รู้จัก ภาวะผู้นำ 3 มิติ ที่ทำให้เกิด ลักษณะผู้นำ 4 แบบ
25 ธ.ค. 2021
รู้จัก ภาวะผู้นำ 3 มิติ ที่ทำให้เกิด ลักษณะผู้นำ 4 แบบ | THE BRIEFCASE
หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า “เป็นผู้นำนั้นไม่ใช่เรื่องยาก เพราะสิ่งที่ยากกว่าคือ การเป็นผู้นำที่ดี”
ซึ่งพอพูดถึงลักษณะของผู้นำที่ดีนั้น แน่นอนว่าแต่ละคนก็จะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป
ผู้นำบางคนมีความกล้า บางคนมีความเด็ดขาด บางคนใจเย็น บางคนมีความกระตือรือร้น บางคนชอบคิดสร้างสรรค์ คิดอะไรแปลกใหม่ หรือบางคนชอบสร้างปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง
และก็มีทฤษฎีที่น่าสนใจอันหนึ่งนั้นบอกว่า
ผู้นำที่ดีนั้นควรจะมีการปรับรูปแบบหรือลักษณะการบริหารให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ไม่ยึดติดกับรูปแบบหรือลักษณะใดลักษณะหนึ่งจนเกินไป
ทฤษฎีนี้มีชื่อว่า “ภาวะผู้นำ 3 มิติ” หรือ 3D Leadership Model
เรื่องนี้เป็นอย่างไร THE BRIEFCASE จะสรุปให้ฟัง
ทฤษฎีภาวะผู้นำ 3 มิติ ถูกอธิบายโดย Bill Reddin อดีตนักศึกษาจากมหาวิทยาลัย Harvard และ MIT ผู้ที่ต่อมาได้มาเป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัย New Brunswick ในประเทศแคนาดา
นอกจากงานอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยแล้ว เขายังทำหน้าที่เป็นนักเขียนและที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการให้แก่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนหลายแห่ง
โดยแก่นแท้ของทฤษฎีนี้ก็คือ แม้ว่าผู้นำแต่ละคนจะมีสไตล์การทำงานที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง แต่จริง ๆ แล้วสไตล์การทำงานของผู้นำแต่ละคน ก็ควรจะสามารถปรับเปลี่ยนไปได้ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย
พูดง่าย ๆ ว่า ผู้นำที่ดีนั้น ไม่ควรยึดติดอยู่กับลักษณะและสไตล์การทำงานเพียงรูปแบบเดียวนั่นเอง
ซึ่งเขาได้แบ่งกลุ่มพฤติกรรมผู้นำออกมาได้ 3 มิติ คือ
มิติที่ 1: Task-Oriented Dimension คือ การให้ความสำคัญในเรื่องหน้าที่การงานหรือความสำเร็จของงาน
มิติที่ 2: People-Oriented Dimension คือ การให้ความสำคัญในเรื่องของคนหรือผู้ใต้บังคับบัญชา
มิติที่ 3: Effectiveness Dimension คือ การพิจารณาในเรื่องความสำคัญในเรื่องใดก็ตาม โดยยึดปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์
และจากภาวะผู้นำ 3 มิติ ข้างต้นนี้ Bill Reddin สามารถระบุลักษณะผู้นำพื้นฐาน 4 แบบ ประกอบไปด้วย
1. Separated Leader - ผู้นำที่ให้ความสำคัญกับงานและคนน้อย
ผู้นำประเภทนี้มักไม่ใส่ใจในงาน ไม่มีความรับผิดชอบในการทำงาน พูดง่าย ๆ คือ เป็นคนที่ชอบหนีงาน รวมทั้งยังไม่มีมนุษยสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน หรือแม้แต่บุคคลภายในหรือภายนอกองค์กรอีกด้วย
