ทำไม ถึงไม่ควรมี พนักงานแบบ “ได้ครับพี่ ดีครับผม” ไว้ในองค์กร
28 ส.ค. 2021
ทำไม ถึงไม่ควรมี พนักงานแบบ “ได้ครับพี่ ดีครับผม” ไว้ในองค์กร | THE BRIEFCASE
“ได้ครับพี่ ดีครับนาย สบายครับผม เหมาะสมครับท่าน” เชื่อว่าหลายคนคงคุ้นเคยกับคำนี้
คำที่บ่งบอกถึงพนักงานที่คอยทำอะไรตามที่คนอื่นสั่ง เอาอกเอาใจ เห็นว่าสิ่งที่คนอื่นทำนั้นดีแล้ว
โดยที่ไม่กล้าออกความคิดเห็นอะไรเลย ซึ่งเรื่องนี้ ก็มีข้อดีคือ ทำให้คนในองค์กรไม่เกิดความขัดแย้ง
แต่หากเรามองอีกมุม การประพฤติตนในลักษณะนี้ อาจส่งผลเสียให้กับองค์กรมากกว่าที่เราคิด
แล้วทำไม การมีพนักงานแบบนี้ในองค์กรเยอะ ๆ ถึงเป็นเรื่องที่ไม่ดี ?
1. อาจทำให้เกิดการตัดสินใจที่ผิดพลาด จนองค์กรเสียหาย
การปฏิเสธในสิ่งที่เราไม่เห็นด้วย หรือไม่แสดงความคิดเห็นที่แตกต่างออกไป เป็นสิ่งที่หลายคนอาจเลือกทำ เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้น แต่นั่นอาจทำให้เกิดการตัดสินใจที่ผิดพลาด
เพราะเราจะคิดว่า สิ่งที่เราเลือกนั้นดีที่สุดแล้ว เพราะไม่มีใครไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจในครั้งนั้น
ตัวอย่างเช่น ในกรณีของ Netflix ในช่วงยุคการเปลี่ยนผ่าน จากการให้เช่า DVD เป็น Online Streaming
รีด เฮสติงส์ CEO ของ Netflix ได้ตัดสินใจแยกธุรกิจให้เช่า DVD ออกมาเป็นอีกหนึ่งบริษัท
ที่มีชื่อว่า Qwikster แล้วให้ Netflix เหลือเพียงบริการ Online Streaming
ซึ่งการตัดสินใจของ รีด เฮสติงส์ ในครั้งนั้น มีพนักงานหลายคนไม่เห็นด้วย และเห็นว่านี่ไม่ใช่ไอเดียที่ดี แต่ก็ไม่มีใครกล้าพูดอะไร
สุดท้าย การแยกธุรกิจในครั้งนั้น ก็ได้ส่งผลเสียต่อบริษัท
เพราะทำให้ผู้บริโภคไม่พอใจ เนื่องจากต้องเสียค่าสมาชิกแยกกัน ทำให้มีลูกค้าจำนวนมากยกเลิกการเป็นสมาชิกของ Netflix
ภายหลังเหตุการณ์ในครั้งนั้น รีด เฮสติงส์ ได้พบความจริงว่า มีพนักงานหลายคนไม่กล้าแสดงความเห็นที่ต่างออกไป เขาจึงได้ทำการปรับวิธีในการบริหารใหม่
โดยให้หัวหน้าทีม คอยกระตุ้นให้พนักงานกล้าที่จะพูดความจริง และกล้าที่จะไม่เห็นด้วยถ้าคิดว่านั่นไม่ใช่ไอเดียที่ดี
โดย รีด เฮสติงส์ ได้ให้เหตุผลว่า ถ้าไม่เห็นด้วยแต่ไม่ยอมพูดอะไร แสดงว่าคุณไม่มีความจงรักภักดีต่อองค์กร และเลือกที่จะไม่ช่วยเหลือบริษัท และถือเป็นการปล่อยให้บริษัทเสียหาย เพียงเพราะ “เรา” ไม่กล้าที่จะพูดออกไป
2. ความคิดสร้างสรรค์ลดลง ศักยภาพของพนักงานไม่ถูกดึงออกมา
