ทำไม อดีต CEO ของ Pepsi ชอบเขียนจดหมายถึง พ่อแม่ของลูกน้อง
29 ม.ค. 2022
ทำไม อดีต CEO ของ Pepsi ชอบเขียนจดหมายถึง พ่อแม่ของลูกน้อง | THE BRIEFCASE
ซีอีโอระดับโลกส่วนใหญ่ มักจะมีเอกลักษณ์หรือมีนิสัยเฉพาะตัวบางอย่าง ที่ทำให้คนต้องสนใจปน ๆ กับแปลกใจ
เช่น บิลล์ เกตส์ จะชอบล้างจานเองทุกเย็น
หรือ วอร์เรน บัฟเฟตต์ จะเริ่มต้นเช้าวันใหม่ด้วยอาหารจากแมคโดนัลด์
และในบทความนี้จะพูดถึงอดีตซีอีโอหญิงของ Pepsi
ที่เธอชอบเขียนจดหมายถึง พ่อแม่ของทีมงานที่อยู่ในระดับผู้บริหารปีละครั้ง ซึ่งนี่คือหนึ่งในวิธีซื้อใจพนักงานของเธอ
แน่นอนว่าหลายคนอาจจะแปลกใจ กับวิธีซื้อใจพนักงานสุดประหลาดนี้ว่าทำไปทำไม ?
แค่งานของผู้บริหารที่ทำอยู่ในทุก ๆ วัน ก็ยุ่งจนไม่มีเวลาทำอะไรอยู่แล้ว
แต่ “อินทรา นูยี” อดีตซีอีโอของ Pepsi เธอก็มีเหตุผลที่น่าสนใจในการทำเช่นนี้อยู่
เหตุผลของเธอคืออะไร ? THE BRIEFCASE จะสรุปให้ฟัง..
โดยปกติแล้ว ถ้าหัวหน้าอยากจะตอบแทนพนักงานที่ทำงานหนัก ๆ ก็อาจจะพาไปกินเลี้ยง จัดปาร์ตี ให้ของขวัญ ให้โบนัส หรือในบริษัทใหญ่ ๆ อาจให้หุ้นเป็นการตอบแทน
แต่สำหรับ อินทรา นูยี ที่เคยเป็นซีอีโอของ Pepsi ช่วงปี 2006-2017
เธอมองว่า สิ่งที่เธออยากตอบแทนพนักงานทุกคน คือการแสดงความชื่นชมพนักงานให้ได้อย่างสุดซึ้ง ซึ่งวิธีการของเธอก็คือ การเขียนจดหมายที่อธิบายถึงผลงานของพนักงาน และกล่าวขอบคุณพ่อแม่ของพนักงานระดับผู้บริหารเหล่านั้น เพื่อให้พ่อแม่ของพวกเขาภูมิใจในลูก ๆ ของตัวเอง
แล้วทำไมอินทรา นูยี ถึงเลือกใช้วิธีนี้ ?
