รู้จัก เครื่องมือช่วย เลือกคนให้เหมาะกับงาน ของ เรย์ ดาลิโอ
31 พ.ค. 2021
รู้จัก เครื่องมือช่วย เลือกคนให้เหมาะกับงาน ของ เรย์ ดาลิโอ | THE BRIEFCASE
“Put the right man on the right job”
แปลตรง ๆ ว่า “เลือกคน ให้เหมาะกับงาน”
เป็นวลีเด็ด ที่ได้ยินกันบ่อย ๆ ในวงการ การบริหาร
คำถามคือ เราจะเลือกคนให้เหมาะกับงาน ได้อย่างไร ?
วันนี้ THE BRIEFCASE มีหนึ่งเครื่องมือน่าสนใจ ที่เข้ามาช่วยตอบคำถามนี้ได้
ซึ่งเป็นเครื่องมือหนึ่ง จากหนังสือ Principles ของ เรย์ ดาลิโอ ผู้ก่อตั้งกองทุนเฮดจ์ฟัน ที่มีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารมากสุดในโลก
เรย์บอกว่า นี่คือเครื่องมือ ที่ช่วยให้การตัดสินใจ เลือกคนให้เหมาะกับงาน ทำได้ง่าย และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
โดยเขาเรียกเครื่องมือนี้ว่า “Baseball Card”
อธิบาย Baseball Card แบบเข้าใจง่าย ๆ คือการให้แต่ละคนในองค์กร มีการ์ดเป็นของตัวเองคนละใบ
ในการ์ดแต่ละใบของแต่ละคนนั้น จะบ่งบอกว่า เจ้าของการ์ดใบนั้นมีจุดแข็งเรื่องอะไร และมีจุดอ่อนเรื่องอะไรบ้าง ซึ่งก็จะคล้าย ๆ กับการ์ดความสามารถของนักเบสบอล ที่คนนิยมสะสมกันในสหรัฐอเมริกานั่นเอง
โดยความสามารถในแต่ละด้าน จะถูกให้คะแนนอยู่ในช่วง 0-10
ถ้าใครโดดเด่นในความสามารถด้านไหนมาก คะแนนในข้อนั้นก็จะได้เข้าใกล้ 10
ส่วนเรื่องไหนที่เป็นจุดอ่อนมาก ๆ คะแนนก็อาจจะเข้าใกล้ 0
ซึ่งความสามารถในด้านต่าง ๆ ที่จะอยู่ในการ์ดของแต่ละคน ก็จะมีทั้ง Hard Skill และ Soft Skill
Hard Skill ก็อย่างเช่น ความสามารถด้านคณิตศาสตร์, ความสามารถด้านการวิเคราะห์ความเสี่ยง, ความสามารถด้านการเขียนโคด
Soft Skill ก็อย่างเช่น ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น, ความสามารถด้านการพูดโน้มน้าวใจ, ความสามารถด้านการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
ถึงตรงนี้ หลายคนก็คงมีคำถามว่า คะแนนในแต่ละด้านของเรา มาจากไหน ?
