สรุป 5 แนวคิด Design Thinking ของคุณอนุพงษ์ ผู้บริหาร AP
5 ต.ค. 2021
สรุป 5 แนวคิด Design Thinking ของคุณอนุพงษ์ ผู้บริหาร AP | THE BRIEFCASE
“เราไม่ได้แค่จะสร้างอสังหาริมทรัพย์ให้กับลูกค้า แต่เรากำลังมอบคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับพวกเขา”
นี่คือคำพูดของคุณอนุพงษ์ อัศวโภคิน
CEO ของ AP บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แนวหน้า ในประเทศไทย
หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้บริษัท AP ประสบความสำเร็จ
คือการที่บริษัท สามารถปรับตัวตามนวัตกรรมของอนาคตได้เสมอ
อย่างเช่น การจับมือกับบริษัทเทคโนโลยีอย่าง Samsung นำระบบ Internet of Things (IoT) มาใช้ในบ้านเพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิด Smart Living ที่ได้รับกระแสตอบรับที่ดีจากลูกค้า
คุณอนุพงษ์ ให้ความสำคัญกับเรื่อง Mindset ที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลงและปรับตัวเข้าหานวัตกรรมใหม่ ๆ อยู่เสมอ และผู้นำจะต้องมีความกระตือรือร้นที่จะหาข้อมูล และเรียนรู้ที่จะปลูกฝังนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้กับองค์กรอยู่ตลอดเวลา
โดยเฉพาะเรื่อง “การคิดเชิงออกแบบ” หรือ “Design Thinking”
คือแนวคิดที่ผู้บริหาร AP นำมาสอนให้กับพนักงานในองค์กร
ซึ่งสรุปให้เข้าใจง่าย ๆ ได้ 5 ข้อ
1. มองคนให้เป็น และเอาใจเขามาใส่ใจเรา (Put People First)
เทคนิคนี้ใช้ได้กับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นการใส่ใจเจ้านาย ลูกค้า หรือเพื่อนร่วมงานของเรา เราต้องเข้าใจมุมมองของเขา อุปสรรคที่เขากำลังเผชิญ และจุดมุ่งหมายที่เขามาทำงานคืออะไร
2. ทำงานร่วมกับคนอื่นอย่างมีความสุข (Build Together)
ลูกค้ากับพนักงานสำคัญไม่แพ้กัน
บริษัทควรให้ความสำคัญกับ การพัฒนาความรู้ให้กับพนักงานอย่างสม่ำเสมอ
ไม่มีบริษัทไหนสามารถสร้างนวัตกรรมด้วยพนักงานเพียง 1 คน แต่มันจะเกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ขึ้นมาได้ จะสร้างได้จากทีมที่แข็งแกร่ง และพัฒนาไปพร้อม ๆ กัน
3. ทำงานแบบรู้จุดมุ่งหมาย ของทั้งตัวเองและองค์กร (Progress with Purpose)
เป้าหมายของบริษัท AP ที่ได้กล่าวไว้ในพันธกิจขององค์กร คือการมอบคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับลูกค้า
ซึ่งการจะทำตามพันธกิจขององค์กรได้ ต้องพัฒนาและส่งเสริมคนในองค์กร ให้มองเห็นเป้าหมายใหญ่ร่วมกันให้ได้ก่อน
เช่น องค์กรต้องทำให้พนักงานมั่นใจและเข้าใจว่า ถ้าพวกเขาส่งมอบบริการที่ดีให้ลูกค้า เมื่อลูกค้าพึงพอใจ บริษัทก็จะได้รับการยอมรับ ผลประกอบการเติบโต และพวกเขาก็จะเติบโตไปพร้อมกับบริษัทด้วย
ถ้าคนในองค์กรรู้ว่า เป้าหมายของตัวเองและองค์กร มีความสอดคล้อง หรือมีจุดร่วมซึ่งกันและกันแบบนี้ เขาก็จะทำหน้าที่ของตัวเองได้อย่างมีความหมายและทำออกมาได้ดี
4. พัฒนาให้เหนือจุดหมายที่ตั้งไว้ (Go Beyond)
เราไม่มีทางรู้ได้ว่าความต้องการของลูกค้าภายใน 2-3 ปีข้างหน้าคืออะไร
เราต้องลองผิดลองถูก พัฒนาให้มากกว่าจุดหมายที่เราคิดไว้
เพราะบางครั้ง สิ่งที่เราพัฒนา “มากเกินไปในวันนี้” อาจจะเป็น สิ่งที่ลูกค้าต้องการในวันหน้า ก็เป็นได้
5. ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง แก้ไข และคิดค้นสิ่งใหม่อย่างไม่หยุดยั้ง (Be Innovative)
การสร้างนวัตกรรมต้องมีขั้นตอน ล้มเหลว เรียนรู้ และหาทางแก้ไข
ไม่ใช่ว่าเราจะสร้างมันได้เลยภายในการทดลอง 1-2 ครั้ง เราต้องขยัน ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และแก้ไขมันตลอดเวลา เพื่อจะได้สิ่งที่ดีที่สุด
อย่างที่คุณอนุพงษ์ มักจะกล่าวเสมอว่า “พนักงานคือคนที่จะพาเรือลำนี้ ผ่านมรสุมวิกฤติ”
เพราะฉะนั้น การสอนให้พนักงานเรียนรู้ที่จะปรับตัว และมี Mindset ที่อยากพัฒนาตัวเองตลอดเวลา
สิ่งเหล่านี้คือหนทางสำคัญ ที่จะช่วยสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ และทำให้บริษัทอยู่รอดได้ ไม่ว่าจะเจอกี่วิกฤติก็ตาม..