อินทรา นูยี กล่าวว่า เมื่อเธอเป็นซีอีโอของ Pepsi ในปีแรก เวลาที่ตัวเธอกลับบ้านแล้วเห็นเพื่อนบ้านหรือคนอื่น ๆ เข้ามาเยี่ยมแม่ของเธอที่บ้าน พวกเขาจะไปหาแม่ของเธอ และพูดว่า “คุณเลี้ยงดูลูกสาวได้ดีมากเลย ขอชื่นชมคุณที่เลี้ยงลูกจนเป็นซีอีโอที่ดีได้”
ซึ่งเรื่องนี้ทำให้เธอได้ลองมานั่งคิดทบทวนว่า การที่เธอมาถึงจุดนี้ได้ก็เพราะพ่อแม่ที่คอยสนับสนุนเธอทุกเรื่องจริง ๆ ดังนั้นการที่เธอประสบความสำเร็จ พ่อแม่ก็ควรได้รับการสรรเสริญเหล่านี้ด้วย
อีกทั้งผู้นำหรือพนักงานเก่ง ๆ หลายคนที่เป็นพนักงานของเธอ ก็ได้ประสบพบเจอกับพ่อแม่ที่ไม่ชอบงาน หรือไม่เข้าใจเนื้องานที่ลูกตัวเองทำอยู่ ทำให้เกิดปัญหาครอบครัวกันอยู่บ่อย ๆ
และอีกประเด็นหนึ่งที่ทำให้เธออยากเขียนจดหมายถึงคือ หลายครั้งที่ตัวเธอกำลังเผชิญกับความเครียดของการทำงาน จนไม่ว่างที่จะโทรหาพ่อแม่ของตัวเอง ซึ่งก็ทำให้เธอได้เข้าใจว่าเหล่าผู้บริหารของเธอก็กำลังเผชิญกับการยุ่งกับงาน จนไม่มีเวลาพูดคุยกับครอบครัวเช่นกัน
ดังนั้นการที่เธอเลือกเขียนจดหมายขอบคุณพ่อแม่ของบรรดาเหล่าผู้นำ เธอบอกว่ามันจะเป็นสิ่งที่ช่วยเปิด “ประตูแห่งอารมณ์” หรือก็คือทำให้พ่อแม่และลูก ๆ ที่เป็นพนักงานของ Pepsi ได้เชื่อมต่อกันมากขึ้น
โดยเธอจะเขียนขอบคุณพ่อแม่ของพนักงานระดับผู้บริหาร และกล่าวถึงผลงานต่าง ๆ ที่พวกเขาทำให้กับ Pepsi
และเมื่อพ่อแม่ของทีมงานได้อ่านจดหมายแล้ว ก็ทำให้พ่อแม่ของพนักงานเหล่านี้เขียนจดหมายตอบกลับมาหาอินทรา นูยี เพื่อบอกว่าพวกเขารู้สึกเป็นเกียรติมาก ๆ จนต้องแบ่งปันบอกเล่าให้กับคนในครอบครัวและเพื่อนคนอื่น ๆ
ส่วนผู้บริหารหลายคนก็มักจะมาบอกกับอินทรา นูยี ว่า “พระเจ้า! นี่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่เกิดขึ้นกับพ่อแม่ของฉัน และเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่เกิดขึ้นกับฉัน”
เพราะจดหมายจากอินทรา นูยี ทำให้ครอบครัวพวกเขารู้สึกภาคภูมิใจและชื่นชมในตัวพวกเขามากขึ้น และส่งผลให้เหล่าพนักงานมีความพึงพอใจในการทำงานที่สูงขึ้น และยังเป็นการช่วยสร้างบรรยากาศดี ๆ ให้เกิดขึ้นท่ามกลางความเคร่งเครียด
แล้ว อินทรา นูยี จะได้อะไรจากการนั่งเขียนจดหมาย หลายร้อยฉบับนี้ ?
อินทรา นูยี ต้องการทำให้ตัวเองมีความเป็นมนุษย์มากที่สุด
มากกว่าการเป็นผู้บริหารที่ห่างไกลทีมงาน มันทำให้ทีมงานรู้จักเธอในฐานะเพื่อนมนุษย์คนหนึ่ง และสามารถเข้าถึงเธอได้ง่าย กล้าพูดคุยกับเธอในทุก ๆ เรื่อง
และแน่นอนว่าการที่เธอได้ใกล้ชิด รับรู้ทุกปัญหาเสมอมา ก็ทำให้เธอแก้ไขปัญหานั้นได้อย่างรวดเร็ว
อ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนอาจจะตั้งคำถามว่า เราต้องทำขนาดนี้เลยหรือไม่ ถึงจะได้ใจพนักงาน ?
