6 วิธีรับมือ เพื่อนร่วมงาน ที่ไม่ยอมทำงาน ในช่วง Work from Home
5 ต.ค. 2021
6 วิธีรับมือ เพื่อนร่วมงาน ที่ไม่ยอมทำงาน ในช่วง Work from Home | THE BRIEFCASE
เชื่อว่าบริษัทส่วนใหญ่ในตอนนี้ยังคงเป็นการทำงานแบบ Work from Home กันอยู่ ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อเราทำงานที่บ้าน ย่อมเกิดปัญหาหนึ่งคือ ไม่ค่อยมีใครมาพิสูจน์ตรวจสอบ ว่าเราทำงานจริงหรือไม่ ?
ซึ่งก็จะมีคนอยู่ 2 ประเภท คือ คนที่ทำงานจริง ๆ และ คนที่ไม่ทำงาน
ถ้าหากว่าทั้งบริษัทนั้นมีแต่คนที่ทำงานก็ถือว่าโชคดี สำหรับเพื่อนร่วมงานและหัวหน้างาน ที่ไม่ต้องมานั่งกังวลว่า วันนี้ลูกทีมหรือเพื่อนร่วมทีมของเราทำงานหรือยัง
แต่ถ้าหากต้องเจอกับพนักงานประเภทที่สอง ที่ไม่ยอมทำงาน หรือทำได้น้อยกว่าตอนที่ทำอยู่ที่บริษัท
เราจะมีวิธีรับมือกับคนกลุ่มนี้อย่างไร ?
1. ลองพูดคุยอย่างตรงไปตรงมาภายในก่อน
วิธีที่ง่ายที่สุด เมื่อเรารู้ว่าพนักงานของเรา หรือเพื่อนร่วมงานของเราไม่ยอมทำงานช่วง Work from Home คงหนีไม่พ้นการพูดคุยกันว่า เขาติดปัญหาอะไรในการทำงานหรือเปล่า
หรืออะไรคือสาเหตุที่ทำให้เขาทำงานได้ไม่ตรงตามเป้า และลองหาวิธีแก้ไขไปด้วยกัน
2. จัดประชุมเล็ก ๆ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์
ถึงแม้การประชุมจะเป็นเรื่องที่น่าเบื่อสำหรับใครหลายคน แต่ในอีกด้านหนึ่ง การประชุมก็เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราสามารถเช็กงานกับคนที่เราสงสัยในการทำงานได้เหมือนกัน
เพราะในที่ประชุมนั้นจะเปิดโอกาสให้เราได้ถามถึงงานที่กำลังคืบหน้าได้ในทันที โดยที่ไม่ต้องไปคุยกันเป็นส่วนตัว หรือมีคนช่วยสร้างความกดดันให้กับคนที่ไม่ทำงานได้
3. ทักไปลองขอให้เขาช่วยงานดู
การทักทายไปขอความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมงานนั้น สามารถช่วยให้เราพิสูจน์อะไรได้หลายอย่าง
เช่น หากเราสงสัยว่าเพื่อนร่วมงานคนหนึ่งไม่ทำงาน ก็ให้ลองขอความช่วยเหลือจากเขาดู หากเขาปฏิเสธ เขาก็ต้องชี้แจงว่า เขาติดงานส่วนไหนอยู่ และทำไมถึงไม่มีเวลามาช่วยงานในส่วนนี้
4. จดบันทึกรายละเอียดการทำงาน
ในส่วนนี้แต่ละบริษัทก็มีวิธีการบันทึกที่แตกต่างกันไป
หากเป็นการทำงานที่แต่ละคนรับผิดชอบกันคนละหัวข้อ ก็คงเช็กได้ไม่ยากว่าหัวข้อไหนบ้างที่ใช้เวลานานเกินไป
