ทำไมบางครั้ง เงินก็ยื้อพนักงาน ไว้ไม่ได้
8 ก.ค. 2021
ทำไมบางครั้ง เงินก็ยื้อพนักงาน ไว้ไม่ได้ | THE BRIEFCASE
ทุกวันนี้แทบทุกอุตสาหกรรมมีการแข่งขันที่ดุเดือด ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งที่ตามมาก็คือ
การทำงานในทุกภาคส่วน ต้องใช้พลังกายและพลังสมองของพนักงานมากขึ้นเรื่อย ๆ
และในขณะเดียวกันหลาย ๆ องค์กรก็อยากรักษาพนักงานของตัวเองเอาไว้ให้นานที่สุด
โดยหนึ่งในวิธีที่หลายองค์กรมักเลือกทำก็คือ “การเพิ่มค่าตอบแทน”
เพื่อหวังว่าจะเติมเต็มความสุข และเพิ่มพลังในการทำงานให้กับพนักงานได้
แต่จากข้อมูลของ HR in ASIA เว็บไซต์จัดหางานในเอเชีย
ก็พบว่า บางครั้งเงินก็ซื้อความสุขให้กับพนักงานไม่ได้ เสมอไป..
แล้วอะไรบ้างที่จะช่วยทำให้พนักงานมีความสุข และอยู่กับองค์กรไปได้นาน ๆ อีกบ้าง ?
THE BRIEFCASE จะสรุปให้ฟัง..
1. สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่ Toxic หรือไม่เป็นพิษ
“วัฒนธรรมองค์กรที่ยอดเยี่ยม” เป็นเรื่องที่ใครหลายคนอาจจะได้ยินกันบ่อย ๆ
แต่การทำให้เกิดขึ้นจริง เป็นเรื่องที่ไม่ง่าย แต่ก็ไม่ได้แปลว่าจะสร้างมันขึ้นมาไม่ได้เลยสักทีเดียว
วัฒนธรรมองค์กรที่ดี ควรเริ่มจากตัวผู้นำ หากผู้นำมีความโปร่งใส เคารพทีมงาน
และพยายามสร้างแรงจูงใจในทางบวกกับทุก ๆ คนอยู่เสมอ
เมื่อทุกคนมองเห็นต้นแบบที่ดี วัฒนธรรมองค์กรที่ดีก็ย่อมเกิดขึ้น
และสร้างแรงจูงใจให้พนักงานอยากอยู่กับองค์กรนี้ต่อไป
ลองคิดภาพตามดูว่า ถ้ามีผู้นำที่ไม่เคยยอมรับผิดเลย วัฒนธรรมองค์กรจะเป็นอย่างไร ?
แน่นอนว่าทีมงานก็จะไม่อยากยอมรับผิด
และก็จะเกิดวัฒนธรรมการหนีปัญหา มากกว่าช่วยกันแก้ปัญหา
2. ผู้นำต้องทำให้ทุกคน “เชื่อ” ในตัวเองให้ได้
เมื่อพนักงานวางใจในผู้นำองค์กรแล้ว พวกเขามักจะมีส่วนร่วมและมุ่งมั่นในการทำงานมากขึ้น
หากผู้นำสามารถสื่อสารกลยุทธ์ของบริษัทให้กับพนักงานได้เข้าใจอย่างชัดเจน
สิ่งนี้จะช่วยให้การทำงานและการดำเนินธุรกิจ เป็นไปอย่างราบรื่น
ซึ่งก่อนที่พนักงานจะเชื่อในตัวผู้นำได้นั้น ผู้นำต้องลงมือทำให้เห็น
และคอยให้คำแนะนำ คอยยื่นมือเข้ามาช่วยในยามที่พวกเขาเจอปัญหา
เพราะหากปล่อยปละละเลยให้พนักงานคิดหาหนทางและแก้ปัญหากันเอาเอง
ความสำคัญในตัวผู้นำก็จะลดลงเรื่อย ๆ
และเมื่อเกิดปัญหาในองค์กร พนักงานจะรู้สึกไร้ที่พึ่งและพากันลาออกไปในที่สุด
3. มีเส้นทางอาชีพที่ชัดเจน
พนักงานทุกคนย่อมหวังที่จะเติบโตในหน้าที่การงาน
หากผู้นำทำให้เขามองเห็นโอกาสการเติบโตในเส้นทางอาชีพ