ความคิดสร้างสรรค์ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์ในเชิงศิลปะเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการสรรหาวิธีการใหม่ ๆ มาแก้ปัญหา หรือการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ออกมาให้กับบริษัท
ซึ่งการมีพนักงานอะไรก็ได้ เห็นด้วยไปเสียทุกอย่าง จะทำให้พนักงานเองไม่ได้แสดงความคิดเห็น หรือแสดงศักยภาพออกมา ทำให้ไม่เกิดกระบวนการที่เรียกว่า “ระดมสมอง” ช่วยกันเสนอไอเดีย
มีแต่คนรอแค่พยักหน้าเห็นด้วยเท่านั้น
และนั่นก็จะทำให้องค์กร ไม่ก้าวไปไหนเลย
ดังนั้นการดึงศักยภาพของพนักงานออกมา หรือกระตุ้นให้พนักงานมีความคิดสร้างสรรค์ จึงเป็นสิ่งที่หลาย ๆ บริษัทให้ความสำคัญ เพราะสิ่งเหล่านี้ สามารถช่วยบริษัทพัฒนาก้าวไปข้างหน้าได้
เช่น Google ที่ CEO อย่าง ซุนดาร์ พิชัย มักจะเดินไปรอบ ๆ โต๊ะประชุม
เพื่อถามความคิดเห็นของแต่ละคน เป็นการกระตุ้นให้พนักงานคิด และดึงศักยภาพของพนักงานแต่ละคนออกมา
เพราะเขามองว่า ความเห็นจากพนักงานบางคน อาจทำให้เกิดมุมมองใหม่ ๆ หรืออาจเปลี่ยนทิศทางการตัดสินใจได้อย่างเป็นเหตุเป็นผลอีกด้วย
3. หัวหน้างานไม่ได้รับการฟีดแบ็กที่แท้จริง
เมื่อเรามองเห็นปัญหา หรือหลายครั้งที่เรารู้สึกว่า อยากจะให้คำแนะนำกับหัวหน้างานในบางเรื่อง
แต่ก็กลัวว่าจะเป็นการ “เลื่อยขาเก้าอี้ตัวเอง” หรือตัดคะแนนตัวเอง เพราะกลัวหัวหน้างานไม่พอใจ และทำให้เราไม่ได้เลื่อนตำแหน่ง เลยไม่กล้าที่จะพูดออกไปตรง ๆ และเลือกที่จะปล่อยปละละเลยปัญหาที่เกิดขึ้น
หากปล่อยทิ้งไว้หลาย ๆ เรื่อง อาจจะทำให้เกิดปัญหาบานปลายได้ในระยะยาว
เพราะมันจะไม่ดีต่อทั้งตัวเรา หัวหน้างาน หรืออาจจะส่งผลกระทบไปถึงการทำงานโดยรวมของบริษัทเลยก็เป็นได้
การที่มีอะไรแล้วไม่พูดออกมาตรง ๆ ก็คงเป็นจริงตามที่ รีด เฮสติงส์ CEO ของ Netflix บอก
คือเป็นการไม่ภักดีต่อองค์กร และอาจทำให้ต้องมาหมางใจกันภายหลังอีกด้วย
ซึ่งการที่พนักงานไม่กล้าพูด ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น
ก็อาจไม่ใช่ความผิดของพนักงานอย่างเดียว
แต่อาจมาจาก การบริหารของหัวหน้างาน หรือวัฒนธรรมองค์กร ที่หลงการเอาอกเอาใจ คำสรรเสริญเยินยอ กลัวความผิดพลาด และกลัวเสียหน้าจนเกินไป
จนทำให้บางครั้งพนักงานอาจลืมไปว่า การเลื่อนตำแหน่งมันต้องมาจากความสามารถ ไม่ใช่น้ำลาย
ซึ่งหากองค์กรไหนที่กำลังมีหัวหน้าที่ไม่ชอบฟังใคร
ส่วนลูกน้องก็เอาแต่พูดว่า “ได้ครับพี่ ดีครับผม”
นั่นคงไม่ใช่วัฒนธรรมที่ดี ที่จะทำให้องค์กรก้าวไปข้างหน้า ได้อย่างแท้จริง..