บางบริษัทก็ใช้วิธีลงโปรแกรมเพื่อบันทึกการเข้าสู่ระบบของพนักงานเป็นตัวบันทึก หรือบางบริษัทก็ใช้วิธีให้พนักงานคอยเช็กอินกับระบบตามเวลาที่กำหนดก็ได้
แต่ถ้าหากบริษัทไม่ได้มีนโยบายข้างต้น และปัญหาการไม่ทำงานนี้กำลังเป็นเรื่องใหญ่ เราอาจต้องลองติดตามงานและจดบันทึกการทำงานของคนที่เราสงสัยว่าอู้งานเอาไว้
เผื่อในกรณีที่ต้องนำเรื่องนี้ไปรายงาน ก็จะเป็นตัวช่วยให้เราสามารถเจรจาได้ด้วยหลักฐาน
5. ระบายให้เพื่อนร่วมงานฟังดู
บางครั้งสิ่งที่เรารู้สึกว่า เพื่อนคนนี้ไม่ได้ทำงาน อาจเป็นความรู้สึกของเราคนเดียว
ดังนั้น การได้พูดคุยกับเพื่อนร่วมงานคนอื่น อาจทำให้เรามองเห็นอีกมุมของคนที่เรามองว่าเขาไม่ทำงานได้
เช่น เขาอาจจะติดงานส่วนอื่นอยู่ หรือเขาอาจมีปัญหาอะไรที่ไม่สามารถพูดกับเราได้ตรง ๆ แต่พูดกับคนอื่นได้
แต่ถ้าหากว่าเราไม่ได้รู้สึกไปเองคนเดียว ก็จะเป็นการช่วยเพิ่มสายตา และแรงกดดัน ให้เพื่อนร่วมงานคนนั้นได้มากยิ่งขึ้นไปในตัว
6. บอกเจ้านาย
ถ้าหากลองทำทุกวิถีทางที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว สถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น อาจต้องลองแจ้งเจ้านายถึงปัญหา เพื่อให้เจ้านายทราบและไปพูดคุยกับคนที่ไม่ทำงานดู
เพราะแรงกดดันจากเจ้านาย ย่อมมากกว่า การพูดกันแค่เพื่อนร่วมงาน
แต่ไม่ว่าจะอย่างไร เราก็ต้องคิดอีกแง่หนึ่งว่า
การที่คนอื่นดูว่าง และเราดูยุ่ง อาจหมายความว่าภาระงานของเราไม่เท่ากัน หรือคนที่มองว่าเขาไม่ทำงาน เขาอาจทำงานในช่วงเวลาอื่น แทนที่จะทำในเวลางานของเราก็ได้..
Reference
-https://www.entrepreneur.com/article/388707
เชื่อว่าบริษัทส่วนใหญ่ในตอนนี้ยังคงเป็นการทำงานแบบ Work from Home กันอยู่ ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อเราทำงานที่บ้าน ย่อมเกิดปัญหาหนึ่งคือ ไม่ค่อยมีใครมาพิสูจน์ตรวจสอบ ว่าเราทำงานจริงหรือไม่ ?
ซึ่งก็จะมีคนอยู่ 2 ประเภท คือ คนที่ทำงานจริง ๆ และ คนที่ไม่ทำงาน
ถ้าหากว่าทั้งบริษัทนั้นมีแต่คนที่ทำงานก็ถือว่าโชคดี สำหรับเพื่อนร่วมงานและหัวหน้างาน ที่ไม่ต้องมานั่งกังวลว่า วันนี้ลูกทีมหรือเพื่อนร่วมทีมของเราทำงานหรือยัง
แต่ถ้าหากต้องเจอกับพนักงานประเภทที่สอง ที่ไม่ยอมทำงาน หรือทำได้น้อยกว่าตอนที่ทำอยู่ที่บริษัท
เราจะมีวิธีรับมือกับคนกลุ่มนี้อย่างไร ?
