อธิบายเรื่อง ทำไมสินค้ารักษ์โลก มักจะมีราคาแพง ในมุมเศรษฐศาสตร์
7 พ.ค. 2024
อธิบายเรื่อง ทำไมสินค้ารักษ์โลก มักจะมีราคาแพง ในมุมเศรษฐศาสตร์ | ESG Case
ในยุคที่ปัญหาโลกร้อนทวีความรุนแรง ทำให้ผู้คนหันมาให้ความสนใจกับสินค้ารักษ์โลกมากขึ้น
สินค้าเหล่านี้จะผลิตจากวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการผลิตที่ยั่งยืน และคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
สินค้าเหล่านี้จะผลิตจากวัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการผลิตที่ยั่งยืน และคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
อย่างไรก็ตามเราจะสังเกตได้ว่าสินค้ารักษ์โลกนั้น ก็มีข้อจำกัดสำคัญ คือมักมีราคาแพงกว่าสินค้าทั่วไป
แล้วทำไมสินค้ารักษ์โลก ถึงมักจะมีราคาแพง ?
เรื่องนี้อธิบายให้เห็นภาพง่าย ๆ ด้วยมุมมองทางเศรษฐศาสตร์ ผ่านเรื่องของต้นทุน และอุปสงค์ อุปทาน
เรื่องนี้อธิบายให้เห็นภาพง่าย ๆ ด้วยมุมมองทางเศรษฐศาสตร์ ผ่านเรื่องของต้นทุน และอุปสงค์ อุปทาน
BrandCase จะสรุปให้เข้าใจง่าย ๆ
ต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าปกติ (High Manufacturing Costs)
ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า สินค้ารักษ์โลกนั้นไม่ได้หมายถึงแค่ตัวผลิตภัณฑ์เท่านั้น
แต่มันจะเริ่มตั้งแต่ต้นน้ำในการผลิตจนถึงปลายน้ำ
แต่มันจะเริ่มตั้งแต่ต้นน้ำในการผลิตจนถึงปลายน้ำ
โดยสินค้ารักษ์โลกจะใช้วัตถุดิบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ซึ่งบางทีอาจจะมีราคาแพงกว่าวัตถุดิบทั่วไปตามท้องตลาด
ซึ่งบางทีอาจจะมีราคาแพงกว่าวัตถุดิบทั่วไปตามท้องตลาด
ตัวอย่างเช่น บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายได้อย่างขวดพลาสติก
ที่มีวัตถุดิบตั้งต้นเป็นพลาสติกหรือวัสดุรีไซเคิล ที่จะมีราคาแพงกว่าเม็ดพลาสติกทั่วไป
ที่มีวัตถุดิบตั้งต้นเป็นพลาสติกหรือวัสดุรีไซเคิล ที่จะมีราคาแพงกว่าเม็ดพลาสติกทั่วไป
ซึ่งการที่เรานำวัสดุดังกล่าวมาใช้ก็จะหมายถึงต้นทุนที่เพิ่มขึ้นด้วย
และนอกจากจะต้องหาวัตถุดิบที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมแล้ว การหาซัปพลายเออร์ที่จะผลิตสินค้าให้กับเราก็สำคัญเช่นกัน
เพราะหลายบริษัทที่ทำสินค้ารักษ์โลก ดูไปถึงเบื้องหลังจริยธรรมของซัปพลายเออร์ด้วย
อย่างเช่น บริษัทซัปพลายเออร์ ปล่อยน้ำเสียลงแหล่งน้ำธรรมชาติไหม
หรือมีกระบวนการจัดการขยะ และมีความรับผิดชอบต่อสังคมมากพอไหม
หรือมีกระบวนการจัดการขยะ และมีความรับผิดชอบต่อสังคมมากพอไหม
นอกจากนี้สินค้ารักษ์โลกบางชนิดต้องขอใบรับรองสินค้าออร์แกนิกอีกด้วย
ซึ่งค่าใช้จ่ายในการขอใบรับรองนั้นก็มีราคาที่ค่อนข้างสูงเช่นกัน
ซึ่งค่าใช้จ่ายในการขอใบรับรองนั้นก็มีราคาที่ค่อนข้างสูงเช่นกัน
หมายความว่า บริษัทที่เป็นซัปพลายเออร์อาจมีต้นทุนทางอ้อมที่สูงขึ้น
ซึ่งหมายความว่าราคาวัตถุดิบจากซัปพลายเออร์เหล่านี้ ก็จะสูงขึ้นด้วยนั่นเอง
ซึ่งหมายความว่าราคาวัตถุดิบจากซัปพลายเออร์เหล่านี้ ก็จะสูงขึ้นด้วยนั่นเอง
Demand หรือ ความต้องการสินค้าในตลาด ยังมีน้อย
เรื่องนี้ก็เป็นผลพวงต่อมาจากข้อแรก คือพอต้นทุนสินค้ารักษ์โลก สูงกว่าสินค้าชนิดเดียวกันทั่วไป
อุปสงค์ (Demand) หรือความต้องการของผู้บริโภค เลยไม่ค่อยเกิด..
