เป็นหัวหน้าคน ควรวางตัวอย่างไร ให้ลูกน้องกล้าเข้ามาหา
31 ส.ค. 2021
เป็นหัวหน้าคน ควรวางตัวอย่างไร ให้ลูกน้องกล้าเข้ามาหา | THE BRIEFCASE
เรากำลังเป็นหัวหน้าที่ ไม่ว่าจะเดินไปทางไหน ลูกน้องก็แตกกระเจิง อยู่หรือไม่ ?
เวลาลูกน้องกำลังคุยเล่นกันอย่างได้อรรถรส แต่เมื่อเราเดินไปกลับทำให้วงแตก
ลูกน้องไม่กล้าสบตาเวลาคุยด้วย ไม่กล้าเสนอไอเดียที่แตกต่างออกไปจากความคิดเห็นของเรา
หรือเวลางานมีปัญหา ลูกน้องกลับไม่กล้าเข้ามาพูดคุยเพื่อหาแนวทางแก้ไข
หรือที่เรื่องราวเป็นแบบนี้ ก็เพราะว่าเรากำลังเป็นหัวหน้าที่น่ากลัวเกินไป จนลูกน้องไม่กล้าสื่อสารกับเรา
สุดท้ายอาจนำไปสู่การบริหารงานต่าง ๆ ยากกว่าที่ควรจะเป็น
แล้วสาเหตุอะไร ที่ทำให้ลูกน้องไม่กล้าสื่อสารกับเรา ?
สาเหตุนั้นคงมีเยอะมาก ถ้าลองยกตัวอย่าง ก็เช่น
- การวางตัวของเราห่างเหินจนเกินไป ทำให้ลูกน้องไม่กล้าเล่าทุกเรื่องให้ฟังได้ เวลามีปัญหาไม่ว่าจะเรื่องงาน หรือเรื่องส่วนตัว ลูกน้องจึงไม่กล้าเปิดใจเข้ามาพูดคุย
- ไม่รับฟังความคิดเห็นคนอื่น มัวแต่ยึดติดกับความคิดของตัวเอง จนทำให้ลูกน้องเบื่อที่จะแสดงความคิดเห็น เพราะคิดว่าต่อให้พูดไป หัวหน้าก็ไม่สนใจอยู่ดี
- ตำหนิในความผิดพลาดของลูกน้องด้วยถ้อยคำรุนแรงเป็นประจำ ทำให้ลูกน้องไม่กล้าคิด ไม่กล้ามาขอปรึกษาเมื่องานผิดพลาด เพราะกลัวจะถูกตำหนิ
แล้วควรจะบริหารทีมอย่างไร ให้ลูกน้องเปิดใจ กล้าพูดคุยกับเรามากขึ้น ?
1. พูดคุยใกล้ชิดกับลูกน้องให้มากขึ้น วางตัวเป็นที่ปรึกษาที่ดี
ซึ่งการพูดคุยใกล้ชิดกับลูกน้องมากขึ้น จะทำให้มองเห็นปัญหาได้ชัดเจนขึ้น และทำให้ค้นพบวิธีแก้ปัญหาได้รวดเร็วขึ้นด้วย
เรื่องนี้ก็เป็นหนึ่งในวิธีที่ CEO ของ Google อย่าง ซุนดาร์ พิชัย ใช้ในการบริหารทีมของเขาเช่นกัน
โดยเขาได้ให้ความเห็นว่า การเป็นที่ปรึกษาที่ดี ทำให้พนักงานรู้สึกปลอดภัยด้านจิตใจ และกล้าที่จะมาปรึกษาปัญหาเพื่อช่วยกันหาทางออกได้มากขึ้น
2. เปลี่ยนแนวทางการสื่อสารให้พนักงานมีส่วนร่วมมากขึ้น
Chris Westfall โค้ชด้านการสื่อสารและผู้เขียนหนังสือ Leadership Language ได้กล่าวว่าหนึ่งในข้อผิดพลาดในการสื่อสารที่พบบ่อยที่สุดที่ผู้นำทำ คือ ความล้มเหลวในการสื่อสารให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล
โดยการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ผู้นำต้องทำให้ผู้ฟัง ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า หรือพนักงาน มีส่วนร่วม
ถ้าอยากให้พนักงานมีส่วนร่วมกับเรามากขึ้น ให้ผู้นำเชื่อมโยงลูกน้องเข้ามาในบทสนทนา โดยการใช้ “คุณ” มากกว่า “ฉัน”
