อธิบาย BOM เครื่องมือสำคัญ ไว้เข้าใจต้นทุนธุรกิจ จากเคส พิซซา 1 ถาด
27 ส.ค. 2024
BOM ย่อมาจาก Bill of Material ความหมายคือ ลิสต์รายการแสดงข้อมูลวัตถุดิบ และปริมาณในการใช้ เพื่อผลิตสินค้าขึ้นมา 1 หน่วย
เวลาจะขายหรือผลิตสินค้าอะไรสักอย่าง สิ่งที่เราต้องรู้และต้องเข้าใจให้ได้อย่างลึกซึ้ง คือเรื่องต้นทุนของสิ่งที่เราจะขาย
โดยเฉพาะ “ต้นทุนวัตถุดิบ” ซึ่งเป็นต้นทุนหลักของธุรกิจ
โดยเฉพาะ “ต้นทุนวัตถุดิบ” ซึ่งเป็นต้นทุนหลักของธุรกิจ
ซึ่ง BOM ก็เป็นเครื่องมือหนึ่ง ที่ช่วยจัดการเรื่องนี้
BrandCase จะสรุปนี้ให้ แบบเข้าใจง่าย ๆ
BrandCase จะสรุปนี้ให้ แบบเข้าใจง่าย ๆ
เพื่อให้เห็นภาพชัด ๆ จะขออธิบาย BOM แบบง่าย ๆ ด้วยเคสพิซซา 1 ถาด
-สมมติว่า เราต้องการทำพิซซาสูตร A ขาย เป็นพิซซาขนาด 14 นิ้ว สำหรับกินในครอบครัว 4-6 คน
โดยเรารู้ว่ารายการวัตถุดิบของพิซซาสูตร A คือ
1. แป้งพิซซา 500 กรัม
2. ซอสพิซซา 300 มิลลิลิตร
3. มอซซาเรลลาชีส 2 ถ้วยตวง
4. แฮม 100 กรัม
5. เห็ดแชมปีญอง 1 ถ้วยตวง
6. หอมใหญ่ 1 หัว
7. พริกหวานสามสี (เขียว เหลือง แดง) อย่างละครึ่งหนึ่งของถ้วยตวง
1. แป้งพิซซา 500 กรัม
2. ซอสพิซซา 300 มิลลิลิตร
3. มอซซาเรลลาชีส 2 ถ้วยตวง
4. แฮม 100 กรัม
5. เห็ดแชมปีญอง 1 ถ้วยตวง
6. หอมใหญ่ 1 หัว
7. พริกหวานสามสี (เขียว เหลือง แดง) อย่างละครึ่งหนึ่งของถ้วยตวง
หากในลิสต์รายการดังกล่าว ต้องนำวัตถุดิบย่อยมาปรุงอีกที อย่างเช่น
วัตถุดิบย่อย ที่นำมาใช้ทำแป้งพิซซา 500 กรัม คือ
- แป้งสาลี 300 กรัม
- น้ำ 180 กรัม
- ยีสต์ 4.5 กรัม
- แป้งสาลี 300 กรัม
- น้ำ 180 กรัม
- ยีสต์ 4.5 กรัม
วัตถุดิบย่อย ที่ใช้ทำซอสพิซซา 300 มิลลิลิตร คือ
- ซอสมะเขือเทศ 250 มิลลิลิตร
- น้ำมันมะกอก 25 มิลลิลิตร
- วัตถุดิบอื่น ๆ เช่น กระเทียมสับ ออริกาโน 25 กรัม
- ซอสมะเขือเทศ 250 มิลลิลิตร
- น้ำมันมะกอก 25 มิลลิลิตร
- วัตถุดิบอื่น ๆ เช่น กระเทียมสับ ออริกาโน 25 กรัม
ทีนี้เราก็จะเอารายการทั้งวัตถุดิบหลัก และวัตถุดิบย่อย มาทำเป็น BOM หรือโครงสร้างของสินค้าได้ประมาณนี้
1. แป้งพิซซา 500 กรัม
___1.1 แป้งสาลี 300 กรัม
___1.2 น้ำ 180 กรัม
___1.3 ยีสต์ 4.5 กรัม
1. แป้งพิซซา 500 กรัม
___1.1 แป้งสาลี 300 กรัม
___1.2 น้ำ 180 กรัม
___1.3 ยีสต์ 4.5 กรัม
2. ซอสพิซซา 300 มิลลิลิตร
