กรณีศึกษา Salad Factory เริ่มต้นจากเพื่อน 3 คน ตอนนี้อยู่ใน เครือเซ็นทรัล
27 ส.ค. 2023
กรณีศึกษา Salad Factory เริ่มต้นจากเพื่อน 3 คน ตอนนี้อยู่ใน เครือเซ็นทรัล | BrandCase
หนึ่งในธุรกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงที่ผ่านมา คือ ร้านอาหารเพื่อสุขภาพ
โดยข้อมูลในปี 2563 ตลาดนี้มีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 100,000 ล้านบาท เลยทีเดียว
โดยข้อมูลในปี 2563 ตลาดนี้มีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 100,000 ล้านบาท เลยทีเดียว
หนึ่งในแบรนด์ในธุรกิจแบบนี้ที่น่าสนใจ คือ “Salad Factory”
ร้านที่มีเมนูสลัดเป็นจุดขาย มีรายได้หลัก 400 ล้านบาท และเริ่มต้นจากเพื่อน 3 คน
ร้านที่มีเมนูสลัดเป็นจุดขาย มีรายได้หลัก 400 ล้านบาท และเริ่มต้นจากเพื่อน 3 คน
เรื่องราวของ Salad Factory น่าสนใจอย่างไร
BrandCase สรุปให้ แบบเข้าใจง่าย ๆ
BrandCase สรุปให้ แบบเข้าใจง่าย ๆ
จุดเริ่มต้นของ Salad Factory เริ่มจากคุณกอล์ฟ หรือคุณปิยะ ดั่นคุ้ม ที่ในอดีตเขามีโอกาสได้เรียนปริญญาโทที่ต่างประเทศ และหาเวลาว่างไปทำงานพิเศษที่ร้านอาหารเพื่อหารายได้
หน้าที่ของคุณกอล์ฟมีหลายอย่าง เริ่มตั้งแต่ล้างจาน จนไต่เต้ามาเป็นผู้จัดการร้าน
แต่สิ่งที่ทำให้คุณกอล์ฟแปลกใจคือ วัตถุดิบต่าง ๆ ที่ถูกนำมาทำอาหารในร้านนั้น ส่วนใหญ่เป็นวัตถุดิบคุณภาพดีที่มาจากประเทศไทย
จึงเริ่มมีความคิดว่า ถ้ากลับประเทศไทยเมื่อไร ก็อยากทำอาหารที่มีคุณภาพดี สามารถทานคู่กับผักได้
จนเมื่อกลับประเทศไทย คุณกอล์ฟจึงไปหาเพื่อนอีกสองคน คนหนึ่งมีฟาร์มผัก อีกคนหนึ่งเป็นพ่อครัว ขณะที่ตัวคุณกอล์ฟ ที่บ้านทำธุรกิจส่งออกผลไม้
พอเรื่องเป็นแบบนี้ ทั้ง 3 คนจึงเริ่มก่อตั้ง “Salad Factory” ภายใต้คอนเซปต์ โรงงานเพื่อสุขภาพ เพื่อต้องการให้คนไทยทานผักมากขึ้น
ร้านสาขาแรก เปิดอยู่ที่เมืองทองธานี ตอนแรกเป็นอาคารพาณิชย์เล็ก ๆ เท่านั้น
สิ่งที่ท้าทายของคุณกอล์ฟคือ ด้วยความที่ชื่อร้านนั้นมีคำว่า สลัด ซึ่งก็หมายความว่า เมนูส่วนใหญ่จะมีผักไม่น้อยกว่า 70%
จะทำอย่างไรให้คนทานนั้นไม่รู้สึกเบื่อ ทั้งยังต้องทำเมนูที่ลูกค้าสามารถทานได้ทุกวัน
ไม่ว่าจะเป็นมื้อกลางวันหรือมื้อเย็น และคิดเสมอว่า ร้านของเขานั้นมีแต่ผักสลัด
ไม่ว่าจะเป็นมื้อกลางวันหรือมื้อเย็น และคิดเสมอว่า ร้านของเขานั้นมีแต่ผักสลัด
ทำให้ต้องพยายามคิดค้นเมนูใหม่ ๆ ออกมา ด้วยการนำผักและวัตถุดิบแปลกใหม่ มาเป็นส่วนประกอบของเมนูต่าง ๆ
และด้วยความที่ที่บ้านทำธุรกิจผลไม้ส่งออก
ก็เลยมีการนำผลไม้แปลก ๆ มาเป็นส่วนผสมของสลัดและเมนูอื่น ๆ เพื่อสร้างความน่าสนใจให้แก่เมนูของทางร้านด้วย
ก็เลยมีการนำผลไม้แปลก ๆ มาเป็นส่วนผสมของสลัดและเมนูอื่น ๆ เพื่อสร้างความน่าสนใจให้แก่เมนูของทางร้านด้วย
ซึ่งนอกจากสลัดแล้ว ทางร้านก็ยังมีอาหารอื่น ๆ เช่น สเต๊ก สปาเกตตี ข้าวผัด รวมทั้งของทานเล่น เช่น เปาะเปี๊ยะ พิซซา เห็ดคั่วเกลือ ไก่ทอดทรัฟเฟิล และเฟรนช์ฟรายส์
อีกประเด็นคือ ก่อนที่จะออกเมนูใหม่นั้น คุณกอล์ฟจะดูว่าวัตถุดิบที่ใช้ ต้องสามารถนำมาทำได้หลายเมนู ถ้าทำได้อย่างเดียว จะไม่ทำ
เช่น ถ้าเขาเลือกหอยเชลล์มาเป็นเมนูใหม่ หอยเชลล์ต้องสามารถนำไปทำสลัดหอยเชลล์ ยำหอยเชลล์ ผัดหอยเชลล์
ซึ่งเรื่องนี้ไม่เพียงแต่ช่วยเพิ่มเมนูให้มีความหลากหลาย
แต่ยังเป็นการช่วยระบายสต็อกสินค้า เพื่อจะได้มีอาหารสดใหม่ และยังเป็นการช่วยลดต้นทุน และค่าใช้จ่าย เนื่องจากวัตถุดิบที่เป็นอาหารมักมีอายุสั้น
แต่ยังเป็นการช่วยระบายสต็อกสินค้า เพื่อจะได้มีอาหารสดใหม่ และยังเป็นการช่วยลดต้นทุน และค่าใช้จ่าย เนื่องจากวัตถุดิบที่เป็นอาหารมักมีอายุสั้น
ผลประกอบการปี 2565 ของบริษัท กรีน ฟู้ด แฟคทอรี่ จำกัด ผู้บริหารแบรนด์ Salad Factory
รายได้ 439 ล้านบาท กำไร 8 ล้านบาท
รายได้ 439 ล้านบาท กำไร 8 ล้านบาท
ซึ่งบริษัทนี้เกิดจากการที่ในปี 2562 บริษัท เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด หรือ CRG ธุรกิจร้านอาหารของกลุ่มเซ็นทรัล ได้เข้ามาร่วมทุนกับทาง Salad Factory
โดย CRG เข้าร่วมทุนในสัดส่วน 51% ด้วยเงินลงทุนราว 140 ล้านบาท
ส่วนอีก 49% เป็นกลุ่มครอบครัวของเจ้าของร้าน Salad Factory
ส่วนอีก 49% เป็นกลุ่มครอบครัวของเจ้าของร้าน Salad Factory
หมายความว่า ในตอนนั้น CRG ให้มูลค่ากิจการ Salad Factory ที่ราว ๆ 275 ล้านบาท นั่นเอง..