ตัวอย่างเช่น ให้พูดว่า “คุณเคยสังเกตไหม..” แทนที่จะเป็น “นี่คือสิ่งที่ฉันเห็น”
3. เชื่อใจในทีมของตัวเอง
การคอยจับผิดลูกน้องตลอดเวลา หรือการสื่อสารกับคนในทีมในรูปแบบของการสั่งการมากกว่าพูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็น อาจทำให้ลูกน้องรู้สึกไม่กล้าพูดคุยแสดงความคิดเห็น
การสร้างความเชื่อใจในทีมจึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ผู้นำหลาย ๆ คนให้ความสำคัญ เช่น สัตยา นาเดลลา แห่ง Microsoft ก็มองว่า การเชื่อใจพนักงาน และสนับสนุนในสิ่งที่พนักงานทำ ไม่คอยจับผิดหรือพูดบั่นทอนกำลังใจ เป็นคุณสมบัติที่ผู้นำที่ดีควรทำ
สุดท้ายนี้ การวางตัวในที่ทำงานก็เป็นเรื่องที่ไม่ได้มีสูตรสำเร็จตายตัว
อยู่ที่แต่ละองค์กรจะนำไปปรับใช้อย่างไรให้เหมาะสม
แต่การปรับตัวเข้าหากันก็เป็นส่วนหนึ่ง
ที่ช่วยให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุขและราบรื่น..
References:
-https://hbr.org/2019/07/are-your-employees-scared-of-you
-https://blog.jostle.me/blog/6-ways-to-improve-communication-between-managers-and-employees
-https://www.shrm.org/hr-today/news/hr-magazine/spring2019/pages/how-to-improve-leaders-communication-skills.aspx
เรากำลังเป็นหัวหน้าที่ ไม่ว่าจะเดินไปทางไหน ลูกน้องก็แตกกระเจิง อยู่หรือไม่ ?
เวลาลูกน้องกำลังคุยเล่นกันอย่างได้อรรถรส แต่เมื่อเราเดินไปกลับทำให้วงแตก
ลูกน้องไม่กล้าสบตาเวลาคุยด้วย ไม่กล้าเสนอไอเดียที่แตกต่างออกไปจากความคิดเห็นของเรา
หรือเวลางานมีปัญหา ลูกน้องกลับไม่กล้าเข้ามาพูดคุยเพื่อหาแนวทางแก้ไข
หรือที่เรื่องราวเป็นแบบนี้ ก็เพราะว่าเรากำลังเป็นหัวหน้าที่น่ากลัวเกินไป จนลูกน้องไม่กล้าสื่อสารกับเรา
สุดท้ายอาจนำไปสู่การบริหารงานต่าง ๆ ยากกว่าที่ควรจะเป็น
แล้วสาเหตุอะไร ที่ทำให้ลูกน้องไม่กล้าสื่อสารกับเรา ?
สาเหตุนั้นคงมีเยอะมาก ถ้าลองยกตัวอย่าง ก็เช่น
- การวางตัวของเราห่างเหินจนเกินไป ทำให้ลูกน้องไม่กล้าเล่าทุกเรื่องให้ฟังได้ เวลามีปัญหาไม่ว่าจะเรื่องงาน หรือเรื่องส่วนตัว ลูกน้องจึงไม่กล้าเปิดใจเข้ามาพูดคุย
- ไม่รับฟังความคิดเห็นคนอื่น มัวแต่ยึดติดกับความคิดของตัวเอง จนทำให้ลูกน้องเบื่อที่จะแสดงความคิดเห็น เพราะคิดว่าต่อให้พูดไป หัวหน้าก็ไม่สนใจอยู่ดี
- ตำหนิในความผิดพลาดของลูกน้องด้วยถ้อยคำรุนแรงเป็นประจำ ทำให้ลูกน้องไม่กล้าคิด ไม่กล้ามาขอปรึกษาเมื่องานผิดพลาด เพราะกลัวจะถูกตำหนิ
แล้วควรจะบริหารทีมอย่างไร ให้ลูกน้องเปิดใจ กล้าพูดคุยกับเรามากขึ้น ?