ในความเป็นจริงก็มีพนักงานที่ทำงานอยู่กับบริษัทเป็นสิบปี โดยที่มีเหตุผลอื่น ๆ ประกอบการตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน โบนัส สวัสดิการ เนื้องาน หรือ Mission ของบริษัท
เช่น เชอริล แซนด์เบิร์ก ที่เป็นหัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการอยู่กับ Facebook หรือ Meta มา 14 ปี ก็อยู่เพราะเธอมีเป้าหมายเดียวกับมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก และเธอต้องการพิสูจน์ให้โลกได้เห็นว่าผู้หญิงก็เป็นผู้นำได้
ซึ่งก็ยังมีอีกหลายคนที่อยู่กับบริษัทยาวนานจนกลายเป็นผู้บริหาร
ไม่ว่าจะเป็น สัตยา นาเดลลา ซีอีโอ Microsoft หรือซุนดาร์ พิชัย ซีอีโอ Google ด้วยเหตุผลที่ว่าต้องการทำให้โลกดีขึ้น
ดังนั้นก็แปลว่าสิ่งที่จะได้ใจพนักงานระดับสูง ก็คงไม่ได้มีแค่การนั่งเขียนจดหมาย หรือมีสูตรสำเร็จอะไรที่ใช้ได้ 100% ผู้นำก็คงต้องดูตามความเหมาะสม และมอบสิ่งตอบแทนให้ตรงกับความต้องการของทีมงานแต่ละคน
แต่อย่างน้อย ๆ บริษัทก็คงต้องมีอย่างใดอย่างหนึ่ง
ไม่ว่าจะเป็นผลตอบแทนที่มากพอ มีการดูแลหรือสวัสดิการที่ดีเยี่ยม
หรือไม่ก็ การที่บริษัทต้องมีภารกิจ มีวิสัยทัศน์ที่สำคัญมากพอ ที่ทำให้พนักงานอยากตื่นขึ้นมาทำงาน ในทุก ๆ เช้า..
References:
-https://search.alexanderstreet.com/preview/work/bibliographic_entity%7Cvideo_work%7C3904359
-https://www.cnbc.com/2017/02/01/why-pepsico-ceo-indra-nooyi-writes-letters-to-her-employees-parents.html
-https://finance.yahoo.com/news/why-pepsico-ceo-indra-nooyi-145026328.html
ซีอีโอระดับโลกส่วนใหญ่ มักจะมีเอกลักษณ์หรือมีนิสัยเฉพาะตัวบางอย่าง ที่ทำให้คนต้องสนใจปน ๆ กับแปลกใจ
เช่น บิลล์ เกตส์ จะชอบล้างจานเองทุกเย็น
หรือ วอร์เรน บัฟเฟตต์ จะเริ่มต้นเช้าวันใหม่ด้วยอาหารจากแมคโดนัลด์
และในบทความนี้จะพูดถึงอดีตซีอีโอหญิงของ Pepsi
ที่เธอชอบเขียนจดหมายถึง พ่อแม่ของทีมงานที่อยู่ในระดับผู้บริหารปีละครั้ง ซึ่งนี่คือหนึ่งในวิธีซื้อใจพนักงานของเธอ
แน่นอนว่าหลายคนอาจจะแปลกใจ กับวิธีซื้อใจพนักงานสุดประหลาดนี้ว่าทำไปทำไม ?
แค่งานของผู้บริหารที่ทำอยู่ในทุก ๆ วัน ก็ยุ่งจนไม่มีเวลาทำอะไรอยู่แล้ว
แต่ “อินทรา นูยี” อดีตซีอีโอของ Pepsi เธอก็มีเหตุผลที่น่าสนใจในการทำเช่นนี้อยู่
เหตุผลของเธอคืออะไร ? THE BRIEFCASE จะสรุปให้ฟัง..
