อธิบาย 3 คำศัพท์ เบสิกต้นทุน พร้อมไอเดียการคำนวณ ไว้ใช้จริง
5 พ.ย. 2024
1. Opportunity Cost (ต้นทุนค่าเสียโอกาส) = ต้นทุนที่เกิดขึ้นจากการเลือกทางเลือกหนึ่ง ทำให้เสียโอกาสในการได้รับผลประโยชน์ จากอีกทางเลือกที่มีมูลค่าสูงสุดในชอยซ์ที่เหลือไป
ตัวอย่างเช่น
สมมติว่าเรามี 2 แผนธุรกิจที่ต้องเลือกซึ่งจะใช้เงินลงทุน 1 ล้านบาท เท่ากัน
สมมติว่าเรามี 2 แผนธุรกิจที่ต้องเลือกซึ่งจะใช้เงินลงทุน 1 ล้านบาท เท่ากัน
- แผนที่หนึ่ง: ใช้เงิน 1 ล้านบาท เปิดร้านกาแฟในซอยทองหล่อ คาดว่าจะทำกำไรได้เดือนละ 20,000 บาท
- แผนที่สอง: ใช้เงิน 1 ล้านบาท เปิดร้านไก่ทอดในซอยทองหล่อ คาดว่าจะทำกำไรได้เดือนละ 15,000 บาท
- แผนที่สอง: ใช้เงิน 1 ล้านบาท เปิดร้านไก่ทอดในซอยทองหล่อ คาดว่าจะทำกำไรได้เดือนละ 15,000 บาท
สรุปแล้วเราเลือกที่จะเปิดร้านกาแฟ
โดยเคสนี้ Opportunity Cost ของเรา คือการเสียโอกาสเปิดร้านไก่ทอด และเสียโอกาสในการสร้างกำไรเดือนละ 15,000 บาท จากการทำร้านไก่ทอด
โดยเคสนี้ Opportunity Cost ของเรา คือการเสียโอกาสเปิดร้านไก่ทอด และเสียโอกาสในการสร้างกำไรเดือนละ 15,000 บาท จากการทำร้านไก่ทอด
อย่างไรก็ตาม จะเห็นว่าจริง ๆ แล้ว Opportunity Cost ที่ว่านี้ ไม่ได้เป็นต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง
และเราก็ได้เลือกอีกทางเลือกที่ดีกว่า และใช้ทุนเท่ากัน คือเปิดร้านกาแฟ ที่จะได้กำไรเดือนละ 20,000 บาท
และเราก็ได้เลือกอีกทางเลือกที่ดีกว่า และใช้ทุนเท่ากัน คือเปิดร้านกาแฟ ที่จะได้กำไรเดือนละ 20,000 บาท
2. ค่าเสื่อมราคา (Depreciation) = ค่าใช้จ่ายที่ทยอยรับรู้จากสินทรัพย์ที่นำมาใช้ในการทำธุรกิจ แล้วเสื่อมโทรมลง
โดยวิธีการคิดคือ จะตัดมูลค่าของสินทรัพย์ที่เราใช้ทำธุรกิจ เท่า ๆ กันทุกปี ซึ่งเราสามารถคิดได้จากสูตร
ค่าเสื่อมราคา = (ราคาทุน - มูลค่าซาก) / อายุการใช้งาน
ค่าเสื่อมราคา = (ราคาทุน - มูลค่าซาก) / อายุการใช้งาน
ตัวอย่างเช่น
เครื่องชงกาแฟมูลค่า 100,000 บาท คาดว่าสามารถใช้งานได้ 5 ปี
และมีราคาขายต่อ (มูลค่าซาก) หลังจากการใช้งาน 10,000 บาท
เครื่องชงกาแฟมูลค่า 100,000 บาท คาดว่าสามารถใช้งานได้ 5 ปี
และมีราคาขายต่อ (มูลค่าซาก) หลังจากการใช้งาน 10,000 บาท
เพราะฉะนั้น ค่าเสื่อมราคาจะเท่ากับ (100,000 - 10,000) / 5 = 18,000 บาท ต่อปี
(ต้องหมายเหตุว่า วิธีการคำนวณค่าเสื่อมราคา มีอีกหลายวิธี แต่วิธีนี้เป็นตัวอย่างที่ง่ายที่สุด)
ซึ่งค่าเสื่อมราคา ในทางบัญชีเราไม่ได้จ่ายออกไปเป็นเงินสดจริง ๆ ระหว่างทาง
แต่สุดท้าย พอเครื่องจักรหรือสินทรัพย์นั้นเสื่อมลงไปจนหมดอายุการใช้งาน
ถึงตอนนั้น เราก็ต้องเสียเงินซื้อของใหม่มาแทน
ถึงตอนนั้น เราก็ต้องเสียเงินซื้อของใหม่มาแทน
3. ต้นทุนจม (Sunk Cost) = ต้นทุนที่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต ไม่ว่าธุรกิจของเราจะดำเนินไปได้ดี หรือไม่ดี
เช่น เราลงทุนซื้อแฟรนไชส์ไก่ทอด แบรนด์ Holy Chix ด้วยเงิน 300,000 บาท มาเปิด
ไม่ว่าในปีแรก เราจะทำกำไรได้ 150,000 บาท หรือ 300,000 บาท หรือ 500,000 บาท
อย่างไรเราก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายค่าแฟรนไชส์ 300,000 บาท อยู่แล้ว
อย่างไรเราก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายค่าแฟรนไชส์ 300,000 บาท อยู่แล้ว
ดังนั้นคนที่จะเริ่มธุรกิจ ก็ต้องคิดถึง Sunk Cost หรือต้นทุนจมให้ดี ๆ โดยเฉพาะธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนตอนแรกสูง ๆ มีต้นทุนจมสูง ๆ
เพราะฉะนั้น ก่อนเริ่มธุรกิจเราควรแจกแจงต้นทุนของเราให้ดี และลองประมาณการรายได้ของเราดูหลาย ๆ Scenario
เพื่อจะได้เห็นว่า รายได้ที่เราน่าจะทำได้ เทียบกับต้นทุนที่เสียไป ทั้งเป็นเงินจริงและไม่เป็นเงินจริง อย่างเช่น 3 ต้นทุนในบทความนี้
สุดท้ายแล้ว เราโอเคกับโมเดลธุรกิจของเราจริง ๆ ไหม
สุดท้ายแล้ว เราโอเคกับโมเดลธุรกิจของเราจริง ๆ ไหม