อุปสงค์ (Demand) หรือความต้องการของผู้บริโภค เลยไม่ค่อยเกิด..
แม้ว่าผู้คนส่วนใหญ่จะหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังกันเพิ่มมากขึ้น
โดยอ้างอิงจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล พบว่าคนไทยจำนวน 37.6%
มีความตั้งใจที่จะทำทุกอย่างและยินดีจ่ายแพงขึ้น เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม
โดยอ้างอิงจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล พบว่าคนไทยจำนวน 37.6%
มีความตั้งใจที่จะทำทุกอย่างและยินดีจ่ายแพงขึ้น เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อม
แต่ถ้าลองสมมติเหตุการณ์ง่าย ๆ ว่า
เราไปซื้อข้าวกล่อง ที่ข้างในเป็นเมนูกะเพราหมูสับไข่ดาวเหมือนกัน
เราไปซื้อข้าวกล่อง ที่ข้างในเป็นเมนูกะเพราหมูสับไข่ดาวเหมือนกัน
กล่องแรก ใส่กล่องโฟม ราคา 50 บาทกล่องที่สอง ใส่กล่องที่ทำจากวัสดุรักษ์โลก ย่อยสลายได้เอง ราคา 53 บาท
เชื่อว่าคนที่เลือกกล่องที่สอง คงมีไม่เยอะเท่ากล่องแรกแน่นอน
พอเป็นแบบนี้แล้วจะเกิดอะไรต่อ ?
มันก็จะวนกลับไปเป็นเหตุให้เกิดปัญหาข้อแรก คือ ไม่สามารถกดต้นทุนต่อหน่วยการผลิตให้ต่ำลงได้ เพราะไม่เกิดการผลิตในระดับ Mass Production มากพอ ..
เรื่องนี้จะไปเกี่ยวกับอีกทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ที่ได้ยินกันบ่อย ๆ คือ Economies of scale หรือการประหยัดต่อขนาด
คอนเซปต์ของคำนี้อธิบายง่าย ๆ คือ การที่ “ต้นทุนต่อหน่วยลดลง จากการผลิตสินค้าที่มากขึ้น”
โดยต้นทุนของการทำธุรกิจ แบ่งได้เป็น 2 แบบ คือ
ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) คือ ต้นทุนที่ไม่ว่าจะผลิตมากหรือน้อย ก็ยังต้องจ่ายเท่าเดิม เช่น ค่าเครื่องจักร ค่าจ้างพนักงานต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คือ ต้นทุนที่แปรผันไป ตามจำนวนการผลิตที่เพิ่มขึ้นหรือลดลง เช่น ค่าวัตถุดิบตั้งต้น
ยกตัวอย่างให้เข้าใจง่าย ๆ ก็อย่างเช่น
ถ้าเราผลิตน้ำ 100,000 ขวดต่อวัน มีต้นทุนรวม 300,000 บาท แบ่งเป็นต้นทุนผันแปร 200,000 บาท และเป็นต้นทุนคงที่ 100,000 บาท
หมายความว่า ต้นทุนรวมต่อขวด คือ 3 บาท
คือเป็นต้นทุนคงที่ต่อขวด เท่ากับ 1 บาท
และต้นทุนผันแปรต่อขวด เท่ากับ 2 บาท
คือเป็นต้นทุนคงที่ต่อขวด เท่ากับ 1 บาท
และต้นทุนผันแปรต่อขวด เท่ากับ 2 บาท
ต่อมาเราผลิตน้ำเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว เป็น 200,000 ขวด ต่อวัน