1. ลองพูดคุยอย่างตรงไปตรงมาภายในก่อน
วิธีที่ง่ายที่สุด เมื่อเรารู้ว่าพนักงานของเรา หรือเพื่อนร่วมงานของเราไม่ยอมทำงานช่วง Work from Home คงหนีไม่พ้นการพูดคุยกันว่า เขาติดปัญหาอะไรในการทำงานหรือเปล่า
หรืออะไรคือสาเหตุที่ทำให้เขาทำงานได้ไม่ตรงตามเป้า และลองหาวิธีแก้ไขไปด้วยกัน
2. จัดประชุมเล็ก ๆ 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์
ถึงแม้การประชุมจะเป็นเรื่องที่น่าเบื่อสำหรับใครหลายคน แต่ในอีกด้านหนึ่ง การประชุมก็เป็นสิ่งที่ช่วยให้เราสามารถเช็กงานกับคนที่เราสงสัยในการทำงานได้เหมือนกัน
เพราะในที่ประชุมนั้นจะเปิดโอกาสให้เราได้ถามถึงงานที่กำลังคืบหน้าได้ในทันที โดยที่ไม่ต้องไปคุยกันเป็นส่วนตัว หรือมีคนช่วยสร้างความกดดันให้กับคนที่ไม่ทำงานได้
3. ทักไปลองขอให้เขาช่วยงานดู
การทักทายไปขอความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมงานนั้น สามารถช่วยให้เราพิสูจน์อะไรได้หลายอย่าง
เช่น หากเราสงสัยว่าเพื่อนร่วมงานคนหนึ่งไม่ทำงาน ก็ให้ลองขอความช่วยเหลือจากเขาดู หากเขาปฏิเสธ เขาก็ต้องชี้แจงว่า เขาติดงานส่วนไหนอยู่ และทำไมถึงไม่มีเวลามาช่วยงานในส่วนนี้
4. จดบันทึกรายละเอียดการทำงาน
ในส่วนนี้แต่ละบริษัทก็มีวิธีการบันทึกที่แตกต่างกันไป
หากเป็นการทำงานที่แต่ละคนรับผิดชอบกันคนละหัวข้อ ก็คงเช็กได้ไม่ยากว่าหัวข้อไหนบ้างที่ใช้เวลานานเกินไป
บางบริษัทก็ใช้วิธีลงโปรแกรมเพื่อบันทึกการเข้าสู่ระบบของพนักงานเป็นตัวบันทึก หรือบางบริษัทก็ใช้วิธีให้พนักงานคอยเช็กอินกับระบบตามเวลาที่กำหนดก็ได้
แต่ถ้าหากบริษัทไม่ได้มีนโยบายข้างต้น และปัญหาการไม่ทำงานนี้กำลังเป็นเรื่องใหญ่ เราอาจต้องลองติดตามงานและจดบันทึกการทำงานของคนที่เราสงสัยว่าอู้งานเอาไว้
เผื่อในกรณีที่ต้องนำเรื่องนี้ไปรายงาน ก็จะเป็นตัวช่วยให้เราสามารถเจรจาได้ด้วยหลักฐาน
5. ระบายให้เพื่อนร่วมงานฟังดู
บางครั้งสิ่งที่เรารู้สึกว่า เพื่อนคนนี้ไม่ได้ทำงาน อาจเป็นความรู้สึกของเราคนเดียว
ดังนั้น การได้พูดคุยกับเพื่อนร่วมงานคนอื่น อาจทำให้เรามองเห็นอีกมุมของคนที่เรามองว่าเขาไม่ทำงานได้
เช่น เขาอาจจะติดงานส่วนอื่นอยู่ หรือเขาอาจมีปัญหาอะไรที่ไม่สามารถพูดกับเราได้ตรง ๆ แต่พูดกับคนอื่นได้
แต่ถ้าหากว่าเราไม่ได้รู้สึกไปเองคนเดียว ก็จะเป็นการช่วยเพิ่มสายตา และแรงกดดัน ให้เพื่อนร่วมงานคนนั้นได้มากยิ่งขึ้นไปในตัว
6. บอกเจ้านาย
ถ้าหากลองทำทุกวิถีทางที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว สถานการณ์ยังไม่ดีขึ้น อาจต้องลองแจ้งเจ้านายถึงปัญหา เพื่อให้เจ้านายทราบและไปพูดคุยกับคนที่ไม่ทำงานดู
เพราะแรงกดดันจากเจ้านาย ย่อมมากกว่า การพูดกันแค่เพื่อนร่วมงาน
แต่ไม่ว่าจะอย่างไร เราก็ต้องคิดอีกแง่หนึ่งว่า
การที่คนอื่นดูว่าง และเราดูยุ่ง อาจหมายความว่าภาระงานของเราไม่เท่ากัน หรือคนที่มองว่าเขาไม่ทำงาน เขาอาจทำงานในช่วงเวลาอื่น แทนที่จะทำในเวลางานของเราก็ได้..
Reference
-https://www.entrepreneur.com/article/388707