รู้จัก พนักงานแบบ Boomerang ลาออกไป แล้วก็กลับมาใหม่
30 ธ.ค. 2021
รู้จัก พนักงานแบบ Boomerang ลาออกไป แล้วก็กลับมาใหม่ | THE BRIEFCASE
รู้หรือไม่ว่า สำนักงานสถิติแรงงานสหรัฐอเมริกา บอกว่า มีคนจำนวนกว่า 4.2 ล้านคน ลาออกจากงานในเดือนตุลาคม ปี 2021 เนื่องจากการทำงานในภาวะโรคระบาด ทำให้หลายคนที่มีปัญหากับวัฒนธรรมองค์กร หรือปรับตัวไม่ได้ในสถานการณ์โควิด 19 ก็เลยตัดสินใจลาออกไป
อย่างไรก็ตาม หลายคนที่ลาออกไปก่อนหน้านี้ บางคนก็อยากกลับมาทำงานที่เก่าเนื่องด้วยหลาย ๆ ปัจจัย
เช่น ที่ทำงานใหม่ไม่เป็นอย่างที่คิด หรืออาจพอแล้วกับการพักผ่อน
ซึ่งพนักงานรูปแบบนี้ ที่ลาออกแล้วขอกลับมา หรือสมัครเข้ามาทำงานที่เดิมอีกรอบ มีชื่อเรียกว่า “พนักงานแบบบูเมอแรง”
ข้อมูลจาก LinkedIn และ The Wall Street Journal ได้ระบุว่า พนักงานแบบบูเมอแรงนั้น
มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากปี 2019 จาก 3.9% เป็น 4.5% ในปี 2021 นี้ และมีแนวโน้มว่า
พนักงานในลักษณะบูเมอแรงนี้ จะมีมากขึ้นในอนาคตอีก
เพราะการกลับมาทำงานที่เดิมไม่ใช่แค่ได้บรรยากาศเดิม ๆ ที่คุ้นเคยเท่านั้น แต่ยังมีโอกาสที่เราจะได้รับเงินเดือนที่มากขึ้น กว่าการเลื่อนตำแหน่งภายในองค์กรตามปกติเสียอีก
แล้วสำหรับองค์กร การจ้างพนักงานคนเดิมที่เคยออกจากองค์กรไปแล้ว มีข้อดีอย่างไร
1. ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่าย
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าพนักงานที่มีความคุ้นเคยกับงานและองค์กรอยู่แล้ว จะช่วยให้การดำเนินงานต่าง ๆ
สามารถทำได้อย่างราบรื่นมากกว่า เมื่อเทียบกับพนักงานใหม่ที่อาจต้องให้ทั้งเงินและเวลาในการเรียนรู้ ที่สูงกว่า
คุณ Abbie Shipp ศาสตราจารย์ด้านการจัดการและผู้เชี่ยวชาญด้านการมีส่วนร่วมของพนักงาน
ที่มหาวิทยาลัย Texas Christian ได้กล่าวไว้ว่า
ผู้จัดการฝ่ายการจ้างงานหลายคน มีแนวโน้มจะจ้างพนักงานเก่ง ๆ ที่เคยทำงานกลับมาทำงานที่บริษัทเดิม เพราะคนกลุ่มนี้ มีความเสี่ยงที่จะลาออกในอนาคตอีกรอบน้อยกว่า เมื่อเทียบกับการจ้างงานคนใหม่ที่มีทักษะใกล้เคียงกัน
2. มีทักษะใหม่ ๆ มาเสริมองค์กร
การได้มีโอกาสไปเริ่มต้นงานที่ใหม่มา ก็เหมือนกับการไปเรียนรู้ลักษณะการทำงานใหม่ ๆ จากวัฒนธรรมอื่น ๆ ซึ่งในจุดนี้การที่พนักงานได้ไปฝึกกับองค์กรอื่นที่อาจมีวิธีใหม่ ๆ ในการทำงานที่ดีขึ้นกว่าของเดิม
ก็จะยิ่งช่วยให้องค์กรมีความแข็งแกร่งและมีความหลากหลายมากขึ้นอีกด้วย
แต่ทั้งนี้ก็ต้องดูเหตุผลในการลาออกครั้งก่อนหน้าเหมือนกันว่า สาเหตุในการลาออกก่อนหน้านี้
คืออะไร
เช่น หากพนักงานเคยลาออก ด้วยเหตุผลว่าเข้ากับวัฒนธรรมองค์กรไม่ได้ การที่พนักงานเลือกกลับมาทำงานอีกครั้ง ก็อาจหมายถึงความจำยอม และอาจจากไปอีกเมื่อไรก็ได้
อย่างไรก็ตาม การรับพนักงานเก่าเข้ามา
บางทีก็อาจช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีขึ้นในองค์กร
เพราะคนที่ลาออกไปแล้วเลือกที่จะกลับมา
มันอาจสะท้อนได้ว่า อยู่ที่ไหนก็ไม่สุขใจ เท่าที่นี่..