ถ้าองค์กรไหนมีผู้นำแบบนี้มาก ๆ ไม่เพียงแต่งานจะมีปัญหา แต่ลูกน้องก็อาจจะไม่อยากร่วมงานกับผู้นำประเภทนี้ด้วยเช่นกัน
2. Dedicated Leader - ผู้นำที่ให้ความสำคัญกับงานมาก แต่ให้ความสัมพันธ์กับคนน้อย
ผู้นำประเภทนี้ จะชอบออกคำสั่งและติดตามการทำงานของพนักงานอย่างใกล้ชิด มักใช้อำนาจในการบริหาร ยึดตามกฎระเบียบ มุ่งงานอย่างเดียว ไม่คำนึงถึงเรื่องการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับลูกน้อง
เช่น ไม่เปิดโอกาสให้แสดงความเห็น เน้นการออกคำสั่งหรือสื่อสารกับลูกน้องทางเดียว
ถ้าองค์กรไหนมีผู้นำแบบนี้มาก ๆ แม้ว่างานที่ทำอาจไม่มีปัญหา แต่ลูกน้องก็อาจจะไม่อยากร่วมงานกับผู้นำประเภทนี้ เพราะผู้นำมักขาดความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกน้อง
ซึ่งสุดท้ายก็อาจส่งผลทำให้งานที่ทำมีปัญหาตามมาได้เช่นกัน
3. Related Leader - ผู้นำที่ให้ความสำคัญกับทีมงานหรือลูกน้องมาก
ผู้นำประเภทนี้มักจะมุ่งเน้นอยู่ที่การสร้างความสัมพันธ์กับทีมงานและลูกน้อง จุดเด่นคือ พวกเขามีความสามารถในการจูงใจผู้อื่นได้ดี สนใจพัฒนาศักยภาพของคนอื่น รับฟังผู้อื่น มีความเกรงใจต่อคนอื่น
อย่างไรก็ตาม จุดอ่อนของผู้นำประเภทนี้ นอกจากจะเป็นพวกเขาที่ให้ความสำคัญกับงานน้อย การที่พวกเขามีความเกรงใจต่อคนอื่น ไม่ชอบกล้าว่ากล่าวตักเตือนผู้ใด บางครั้งพร้อมที่จะเปลี่ยนใจได้เสมอ ทำให้ดูเหมือนผู้นำที่ขาดจุดยืนและขาดความเด็ดขาด ซึ่งก็ส่งผลเสียต่อองค์กรได้เช่นกัน
4. Integrated Leader - ผู้นำที่ให้ความสำคัญทั้งงานและคนในเวลาเดียวกัน
ผู้นำประเภทนี้เป็นผู้นำที่ผสมผสานความสำคัญของทั้ง 2 อย่าง เพราะพวกเขาเชื่อว่า การให้ความสำคัญเรื่องงานและเรื่องของคน ควรทำไปควบคู่กัน
พวกเขาไม่เพียงแต่รู้จักงานที่ต้องทำ รวมทั้งพยายามผลิตผลงานให้มากขึ้น แต่ยังรู้จักใช้ความสามารถของทีมงานหรือลูกน้องให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งเอาใจใส่ รับผิดชอบ ให้กำลังใจแก่ผู้ร่วมงาน ลูกทีม หรือลูกน้องเป็นประจำ
อ่านมาถึงตรงนี้ เราน่าจะได้ไอเดียเรื่องภาวะผู้นำ 3 มิติ ไปบ้างไม่มากก็น้อย
และในโลกของความเป็นจริงนั้น บางครั้งเมื่อสถานการณ์ต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไป ถ้าเราอยู่ในฐานะผู้นำ เราก็ควรต้องปรับเปลี่ยนบุคลิกลักษณะการบริหารงานให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ไม่จำเป็นต้องไปยึดติดกับรูปแบบหรือลักษณะใดลักษณะหนึ่งจนเกินไป
บางเวลาเราอาจต้องมุ่งเน้น โฟกัสเรื่องงาน
บางเวลาเราอาจต้อง โฟกัสเรื่องคน
เพราะทั้ง 2 อย่างถือเป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะทำให้การทำงานออกมาอย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้น การรู้จักเลือกใช้และปรับเปลี่ยนบุคลิก ลักษณะการบริหารงานให้เข้ากับสถานการณ์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้นำทุกคนไม่ควรมองข้ามนั่นเอง..