คำตอบคือ มาจากทุกคนในองค์กร หรือทุกคนในทีม ที่จะให้คะแนนซึ่งกันและกัน
ยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจง่าย ๆ
ในหนึ่งทีมที่มีพนักงาน 10 คน เรย์จะกำหนดให้ทุก ๆ สัปดาห์ หรือทุก ๆ เดือน พนักงานแต่ละคนต้องลงคะแนนในแต่ละด้านให้กับเพื่อนร่วมงานทุกคน รวมถึงให้คะแนนตัวเองด้วย
จากนั้นเอาคะแนนที่ได้ในแต่ละด้านจากการลงคะแนนของทุกคน บวกรวมกันแล้วหาร 10 ก็จะได้เป็นคะแนนความสามารถของเราในแต่ละด้าน
และเมื่อลงคะแนนกันในครั้งต่อ ๆ ไป ก็เอาคะแนนที่ได้ในแต่ละด้านมาคำนวณให้ออกมาเป็นค่าเฉลี่ย แบบนี้ไปเรื่อย ๆ (ซึ่งตรงนี้องค์กรของ เรย์ ดาลิโอ มีแอปพลิเคชันที่สร้างขึ้นมาใช้คำนวณคะแนนสำหรับภายในองค์กรโดยเฉพาะ แต่หากใครต้องการประยุกต์ก็สามารถใช้เครื่องมืออื่นได้ เช่น โปรแกรม Microsoft Excel)
พอทีมงานทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ การ์ดของแต่ละคน ก็จะสะท้อนจุดแข็งและจุดอ่อนของคนนั้นออกมาได้ชัดเจนมากขึ้น ว่าใครโดดเด่นด้านไหน หรือมีด้านไหนที่ยังเป็นจุดอ่อนที่ต้องปรับปรุง
ซึ่งตรงนี้เอง ที่มาช่วยให้หัวหน้าทีมหรือผู้บริหาร สามารถเลือกคนไปทำงานได้อย่างเหมาะสม เพราะคะแนนความสามารถของแต่ละคน ถูกเก็บสถิติเอาไว้เรียบร้อยแล้ว
สมมติมีงานเร่งด่วนเข้ามา แล้วต้องการคนที่เขียนโคดเก่ง
ก็สามารถเลือกคนที่มีคะแนนด้านการเขียนโคดสูง ๆ ใน Baseball Card ไปทำงานได้
หรือสมมติมีงานที่ต้องการคนที่แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
ก็สามารถเลือกคนที่มีคะแนนด้านการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี ไปรับผิดชอบงานนั้นได้
อย่างไรก็ตาม เครื่องมือ Baseball Card ก็มีข้อควรระวังในการนำมาใช้
เพราะอย่าลืมว่า ทุกคนในทีมหรือองค์กร มีสิทธิ์ในการลงคะแนนให้คนอื่น รวมถึงตัวเอง
ซึ่งคะแนนที่แต่ละคนให้กันนั้น จะสะท้อนความเป็นจริงได้อย่างแม่นยำ แต่ละคนต้องไม่ใช้อคติในการให้คะแนนผู้อื่น หรือแม้กระทั่งให้คะแนนตัวเอง
เช่น บางคนอยากให้ตัวเองได้คะแนนดี ก็อาจลงคะแนนให้ตัวเองดีเกินความเป็นจริง ถึงแม้ความสามารถในบางด้านของตัวเองไม่ได้ดีขนาดนั้น
หรือบางคนไม่ชอบเพื่อนร่วมงานคนหนึ่ง ก็ลงคะแนนให้เพื่อนร่วมงานคนนั้นน้อยทุกด้าน ทั้ง ๆ ที่เขามีความโดดเด่นบางด้านมาก ๆ
หรืออีกกรณีที่ร้ายแรงที่สุดที่จะเกิดขึ้นได้ คืออาจมีการ “ซื้อเสียง” เพื่อสร้างความดูดี หรือความเก่งแบบปลอม ๆ ไว้ในการ์ดของตัวเอง..
เพราะฉะนั้น ทีมไหนหรือองค์กรไหน ที่อยากจะนำเครื่องมือนี้ไปปรับใช้
ก็ควรต้องสร้างวัฒนธรรมแห่งความโปร่งใส ตรงไปตรงมา ให้กับองค์กรหรือทีมงานก่อน
ส่วนตัวของ เรย์ ดาลิโอ เอง เขาบอกว่า ให้ความสำคัญกับความโปร่งใสในองค์กรมาก
โปร่งใสในที่นี้คือ พนักงานต้องกล้าฟีดแบ็กคนในองค์กรอย่างตรงไปตรงมา ส่วนคนที่ได้รับฟีดแบ็กในแง่ลบ ก็ต้องพร้อมยอมรับฟัง แล้วนำไปปรับปรุงอย่างเต็มที่
เมื่อทุกคนในองค์กรพร้อมรับฟังความเห็นคนอื่น และสื่อสาร ฟีดแบ็กกันอย่างตรงไปตรงมา
เครื่องมือ Baseball Card นี้ ก็จะสามารถทำหน้าที่ “เลือกคนให้เหมาะกับงาน” ได้อย่างเต็มที่ในที่สุด..
