รู้จัก ทฤษฎีแมลงสาบ ที่ซีอีโอ Google พูดถึง และเอามาใช้
7 ก.ย. 2021
รู้จัก ทฤษฎีแมลงสาบ ที่ซีอีโอ Google พูดถึง และเอามาใช้ | THE BRIEFCASE
พอพูดถึง “แมลงสาบ” หลายคนคงไม่ชอบ เพราะด้วยรูปลักษณ์และกลิ่นของมันที่ดูไม่พึงประสงค์ รวมทั้งแมลงสาบมักถูกมองว่าเป็นพาหะนำโรค และความสกปรก
แต่ในโลกธุรกิจ มันมีทฤษฎีหนึ่งที่ชื่อว่า “ทฤษฎีแมลงสาบ หรือ Cockroach Theory”
รู้หรือไม่ว่า ทฤษฎีแมลงสาบเป็นที่รู้จัก และถูกพูดถึงกันมาก เมื่อครั้งที่ Sundar Pichai ซีอีโอของ Google นำทฤษฎีมากล่าวสุนทรพจน์จนเป็นที่โด่งดังเมื่อหลายปีก่อน โดย Sundar Pichai บอกว่า
ให้เราลองจินตนาการว่า ถ้าเรากำลังไปนั่งรับประทานอาหารอยู่ในร้านอาหารแห่งหนึ่ง ระหว่างที่เรากำลังจะทานอาหารนั้น เราดันเหลือบไปเห็นแมลงสาบหนึ่งตัว ที่มาจากไหนก็ไม่รู้ บินมาเกาะที่ตัวของผู้หญิงคนหนึ่ง ผู้หญิงคนนั้นจึงกรีดร้องด้วยความกลัว
แต่เสียงร้องของผู้หญิงก็ไม่ได้ทำให้แมลงสาบบินออกจากตัวเธอ เธอจึงเริ่มกระโดดโลดเต้น พร้อมทั้งเอามือทั้งสองข้างพยายามมาปัดมันออกไป แต่ไม่เป็นผล เพราะแมลงสาบก็ยังคงเกาะอยู่อย่างนั้น
ความตื่นตระหนกและปฏิกิริยาของผู้หญิงคนนี้ ไม่เพียงแต่ทำให้เพื่อนที่นั่งร่วมโต๊ะกับเธอ แต่ยังรวมไปถึงผู้คนที่นั่งในโต๊ะอื่น เริ่มประสาทเสียตามเธอไปด้วย
จนในที่สุดผู้หญิงคนนั้นก็ปัดแมลงสาบออกไปได้
แต่โชคไม่ดีที่แมลงสาบดังกล่าวดันบินไปเกาะผู้หญิงอีกคนที่อยู่ในกลุ่ม..
แน่นอนว่า ผู้หญิงคนที่สองก็ส่งเสียงกรีดร้องออกมาเหมือนผู้หญิงคนแรก ดังนั้นความโกลาหลในร้านอาหารแห่งนี้ก็ยังคงดำเนินต่อไป
ในตอนนี้ เด็กเสิร์ฟคนหนึ่งต้องรีบวิ่งออกมาจากหลังร้าน เพื่อดูว่าเกิดอะไรขึ้น เมื่อเห็นผู้หญิงคนที่สองกำลังเอามือปัดแมลงสาบและร้องอย่างสุดเสียง เขาจึงเดินไปใกล้ ๆ เธอ ซึ่งเป็นจังหวะเดียวกับที่แมลงสาบบินมาเกาะที่ตัวเขาต่อพอดี
แต่แทนที่เด็กเสิร์ฟคนนี้จะกรีดร้องเหมือนผู้หญิงสองคนแรก
เขากลับยืนนิ่ง.. ไม่ส่งเสียงร้องเอะอะโวยวาย
เขาพยายามสังเกตพฤติกรรมของแมลงสาบที่กำลังเกาะอยู่บนเสื้อของเขาสักพัก หลังจากนั้นจึงค่อย ๆ จับตัวมันแล้วโยนออกไปจากร้าน
เมื่อ Sundar Pichai เล่าเรื่องนี้จบ เขาตั้งคำถามกับคนฟังว่า “จริง ๆ แล้ว แมลงสาบเป็นต้นตอของความวุ่นวายและความโกลาหลในร้านอาหารแห่งนี้จริงหรือไม่ ?
ซึ่งผู้ฟังบางคนก็ตอบว่า ใช่..
