครื่องดื่ม จากด้านหลังตู้เย็นได้
การทำแบบนี้ จะทำให้เครื่องดื่มที่ถูกเติมเข้ามาในตู้เย็นก่อน ถูกหยิบออกไปก่อน แล้วชิ้นที่มาทีหลัง ก็จะถูกดันขึ้นมาเรื่อย ๆ จนสุดท้ายก็มาอยู่ข้างหน้า
ซึ่งนี่ก็คือสิ่งที่อธิบายการจัดการสินค้า แบบที่เรียกว่า “เข้าก่อน ออกก่อน” หรือ FIFO (First In First Out)
หลักการของ FIFO นั้นง่าย ๆ เลยก็คือ
สินค้าล็อตไหน ที่ได้สั่งซื้อเข้ามาก่อน ให้นำออกไปจำหน่ายก่อน
สินค้าล็อตไหน ที่ได้สั่งซื้อเข้ามาก่อน ให้นำออกไปจำหน่ายก่อน
ซึ่ง FIFO ก็เป็นวิธีการระบายสินค้าคงค้าง สามารถนำไปใช้ได้ดีกับสินค้าที่มีอายุสั้น เช่น อาหารสด ที่มีวันหมดอายุ
หรือจะใช้กับสินค้าอะไรก็ได้ ที่ต้องการขายของที่รับมาก่อน ให้ออกไปก่อน
หรือจะใช้กับสินค้าอะไรก็ได้ ที่ต้องการขายของที่รับมาก่อน ให้ออกไปก่อน
ปัจจุบัน FIFO ก็ถูกนำไปใช้ ในหลากหลายธุรกิจด้วยกัน
ทั้งร้านค้าปลีก และโรงงานผลิตชิ้นส่วน
ทั้งร้านค้าปลีก และโรงงานผลิตชิ้นส่วน
ซึ่ง BrandCase ก็จะขอยกตัวอย่างเคสที่ใช้ FIFO บ่อย ๆ
1. ภายในห้างสรรพสินค้า และร้านสะดวกซื้อ เช่น 7-Eleven, Makro หรือ Lotus’s
ร้านค้าปลีกเหล่านี้ ก็จะมีพนักงานคอยเติมสินค้าใหม่ ๆ เข้ามาที่ด้านในสุดของชั้นวางสินค้า
โดยสินค้าที่อยู่ด้านในสุด ก็จะไปดันสินค้าที่ค้างบนชั้นวางให้ออกมาด้านนอก เพื่อให้ลูกค้าสามารถหยิบสินค้าออกไปได้ง่าย ๆ
2. ภายในโรงงานประกอบชิ้นส่วน เช่น ชิ้นส่วนยานยนต์ และชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
ก็จะใช้วิธีการควบคุมสต็อกวัตถุดิบ (Raw Material) เช่นเดียวกัน เช่น
- ออกแบบชั้นวาง สำหรับวางวัตถุดิบให้มีความลาดเอียง
เหมือนชั้นวางสินค้าในห้างสรรพสินค้า เพื่อให้พนักงานคลังสินค้า สามารถวางวัตถุดิบจากด้านหลังให้ไหลไปด้านหน้าได้
เหมือนชั้นวางสินค้าในห้างสรรพสินค้า เพื่อให้พนักงานคลังสินค้า สามารถวางวัตถุดิบจากด้านหลังให้ไหลไปด้านหน้าได้
และเพื่อให้พนักงานในไลน์ผลิต สามารถหยิบวัตถุดิบจากด้านหน้าสุด ไปทำการผลิต หรือประกอบสินค้าได้เลยทันที
- ใช้วิธีการควบคุมด้วยการมองเห็น โดยการใช้ป้ายแท็ก หรือสัญลักษณ์ต่าง ๆ บนวัตถุดิบล็อตที่มาก่อนหรือมาหลัง
ยกตัวอย่างให้เห็นภาพเช่น การใช้ สี แทนเดือนหรือวันต่าง ๆ ที่รับวัตถุดิบเข้ามา
ซึ่งวิธีการเหล่านี้ ทำให้พนักงานในไลน์ผลิตสามารถรู้ได้ทันที ว่าวัตถุดิบในแต่ละล็อต ถูกรับมาตั้งแต่วันไหน หรือเดือนไหน
เช่น เชนร้านอาหารที่รับไก่สด อาจใช้ถุงสีเหลือง แทนไก่ล็อตที่รับมาในวันจันทร์, ใช้ถุงสีสีชมพูสำหรับไก่ล็อตที่รับมาในวันอังคาร
นอกจากที่ FIFO จะถูกนำมาใช้ในการจัดการคลังสินค้าแล้ว ก็ยังถูกนำไปใช้คิด “ต้นทุนเฉลี่ยต่อชิ้น” ของสินค้าและวัตถุดิบ ในช่วงเวลาต่าง ๆ ได้
เพื่อให้เห็นภาพ จะลองยกตัวอย่างวิธีคิด
สมมติว่า ร้านของเรา สั่งซื้อสินค้า A แบรนด์หนึ่งมาขาย โดยมีต้นทุนต่อชิ้นของแต่ละล็อต ดังนี้
ล็อตที่ 1 สั่งมา 100 ชิ้น ต้นทุนชิ้นละ 40 บาท
ล็อตที่ 2 สั่งมา 200 ชิ้น ต้นทุนชิ้นละ 50 บาท
ล็อตที่ 3 สั่งมา 100 ขวด ต้นทุนชิ้นละ 60 บาท
ล็อตที่ 2 สั่งมา 200 ชิ้น ต้นทุนชิ้นละ 50 บาท
ล็อตที่ 3 สั่งมา 100 ขวด ต้นทุนชิ้นละ 60 บาท
หลักการคือ ล็อตไหนขายหมด ค่อยเอามาคิด ล็อตไหนขายยังไม่หมด ก็จะยังไม่เอามาคิดต้นทุนเฉลี่ย
- ถ้าขายสินค้า A ล็อตที่ 1 หมด