___2.1 ซอสมะเขือเทศ 250 มิลลิลิตร
___2.2 น้ำมันมะกอก 25 มิลลิลิตร
___2.3 วัตถุดิบอื่น ๆ เช่น กระเทียมสับ ออริกาโน 25 กรัม
___2.1 ซอสมะเขือเทศ 250 มิลลิลิตร
___2.2 น้ำมันมะกอก 25 มิลลิลิตร
___2.3 วัตถุดิบอื่น ๆ เช่น กระเทียมสับ ออริกาโน 25 กรัม
3. มอซซาเรลล่าชีส 2 ถ้วยตวง
4. แฮม 100 กรัม
5. เห็ดแชมปีญอง 1 ถ้วยตวง
6. หอมใหญ่ 1 หัว
7. พริกหวานสามสี (เขียว เหลือง แดง) อย่างละครึ่งหนึ่งของถ้วยตวง
4. แฮม 100 กรัม
5. เห็ดแชมปีญอง 1 ถ้วยตวง
6. หอมใหญ่ 1 หัว
7. พริกหวานสามสี (เขียว เหลือง แดง) อย่างละครึ่งหนึ่งของถ้วยตวง
ซึ่งจากตัวอย่างก็คือ BOM ที่แสดงรายการวัตถุดิบคร่าว ๆ
แต่ต้องบอกว่าในทางปฏิบัติจริง
BOM จะต้องถูกบันทึกเป็นรูปแบบต่าง ๆ ที่เราสามารถเข้าใจได้ง่าย ๆ อย่างเช่น
BOM จะต้องถูกบันทึกเป็นรูปแบบต่าง ๆ ที่เราสามารถเข้าใจได้ง่าย ๆ อย่างเช่น
- บันทึกเป็นตารางใน Excel
- บันทึกผ่านแพลตฟอร์มภายในบริษัท เช่น SAP
- บันทึกเป็นแผนภาพ Mind Map ที่แสดงส่วนประกอบของวัตถุดิบ
- บันทึกผ่านแพลตฟอร์มภายในบริษัท เช่น SAP
- บันทึกเป็นแผนภาพ Mind Map ที่แสดงส่วนประกอบของวัตถุดิบ
และที่สำคัญก็คือใน BOM จะต้องระบุรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับรายการวัตถุดิบแต่ละอย่างลงไปด้วย
อย่างเช่น แป้งสาลีที่ใช้ทำแป้งพิซซา ต้องเป็นแป้งสูตรไหน? แบรนด์อะไร ?
รวมถึงวิธีการปรุงอาหาร หรือลำดับในการปรุง ที่ต้องระบุให้ชัดเจน
รวมถึงวิธีการปรุงอาหาร หรือลำดับในการปรุง ที่ต้องระบุให้ชัดเจน
ทีนี้ เรามาดูประโยชน์ของ BOM หรือ Bill Of Material กัน ว่ามีอะไรบ้าง
- BOM ช่วยคิดคำนวณต้นทุนวัตถุดิบ ซึ่งเป็นต้นทุนแปรผันต่อหน่วยได้
จากที่เราได้ลองชำแหละ หรือแยกส่วนประกอบของวัตถุดิบที่ใช้ทำพิซซา เราก็จะรู้ว่าการทำพิซซาเมนูนี้ จะต้องใช้วัตถุดิบอะไรบ้าง และมีปริมาณการใช้เท่าไร
ซึ่งเราสามารถนำ BOM ที่แสดงรายการวัตถุดิบและปริมาณการใช้มารวมกัน แล้วคำนวณเป็นต้นทุนวัตถุดิบต่อหน่วยของเมนูนั้น ๆ
เมื่อเรารู้ต้นทุนวัตถุดิบต่อหน่วย ก็จะทำให้เราสามารถกำหนดราคาขายของพิซซาเมนูนั้น ๆ ได้ง่ายขึ้น
- BOM จะช่วยให้เรา สามารถสต๊อกวัตถุดิบได้อย่างแม่นยำ