แต่ Sundar Pichai ถามกลับมาว่า ถ้าใช่แล้ว ทำไมขณะที่แมลงสาบมาเกาะที่ตัวเด็กเสิร์ฟคนนี้ เขากลับยืนนิ่ง ๆ และสามารถจัดการกับแมลงสาบได้อย่างดี
Sundar Pichai ยังบอกอีกว่า จริง ๆ แล้ว ต้นตอของความวุ่นวายและความโกลาหลไม่ได้อยู่ที่แมลงสาบ แต่อยู่ที่ความสามารถในการรับมือกับปัญหาและสิ่งรบกวนของแต่ละคนแตกต่างกัน
- ผู้หญิงสองคนในร้านอาหารเลือกที่จะตอบสนอง (React) ต่อปัญหาหรือสิ่งที่เข้ามารบกวนในทันที
- ขณะที่เด็กเสิร์ฟคนนี้กลับเลือกที่จะใช้เวลาคิด พิจารณาอย่างดีก่อนที่จะตอบสนอง (Respond) กลับออกไป
คุณ Sundar Pichai บอกว่า ตัวเขาก็นำหลักการนี้ มาประยุกต์ใช้ในการบริหาร Google ด้วยเช่นกัน
กลับมาที่เหตุการณ์ในชีวิตจริงของพวกเราทุกคน ทุกวันนี้เมื่อตื่นขึ้นมาในแต่ละวัน เรามักจะเจอกับเรื่องราวต่าง ๆ มากมายที่เข้ามารบกวนในชีวิต ไม่ว่าจะเป็น
- พบกับเสียงบ่นของสามีหรือภรรยา
- เจอลูกค้าโวยวาย
- เพื่อนร่วมงานทำตัวไม่ดีกับเรา
- ปัญหารถติดจนทำให้เครียด
จริงอยู่ที่ว่า สิ่งต่าง ๆ ที่ว่ามานี้คือสิ่งที่เข้ามารบกวนตัวเรา และหลายครั้งก็มักทำให้เราหงุดหงิด หรือหัวเสียไปกับมัน
แต่ถ้าสังเกตให้ดี ความรู้สึกแย่ ๆ ที่เกิดขึ้นมานี้ อาจไม่ได้เกิดจากสิ่งที่มากระทบ แต่เกิดจากปฏิกิริยาของเราที่ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ต่อปัญหาและสิ่งรบกวนที่เข้ามากระทบในชีวิตของเราต่างหาก
เพราะฉะนั้น เรามีทางเลือก 2 ทางที่จะตอบสนองเหตุการณ์เหล่านั้นออกไป นั่นคือ
1. เลือกที่จะโวยวาย หรือตอบสนองออกไปในทันทีทันใด โดยที่ไม่ได้คิดวิเคราะห์ปัญหาหรือสิ่งที่เข้ามารบกวนในชีวิตเราอย่างละเอียด
2. เลือกที่จะนิ่ง ใช้เวลารวบรวมสติ คิดวิเคราะห์ปัญหาเหล่านั้นอย่างละเอียด ก่อนที่จะแสดงออกหรือตอบสนองต่อปัญหาต่าง ๆ ออกไป
เพราะการตอบสนองที่แตกต่างกัน หลายครั้งก็นำมาซึ่ง ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
อ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนคงได้แง่คิดดี ๆ ในเรื่องการบริหาร หรือจัดการอารมณ์กันไปไม่มากก็น้อย
แต่ต้องบอกว่า เรื่องนี้มันยังมีแง่คิดในอีกมุมหนึ่ง..
เพราะในมุมมองของการลงทุน ทฤษฎีแมลงสาบ หรือ Cockroach Theory ถูกพูดถึงในมุมที่ต่างออกไปจากมุมมองของคุณ Sundar Pichai
โดยมีการเปรียบแมลงสาบว่าเป็นตัวแทนของ “สิ่งที่ซ่อนอยู่ ของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง”
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าบริษัทหนึ่งถูกเปิดโปงว่าทุจริตในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง มันก็น่าจะมีการทุจริตอีกหลาย ๆ เรื่องที่จะต้องถูกเปิดโปงตามมาในอนาคต
เหมือนกับเวลาที่เราเห็นแมลงสาบหนึ่งตัวในบ้านของเรา เราก็เดาได้เลยว่า มันจะต้องมีแมลงสาบอีกหลายตัวที่ซุกซ่อนอยู่ในบ้านของเราอีกแน่นอน..
สรุปก็คือ ในมุมมองของคุณ Sundar Pichai เขาพูดถึงทฤษฎีแมลงสาบ ในแง่มุมของวิธีจัดการ บริหาร หรือรับมือกับเรื่องต่าง ๆ ที่เข้ามาในชีวิตเรา
แต่ถ้าพิจารณาไปที่แมลงสาบ ที่เป็นตัวแทนของปัญหา เราก็อาจต้องมีวิธีจัดการ หรือรับมือกับมัน ในอีกมุมหนึ่งด้วย..
