
กรณีศึกษา วิธีใช้ Crisis Marketing ของสุกี้จินดา เปลี่ยนวิกฤติโดนแฮ็กเพจ ให้เป็นการตลาด
27 มี.ค. 2025
เมื่อช่วงกลางเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ทางเพจสุกี้จินดา ก็ได้ออกมาโพสต์ในหน้าเฟซบุ๊กของตัวเองว่า
เพจโดนผู้ไม่หวังดีแฮ็กเฟซบุ๊กเพจไปเมื่อช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา และตอนนี้สามารถกู้กลับมาได้แล้ว
เพจโดนผู้ไม่หวังดีแฮ็กเฟซบุ๊กเพจไปเมื่อช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา และตอนนี้สามารถกู้กลับมาได้แล้ว
ประเด็นคือ เพจสุกี้จินดาที่ถูกแฮ็กไป ถูกเปลี่ยนเป็นชื่อเพจ “งานของประชาชน”
และทางเพจได้บอกว่าต้องขออนุญาตใช้ชื่อเพจนี้ไปก่อน เพราะกฎระเบียบของทางเฟซบุ๊ก จะสามารถเปลี่ยนกลับมาใช้ชื่อเพจเดิมได้ ในเวลาอีก 60 วัน หรือประมาณ 2 เดือน
หลังจากที่มีการโพสต์ข้อความนี้ไป ก็ได้รับกระแสตอบรับที่น่าสนใจ
เพราะหลายคนมาแสดงความเห็นใจ เนื่องจากชื่อเพจใหม่นั้นไม่ได้มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับร้านเลย
เพราะหลายคนมาแสดงความเห็นใจ เนื่องจากชื่อเพจใหม่นั้นไม่ได้มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับร้านเลย
ในขณะที่ทางร้านเองจะต้องใช้ชื่อนี้ในการประชาสัมพันธ์เรื่องราวต่าง ๆ ไปอีกเกือบ 2 เดือน
และด้วยกระแสตอบรับที่ดีเกินคาด หลายคนกลับมาพูดชื่อของ สุกี้จินดา กันมากขึ้น
ทางแบรนด์จึงไม่รอช้า ในวันต่อมา จึงรีบมาบอกจะเตรียมจัดโปรโมชันรับชื่อเพจใหม่ “งานของประชาชน”
โดยทาง สุกี้จินดาก็ได้ออกมาจัดโปรโมชันที่ชื่อว่า “สุกี้ของประชาชน” ซึ่งก็มีรายละเอียดดังนี้
- 5 คนแรกที่มาทานที่ร้าน จะได้ทานบุฟเฟต์ฟรี
- จัดโปรโมชันบุฟเฟต์ ราคา 299 บาท Net รวมสุกี้ เครื่องดื่ม ขนมหวาน ทานได้ 90 นาที
- คนที่ทาน A La Carte ฟรีน้ำซุป
- จัดโปรโมชันบุฟเฟต์ ราคา 299 บาท Net รวมสุกี้ เครื่องดื่ม ขนมหวาน ทานได้ 90 นาที
- คนที่ทาน A La Carte ฟรีน้ำซุป
โดยโปรโมชันนี้ได้จัดขึ้นเมื่อวันที่ 20-22 มีนาคม ที่ผ่านมา ซึ่งก็มีคนมาต่อคิวใช้บริการกันอย่างล้นหลาม
ถ้าให้มาวิเคราะห์เรื่องนี้ก็เป็นอีกกรณีศึกษาที่น่าสนใจ
เพราะในตอนแรกที่เหมือนว่าเพจโดนเปลี่ยนชื่อเป็น งานของประชาชน และอาจทำให้แบรนด์เสียชื่อเสียง หรือถูกลืม
แต่เพจกลับเปลี่ยนให้กลายเป็นไวรัลในเวลาข้ามคืน
เพราะในตอนแรกที่เหมือนว่าเพจโดนเปลี่ยนชื่อเป็น งานของประชาชน และอาจทำให้แบรนด์เสียชื่อเสียง หรือถูกลืม
แต่เพจกลับเปลี่ยนให้กลายเป็นไวรัลในเวลาข้ามคืน
เรื่องนี้ ก็คล้ายกับกลยุทธ์ทางการตลาดที่เรียกว่า Crisis Marketing
โดยจุดสำคัญของกลยุทธ์นี้คือ “การจัดการวิกฤติอย่างมีชั้นเชิง” ไม่ใช่การสร้างดรามาเพื่อเรียกกระแสเพียงอย่างเดียว
ซึ่งทางสุกี้จินดา ก็สามารถทำการตลาดล้อกับกระแสนี้ได้เป็นอย่างดี
ซึ่งทางสุกี้จินดา ก็สามารถทำการตลาดล้อกับกระแสนี้ได้เป็นอย่างดี
ซึ่งความจริงแล้วในต่างประเทศนั้นก็เคยมีเคสคล้าย ๆ กันแบบนี้เกิดขึ้นเหมือนกัน
ตัวอย่างเคสที่น่าสนใจเช่น
- เคสไก่ขาดตลาดในสหราชอาณาจักร เมื่อปี 2018 จนทำให้ KFC ต้องปิดการให้บริการกว่า 600 สาขา
โดยหลังจากที่กลับมาเปิดให้บริการได้ ทาง KFC ก็ได้ออกโฆษณาเต็มหน้าหนังสือพิมพ์ เป็นรูป Bucket ใส่ไก่ ที่เขียนคำว่า “FCK” (สลับมาจากคำว่า KFC) พร้อมข้อความขอโทษแบบมีอารมณ์ขันว่าเรากำลังจะกลับมาเต็มรูปแบบเร็ว ๆ นี้
- มีลูกค้ารายหนึ่งของ IKEA โพสต์ภาพเฟอร์นิเจอร์ที่ประกอบผิดพลาดจนดูตลกบน Reddit
หลังจากนั้น ทาง IKEA ก็ไม่ได้มองว่ามันเป็นเรื่องเสียหายอะไร
พร้อมกับแชร์ภาพนั้นในเพจตัวเอง พร้อมแคปชันว่า
“เราชอบให้คุณลองด้วยตัวเองเสมอ :)”
พร้อมกับแชร์ภาพนั้นในเพจตัวเอง พร้อมแคปชันว่า
“เราชอบให้คุณลองด้วยตัวเองเสมอ :)”
ซึ่งก็ได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากคนจำนวนมาก
ทั้งหมดนี้ก็เป็นกรณีศึกษา ของการตลาดที่เกิดมาจากวิกฤติ
รวมถึงเคสล่าสุดในไทย ของสุกี้จินดา ที่เปลี่ยนวิกฤติโดนแฮ็กเพจ ให้เป็นการตลาดไปได้แบบน่าสนใจ..
รวมถึงเคสล่าสุดในไทย ของสุกี้จินดา ที่เปลี่ยนวิกฤติโดนแฮ็กเพจ ให้เป็นการตลาดไปได้แบบน่าสนใจ..