References
-https://www.linkedin.com/pulse/rejecting-yes-man-culture-how-great-leaders-get-real-alex-leinweber/
-https://edition.cnn.com/2019/03/18/success/saying-no-to-boss/index.html
-https://medium.com/swlh/yes-man-culture-the-price-of-a-yes-culture-at-work-127942c9d8d0
“ได้ครับพี่ ดีครับนาย สบายครับผม เหมาะสมครับท่าน” เชื่อว่าหลายคนคงคุ้นเคยกับคำนี้
คำที่บ่งบอกถึงพนักงานที่คอยทำอะไรตามที่คนอื่นสั่ง เอาอกเอาใจ เห็นว่าสิ่งที่คนอื่นทำนั้นดีแล้ว
โดยที่ไม่กล้าออกความคิดเห็นอะไรเลย ซึ่งเรื่องนี้ ก็มีข้อดีคือ ทำให้คนในองค์กรไม่เกิดความขัดแย้ง
แต่หากเรามองอีกมุม การประพฤติตนในลักษณะนี้ อาจส่งผลเสียให้กับองค์กรมากกว่าที่เราคิด
แล้วทำไม การมีพนักงานแบบนี้ในองค์กรเยอะ ๆ ถึงเป็นเรื่องที่ไม่ดี ?
1. อาจทำให้เกิดการตัดสินใจที่ผิดพลาด จนองค์กรเสียหาย
การปฏิเสธในสิ่งที่เราไม่เห็นด้วย หรือไม่แสดงความคิดเห็นที่แตกต่างออกไป เป็นสิ่งที่หลายคนอาจเลือกทำ เพื่อหลีกเลี่ยงความขัดแย้งที่จะเกิดขึ้น แต่นั่นอาจทำให้เกิดการตัดสินใจที่ผิดพลาด
เพราะเราจะคิดว่า สิ่งที่เราเลือกนั้นดีที่สุดแล้ว เพราะไม่มีใครไม่เห็นด้วยกับการตัดสินใจในครั้งนั้น
ตัวอย่างเช่น ในกรณีของ Netflix ในช่วงยุคการเปลี่ยนผ่าน จากการให้เช่า DVD เป็น Online Streaming
รีด เฮสติงส์ CEO ของ Netflix ได้ตัดสินใจแยกธุรกิจให้เช่า DVD ออกมาเป็นอีกหนึ่งบริษัท
ที่มีชื่อว่า Qwikster แล้วให้ Netflix เหลือเพียงบริการ Online Streaming
ซึ่งการตัดสินใจของ รีด เฮสติงส์ ในครั้งนั้น มีพนักงานหลายคนไม่เห็นด้วย และเห็นว่านี่ไม่ใช่ไอเดียที่ดี แต่ก็ไม่มีใครกล้าพูดอะไร
สุดท้าย การแยกธุรกิจในครั้งนั้น ก็ได้ส่งผลเสียต่อบริษัท
เพราะทำให้ผู้บริโภคไม่พอใจ เนื่องจากต้องเสียค่าสมาชิกแยกกัน ทำให้มีลูกค้าจำนวนมากยกเลิกการเป็นสมาชิกของ Netflix
ภายหลังเหตุการณ์ในครั้งนั้น รีด เฮสติงส์ ได้พบความจริงว่า มีพนักงานหลายคนไม่กล้าแสดงความเห็นที่ต่างออกไป เขาจึงได้ทำการปรับวิธีในการบริหารใหม่
โดยให้หัวหน้าทีม คอยกระตุ้นให้พนักงานกล้าที่จะพูดความจริง และกล้าที่จะไม่เห็นด้วยถ้าคิดว่านั่นไม่ใช่ไอเดียที่ดี
โดย รีด เฮสติงส์ ได้ให้เหตุผลว่า ถ้าไม่เห็นด้วยแต่ไม่ยอมพูดอะไร แสดงว่าคุณไม่มีความจงรักภักดีต่อองค์กร และเลือกที่จะไม่ช่วยเหลือบริษัท และถือเป็นการปล่อยให้บริษัทเสียหาย เพียงเพราะ “เรา” ไม่กล้าที่จะพูดออกไป
2. ความคิดสร้างสรรค์ลดลง ศักยภาพของพนักงานไม่ถูกดึงออกมา
ความคิดสร้างสรรค์ในที่นี้ ไม่ได้หมายถึง ความคิดสร้างสรรค์ในเชิงศิลปะเพียงอย่างเดียว แต่เป็นการสรรหาวิธีการใหม่ ๆ มาแก้ปัญหา หรือการคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ออกมาให้กับบริษัท