References:
-https://toistudent.timesofindia.indiatimes.com/news/top-news/the-cockroach-theory-of-sundar-pichai/15817.html
-https://www.investopedia.com/terms/c/cockroach-theory.asp
พอพูดถึง “แมลงสาบ” หลายคนคงไม่ชอบ เพราะด้วยรูปลักษณ์และกลิ่นของมันที่ดูไม่พึงประสงค์ รวมทั้งแมลงสาบมักถูกมองว่าเป็นพาหะนำโรค และความสกปรก
แต่ในโลกธุรกิจ มันมีทฤษฎีหนึ่งที่ชื่อว่า “ทฤษฎีแมลงสาบ หรือ Cockroach Theory”
รู้หรือไม่ว่า ทฤษฎีแมลงสาบเป็นที่รู้จัก และถูกพูดถึงกันมาก เมื่อครั้งที่ Sundar Pichai ซีอีโอของ Google นำทฤษฎีมากล่าวสุนทรพจน์จนเป็นที่โด่งดังเมื่อหลายปีก่อน โดย Sundar Pichai บอกว่า
ให้เราลองจินตนาการว่า ถ้าเรากำลังไปนั่งรับประทานอาหารอยู่ในร้านอาหารแห่งหนึ่ง ระหว่างที่เรากำลังจะทานอาหารนั้น เราดันเหลือบไปเห็นแมลงสาบหนึ่งตัว ที่มาจากไหนก็ไม่รู้ บินมาเกาะที่ตัวของผู้หญิงคนหนึ่ง ผู้หญิงคนนั้นจึงกรีดร้องด้วยความกลัว
แต่เสียงร้องของผู้หญิงก็ไม่ได้ทำให้แมลงสาบบินออกจากตัวเธอ เธอจึงเริ่มกระโดดโลดเต้น พร้อมทั้งเอามือทั้งสองข้างพยายามมาปัดมันออกไป แต่ไม่เป็นผล เพราะแมลงสาบก็ยังคงเกาะอยู่อย่างนั้น
ความตื่นตระหนกและปฏิกิริยาของผู้หญิงคนนี้ ไม่เพียงแต่ทำให้เพื่อนที่นั่งร่วมโต๊ะกับเธอ แต่ยังรวมไปถึงผู้คนที่นั่งในโต๊ะอื่น เริ่มประสาทเสียตามเธอไปด้วย
จนในที่สุดผู้หญิงคนนั้นก็ปัดแมลงสาบออกไปได้
แต่โชคไม่ดีที่แมลงสาบดังกล่าวดันบินไปเกาะผู้หญิงอีกคนที่อยู่ในกลุ่ม..
แน่นอนว่า ผู้หญิงคนที่สองก็ส่งเสียงกรีดร้องออกมาเหมือนผู้หญิงคนแรก ดังนั้นความโกลาหลในร้านอาหารแห่งนี้ก็ยังคงดำเนินต่อไป
ในตอนนี้ เด็กเสิร์ฟคนหนึ่งต้องรีบวิ่งออกมาจากหลังร้าน เพื่อดูว่าเกิดอะไรขึ้น เมื่อเห็นผู้หญิงคนที่สองกำลังเอามือปัดแมลงสาบและร้องอย่างสุดเสียง เขาจึงเดินไปใกล้ ๆ เธอ ซึ่งเป็นจังหวะเดียวกับที่แมลงสาบบินมาเกาะที่ตัวเขาต่อพอดี
แต่แทนที่เด็กเสิร์ฟคนนี้จะกรีดร้องเหมือนผู้หญิงสองคนแรก
เขากลับยืนนิ่ง.. ไม่ส่งเสียงร้องเอะอะโวยวาย
เขาพยายามสังเกตพฤติกรรมของแมลงสาบที่กำลังเกาะอยู่บนเสื้อของเขาสักพัก หลังจากนั้นจึงค่อย ๆ จับตัวมันแล้วโยนออกไปจากร้าน
เมื่อ Sundar Pichai เล่าเรื่องนี้จบ เขาตั้งคำถามกับคนฟังว่า “จริง ๆ แล้ว แมลงสาบเป็นต้นตอของความวุ่นวายและความโกลาหลในร้านอาหารแห่งนี้จริงหรือไม่ ?
ซึ่งผู้ฟังบางคนก็ตอบว่า ใช่..
