มีทฤษฎีที่น่าสนใจอันหนึ่งนั้นบอกว่า ผู้นำที่ดีนั้นควรจะมีการปรับรูปแบบหรือลักษณะการบริหารให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ไม่ยึดติดกับรูปแบบหรือลักษณะใดลักษณะหนึ่งจนเกินไป ทฤษฎีนี้มีชื่อว่า “ภาวะผู้นำ 3 มิติ” หรือ 3D Leadership Model เรื่องนี้เป็นอย่างไร THE BRIEFCASE จะสรุปให้ฟัง
รู้หรือไม่ ? ไม่ใช่ทุกคำชมที่คนฟัง ฟังแล้วจะรู้สึกดีเสมอไป ในสถานการณ์ในที่ทำงาน หัวหน้าบางคนก็มีเจตนาที่ดี อยากสร้างกำลังใจ อยากสร้างมิตรภาพ เลยมักจะชอบชมคนอื่นว่า “สวยมาก” “เก่งมาก” “ดีมาก” อยู่บ่อย ๆ แต่อะไรที่มันมากเกินไป หรือการชมแบบส่ง ๆ แน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องดี คนฟังบางคนอาจจะรู้สึกว่าคำชมเหล่านี้ “ดูไม่จริงใจ” หรือบางคนอาจจะรู้สึก “ยึดติดกับคำชม” จนไม่กล้าทำอะไรใหม่ ๆ และยังมีผลร้ายอีกหลายข้อ ที่ THE BRIEFCASE จะมาสรุปให้ฟัง..
“เมื่อพนักงานตัดสินใจลาออก พวกเขาไม่ได้ลาออกจากงาน แต่ลาขาดจากหัวหน้า” นี่คือบทสรุปของงานวิจัยจากเดนมาร์ก ที่ได้จากการสำรวจสาเหตุที่พนักงานด้านบริการจำนวน 4,500 คนลาออก งานวิจัยโดย American Psychological Association พบว่า 75% ของคนอเมริกันกล่าวว่า “เจ้านายคือส่วนที่เครียดที่สุดในวันทำงาน” และผลการศึกษาล่าสุดโดย Gallup พบว่า 50% ของพนักงานที่ได้ลาออกจากงาน คือ “ต้องการหนีจากหัวหน้า” อย่างไรก็ดี การลาออก ไม่ใช่ทางเลือกที่ทุกคนสามารถทำได้ในทันที การทนอยู่ จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องเลือก.. แล้วจะมีวิธีใดบ้าง ที่ช่วยให้เราทำงานร่วมกับหัวหน้าที่แย่ ได้ง่ายขึ้น ?
เรากำลังเป็นหัวหน้าที่ ไม่ว่าจะเดินไปทางไหน ลูกน้องก็แตกกระเจิง อยู่หรือไม่ ? เวลาลูกน้องกำลังคุยเล่นกันอย่างได้อรรถรส แต่เมื่อเราเดินไปกลับทำให้วงแตก ลูกน้องไม่กล้าสบตาเวลาคุยด้วย ไม่กล้าเสนอไอเดียที่แตกต่างออกไปจากความคิดเห็นของเรา หรือเวลางานมีปัญหา ลูกน้องกลับไม่กล้าเข้ามาพูดคุยเพื่อหาแนวทางแก้ไข หรือที่เรื่องราวเป็นแบบนี้ ก็เพราะว่าเรากำลังเป็นหัวหน้าที่น่ากลัวเกินไป จนลูกน้องไม่กล้าสื่อสารกับเรา สุดท้ายอาจนำไปสู่การบริหารงานต่าง ๆ ยากกว่าที่ควรจะเป็น แล้วสาเหตุอะไร ที่ทำให้ลูกน้องไม่กล้าสื่อสารกับเรา ?
เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงเคยเจอปัญหาว่า เราจะฟีดแบ็ก หรือให้ข้อเสนอแนะกับหัวหน้างานหรือคนที่มีตำแหน่งสูงกว่าเราอย่างไรดี โดยเฉพาะถ้าเรายิ่งเป็นคนที่กำลังอยู่ในช่วงเริ่มงานใหม่ ๆ.. หลายครั้งที่เรารู้สึกว่า เราอยากให้คำแนะนำกับหัวหน้างานในบางเรื่อง ซึ่งเป็นเรื่องที่หัวหน้างานเราอาจจะมองข้าม หรือมองไม่เห็นได้ด้วยตัวเอง ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่เราถูกตำหนิจากหัวหน้าอยู่บ่อยครั้งในที่ประชุม ซึ่งบางครั้งหัวหน้าอาจทำไปด้วยจุดประสงค์ที่ดี และต้องการให้คำแนะนำที่เหมาะสมกับเรา แต่การถูกตำหนิต่อหน้าผู้อื่นหลาย ๆ ครั้งอาจจะทำให้พนักงานใหม่บางคนรู้สึกกดดัน และขาดความมั่นใจในการทำงาน
ถ้าพูดถึง “ลิง” เราคงนึกถึง สัตว์ที่มีการเคลื่อนที่คล่องตัว ว่องไว และมักจะกระโดดไปเกาะต้นไม้ต้นนั้นต้นนี้อยู่เสมอ รู้หรือไม่ว่า พฤติกรรมของลิงเหล่านี้.. ไม่ต่างไปจาก “ปัญหาของพนักงาน” ในที่ทำงาน ที่พร้อมจะกระโดดเกาะหลังหัวหน้าทันที เมื่อพนักงานที่มีปัญหาคนนั้น เข้ามาขอความช่วยเหลือ.. ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น ?
ไม่ว่าจะเป็นเด็กจบใหม่ที่เพิ่งเข้าสู่โลกแห่งการทำงาน หรือมีประสบการณ์เปลี่ยนที่ทำงานมาแล้วหลายแห่ง การที่ต้องก้าวออกจาก Comfort Zone มาปรับตัวเข้ากับโลก (การทำงาน) อีกใบ ย่อมก่อให้เกิดความเครียดและความกังวลเป็นธรรมดา