อธิบายโมเดลธุรกิจ โรงหนัง MAJOR ทำไมรายได้กว่าครึ่ง ไม่ได้มาจาก ขายตั๋วหนัง
27 เม.ย. 2024
อธิบายโมเดลธุรกิจ โรงหนัง MAJOR ทำไมรายได้กว่าครึ่ง ไม่ได้มาจาก ขายตั๋วหนัง | BrandCase
รู้หรือไม่ ? บมจ.เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป หรือ MAJOR เจ้าของโรงภาพยนตร์อย่าง Major Cineplex, EGV, Paragon Cineplex และ MEGA Cineplex
บริษัทนี้ มีรายได้มาจากการขายตั๋วหนัง เพียงครึ่งเดียว ของรายได้บริษัท..
ส่วนอีกครึ่งหนึ่ง มาจากธุรกิจอื่น ที่เกี่ยวข้องกับโรงภาพยนตร์
เช่น รายได้จากพ็อปคอร์น-เครื่องดื่ม โฆษณา และให้เช่าพื้นที่
โดยในปี 2566 รายได้ทุก ๆ 100 บาทของ MAJOR มาจากธุรกิจเหล่านี้ถึง 49 บาท
เช่น รายได้จากพ็อปคอร์น-เครื่องดื่ม โฆษณา และให้เช่าพื้นที่
โดยในปี 2566 รายได้ทุก ๆ 100 บาทของ MAJOR มาจากธุรกิจเหล่านี้ถึง 49 บาท
แล้วทำไมโมเดลรายได้ ของธุรกิจโรงภาพยนตร์เครือ MAJOR
ถึงมีรายได้เกือบครึ่งหนึ่ง มาจากธุรกิจอย่างอื่นที่ไม่ใช่การขายตั๋วหนัง
BrandCase สรุปให้ แบบเข้าใจง่าย ๆ
ถึงมีรายได้เกือบครึ่งหนึ่ง มาจากธุรกิจอย่างอื่นที่ไม่ใช่การขายตั๋วหนัง
BrandCase สรุปให้ แบบเข้าใจง่าย ๆ
หากพูดถึงเฉพาะธุรกิจหลักของ MAJOR นั่นคือ การฉายหนังในโรงภาพยนตร์
ก็ต้องบอกว่า ในการฉายหนัง 1 รอบ ก็มีต้นทุนเกิดขึ้นหลายอย่าง
ไม่ว่าจะเป็น ต้นทุนค่าไฟ ค่าฟิล์มหนัง และค่าพนักงาน
ก็ต้องบอกว่า ในการฉายหนัง 1 รอบ ก็มีต้นทุนเกิดขึ้นหลายอย่าง
ไม่ว่าจะเป็น ต้นทุนค่าไฟ ค่าฟิล์มหนัง และค่าพนักงาน
ซึ่งต้นทุนเหล่านี้ก็จะถือเป็น Fixed Cost
ที่ไม่ว่าจะมีคนเข้าไปดูหนัง 1-2 คน หรือเข้าไปดูหนังเต็มโรง ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ก็จะเกิดขึ้นสม่ำเสมอ ระหว่างการฉายภาพยนตร์
ที่ไม่ว่าจะมีคนเข้าไปดูหนัง 1-2 คน หรือเข้าไปดูหนังเต็มโรง ค่าใช้จ่ายเหล่านี้ก็จะเกิดขึ้นสม่ำเสมอ ระหว่างการฉายภาพยนตร์
นอกจากนี้ รายได้ทุกบาททุกสตางค์จากการฉายภาพยนตร์
ก็ต้องมีการแบ่งรายได้จากการฉาย ไปให้กับบริษัทผู้ผลิตภาพยนตร์อีกด้วย
ก็ต้องมีการแบ่งรายได้จากการฉาย ไปให้กับบริษัทผู้ผลิตภาพยนตร์อีกด้วย
จากต้นทุนดังกล่าวก็จะเห็นว่า ในการฉายภาพยนตร์ 1 รอบ
หากมีคนเข้ามาดูหนังเพียงน้อยนิด ก็จะทำให้โรงภาพยนตร์มีโอกาสขาดทุนสูงนั่นเอง
หากมีคนเข้ามาดูหนังเพียงน้อยนิด ก็จะทำให้โรงภาพยนตร์มีโอกาสขาดทุนสูงนั่นเอง