1. พูดคุยใกล้ชิดกับลูกน้องให้มากขึ้น วางตัวเป็นที่ปรึกษาที่ดี
ซึ่งการพูดคุยใกล้ชิดกับลูกน้องมากขึ้น จะทำให้มองเห็นปัญหาได้ชัดเจนขึ้น และทำให้ค้นพบวิธีแก้ปัญหาได้รวดเร็วขึ้นด้วย
เรื่องนี้ก็เป็นหนึ่งในวิธีที่ CEO ของ Google อย่าง ซุนดาร์ พิชัย ใช้ในการบริหารทีมของเขาเช่นกัน
โดยเขาได้ให้ความเห็นว่า การเป็นที่ปรึกษาที่ดี ทำให้พนักงานรู้สึกปลอดภัยด้านจิตใจ และกล้าที่จะมาปรึกษาปัญหาเพื่อช่วยกันหาทางออกได้มากขึ้น
2. เปลี่ยนแนวทางการสื่อสารให้พนักงานมีส่วนร่วมมากขึ้น
Chris Westfall โค้ชด้านการสื่อสารและผู้เขียนหนังสือ Leadership Language ได้กล่าวว่าหนึ่งในข้อผิดพลาดในการสื่อสารที่พบบ่อยที่สุดที่ผู้นำทำ คือ ความล้มเหลวในการสื่อสารให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล
โดยการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ผู้นำต้องทำให้ผู้ฟัง ไม่ว่าจะเป็นลูกค้า หรือพนักงาน มีส่วนร่วม
ถ้าอยากให้พนักงานมีส่วนร่วมกับเรามากขึ้น ให้ผู้นำเชื่อมโยงลูกน้องเข้ามาในบทสนทนา โดยการใช้ “คุณ” มากกว่า “ฉัน”
ตัวอย่างเช่น ให้พูดว่า “คุณเคยสังเกตไหม..” แทนที่จะเป็น “นี่คือสิ่งที่ฉันเห็น”
3. เชื่อใจในทีมของตัวเอง
การคอยจับผิดลูกน้องตลอดเวลา หรือการสื่อสารกับคนในทีมในรูปแบบของการสั่งการมากกว่าพูดคุยแลกเปลี่ยนความเห็น อาจทำให้ลูกน้องรู้สึกไม่กล้าพูดคุยแสดงความคิดเห็น
การสร้างความเชื่อใจในทีมจึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ผู้นำหลาย ๆ คนให้ความสำคัญ เช่น สัตยา นาเดลลา แห่ง Microsoft ก็มองว่า การเชื่อใจพนักงาน และสนับสนุนในสิ่งที่พนักงานทำ ไม่คอยจับผิดหรือพูดบั่นทอนกำลังใจ เป็นคุณสมบัติที่ผู้นำที่ดีควรทำ
สุดท้ายนี้ การวางตัวในที่ทำงานก็เป็นเรื่องที่ไม่ได้มีสูตรสำเร็จตายตัว
อยู่ที่แต่ละองค์กรจะนำไปปรับใช้อย่างไรให้เหมาะสม
แต่การปรับตัวเข้าหากันก็เป็นส่วนหนึ่ง
ที่ช่วยให้สามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมีความสุขและราบรื่น..
References:
-https://hbr.org/2019/07/are-your-employees-scared-of-you
-https://blog.jostle.me/blog/6-ways-to-improve-communication-between-managers-and-employees
-https://www.shrm.org/hr-today/news/hr-magazine/spring2019/pages/how-to-improve-leaders-communication-skills.aspx