เชื่อว่าบริษัทส่วนใหญ่ในตอนนี้ยังคงเป็นการทำงานแบบ Work from Home กันอยู่ ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อเราทำงานที่บ้าน ย่อมเกิดปัญหาหนึ่งคือ ไม่ค่อยมีใครมาพิสูจน์ตรวจสอบ ว่าเราทำงานจริงหรือไม่ ? ซึ่งก็จะมีคนอยู่ 2 ประเภท คือ คนที่ทำงานจริง ๆ และ คนที่ไม่ทำงาน แต่ถ้าหากต้องเจอกับพนักงานประเภทที่สอง ที่ไม่ยอมทำงาน หรือทำได้น้อยกว่าตอนที่ทำอยู่ที่บริษัท เราจะมีวิธีรับมือกับคนกลุ่มนี้อย่างไร ?
“ได้ครับพี่ ดีครับนาย สบายครับผม เหมาะสมครับท่าน” เชื่อว่าหลายคนคงคุ้นเคยกับคำนี้ คำที่บ่งบอกถึงพนักงานที่คอยทำอะไรตามที่คนอื่นสั่ง เอาอกเอาใจ เห็นว่าสิ่งที่คนอื่นทำนั้นดีแล้ว โดยที่ไม่กล้าออกความคิดเห็นอะไรเลย ซึ่งเรื่องนี้ ก็มีข้อดีคือ ทำให้คนในองค์กรไม่เกิดความขัดแย้ง แต่หากเรามองอีกมุม การประพฤติตนในลักษณะนี้ อาจส่งผลเสียให้กับองค์กรมากกว่าที่เราคิด แล้วทำไม การมีพนักงานแบบนี้ในองค์กรเยอะ ๆ ถึงเป็นเรื่องที่ไม่ดี ?
หากพูดถึงบริษัท Tesla สิ่งแรกที่หลาย ๆ คนนึกถึงคงหนีไม่พ้น ซีอีโออย่าง อีลอน มัสก์ ผู้ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในด้านการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ ๆ โดยอีลอน มัสก์ เคยกล่าวว่า “We strive to hire people who want to revolutionize the way we live.” หรือที่แปลว่า “เรากำลังมองหาคนที่อยากจะปฏิวัติวิธีการใช้ชีวิตของพวกเรา” ซึ่งอีลอน มัสก์ ก็ได้ปฏิวัติวงการการศึกษาให้ต่างออกไปจากเดิม โดยเริ่มต้นด้วยการสร้างโรงเรียนที่ชื่อ “Ad Astra” ให้กับลูก ๆ ของเขา และลูก ๆ ของพนักงานใน Tesla และ SpaceX โดยโรงเรียนจะมุ่งเน้นการสอนไปทางด้านการบ่มเพาะการทำธุรกิจ และศึกษาการแก้ไขปัญหาเป็นหลัก
ทุกวันนี้แทบทุกอุตสาหกรรมมีการแข่งขันที่ดุเดือด ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งที่ตามมาก็คือ การทำงานในทุกภาคส่วน ต้องใช้พลังกายและพลังสมองของพนักงานมากขึ้นเรื่อย ๆ และในขณะเดียวกันหลาย ๆ องค์กรก็อยากรักษาพนักงานของตัวเองเอาไว้ให้นานที่สุด โดยหนึ่งในวิธีที่หลายองค์กรมักเลือกทำก็คือ “การเพิ่มค่าตอบแทน” เพื่อหวังว่าจะเติมเต็มความสุข และเพิ่มพลังในการทำงานให้กับพนักงานได้ แต่จากข้อมูลของ HR in ASIA เว็บไซต์จัดหางานในเอเชีย ก็พบว่า บางครั้งเงินก็ซื้อความสุขให้กับพนักงานไม่ได้ เสมอไป.. แล้วอะไรบ้างที่จะช่วยทำให้พนักงานมีความสุข และอยู่กับองค์กรไปได้นาน ๆ อีกบ้าง ? THE BRIEFCASE จะสรุปให้ฟัง..
เมื่อเราต้องเริ่มต้นงานใหม่ ความรู้สึกแรกของเราก็คือ ความตื่นเต้น ไม่ว่าจะเป็นสถานที่ทำงานใหม่ หน้าที่ใหม่ที่ต้องรับผิดชอบ และผู้คนมากมายที่เราไม่เคยรู้จัก โดยปกติแล้วเมื่อเราเข้าไปทำงานวันแรก ก็มักจะเจอหัวหน้าและเพื่อนร่วมงานมากมายที่พร้อมให้ความช่วยเหลือตลอดเวลา แล้วถ้าเรา ในฐานะที่เป็นพี่เลี้ยงที่ต้องดูแล และต้อนรับพนักงานใหม่เข้ามาช่วง Work From Home เราจะมีวิธีดูแลพวกเขาอย่างไร เพื่อสร้างความประทับใจแรกให้ออกมาดีที่สุด
ผู้ก่อตั้งบริษัทยักษ์ใหญ่ ที่เริ่มต้นจากการเป็น พนักงานตัวเล็ก
รู้หรือไม่ จากผลสำรวจ ของกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ที่ทำการสำรวจ 136 หน่วยงานจากหลายองค์กรในไทย พบว่า มีผู้ที่ถูกคุกคามทางเพศในที่ทำงาน ประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ เมื่อลองเทียบตัวเลขสัดส่วนนี้กับประเทศอื่น ๆ - สหรัฐอเมริกา ประมาณ 54% - สหราชอาณาจักร 13% จะเห็นว่าสถิติการถูกคุกคามทางเพศในไทย ดูน้อยกว่า สหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักร
โดยทั่วไปเวลาที่ผู้บริหารหรือหัวหน้า อยากจะปรับโครงสร้างองค์กรหรือขยับขยายตำแหน่งงาน พวกเขาก็มักจะต้องมองหา “พนักงานที่มีศักยภาพ” เพื่อปั้นให้เป็นหนึ่งในผู้นำ แต่ทำไม ในวันที่ “พนักงานที่มีศักยภาพ” อยู่ในตำแหน่งผู้นำแล้ว สำหรับบางคน กลับไม่สามารถนำทีมได้ดีแบบที่คิดไว้ ? ลองมาดู 2 ตัวอย่างพนักงานที่มีความสามารถโดดเด่น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาจะเป็นผู้นำที่ดีเสมอไป