โดยปกติแล้ว ถ้าหัวหน้าอยากจะตอบแทนพนักงานที่ทำงานหนัก ๆ ก็อาจจะพาไปกินเลี้ยง จัดปาร์ตี ให้ของขวัญ ให้โบนัส หรือในบริษัทใหญ่ ๆ อาจให้หุ้นเป็นการตอบแทน
แต่สำหรับ อินทรา นูยี ที่เคยเป็นซีอีโอของ Pepsi ช่วงปี 2006-2017
เธอมองว่า สิ่งที่เธออยากตอบแทนพนักงานทุกคน คือการแสดงความชื่นชมพนักงานให้ได้อย่างสุดซึ้ง ซึ่งวิธีการของเธอก็คือ การเขียนจดหมายที่อธิบายถึงผลงานของพนักงาน และกล่าวขอบคุณพ่อแม่ของพนักงานระดับผู้บริหารเหล่านั้น เพื่อให้พ่อแม่ของพวกเขาภูมิใจในลูก ๆ ของตัวเอง
แล้วทำไมอินทรา นูยี ถึงเลือกใช้วิธีนี้ ?
อินทรา นูยี กล่าวว่า เมื่อเธอเป็นซีอีโอของ Pepsi ในปีแรก เวลาที่ตัวเธอกลับบ้านแล้วเห็นเพื่อนบ้านหรือคนอื่น ๆ เข้ามาเยี่ยมแม่ของเธอที่บ้าน พวกเขาจะไปหาแม่ของเธอ และพูดว่า “คุณเลี้ยงดูลูกสาวได้ดีมากเลย ขอชื่นชมคุณที่เลี้ยงลูกจนเป็นซีอีโอที่ดีได้”
ซึ่งเรื่องนี้ทำให้เธอได้ลองมานั่งคิดทบทวนว่า การที่เธอมาถึงจุดนี้ได้ก็เพราะพ่อแม่ที่คอยสนับสนุนเธอทุกเรื่องจริง ๆ ดังนั้นการที่เธอประสบความสำเร็จ พ่อแม่ก็ควรได้รับการสรรเสริญเหล่านี้ด้วย
อีกทั้งผู้นำหรือพนักงานเก่ง ๆ หลายคนที่เป็นพนักงานของเธอ ก็ได้ประสบพบเจอกับพ่อแม่ที่ไม่ชอบงาน หรือไม่เข้าใจเนื้องานที่ลูกตัวเองทำอยู่ ทำให้เกิดปัญหาครอบครัวกันอยู่บ่อย ๆ
และอีกประเด็นหนึ่งที่ทำให้เธออยากเขียนจดหมายถึงคือ หลายครั้งที่ตัวเธอกำลังเผชิญกับความเครียดของการทำงาน จนไม่ว่างที่จะโทรหาพ่อแม่ของตัวเอง ซึ่งก็ทำให้เธอได้เข้าใจว่าเหล่าผู้บริหารของเธอก็กำลังเผชิญกับการยุ่งกับงาน จนไม่มีเวลาพูดคุยกับครอบครัวเช่นกัน
ดังนั้นการที่เธอเลือกเขียนจดหมายขอบคุณพ่อแม่ของบรรดาเหล่าผู้นำ เธอบอกว่ามันจะเป็นสิ่งที่ช่วยเปิด “ประตูแห่งอารมณ์” หรือก็คือทำให้พ่อแม่และลูก ๆ ที่เป็นพนักงานของ Pepsi ได้เชื่อมต่อกันมากขึ้น
โดยเธอจะเขียนขอบคุณพ่อแม่ของพนักงานระดับผู้บริหาร และกล่าวถึงผลงานต่าง ๆ ที่พวกเขาทำให้กับ Pepsi
และเมื่อพ่อแม่ของทีมงานได้อ่านจดหมายแล้ว ก็ทำให้พ่อแม่ของพนักงานเหล่านี้เขียนจดหมายตอบกลับมาหาอินทรา นูยี เพื่อบอกว่าพวกเขารู้สึกเป็นเกียรติมาก ๆ จนต้องแบ่งปันบอกเล่าให้กับคนในครอบครัวและเพื่อนคนอื่น ๆ
ส่วนผู้บริหารหลายคนก็มักจะมาบอกกับอินทรา นูยี ว่า “พระเจ้า! นี่เป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่เกิดขึ้นกับพ่อแม่ของฉัน และเป็นสิ่งที่ดีที่สุดที่เกิดขึ้นกับฉัน”
เพราะจดหมายจากอินทรา นูยี ทำให้ครอบครัวพวกเขารู้สึกภาคภูมิใจและชื่นชมในตัวพวกเขามากขึ้น และส่งผลให้เหล่าพนักงานมีความพึงพอใจในการทำงานที่สูงขึ้น และยังเป็นการช่วยสร้างบรรยากาศดี ๆ ให้เกิดขึ้นท่ามกลางความเคร่งเครียด
แล้ว อินทรา นูยี จะได้อะไรจากการนั่งเขียนจดหมาย หลายร้อยฉบับนี้ ?