References
-https://www.shortform.com/blog/ray-dalio-baseball-cards/
-หนังสือ Principles เขียนโดย Ray Dalio
“Put the right man on the right job”
แปลตรง ๆ ว่า “เลือกคน ให้เหมาะกับงาน”
เป็นวลีเด็ด ที่ได้ยินกันบ่อย ๆ ในวงการ การบริหาร
คำถามคือ เราจะเลือกคนให้เหมาะกับงาน ได้อย่างไร ?
วันนี้ THE BRIEFCASE มีหนึ่งเครื่องมือน่าสนใจ ที่เข้ามาช่วยตอบคำถามนี้ได้
ซึ่งเป็นเครื่องมือหนึ่ง จากหนังสือ Principles ของ เรย์ ดาลิโอ ผู้ก่อตั้งกองทุนเฮดจ์ฟัน ที่มีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารมากสุดในโลก
เรย์บอกว่า นี่คือเครื่องมือ ที่ช่วยให้การตัดสินใจ เลือกคนให้เหมาะกับงาน ทำได้ง่าย และมีประสิทธิภาพมากขึ้น
โดยเขาเรียกเครื่องมือนี้ว่า “Baseball Card”
อธิบาย Baseball Card แบบเข้าใจง่าย ๆ คือการให้แต่ละคนในองค์กร มีการ์ดเป็นของตัวเองคนละใบ
ในการ์ดแต่ละใบของแต่ละคนนั้น จะบ่งบอกว่า เจ้าของการ์ดใบนั้นมีจุดแข็งเรื่องอะไร และมีจุดอ่อนเรื่องอะไรบ้าง ซึ่งก็จะคล้าย ๆ กับการ์ดความสามารถของนักเบสบอล ที่คนนิยมสะสมกันในสหรัฐอเมริกานั่นเอง
โดยความสามารถในแต่ละด้าน จะถูกให้คะแนนอยู่ในช่วง 0-10
ถ้าใครโดดเด่นในความสามารถด้านไหนมาก คะแนนในข้อนั้นก็จะได้เข้าใกล้ 10
ส่วนเรื่องไหนที่เป็นจุดอ่อนมาก ๆ คะแนนก็อาจจะเข้าใกล้ 0
ซึ่งความสามารถในด้านต่าง ๆ ที่จะอยู่ในการ์ดของแต่ละคน ก็จะมีทั้ง Hard Skill และ Soft Skill
Hard Skill ก็อย่างเช่น ความสามารถด้านคณิตศาสตร์, ความสามารถด้านการวิเคราะห์ความเสี่ยง, ความสามารถด้านการเขียนโคด
Soft Skill ก็อย่างเช่น ความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น, ความสามารถด้านการพูดโน้มน้าวใจ, ความสามารถด้านการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
ถึงตรงนี้ หลายคนก็คงมีคำถามว่า คะแนนในแต่ละด้านของเรา มาจากไหน ?
คำตอบคือ มาจากทุกคนในองค์กร หรือทุกคนในทีม ที่จะให้คะแนนซึ่งกันและกัน
ยกตัวอย่างเพื่อให้เข้าใจง่าย ๆ
ในหนึ่งทีมที่มีพนักงาน 10 คน เรย์จะกำหนดให้ทุก ๆ สัปดาห์ หรือทุก ๆ เดือน พนักงานแต่ละคนต้องลงคะแนนในแต่ละด้านให้กับเพื่อนร่วมงานทุกคน รวมถึงให้คะแนนตัวเองด้วย
จากนั้นเอาคะแนนที่ได้ในแต่ละด้านจากการลงคะแนนของทุกคน บวกรวมกันแล้วหาร 10 ก็จะได้เป็นคะแนนความสามารถของเราในแต่ละด้าน
และเมื่อลงคะแนนกันในครั้งต่อ ๆ ไป ก็เอาคะแนนที่ได้ในแต่ละด้านมาคำนวณให้ออกมาเป็นค่าเฉลี่ย แบบนี้ไปเรื่อย ๆ (ซึ่งตรงนี้องค์กรของ เรย์ ดาลิโอ มีแอปพลิเคชันที่สร้างขึ้นมาใช้คำนวณคะแนนสำหรับภายในองค์กรโดยเฉพาะ แต่หากใครต้องการประยุกต์ก็สามารถใช้เครื่องมืออื่นได้ เช่น โปรแกรม Microsoft Excel)
พอทีมงานทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ การ์ดของแต่ละคน ก็จะสะท้อนจุดแข็งและจุดอ่อนของคนนั้นออกมาได้ชัดเจนมากขึ้น ว่าใครโดดเด่นด้านไหน หรือมีด้านไหนที่ยังเป็นจุดอ่อนที่ต้องปรับปรุง
ซึ่งตรงนี้เอง ที่มาช่วยให้หัวหน้าทีมหรือผู้บริหาร สามารถเลือกคนไปทำงานได้อย่างเหมาะสม เพราะคะแนนความสามารถของแต่ละคน ถูกเก็บสถิติเอาไว้เรียบร้อยแล้ว
สมมติมีงานเร่งด่วนเข้ามา แล้วต้องการคนที่เขียนโคดเก่ง
ก็สามารถเลือกคนที่มีคะแนนด้านการเขียนโคดสูง ๆ ใน Baseball Card ไปทำงานได้
หรือสมมติมีงานที่ต้องการคนที่แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
ก็สามารถเลือกคนที่มีคะแนนด้านการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี ไปรับผิดชอบงานนั้นได้
อย่างไรก็ตาม เครื่องมือ Baseball Card ก็มีข้อควรระวังในการนำมาใช้
เพราะอย่าลืมว่า ทุกคนในทีมหรือองค์กร มีสิทธิ์ในการลงคะแนนให้คนอื่น รวมถึงตัวเอง
ซึ่งคะแนนที่แต่ละคนให้กันนั้น จะสะท้อนความเป็นจริงได้อย่างแม่นยำ แต่ละคนต้องไม่ใช้อคติในการให้คะแนนผู้อื่น หรือแม้กระทั่งให้คะแนนตัวเอง
เช่น บางคนอยากให้ตัวเองได้คะแนนดี ก็อาจลงคะแนนให้ตัวเองดีเกินความเป็นจริง ถึงแม้ความสามารถในบางด้านของตัวเองไม่ได้ดีขนาดนั้น
หรือบางคนไม่ชอบเพื่อนร่วมงานคนหนึ่ง ก็ลงคะแนนให้เพื่อนร่วมงานคนนั้นน้อยทุกด้าน ทั้ง ๆ ที่เขามีความโดดเด่นบางด้านมาก ๆ
หรืออีกกรณีที่ร้ายแรงที่สุดที่จะเกิดขึ้นได้ คืออาจมีการ “ซื้อเสียง” เพื่อสร้างความดูดี หรือความเก่งแบบปลอม ๆ ไว้ในการ์ดของตัวเอง..
เพราะฉะนั้น ทีมไหนหรือองค์กรไหน ที่อยากจะนำเครื่องมือนี้ไปปรับใช้
ก็ควรต้องสร้างวัฒนธรรมแห่งความโปร่งใส ตรงไปตรงมา ให้กับองค์กรหรือทีมงานก่อน
ส่วนตัวของ เรย์ ดาลิโอ เอง เขาบอกว่า ให้ความสำคัญกับความโปร่งใสในองค์กรมาก
โปร่งใสในที่นี้คือ พนักงานต้องกล้าฟีดแบ็กคนในองค์กรอย่างตรงไปตรงมา ส่วนคนที่ได้รับฟีดแบ็กในแง่ลบ ก็ต้องพร้อมยอมรับฟัง แล้วนำไปปรับปรุงอย่างเต็มที่
เมื่อทุกคนในองค์กรพร้อมรับฟังความเห็นคนอื่น และสื่อสาร ฟีดแบ็กกันอย่างตรงไปตรงมา
เครื่องมือ Baseball Card นี้ ก็จะสามารถทำหน้าที่ “เลือกคนให้เหมาะกับงาน” ได้อย่างเต็มที่ในที่สุด..
References
-https://www.shortform.com/blog/ray-dalio-baseball-cards/
-หนังสือ Principles เขียนโดย Ray Dalio