ดังนั้น ธุรกิจโรงภาพยนตร์ จึงต้องหาทางทำอย่างไรก็ได้
ให้การฉายภาพยนตร์ 1 รอบ มีคนเข้ามาดูได้มากที่สุด เพื่อให้เลยจุดคุ้มทุน จนกลายมาเป็นกำไรให้ได้ ไม่ว่าจะเป็น
ให้การฉายภาพยนตร์ 1 รอบ มีคนเข้ามาดูได้มากที่สุด เพื่อให้เลยจุดคุ้มทุน จนกลายมาเป็นกำไรให้ได้ ไม่ว่าจะเป็น
การฉายภาพยนตร์เรื่องใหม่ในวันพฤหัสบดีเป็นวันแรก เพื่อดึงคนให้เข้ามาดูหนังเรื่องใหม่ ๆ ในวันธรรมดาได้ทำโปรโมชัน มูฟวี่ เดย์ ที่ลดราคาดูหนังทุกวันพุธ เพื่อดึงคนให้เข้ามาดูหนังกลางสัปดาห์ลดรอบฉายภาพยนตร์ที่ไม่ค่อยทำเงิน และโปรโมตหนังชนโรง ซึ่งก็คือหนังที่คาดว่าจะมีคนดูเยอะ
เพื่อดึงคนให้เข้ามาดูหนังในโรงภาพยนตร์มากขึ้นเป็นพาร์ตเนอร์กับค่ายบัตรเครดิต ธนาคาร และบริษัทต่าง ๆ เพื่อนำรหัสมาแลกรับเป็นส่วนลดในการดูหนังทำบัตรสมาชิกสำหรับดูหนังแบบบุฟเฟต์ อย่างบัตร MPass แล้วเก็บค่าสมาชิกรายเดือน
เพื่อดึงคนให้เข้ามาดูหนังในโรงภาพยนตร์มากขึ้นเป็นพาร์ตเนอร์กับค่ายบัตรเครดิต ธนาคาร และบริษัทต่าง ๆ เพื่อนำรหัสมาแลกรับเป็นส่วนลดในการดูหนังทำบัตรสมาชิกสำหรับดูหนังแบบบุฟเฟต์ อย่างบัตร MPass แล้วเก็บค่าสมาชิกรายเดือน
ไปจนถึงการอัปราคาที่นั่ง ถ้าอยากมีประสบการณ์ดูหนังแบบพรีเมียม อย่างที่นั่งแบบ Honeymoon Seat, Privilege Chair
หรือจอภาพยนตร์แบบ Ultra Screen และจอยักษ์ IMAX
หรือจอภาพยนตร์แบบ Ultra Screen และจอยักษ์ IMAX
นอกจากกลยุทธ์ดังกล่าว จะทำให้คนเข้ามาดูหนังในโรงภาพยนตร์มากขึ้น
แน่นอนว่าปัจจัยสำคัญ ที่ช่วยให้ MAJOR มีเม็ดเงินที่ไหลลงมาเป็นกำไรมากขึ้น นั่นก็คือ
แน่นอนว่าปัจจัยสำคัญ ที่ช่วยให้ MAJOR มีเม็ดเงินที่ไหลลงมาเป็นกำไรมากขึ้น นั่นก็คือ
ธุรกิจขายอาหารและเครื่องดื่ม อย่างพ็อปคอร์นและน้ำอัดลม
ก็ต้องบอกว่าธุรกิจขายพ็อปคอร์นภายในโรงภาพยนตร์นั้น
มีจุดเริ่มต้นมาจากสหรัฐอเมริกาเมื่อหลายสิบปีก่อน ที่มีพ่อค้าหรือแม่ค้านิยมขายพ็อปคอร์นหน้าโรงภาพยนตร์
มีจุดเริ่มต้นมาจากสหรัฐอเมริกาเมื่อหลายสิบปีก่อน ที่มีพ่อค้าหรือแม่ค้านิยมขายพ็อปคอร์นหน้าโรงภาพยนตร์
ซึ่งต่อมาพ็อปคอร์นหน้าโรงภาพยนตร์ ก็ได้รับความนิยมอย่างมาก
ด้วยความเป็นขนมกรุบกรอบ แต่มีรสชาติไม่จัดจ้านมากนัก และสามารถทานได้ง่ายในขณะดูหนัง
แถมพ็อปคอร์น มีวัตถุดิบมาจากข้าวโพด ซึ่งสามารถหาได้ง่ายและมีราคาถูก