ทำให้ต้นทุนผันแปรเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวเช่นกัน เป็น 400,000 บาท
ขณะที่ต้นทุนคงที่เท่าเดิม ที่ 100,000 บาท
ทำให้ต้นทุนผันแปรเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัวเช่นกัน เป็น 400,000 บาท
ขณะที่ต้นทุนคงที่เท่าเดิม ที่ 100,000 บาท
หมายความว่า ตอนนี้ น้ำดื่มที่เราผลิต จะมีต้นทุนรวมเท่ากับ 500,000 บาท
แต่ต้นทุนรวมต่อขวด ลดลงเหลือเท่ากับ 2.5 บาท
ซึ่งเป็นต้นทุนผันแปรต่อขวดที่ 2 บาท
และต้นทุนคงที่ต่อขวดที่ 0.5 บาท
แต่ต้นทุนรวมต่อขวด ลดลงเหลือเท่ากับ 2.5 บาท
ซึ่งเป็นต้นทุนผันแปรต่อขวดที่ 2 บาท
และต้นทุนคงที่ต่อขวดที่ 0.5 บาท
เราจะเห็นว่า ต้นทุนคงที่ต่อขวดนั้น ลดลง เมื่อเราเพิ่มการผลิตน้ำดื่มมากขึ้น
เพราะรายจ่ายที่เป็นต้นทุนคงที่ ถูกกระจายไปยังน้ำดื่มแต่ละขวดได้มากขึ้น
ซึ่งนี่ก็คือ ความหมายของการเกิด Economies of Scale หรือการประหยัดต่อขนาดนั่นเอง
เพราะรายจ่ายที่เป็นต้นทุนคงที่ ถูกกระจายไปยังน้ำดื่มแต่ละขวดได้มากขึ้น
ซึ่งนี่ก็คือ ความหมายของการเกิด Economies of Scale หรือการประหยัดต่อขนาดนั่นเอง
สรุปคือ สินค้ารักษ์โลก ที่หลายอย่างต้องขายแพง เรื่องสำคัญเพราะเจอปัญหาเรื่องกดต้นทุนการผลิตให้ต่ำลงได้ยาก
ทั้งจากราคาตัววัตถุดิบตั้งต้นเอง และทั้งจากฝั่ง Demand ที่มีน้อยเพราะไม่อยากซื้อของแพง
ทั้งจากราคาตัววัตถุดิบตั้งต้นเอง และทั้งจากฝั่ง Demand ที่มีน้อยเพราะไม่อยากซื้อของแพง
ซึ่งสุดท้ายก็วนเป็นลูปที่ขายถูกไม่ได้ไปแบบนี้เรื่อย ๆ
แล้วทางแก้คืออะไร ?
ก็ยกตัวอย่างเชิงนโยบาย เช่น รัฐบาลหลายประเทศที่อยากให้คนใช้รถ EV ที่รักษ์โลกกว่ารถสันดาป ก็ใช้วิธีให้เงินอุดหนุนคนซื้อรถ EV หรือให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษี
ซึ่งการทำแบบนี้ ก็ช่วยดึงคนมาซื้อสินค้าเหล่านี้ได้
ก็ยกตัวอย่างเชิงนโยบาย เช่น รัฐบาลหลายประเทศที่อยากให้คนใช้รถ EV ที่รักษ์โลกกว่ารถสันดาป ก็ใช้วิธีให้เงินอุดหนุนคนซื้อรถ EV หรือให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษี
ซึ่งการทำแบบนี้ ก็ช่วยดึงคนมาซื้อสินค้าเหล่านี้ได้
พอมี Demand มีความต้องการซื้อเข้ามา จนเกิดการผลิตระดับ Mass มาก ๆ สุดท้าย ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยก็จะค่อย ๆ ลดลง
และพอต้นทุนต่อหน่วยผลิตลดลง สินค้ารักษ์โลกเหล่านี้ ก็จะขายถูกลงได้ และน่าจะแข่งขันในตลาดได้ ในที่สุด..