References
-https://en.wikipedia.org/wiki/William_James_Reddinm
-https://thebusinessprofessor.com/en_US/management-leadership-organizational-behavior/reddin-3d-or-tri-dimensional-grid
-https://www.toolshero.com/leadership/reddin-3d-leadership-model/
หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า “เป็นผู้นำนั้นไม่ใช่เรื่องยาก เพราะสิ่งที่ยากกว่าคือ การเป็นผู้นำที่ดี”
ซึ่งพอพูดถึงลักษณะของผู้นำที่ดีนั้น แน่นอนว่าแต่ละคนก็จะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป
ผู้นำบางคนมีความกล้า บางคนมีความเด็ดขาด บางคนใจเย็น บางคนมีความกระตือรือร้น บางคนชอบคิดสร้างสรรค์ คิดอะไรแปลกใหม่ หรือบางคนชอบสร้างปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง
และก็มีทฤษฎีที่น่าสนใจอันหนึ่งนั้นบอกว่า
ผู้นำที่ดีนั้นควรจะมีการปรับรูปแบบหรือลักษณะการบริหารให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ไม่ยึดติดกับรูปแบบหรือลักษณะใดลักษณะหนึ่งจนเกินไป
ทฤษฎีนี้มีชื่อว่า “ภาวะผู้นำ 3 มิติ” หรือ 3D Leadership Model
เรื่องนี้เป็นอย่างไร THE BRIEFCASE จะสรุปให้ฟัง
ทฤษฎีภาวะผู้นำ 3 มิติ ถูกอธิบายโดย Bill Reddin อดีตนักศึกษาจากมหาวิทยาลัย Harvard และ MIT ผู้ที่ต่อมาได้มาเป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัย New Brunswick ในประเทศแคนาดา
นอกจากงานอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยแล้ว เขายังทำหน้าที่เป็นนักเขียนและที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการให้แก่หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนหลายแห่ง
โดยแก่นแท้ของทฤษฎีนี้ก็คือ แม้ว่าผู้นำแต่ละคนจะมีสไตล์การทำงานที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง แต่จริง ๆ แล้วสไตล์การทำงานของผู้นำแต่ละคน ก็ควรจะสามารถปรับเปลี่ยนไปได้ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปด้วย
พูดง่าย ๆ ว่า ผู้นำที่ดีนั้น ไม่ควรยึดติดอยู่กับลักษณะและสไตล์การทำงานเพียงรูปแบบเดียวนั่นเอง
ซึ่งเขาได้แบ่งกลุ่มพฤติกรรมผู้นำออกมาได้ 3 มิติ คือ
มิติที่ 1: Task-Oriented Dimension คือ การให้ความสำคัญในเรื่องหน้าที่การงานหรือความสำเร็จของงาน
มิติที่ 2: People-Oriented Dimension คือ การให้ความสำคัญในเรื่องของคนหรือผู้ใต้บังคับบัญชา
มิติที่ 3: Effectiveness Dimension คือ การพิจารณาในเรื่องความสำคัญในเรื่องใดก็ตาม โดยยึดปรับเปลี่ยนไปตามสถานการณ์
และจากภาวะผู้นำ 3 มิติ ข้างต้นนี้ Bill Reddin สามารถระบุลักษณะผู้นำพื้นฐาน 4 แบบ ประกอบไปด้วย
1. Separated Leader - ผู้นำที่ให้ความสำคัญกับงานและคนน้อย
ผู้นำประเภทนี้มักไม่ใส่ใจในงาน ไม่มีความรับผิดชอบในการทำงาน พูดง่าย ๆ คือ เป็นคนที่ชอบหนีงาน รวมทั้งยังไม่มีมนุษยสัมพันธ์กับผู้ร่วมงาน หรือแม้แต่บุคคลภายในหรือภายนอกองค์กรอีกด้วย
ถ้าองค์กรไหนมีผู้นำแบบนี้มาก ๆ ไม่เพียงแต่งานจะมีปัญหา แต่ลูกน้องก็อาจจะไม่อยากร่วมงานกับผู้นำประเภทนี้ด้วยเช่นกัน