References
-https://www.youtube.com/watch?v=xmRLObGf1BU&ab_channel
-https://news.samsung.com/th/samsung-partners-with-ap-launching-smart-home-project
“เราไม่ได้แค่จะสร้างอสังหาริมทรัพย์ให้กับลูกค้า แต่เรากำลังมอบคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับพวกเขา”
นี่คือคำพูดของคุณอนุพงษ์ อัศวโภคิน
CEO ของ AP บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์แนวหน้า ในประเทศไทย
หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้บริษัท AP ประสบความสำเร็จ
คือการที่บริษัท สามารถปรับตัวตามนวัตกรรมของอนาคตได้เสมอ
อย่างเช่น การจับมือกับบริษัทเทคโนโลยีอย่าง Samsung นำระบบ Internet of Things (IoT) มาใช้ในบ้านเพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิด Smart Living ที่ได้รับกระแสตอบรับที่ดีจากลูกค้า
คุณอนุพงษ์ ให้ความสำคัญกับเรื่อง Mindset ที่พร้อมจะเปลี่ยนแปลงและปรับตัวเข้าหานวัตกรรมใหม่ ๆ อยู่เสมอ และผู้นำจะต้องมีความกระตือรือร้นที่จะหาข้อมูล และเรียนรู้ที่จะปลูกฝังนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้กับองค์กรอยู่ตลอดเวลา
โดยเฉพาะเรื่อง “การคิดเชิงออกแบบ” หรือ “Design Thinking”
คือแนวคิดที่ผู้บริหาร AP นำมาสอนให้กับพนักงานในองค์กร
ซึ่งสรุปให้เข้าใจง่าย ๆ ได้ 5 ข้อ
1. มองคนให้เป็น และเอาใจเขามาใส่ใจเรา (Put People First)
เทคนิคนี้ใช้ได้กับทุกคน ไม่ว่าจะเป็นการใส่ใจเจ้านาย ลูกค้า หรือเพื่อนร่วมงานของเรา เราต้องเข้าใจมุมมองของเขา อุปสรรคที่เขากำลังเผชิญ และจุดมุ่งหมายที่เขามาทำงานคืออะไร
2. ทำงานร่วมกับคนอื่นอย่างมีความสุข (Build Together)
ลูกค้ากับพนักงานสำคัญไม่แพ้กัน
บริษัทควรให้ความสำคัญกับ การพัฒนาความรู้ให้กับพนักงานอย่างสม่ำเสมอ
ไม่มีบริษัทไหนสามารถสร้างนวัตกรรมด้วยพนักงานเพียง 1 คน แต่มันจะเกิดนวัตกรรมใหม่ ๆ ขึ้นมาได้ จะสร้างได้จากทีมที่แข็งแกร่ง และพัฒนาไปพร้อม ๆ กัน
3. ทำงานแบบรู้จุดมุ่งหมาย ของทั้งตัวเองและองค์กร (Progress with Purpose)
เป้าหมายของบริษัท AP ที่ได้กล่าวไว้ในพันธกิจขององค์กร คือการมอบคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับลูกค้า
ซึ่งการจะทำตามพันธกิจขององค์กรได้ ต้องพัฒนาและส่งเสริมคนในองค์กร ให้มองเห็นเป้าหมายใหญ่ร่วมกันให้ได้ก่อน
เช่น องค์กรต้องทำให้พนักงานมั่นใจและเข้าใจว่า ถ้าพวกเขาส่งมอบบริการที่ดีให้ลูกค้า เมื่อลูกค้าพึงพอใจ บริษัทก็จะได้รับการยอมรับ ผลประกอบการเติบโต และพวกเขาก็จะเติบโตไปพร้อมกับบริษัทด้วย
ถ้าคนในองค์กรรู้ว่า เป้าหมายของตัวเองและองค์กร มีความสอดคล้อง หรือมีจุดร่วมซึ่งกันและกันแบบนี้ เขาก็จะทำหน้าที่ของตัวเองได้อย่างมีความหมายและทำออกมาได้ดี
4. พัฒนาให้เหนือจุดหมายที่ตั้งไว้ (Go Beyond)
เราไม่มีทางรู้ได้ว่าความต้องการของลูกค้าภายใน 2-3 ปีข้างหน้าคืออะไร
เราต้องลองผิดลองถูก พัฒนาให้มากกว่าจุดหมายที่เราคิดไว้
เพราะบางครั้ง สิ่งที่เราพัฒนา “มากเกินไปในวันนี้” อาจจะเป็น สิ่งที่ลูกค้าต้องการในวันหน้า ก็เป็นได้
5. ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง แก้ไข และคิดค้นสิ่งใหม่อย่างไม่หยุดยั้ง (Be Innovative)
การสร้างนวัตกรรมต้องมีขั้นตอน ล้มเหลว เรียนรู้ และหาทางแก้ไข
ไม่ใช่ว่าเราจะสร้างมันได้เลยภายในการทดลอง 1-2 ครั้ง เราต้องขยัน ปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และแก้ไขมันตลอดเวลา เพื่อจะได้สิ่งที่ดีที่สุด
อย่างที่คุณอนุพงษ์ มักจะกล่าวเสมอว่า “พนักงานคือคนที่จะพาเรือลำนี้ ผ่านมรสุมวิกฤติ”
เพราะฉะนั้น การสอนให้พนักงานเรียนรู้ที่จะปรับตัว และมี Mindset ที่อยากพัฒนาตัวเองตลอดเวลา
สิ่งเหล่านี้คือหนทางสำคัญ ที่จะช่วยสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ และทำให้บริษัทอยู่รอดได้ ไม่ว่าจะเจอกี่วิกฤติก็ตาม..
References
-https://www.youtube.com/watch?v=xmRLObGf1BU&ab_channel
-https://news.samsung.com/th/samsung-partners-with-ap-launching-smart-home-project