แต่ Sundar Pichai ถามกลับมาว่า ถ้าใช่แล้ว ทำไมขณะที่แมลงสาบมาเกาะที่ตัวเด็กเสิร์ฟคนนี้ เขากลับยืนนิ่ง ๆ และสามารถจัดการกับแมลงสาบได้อย่างดี
Sundar Pichai ยังบอกอีกว่า จริง ๆ แล้ว ต้นตอของความวุ่นวายและความโกลาหลไม่ได้อยู่ที่แมลงสาบ แต่อยู่ที่ความสามารถในการรับมือกับปัญหาและสิ่งรบกวนของแต่ละคนแตกต่างกัน
- ผู้หญิงสองคนในร้านอาหารเลือกที่จะตอบสนอง (React) ต่อปัญหาหรือสิ่งที่เข้ามารบกวนในทันที
- ขณะที่เด็กเสิร์ฟคนนี้กลับเลือกที่จะใช้เวลาคิด พิจารณาอย่างดีก่อนที่จะตอบสนอง (Respond) กลับออกไป
คุณ Sundar Pichai บอกว่า ตัวเขาก็นำหลักการนี้ มาประยุกต์ใช้ในการบริหาร Google ด้วยเช่นกัน
กลับมาที่เหตุการณ์ในชีวิตจริงของพวกเราทุกคน ทุกวันนี้เมื่อตื่นขึ้นมาในแต่ละวัน เรามักจะเจอกับเรื่องราวต่าง ๆ มากมายที่เข้ามารบกวนในชีวิต ไม่ว่าจะเป็น
- พบกับเสียงบ่นของสามีหรือภรรยา
- เจอลูกค้าโวยวาย
- เพื่อนร่วมงานทำตัวไม่ดีกับเรา
- ปัญหารถติดจนทำให้เครียด
จริงอยู่ที่ว่า สิ่งต่าง ๆ ที่ว่ามานี้คือสิ่งที่เข้ามารบกวนตัวเรา และหลายครั้งก็มักทำให้เราหงุดหงิด หรือหัวเสียไปกับมัน
แต่ถ้าสังเกตให้ดี ความรู้สึกแย่ ๆ ที่เกิดขึ้นมานี้ อาจไม่ได้เกิดจากสิ่งที่มากระทบ แต่เกิดจากปฏิกิริยาของเราที่ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ต่อปัญหาและสิ่งรบกวนที่เข้ามากระทบในชีวิตของเราต่างหาก
เพราะฉะนั้น เรามีทางเลือก 2 ทางที่จะตอบสนองเหตุการณ์เหล่านั้นออกไป นั่นคือ
1. เลือกที่จะโวยวาย หรือตอบสนองออกไปในทันทีทันใด โดยที่ไม่ได้คิดวิเคราะห์ปัญหาหรือสิ่งที่เข้ามารบกวนในชีวิตเราอย่างละเอียด
2. เลือกที่จะนิ่ง ใช้เวลารวบรวมสติ คิดวิเคราะห์ปัญหาเหล่านั้นอย่างละเอียด ก่อนที่จะแสดงออกหรือตอบสนองต่อปัญหาต่าง ๆ ออกไป
เพราะการตอบสนองที่แตกต่างกัน หลายครั้งก็นำมาซึ่ง ผลลัพธ์ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง
อ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนคงได้แง่คิดดี ๆ ในเรื่องการบริหาร หรือจัดการอารมณ์กันไปไม่มากก็น้อย
แต่ต้องบอกว่า เรื่องนี้มันยังมีแง่คิดในอีกมุมหนึ่ง..
เพราะในมุมมองของการลงทุน ทฤษฎีแมลงสาบ หรือ Cockroach Theory ถูกพูดถึงในมุมที่ต่างออกไปจากมุมมองของคุณ Sundar Pichai
โดยมีการเปรียบแมลงสาบว่าเป็นตัวแทนของ “สิ่งที่ซ่อนอยู่ ของบริษัทใดบริษัทหนึ่ง”
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าบริษัทหนึ่งถูกเปิดโปงว่าทุจริตในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง มันก็น่าจะมีการทุจริตอีกหลาย ๆ เรื่องที่จะต้องถูกเปิดโปงตามมาในอนาคต
เหมือนกับเวลาที่เราเห็นแมลงสาบหนึ่งตัวในบ้านของเรา เราก็เดาได้เลยว่า มันจะต้องมีแมลงสาบอีกหลายตัวที่ซุกซ่อนอยู่ในบ้านของเราอีกแน่นอน..
สรุปก็คือ ในมุมมองของคุณ Sundar Pichai เขาพูดถึงทฤษฎีแมลงสาบ ในแง่มุมของวิธีจัดการ บริหาร หรือรับมือกับเรื่องต่าง ๆ ที่เข้ามาในชีวิตเรา
แต่ถ้าพิจารณาไปที่แมลงสาบ ที่เป็นตัวแทนของปัญหา เราก็อาจต้องมีวิธีจัดการ หรือรับมือกับมัน ในอีกมุมหนึ่งด้วย..
References:
-https://toistudent.timesofindia.indiatimes.com/news/top-news/the-cockroach-theory-of-sundar-pichai/15817.html
-https://www.investopedia.com/terms/c/cockroach-theory.asp