ซึ่งการมีพนักงานอะไรก็ได้ เห็นด้วยไปเสียทุกอย่าง จะทำให้พนักงานเองไม่ได้แสดงความคิดเห็น หรือแสดงศักยภาพออกมา ทำให้ไม่เกิดกระบวนการที่เรียกว่า “ระดมสมอง” ช่วยกันเสนอไอเดีย
มีแต่คนรอแค่พยักหน้าเห็นด้วยเท่านั้น
และนั่นก็จะทำให้องค์กร ไม่ก้าวไปไหนเลย
ดังนั้นการดึงศักยภาพของพนักงานออกมา หรือกระตุ้นให้พนักงานมีความคิดสร้างสรรค์ จึงเป็นสิ่งที่หลาย ๆ บริษัทให้ความสำคัญ เพราะสิ่งเหล่านี้ สามารถช่วยบริษัทพัฒนาก้าวไปข้างหน้าได้
เช่น Google ที่ CEO อย่าง ซุนดาร์ พิชัย มักจะเดินไปรอบ ๆ โต๊ะประชุม
เพื่อถามความคิดเห็นของแต่ละคน เป็นการกระตุ้นให้พนักงานคิด และดึงศักยภาพของพนักงานแต่ละคนออกมา
เพราะเขามองว่า ความเห็นจากพนักงานบางคน อาจทำให้เกิดมุมมองใหม่ ๆ หรืออาจเปลี่ยนทิศทางการตัดสินใจได้อย่างเป็นเหตุเป็นผลอีกด้วย
3. หัวหน้างานไม่ได้รับการฟีดแบ็กที่แท้จริง
เมื่อเรามองเห็นปัญหา หรือหลายครั้งที่เรารู้สึกว่า อยากจะให้คำแนะนำกับหัวหน้างานในบางเรื่อง
แต่ก็กลัวว่าจะเป็นการ “เลื่อยขาเก้าอี้ตัวเอง” หรือตัดคะแนนตัวเอง เพราะกลัวหัวหน้างานไม่พอใจ และทำให้เราไม่ได้เลื่อนตำแหน่ง เลยไม่กล้าที่จะพูดออกไปตรง ๆ และเลือกที่จะปล่อยปละละเลยปัญหาที่เกิดขึ้น
หากปล่อยทิ้งไว้หลาย ๆ เรื่อง อาจจะทำให้เกิดปัญหาบานปลายได้ในระยะยาว
เพราะมันจะไม่ดีต่อทั้งตัวเรา หัวหน้างาน หรืออาจจะส่งผลกระทบไปถึงการทำงานโดยรวมของบริษัทเลยก็เป็นได้
การที่มีอะไรแล้วไม่พูดออกมาตรง ๆ ก็คงเป็นจริงตามที่ รีด เฮสติงส์ CEO ของ Netflix บอก
คือเป็นการไม่ภักดีต่อองค์กร และอาจทำให้ต้องมาหมางใจกันภายหลังอีกด้วย
ซึ่งการที่พนักงานไม่กล้าพูด ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น
ก็อาจไม่ใช่ความผิดของพนักงานอย่างเดียว
แต่อาจมาจาก การบริหารของหัวหน้างาน หรือวัฒนธรรมองค์กร ที่หลงการเอาอกเอาใจ คำสรรเสริญเยินยอ กลัวความผิดพลาด และกลัวเสียหน้าจนเกินไป
จนทำให้บางครั้งพนักงานอาจลืมไปว่า การเลื่อนตำแหน่งมันต้องมาจากความสามารถ ไม่ใช่น้ำลาย
ซึ่งหากองค์กรไหนที่กำลังมีหัวหน้าที่ไม่ชอบฟังใคร
ส่วนลูกน้องก็เอาแต่พูดว่า “ได้ครับพี่ ดีครับผม”
นั่นคงไม่ใช่วัฒนธรรมที่ดี ที่จะทำให้องค์กรก้าวไปข้างหน้า ได้อย่างแท้จริง..
References
-https://www.linkedin.com/pulse/rejecting-yes-man-culture-how-great-leaders-get-real-alex-leinweber/
-https://edition.cnn.com/2019/03/18/success/saying-no-to-boss/index.html
-https://medium.com/swlh/yes-man-culture-the-price-of-a-yes-culture-at-work-127942c9d8d0