References
-https://www.forbes.com/sites/allbusiness/2021/12/18/should-your-business-rehire-boomerang-employees-who-want-their-jobs-back/?sh=70a260044cb4
-https://www.inc.com/rebecca-deczynski/boomerang-employees-labor-shortage-great-resignation-retirees.html
-https://www.cnbc.com/2021/11/03/great-resignation-could-fuel-the-rise-of-the-boomerang-employee.html
รู้หรือไม่ว่า สำนักงานสถิติแรงงานสหรัฐอเมริกา บอกว่า มีคนจำนวนกว่า 4.2 ล้านคน ลาออกจากงานในเดือนตุลาคม ปี 2021 เนื่องจากการทำงานในภาวะโรคระบาด ทำให้หลายคนที่มีปัญหากับวัฒนธรรมองค์กร หรือปรับตัวไม่ได้ในสถานการณ์โควิด 19 ก็เลยตัดสินใจลาออกไป
อย่างไรก็ตาม หลายคนที่ลาออกไปก่อนหน้านี้ บางคนก็อยากกลับมาทำงานที่เก่าเนื่องด้วยหลาย ๆ ปัจจัย
เช่น ที่ทำงานใหม่ไม่เป็นอย่างที่คิด หรืออาจพอแล้วกับการพักผ่อน
ซึ่งพนักงานรูปแบบนี้ ที่ลาออกแล้วขอกลับมา หรือสมัครเข้ามาทำงานที่เดิมอีกรอบ มีชื่อเรียกว่า “พนักงานแบบบูเมอแรง”
ข้อมูลจาก LinkedIn และ The Wall Street Journal ได้ระบุว่า พนักงานแบบบูเมอแรงนั้น
มีจำนวนเพิ่มขึ้นจากปี 2019 จาก 3.9% เป็น 4.5% ในปี 2021 นี้ และมีแนวโน้มว่า
พนักงานในลักษณะบูเมอแรงนี้ จะมีมากขึ้นในอนาคตอีก
เพราะการกลับมาทำงานที่เดิมไม่ใช่แค่ได้บรรยากาศเดิม ๆ ที่คุ้นเคยเท่านั้น แต่ยังมีโอกาสที่เราจะได้รับเงินเดือนที่มากขึ้น กว่าการเลื่อนตำแหน่งภายในองค์กรตามปกติเสียอีก
แล้วสำหรับองค์กร การจ้างพนักงานคนเดิมที่เคยออกจากองค์กรไปแล้ว มีข้อดีอย่างไร
1. ประหยัดเวลา และค่าใช้จ่าย
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าพนักงานที่มีความคุ้นเคยกับงานและองค์กรอยู่แล้ว จะช่วยให้การดำเนินงานต่าง ๆ
สามารถทำได้อย่างราบรื่นมากกว่า เมื่อเทียบกับพนักงานใหม่ที่อาจต้องให้ทั้งเงินและเวลาในการเรียนรู้ ที่สูงกว่า
คุณ Abbie Shipp ศาสตราจารย์ด้านการจัดการและผู้เชี่ยวชาญด้านการมีส่วนร่วมของพนักงาน
ที่มหาวิทยาลัย Texas Christian ได้กล่าวไว้ว่า
ผู้จัดการฝ่ายการจ้างงานหลายคน มีแนวโน้มจะจ้างพนักงานเก่ง ๆ ที่เคยทำงานกลับมาทำงานที่บริษัทเดิม เพราะคนกลุ่มนี้ มีความเสี่ยงที่จะลาออกในอนาคตอีกรอบน้อยกว่า เมื่อเทียบกับการจ้างงานคนใหม่ที่มีทักษะใกล้เคียงกัน
2. มีทักษะใหม่ ๆ มาเสริมองค์กร
การได้มีโอกาสไปเริ่มต้นงานที่ใหม่มา ก็เหมือนกับการไปเรียนรู้ลักษณะการทำงานใหม่ ๆ จากวัฒนธรรมอื่น ๆ ซึ่งในจุดนี้การที่พนักงานได้ไปฝึกกับองค์กรอื่นที่อาจมีวิธีใหม่ ๆ ในการทำงานที่ดีขึ้นกว่าของเดิม
ก็จะยิ่งช่วยให้องค์กรมีความแข็งแกร่งและมีความหลากหลายมากขึ้นอีกด้วย
แต่ทั้งนี้ก็ต้องดูเหตุผลในการลาออกครั้งก่อนหน้าเหมือนกันว่า สาเหตุในการลาออกก่อนหน้านี้
คืออะไร
เช่น หากพนักงานเคยลาออก ด้วยเหตุผลว่าเข้ากับวัฒนธรรมองค์กรไม่ได้ การที่พนักงานเลือกกลับมาทำงานอีกครั้ง ก็อาจหมายถึงความจำยอม และอาจจากไปอีกเมื่อไรก็ได้
อย่างไรก็ตาม การรับพนักงานเก่าเข้ามา
บางทีก็อาจช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีขึ้นในองค์กร
เพราะคนที่ลาออกไปแล้วเลือกที่จะกลับมา
มันอาจสะท้อนได้ว่า อยู่ที่ไหนก็ไม่สุขใจ เท่าที่นี่..
References
-https://www.forbes.com/sites/allbusiness/2021/12/18/should-your-business-rehire-boomerang-employees-who-want-their-jobs-back/?sh=70a260044cb4
-https://www.inc.com/rebecca-deczynski/boomerang-employees-labor-shortage-great-resignation-retirees.html
-https://www.cnbc.com/2021/11/03/great-resignation-could-fuel-the-rise-of-the-boomerang-employee.html