อินทรา นูยี ต้องการทำให้ตัวเองมีความเป็นมนุษย์มากที่สุด
มากกว่าการเป็นผู้บริหารที่ห่างไกลทีมงาน มันทำให้ทีมงานรู้จักเธอในฐานะเพื่อนมนุษย์คนหนึ่ง และสามารถเข้าถึงเธอได้ง่าย กล้าพูดคุยกับเธอในทุก ๆ เรื่อง
และแน่นอนว่าการที่เธอได้ใกล้ชิด รับรู้ทุกปัญหาเสมอมา ก็ทำให้เธอแก้ไขปัญหานั้นได้อย่างรวดเร็ว
อ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนอาจจะตั้งคำถามว่า เราต้องทำขนาดนี้เลยหรือไม่ ถึงจะได้ใจพนักงาน ?
ในความเป็นจริงก็มีพนักงานที่ทำงานอยู่กับบริษัทเป็นสิบปี โดยที่มีเหตุผลอื่น ๆ ประกอบการตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน โบนัส สวัสดิการ เนื้องาน หรือ Mission ของบริษัท
เช่น เชอริล แซนด์เบิร์ก ที่เป็นหัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการอยู่กับ Facebook หรือ Meta มา 14 ปี ก็อยู่เพราะเธอมีเป้าหมายเดียวกับมาร์ก ซักเคอร์เบิร์ก และเธอต้องการพิสูจน์ให้โลกได้เห็นว่าผู้หญิงก็เป็นผู้นำได้
ซึ่งก็ยังมีอีกหลายคนที่อยู่กับบริษัทยาวนานจนกลายเป็นผู้บริหาร
ไม่ว่าจะเป็น สัตยา นาเดลลา ซีอีโอ Microsoft หรือซุนดาร์ พิชัย ซีอีโอ Google ด้วยเหตุผลที่ว่าต้องการทำให้โลกดีขึ้น
ดังนั้นก็แปลว่าสิ่งที่จะได้ใจพนักงานระดับสูง ก็คงไม่ได้มีแค่การนั่งเขียนจดหมาย หรือมีสูตรสำเร็จอะไรที่ใช้ได้ 100% ผู้นำก็คงต้องดูตามความเหมาะสม และมอบสิ่งตอบแทนให้ตรงกับความต้องการของทีมงานแต่ละคน
แต่อย่างน้อย ๆ บริษัทก็คงต้องมีอย่างใดอย่างหนึ่ง
ไม่ว่าจะเป็นผลตอบแทนที่มากพอ มีการดูแลหรือสวัสดิการที่ดีเยี่ยม
หรือไม่ก็ การที่บริษัทต้องมีภารกิจ มีวิสัยทัศน์ที่สำคัญมากพอ ที่ทำให้พนักงานอยากตื่นขึ้นมาทำงาน ในทุก ๆ เช้า..
References:
-https://search.alexanderstreet.com/preview/work/bibliographic_entity%7Cvideo_work%7C3904359
-https://www.cnbc.com/2017/02/01/why-pepsico-ceo-indra-nooyi-writes-letters-to-her-employees-parents.html
-https://finance.yahoo.com/news/why-pepsico-ceo-indra-nooyi-145026328.html