เพราะถ้าเราสามารถคาดการณ์ได้ ว่าพิซซาแต่ละเมนูนั้นสามารถขายได้เท่าไรต่อวัน ต่อสัปดาห์ หรือต่อเดือน
เราก็สามารถนำ BOM ที่แสดงโครงสร้างวัตถุดิบและปริมาณการใช้ มาคูณกันเพื่อคำนวณว่า ในแต่ละวัน แต่ละสัปดาห์ หรือแต่ละเดือน เราควรสต๊อกวัตถุดิบแต่ละชนิดในปริมาณเท่าไรกันแน่
- BOM จะช่วยให้เราทำ Work Instruction ได้ง่ายขึ้น
Work Instruction คือ คู่มือที่แสดงขั้นตอนการผลิตสินค้า หรือการทำอาหาร
ซึ่ง Work Instruction จะเป็นคู่มือสำหรับเทรนพนักงานว่า ถ้าจะทำสินค้าให้มีคุณภาพ หรือปรุงอาหารให้มีรสชาติดี ถูกปากลูกค้า เราจะต้องทำตามขั้นตอนนี้
โดยจากตัวอย่าง BOM ของการผลิตพิซซาสูตร A
ก็จะทำให้เรารู้ว่า เราควรเอาวัตถุดิบใน BOM มาทำ Work Instruction ตัวไหนบ้าง
ก็จะทำให้เรารู้ว่า เราควรเอาวัตถุดิบใน BOM มาทำ Work Instruction ตัวไหนบ้าง
ดังตัวอย่างใน BOM ก็ทำให้รู้ว่าเราควรทำ แป้งพิซซาและซอสพิซซารอไว้ก่อน โดยเริ่มจาก
-ขั้นตอนแรก
คือทำ Work Instruction ของการนำแป้งสาลี น้ำ และยีสต์ ในปริมาณที่กำหนดใน BOM
มาผลิตเป็นแป้งพิซซา ด้วยขั้นตอนต่าง ๆ
มาผลิตเป็นแป้งพิซซา ด้วยขั้นตอนต่าง ๆ
-ขั้นตอนต่อมา
คือทำ Work Instruction ของการนำซอสมะเขือเทศ น้ำมันมะกอก และวัตถุดิบอื่น ๆ
ในปริมาณที่กำหนดใน BOM มาผลิตเป็นซอสพิซซา ด้วยขั้นตอนต่าง ๆ
ในปริมาณที่กำหนดใน BOM มาผลิตเป็นซอสพิซซา ด้วยขั้นตอนต่าง ๆ
-ขั้นตอนสุดท้าย
คือทำ Work Instruction ของการนำวัตถุดิบ ทั้งแป้งพิซซา ซอสพิซซา ที่ทำรอไว้แล้ว
มาปรุงร่วมกับ ชีส แฮม และเครื่องปรุงอื่น ๆ ในปริมาณที่กำหนดใน BOM จนกลายเป็นพิซซาสูตร A
มาปรุงร่วมกับ ชีส แฮม และเครื่องปรุงอื่น ๆ ในปริมาณที่กำหนดใน BOM จนกลายเป็นพิซซาสูตร A
นอกจากนี้การดึงวัตถุดิบจาก BOM มาทำเป็น Work Instruction ยังช่วยกันไม่ให้พนักงานพลาด
คือลืมหยิบวัตถุดิบบางอย่าง ไปปรุงเป็นพิซซาได้ด้วย
คือลืมหยิบวัตถุดิบบางอย่าง ไปปรุงเป็นพิซซาได้ด้วย
- BOM ช่วยให้เราสามารถซื้อของได้ทีละมาก ๆ ในราคาถูก
ก็ต้องบอกว่าถ้าเราทำธุรกิจ อย่างการเปิดร้านอาหาร เราก็คงไม่ได้มีเมนูแค่เมนูเดียว
เพราะนอกจากพิซซาสูตร A แล้ว เราก็ยังต้องมีพิซซาสูตรอื่น ๆ อีก
เช่น
พิซซาสูตร B, C, D, E หรือ F ซึ่งเป็นพิซซารสชาติอื่น ๆ
เพราะนอกจากพิซซาสูตร A แล้ว เราก็ยังต้องมีพิซซาสูตรอื่น ๆ อีก