หรือพยายามส่งเสริม พัฒนาทักษะให้กับพนักงานอยู่เสมอ
พนักงานก็จะอยากพัฒนาตัวเอง และอยากทำงานกับองค์กรต่อไป
เพราะเข้าใจและเห็นภาพอนาคตของตัวเองได้อย่างชัดเจน
4. พยายามสร้างสมดุลให้ชีวิตของพนักงาน
องค์กรที่ไม่เคยสนใจเรื่องราวชีวิตส่วนตัวของพนักงาน หรือไม่เคยยืดหยุ่นหรือมีแผนสำรองอะไรไว้เลย
แน่นอนว่า บรรยากาศการทำงานก็จะมีแต่ความตึงเครียด เพราะในชีวิตของพนักงานทุกคน ไม่ได้มีแต่เรื่องงาน 24 ชั่วโมง
ดังนั้นการเข้าใจพนักงาน และทำให้พนักงานสามารถสร้างสมดุลในการใช้ชีวิตไปพร้อมกับการทำงานได้
ย่อมช่วยให้พนักงานอยากทำงานในองค์กรนี้ต่อไป
5. เปิดโอกาสให้พนักงานมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
บางครั้งการให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจบ้าง
จะเป็นสิ่งที่ทำให้พวกเขารู้สึกว่าองค์กรเห็นคุณค่าและความสามารถของตัวเองมากขึ้น
ไม่ใช่เป็นแค่หุ่นยนต์ที่เอาแต่รอรับคำสั่งอย่างเดียว
มาถึงตรงนี้ หลายคนอาจสงสัยว่า..
แล้วบริษัทระดับโลก ที่ติดท็อปบริษัทที่ทำให้พนักงานมีความสุขมากที่สุด เขาทำอย่างไร ?
จึงขอยกตัวอย่างบริษัท Microsoft หนึ่งองค์กรที่ทำให้พนักงานมีความสุขที่สุดในปี 2020
รู้หรือไม่ว่า สัตยา นาเดลลา ผู้เป็น CEO คนปัจจุบันของ Microsoft
ได้ทำการสำรวจพนักงานในบริษัทแล้วพบว่า
สาเหตุที่พนักงานส่วนใหญ่ลาออก เป็นเพราะมีความรู้สึกว่าตัวเองไม่สำคัญต่อบริษัท
ที่น่าสนใจคือ กลุ่มพนักงานเหล่านี้ กลับมีจำนวนมากกว่า พนักงานที่มีปัญหาเรื่องเงินเดือนเสียอีก
ดังนั้น สัตยา นาเดลลา จึงให้ความสำคัญกับทุกคนที่ทำงาน ไม่ว่างานนั้นจะเล็กหรือใหญ่ก็ตาม
อีกทั้ง Microsoft พยายามสร้างสมดุลให้กับชีวิตพนักงาน
โดยการไม่สนับสนุนการทำงานล่วงเวลาหลาย ๆ ชั่วโมง
เพราะมองว่าจะส่งผลกระทบต่อความสุขของพนักงาน นั่นเอง
ยิ่งในการประชุมหลาย ๆ ชั่วโมง แต่ไม่เกิดผลลัพธ์อะไร ยิ่งเป็นเรื่องที่จะไม่สนับสนุน
เพราะอยากให้พนักงานทุกคนเอาเวลาไปโฟกัสกับงานของตัวเอง หรือไปพักผ่อนน่าจะดีกว่า
และเชื่อว่าหากมีการประชุมก็ให้เป็นกลุ่มเล็ก ๆ แลกเปลี่ยนกันสั้น ๆ ก็เพียงพอแล้ว
อย่างไรก็ตาม ปฏิเสธไม่ได้ว่า ค่าตอบแทนที่ดี คือสิ่งที่ดึงดูดใจให้คนเก่ง ๆ เข้ามาสู่องค์กร
แต่นั่นก็ไม่ได้การันตีว่า ค่าตอบแทนที่ดี จะรักษาคนเก่ง ๆ เอาไว้ได้ในระยะยาวได้เสมอไป
ดังนั้น สิ่งสำคัญที่องค์กรและผู้นำต้องหาให้เจอว่า..
พนักงานของคุณ กำลังคาดหวังสิ่งใดมากกว่าเงินเดือนอยู่หรือไม่ ?