2. Dedicated Leader - ผู้นำที่ให้ความสำคัญกับงานมาก แต่ให้ความสัมพันธ์กับคนน้อย
ผู้นำประเภทนี้ จะชอบออกคำสั่งและติดตามการทำงานของพนักงานอย่างใกล้ชิด มักใช้อำนาจในการบริหาร ยึดตามกฎระเบียบ มุ่งงานอย่างเดียว ไม่คำนึงถึงเรื่องการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับลูกน้อง
เช่น ไม่เปิดโอกาสให้แสดงความเห็น เน้นการออกคำสั่งหรือสื่อสารกับลูกน้องทางเดียว
ถ้าองค์กรไหนมีผู้นำแบบนี้มาก ๆ แม้ว่างานที่ทำอาจไม่มีปัญหา แต่ลูกน้องก็อาจจะไม่อยากร่วมงานกับผู้นำประเภทนี้ เพราะผู้นำมักขาดความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกน้อง
ซึ่งสุดท้ายก็อาจส่งผลทำให้งานที่ทำมีปัญหาตามมาได้เช่นกัน
3. Related Leader - ผู้นำที่ให้ความสำคัญกับทีมงานหรือลูกน้องมาก
ผู้นำประเภทนี้มักจะมุ่งเน้นอยู่ที่การสร้างความสัมพันธ์กับทีมงานและลูกน้อง จุดเด่นคือ พวกเขามีความสามารถในการจูงใจผู้อื่นได้ดี สนใจพัฒนาศักยภาพของคนอื่น รับฟังผู้อื่น มีความเกรงใจต่อคนอื่น
อย่างไรก็ตาม จุดอ่อนของผู้นำประเภทนี้ นอกจากจะเป็นพวกเขาที่ให้ความสำคัญกับงานน้อย การที่พวกเขามีความเกรงใจต่อคนอื่น ไม่ชอบกล้าว่ากล่าวตักเตือนผู้ใด บางครั้งพร้อมที่จะเปลี่ยนใจได้เสมอ ทำให้ดูเหมือนผู้นำที่ขาดจุดยืนและขาดความเด็ดขาด ซึ่งก็ส่งผลเสียต่อองค์กรได้เช่นกัน
4. Integrated Leader - ผู้นำที่ให้ความสำคัญทั้งงานและคนในเวลาเดียวกัน
ผู้นำประเภทนี้เป็นผู้นำที่ผสมผสานความสำคัญของทั้ง 2 อย่าง เพราะพวกเขาเชื่อว่า การให้ความสำคัญเรื่องงานและเรื่องของคน ควรทำไปควบคู่กัน
พวกเขาไม่เพียงแต่รู้จักงานที่ต้องทำ รวมทั้งพยายามผลิตผลงานให้มากขึ้น แต่ยังรู้จักใช้ความสามารถของทีมงานหรือลูกน้องให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งเอาใจใส่ รับผิดชอบ ให้กำลังใจแก่ผู้ร่วมงาน ลูกทีม หรือลูกน้องเป็นประจำ
อ่านมาถึงตรงนี้ เราน่าจะได้ไอเดียเรื่องภาวะผู้นำ 3 มิติ ไปบ้างไม่มากก็น้อย
และในโลกของความเป็นจริงนั้น บางครั้งเมื่อสถานการณ์ต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไป ถ้าเราอยู่ในฐานะผู้นำ เราก็ควรต้องปรับเปลี่ยนบุคลิกลักษณะการบริหารงานให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ไม่จำเป็นต้องไปยึดติดกับรูปแบบหรือลักษณะใดลักษณะหนึ่งจนเกินไป
บางเวลาเราอาจต้องมุ่งเน้น โฟกัสเรื่องงาน
บางเวลาเราอาจต้อง โฟกัสเรื่องคน
เพราะทั้ง 2 อย่างถือเป็นส่วนประกอบสำคัญที่จะทำให้การทำงานออกมาอย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้น การรู้จักเลือกใช้และปรับเปลี่ยนบุคลิก ลักษณะการบริหารงานให้เข้ากับสถานการณ์จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้นำทุกคนไม่ควรมองข้ามนั่นเอง..
References
-https://en.wikipedia.org/wiki/William_James_Reddinm
-https://thebusinessprofessor.com/en_US/management-leadership-organizational-behavior/reddin-3d-or-tri-dimensional-grid
-https://www.toolshero.com/leadership/reddin-3d-leadership-model/