เช่น
พิซซาสูตร B, C, D, E หรือ F ซึ่งเป็นพิซซารสชาติอื่น ๆ
ซึ่งจริง ๆ แล้ว แม้เมนูพิซซาจะเป็นคนละเมนูกัน แต่วัตถุดิบที่ใช้สำหรับบางเมนู ก็อาจจะเป็นวัตถุดิบเดียวกันก็ได้
อย่างเช่น สมมติว่า เราให้พิซซาทุกสูตรใช้แป้งสาลีชนิดเดียวกัน
เราก็สามารถคำนวณยอดออร์เดอร์ที่เราคาดการณ์ ของแต่ละเมนูมารวมกัน แล้วสั่งซื้อ จากห้างค้าส่งมาทีละมาก ๆ ในราคาต้นทุนต่อหน่วยที่ถูกลง
มาถึงตรงนี้ เราก็พอจะเข้าใจประโยชน์ของการสร้าง BOM สำหรับสินค้าต่าง ๆ แล้ว
ซึ่ง BOM ก็สามารถนำไปใช้ได้กว้างขวาง หลากหลายธุรกิจ ทั้งในแวดวงร้านอาหาร ไปจนถึงโรงงานอุตสาหกรรม
โดย BOM จะเป็นเครื่องมือ ที่แสดงพาร์ตต่าง ๆ ของสินค้า โดยเฉพาะสินค้าที่จำเป็นต้องประกอบเข้าด้วยกัน
อย่างเช่น การผลิตเฟอร์นิเจอร์ เช่น ผลิตโต๊ะ เก้าอี้ หรือตู้เก็บของหลากหลายรูปแบบ ที่จำเป็นต้องนำพาร์ตชิ้นส่วนต่าง ๆ เช่น ไม้ อะลูมิเนียม นอตสกรู ประกอบเข้าหากัน
ดังนั้น วัสดุต่าง ๆ เหล่านี้ ก็จะต้องอยู่ใน BOM ของเฟอร์นิเจอร์แต่ละรุ่น
สรุปแล้ว BOM จะทำให้เรา
- ทราบต้นทุนของวัตถุดิบต่าง ๆ
- สามารถสต๊อกวัตถุดิบได้อย่างแม่นยำ
- ทำให้เราเข้าใจโครงสร้างสินค้าได้ง่ายขึ้น และเข้าใจขั้นตอนในการผลิตมากขึ้น
- รวมถึงช่วยวางแผนการสั่งซื้อทีละมาก ๆ จนลดต้นทุนต่อหน่วยลงได้..
- ทราบต้นทุนของวัตถุดิบต่าง ๆ
- สามารถสต๊อกวัตถุดิบได้อย่างแม่นยำ
- ทำให้เราเข้าใจโครงสร้างสินค้าได้ง่ายขึ้น และเข้าใจขั้นตอนในการผลิตมากขึ้น
- รวมถึงช่วยวางแผนการสั่งซื้อทีละมาก ๆ จนลดต้นทุนต่อหน่วยลงได้..
Reference
- https://pospos.co/article/detail/what-is-bom
- https://pospos.co/article/detail/what-is-bom
--------------------------
Sponsored by JCB Thailand
#JCBสุขทุกสไตล์ได้ทุกวัน
พบกับส่วนลดและสิทธิพิเศษสำหรับทุกไลฟ์สไตล์
ทั้ง กิน เที่ยว ช็อป ให้คุณมีความสุขได้ทุก ๆ วัน
เพิ่มเติมที่ >> https://bit.ly/JCBJSOPRO
พบกับส่วนลดและสิทธิพิเศษสำหรับทุกไลฟ์สไตล์
ทั้ง กิน เที่ยว ช็อป ให้คุณมีความสุขได้ทุก ๆ วัน
เพิ่มเติมที่ >> https://bit.ly/JCBJSOPRO
สมัครบัตรเครดิต JCB ได้ที่
https://bit.ly/ApplyJCBCard
https://bit.ly/ApplyJCBCard
#JCBThailand #JCBCard
#JCBOwnHappinessOwnStory
#JCBOwnHappinessOwnStory