ซึ่งก็ควรจะบริหารความคาดหวังนั้น ไปพร้อม ๆ กับการบริหารธุรกิจให้เติบโตต่อไป
เพราะต้องยอมรับว่า.. ปัญหาบางอย่าง เงินก็ยังแก้ปัญหาไม่ได้เสมอไป
References:
-https://www.hrinasia.com/retention/loosening-ends-to-make-employees-happy-what-do-hrs-miss-out-on/
-https://www.youtube.com/watch?v=yLbcWloJ_tI&t=9s
ทุกวันนี้แทบทุกอุตสาหกรรมมีการแข่งขันที่ดุเดือด ซึ่งแน่นอนว่าสิ่งที่ตามมาก็คือ
การทำงานในทุกภาคส่วน ต้องใช้พลังกายและพลังสมองของพนักงานมากขึ้นเรื่อย ๆ
และในขณะเดียวกันหลาย ๆ องค์กรก็อยากรักษาพนักงานของตัวเองเอาไว้ให้นานที่สุด
โดยหนึ่งในวิธีที่หลายองค์กรมักเลือกทำก็คือ “การเพิ่มค่าตอบแทน”
เพื่อหวังว่าจะเติมเต็มความสุข และเพิ่มพลังในการทำงานให้กับพนักงานได้
แต่จากข้อมูลของ HR in ASIA เว็บไซต์จัดหางานในเอเชีย
ก็พบว่า บางครั้งเงินก็ซื้อความสุขให้กับพนักงานไม่ได้ เสมอไป..
แล้วอะไรบ้างที่จะช่วยทำให้พนักงานมีความสุข และอยู่กับองค์กรไปได้นาน ๆ อีกบ้าง ?
THE BRIEFCASE จะสรุปให้ฟัง..
1. สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ไม่ Toxic หรือไม่เป็นพิษ
“วัฒนธรรมองค์กรที่ยอดเยี่ยม” เป็นเรื่องที่ใครหลายคนอาจจะได้ยินกันบ่อย ๆ
แต่การทำให้เกิดขึ้นจริง เป็นเรื่องที่ไม่ง่าย แต่ก็ไม่ได้แปลว่าจะสร้างมันขึ้นมาไม่ได้เลยสักทีเดียว
วัฒนธรรมองค์กรที่ดี ควรเริ่มจากตัวผู้นำ หากผู้นำมีความโปร่งใส เคารพทีมงาน
และพยายามสร้างแรงจูงใจในทางบวกกับทุก ๆ คนอยู่เสมอ
เมื่อทุกคนมองเห็นต้นแบบที่ดี วัฒนธรรมองค์กรที่ดีก็ย่อมเกิดขึ้น
และสร้างแรงจูงใจให้พนักงานอยากอยู่กับองค์กรนี้ต่อไป
ลองคิดภาพตามดูว่า ถ้ามีผู้นำที่ไม่เคยยอมรับผิดเลย วัฒนธรรมองค์กรจะเป็นอย่างไร ?
แน่นอนว่าทีมงานก็จะไม่อยากยอมรับผิด
และก็จะเกิดวัฒนธรรมการหนีปัญหา มากกว่าช่วยกันแก้ปัญหา
2. ผู้นำต้องทำให้ทุกคน “เชื่อ” ในตัวเองให้ได้
เมื่อพนักงานวางใจในผู้นำองค์กรแล้ว พวกเขามักจะมีส่วนร่วมและมุ่งมั่นในการทำงานมากขึ้น
หากผู้นำสามารถสื่อสารกลยุทธ์ของบริษัทให้กับพนักงานได้เข้าใจอย่างชัดเจน
สิ่งนี้จะช่วยให้การทำงานและการดำเนินธุรกิจ เป็นไปอย่างราบรื่น
ซึ่งก่อนที่พนักงานจะเชื่อในตัวผู้นำได้นั้น ผู้นำต้องลงมือทำให้เห็น
และคอยให้คำแนะนำ คอยยื่นมือเข้ามาช่วยในยามที่พวกเขาเจอปัญหา
เพราะหากปล่อยปละละเลยให้พนักงานคิดหาหนทางและแก้ปัญหากันเอาเอง
ความสำคัญในตัวผู้นำก็จะลดลงเรื่อย ๆ
และเมื่อเกิดปัญหาในองค์กร พนักงานจะรู้สึกไร้ที่พึ่งและพากันลาออกไปในที่สุด
3. มีเส้นทางอาชีพที่ชัดเจน
พนักงานทุกคนย่อมหวังที่จะเติบโตในหน้าที่การงาน
หากผู้นำทำให้เขามองเห็นโอกาสการเติบโตในเส้นทางอาชีพ
หรือพยายามส่งเสริม พัฒนาทักษะให้กับพนักงานอยู่เสมอ
พนักงานก็จะอยากพัฒนาตัวเอง และอยากทำงานกับองค์กรต่อไป
เพราะเข้าใจและเห็นภาพอนาคตของตัวเองได้อย่างชัดเจน
4. พยายามสร้างสมดุลให้ชีวิตของพนักงาน
องค์กรที่ไม่เคยสนใจเรื่องราวชีวิตส่วนตัวของพนักงาน หรือไม่เคยยืดหยุ่นหรือมีแผนสำรองอะไรไว้เลย
แน่นอนว่า บรรยากาศการทำงานก็จะมีแต่ความตึงเครียด เพราะในชีวิตของพนักงานทุกคน ไม่ได้มีแต่เรื่องงาน 24 ชั่วโมง
ดังนั้นการเข้าใจพนักงาน และทำให้พนักงานสามารถสร้างสมดุลในการใช้ชีวิตไปพร้อมกับการทำงานได้
ย่อมช่วยให้พนักงานอยากทำงานในองค์กรนี้ต่อไป
5. เปิดโอกาสให้พนักงานมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
บางครั้งการให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจบ้าง
จะเป็นสิ่งที่ทำให้พวกเขารู้สึกว่าองค์กรเห็นคุณค่าและความสามารถของตัวเองมากขึ้น
ไม่ใช่เป็นแค่หุ่นยนต์ที่เอาแต่รอรับคำสั่งอย่างเดียว
มาถึงตรงนี้ หลายคนอาจสงสัยว่า..