ต้นทุนคือ 100 x 40 เท่ากับ 4,000 บาท
หารด้วยจำนวนสินค้า 100 ชิ้น เฉลี่ยแล้วต้นทุนชิ้นละ 40 บาท
ต้นทุนคือ 100 x 40 เท่ากับ 4,000 บาท
หารด้วยจำนวนสินค้า 100 ชิ้น เฉลี่ยแล้วต้นทุนชิ้นละ 40 บาท
- ถ้าขายสินค้า A ล็อตที่ 1 และ 2 หมด
ต้นทุนคือ 100 x 40 = 4,000 บาท บวกกับ 200 x 50 = 10,000 บาท
จะเป็นต้นทุนรวม 14,000 บาท
หารด้วยจำนวนสินค้า 300 ชิ้น เฉลี่ยแล้วต้นทุนชิ้นละ 46.7 บาท
ต้นทุนคือ 100 x 40 = 4,000 บาท บวกกับ 200 x 50 = 10,000 บาท
จะเป็นต้นทุนรวม 14,000 บาท
หารด้วยจำนวนสินค้า 300 ชิ้น เฉลี่ยแล้วต้นทุนชิ้นละ 46.7 บาท
- ถ้าขายสินค้า ได้หมดทุกล็อต
ต้นทุนคือ 100 x 40 = 4,000 บาท บวกกับ 200 x 50 = 10,000 บาท บวกกับ 100 x 60 = 6,000 บาท
จะเป็นต้นทุนรวม 20,000 บาท
หารด้วยจำนวนสินค้า 300 ชิ้น เฉลี่ยแล้วต้นทุนชิ้นละ 50 บาท
ต้นทุนคือ 100 x 40 = 4,000 บาท บวกกับ 200 x 50 = 10,000 บาท บวกกับ 100 x 60 = 6,000 บาท
จะเป็นต้นทุนรวม 20,000 บาท
หารด้วยจำนวนสินค้า 300 ชิ้น เฉลี่ยแล้วต้นทุนชิ้นละ 50 บาท
จะเห็นว่าแต่ละช่วงเวลา ต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วย จะไม่เท่ากัน
ซึ่งการคิดแบบนี้ ก็เหมาะกับการคิดต้นทุนต่อหน่วย ของสินค้าที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา อย่างเช่น เนื้อหมู เนื้อปลา ไข่ไก่
ซึ่งการคิดแบบนี้ ก็เหมาะกับการคิดต้นทุนต่อหน่วย ของสินค้าที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา อย่างเช่น เนื้อหมู เนื้อปลา ไข่ไก่
มาถึงตรงนี้ ก็พอจะสรุปได้ว่า..
หัวใจของการจัดการสินค้าแบบ FIFO คือการพยายามขายของที่ รับมาก่อน ให้ออกไปก่อน เหมือนกับตู้แช่เครื่องดื่มใน 7-Eleven ที่บังคับให้เราหยิบสินค้าชิ้นหน้า ๆ ก่อน
ซึ่งข้อดีของมันก็คือ ช่วยระบายของเก่าออกไปก่อนได้
หัวใจของการจัดการสินค้าแบบ FIFO คือการพยายามขายของที่ รับมาก่อน ให้ออกไปก่อน เหมือนกับตู้แช่เครื่องดื่มใน 7-Eleven ที่บังคับให้เราหยิบสินค้าชิ้นหน้า ๆ ก่อน
ซึ่งข้อดีของมันก็คือ ช่วยระบายของเก่าออกไปก่อนได้
นอกจากนั้น หลัก FIFO ยังสามารถนำมาปรับใช้ เพื่อช่วยในเรื่องการคิดต้นทุนเฉลี่ยของสินค้า
ที่ราคาของมันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ได้อีกด้วย..
ที่ราคาของมันเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ได้อีกด้วย..
References
-https://thaiwinner.com/fifo/
-https://www.cplinter.com/fifo-lifo-fefo/
-https://amarinacademy.com/5594/management/fifo/
-https://www.ar-racking.com/en/news-and-blog/storage-solutions/storage-racking-solutions/fifo-warehouse-management-method-what-it-is-and-when-it-is-used
-https://www.calinrack.com/flow-rack/fifo-carton-live-flow-rack.html
-https://www.shipbob.com/blog/fifo/
-https://thaiwinner.com/fifo/
-https://www.cplinter.com/fifo-lifo-fefo/
-https://amarinacademy.com/5594/management/fifo/
-https://www.ar-racking.com/en/news-and-blog/storage-solutions/storage-racking-solutions/fifo-warehouse-management-method-what-it-is-and-when-it-is-used
-https://www.calinrack.com/flow-rack/fifo-carton-live-flow-rack.html
-https://www.shipbob.com/blog/fifo/