แล้วบริษัทระดับโลก ที่ติดท็อปบริษัทที่ทำให้พนักงานมีความสุขมากที่สุด เขาทำอย่างไร ?
จึงขอยกตัวอย่างบริษัท Microsoft หนึ่งองค์กรที่ทำให้พนักงานมีความสุขที่สุดในปี 2020
รู้หรือไม่ว่า สัตยา นาเดลลา ผู้เป็น CEO คนปัจจุบันของ Microsoft
ได้ทำการสำรวจพนักงานในบริษัทแล้วพบว่า
สาเหตุที่พนักงานส่วนใหญ่ลาออก เป็นเพราะมีความรู้สึกว่าตัวเองไม่สำคัญต่อบริษัท
ที่น่าสนใจคือ กลุ่มพนักงานเหล่านี้ กลับมีจำนวนมากกว่า พนักงานที่มีปัญหาเรื่องเงินเดือนเสียอีก
ดังนั้น สัตยา นาเดลลา จึงให้ความสำคัญกับทุกคนที่ทำงาน ไม่ว่างานนั้นจะเล็กหรือใหญ่ก็ตาม
อีกทั้ง Microsoft พยายามสร้างสมดุลให้กับชีวิตพนักงาน
โดยการไม่สนับสนุนการทำงานล่วงเวลาหลาย ๆ ชั่วโมง
เพราะมองว่าจะส่งผลกระทบต่อความสุขของพนักงาน นั่นเอง
ยิ่งในการประชุมหลาย ๆ ชั่วโมง แต่ไม่เกิดผลลัพธ์อะไร ยิ่งเป็นเรื่องที่จะไม่สนับสนุน
เพราะอยากให้พนักงานทุกคนเอาเวลาไปโฟกัสกับงานของตัวเอง หรือไปพักผ่อนน่าจะดีกว่า
และเชื่อว่าหากมีการประชุมก็ให้เป็นกลุ่มเล็ก ๆ แลกเปลี่ยนกันสั้น ๆ ก็เพียงพอแล้ว
อย่างไรก็ตาม ปฏิเสธไม่ได้ว่า ค่าตอบแทนที่ดี คือสิ่งที่ดึงดูดใจให้คนเก่ง ๆ เข้ามาสู่องค์กร
แต่นั่นก็ไม่ได้การันตีว่า ค่าตอบแทนที่ดี จะรักษาคนเก่ง ๆ เอาไว้ได้ในระยะยาวได้เสมอไป
ดังนั้น สิ่งสำคัญที่องค์กรและผู้นำต้องหาให้เจอว่า..
พนักงานของคุณ กำลังคาดหวังสิ่งใดมากกว่าเงินเดือนอยู่หรือไม่ ?
ซึ่งก็ควรจะบริหารความคาดหวังนั้น ไปพร้อม ๆ กับการบริหารธุรกิจให้เติบโตต่อไป
เพราะต้องยอมรับว่า.. ปัญหาบางอย่าง เงินก็ยังแก้ปัญหาไม่ได้เสมอไป
References:
-https://www.hrinasia.com/retention/loosening-ends-to-make-employees-happy-what-do-hrs-miss-out-on/
-https://www.youtube.com/watch?v=yLbcWloJ_tI&t=9s