ด้วยความเป็นขนมกรุบกรอบ แต่มีรสชาติไม่จัดจ้านมากนัก และสามารถทานได้ง่ายในขณะดูหนัง
แถมพ็อปคอร์น มีวัตถุดิบมาจากข้าวโพด ซึ่งสามารถหาได้ง่ายและมีราคาถูก
จนทำให้การทานพ็อปคอร์นในโรงภาพยนตร์ กลายเป็นวัฒนธรรมที่แพร่หลายไปทั่วโลก
เมื่อการทานพ็อปคอร์นในโรงภาพยนตร์เป็นที่นิยม
ทำให้โรงภาพยนตร์หลายแห่ง เริ่มมองเห็นจุดที่จะทำกำไรให้กับธุรกิจได้
โดยการนำพ็อปคอร์นมาขายในขณะชมภาพยนตร์ ในราคาที่สูงกว่าร้านค้าปลีกทั่วไป
ทำให้โรงภาพยนตร์หลายแห่ง เริ่มมองเห็นจุดที่จะทำกำไรให้กับธุรกิจได้
โดยการนำพ็อปคอร์นมาขายในขณะชมภาพยนตร์ ในราคาที่สูงกว่าร้านค้าปลีกทั่วไป
ซึ่งเราจะเห็นได้จากโรงภาพยนตร์ Major Cineplex หรือ SF Cinema
ที่นิยมขายพ็อปคอร์นในราคาเริ่มต้นเกือบ 100 บาทขึ้นไป
และขายชุดพ็อปคอร์นกับน้ำอัดลม ในราคาต่อเซตไม่ต่ำกว่า 150 บาท
ที่นิยมขายพ็อปคอร์นในราคาเริ่มต้นเกือบ 100 บาทขึ้นไป
และขายชุดพ็อปคอร์นกับน้ำอัดลม ในราคาต่อเซตไม่ต่ำกว่า 150 บาท
นอกจากนี้ทั้ง Major และ SF ก็ยังมีการจำหน่ายอาหาร และเครื่องดื่มประเภทอื่น ๆ ร่วมด้วย
อย่างเช่น น้ำอัดลม กาแฟ ขนมขบเคี้ยว และฮอตด็อก
โดยขายในราคาโรงภาพยนตร์ คือเป็นราคาที่สูงกว่าร้านทั่วไป
อย่างเช่น น้ำอัดลม กาแฟ ขนมขบเคี้ยว และฮอตด็อก
โดยขายในราคาโรงภาพยนตร์ คือเป็นราคาที่สูงกว่าร้านทั่วไป
แถมทางโรงภาพยนตร์ ก็มีกฎเหล็กไม่ให้นำอาหารและเครื่องดื่มจากร้านข้างนอก
เข้ามาทานภายในโรงภาพยนตร์ด้วย
เข้ามาทานภายในโรงภาพยนตร์ด้วย
นอกจากนี้ MAJOR ก็ยังนำพ็อปคอร์น ไปขายข้างนอกโรงภาพยนตร์ในแบรนด์ของตัวเอง
โดยไปขายตามตู้ Kiosk หรือร้านเล็ก ๆ ในศูนย์การค้า
โดยไปขายตามตู้ Kiosk หรือร้านเล็ก ๆ ในศูนย์การค้า
และขายตามร้านค้าปลีกต่าง ๆ อย่าง 7-Eleven, Villa Market และ Gourmet Market
จากกลยุทธ์การขายอาหารและเครื่องดื่มของ MAJOR
ทำให้ในปี 2566 MAJOR มีรายได้เฉพาะส่วนของอาหารและเครื่องดื่ม มากถึง 2,340 ล้านบาท
ทำให้ในปี 2566 MAJOR มีรายได้เฉพาะส่วนของอาหารและเครื่องดื่ม มากถึง 2,340 ล้านบาท
ซึ่งคิดเป็นสัดส่วน 27% ของรายได้เครือ MAJOR ทั้งหมด
และที่น่าสนใจคือ รายได้จากการขายอาหารและเครื่องดื่ม อย่างพ็อปคอร์นทุก ๆ 100 บาท
เมื่อหักต้นทุนอย่างค่าวัตถุดิบแล้ว จะไหลลงมากลายเป็นกำไรขั้นต้น มากถึง 58 บาท เลยทีเดียว
เมื่อหักต้นทุนอย่างค่าวัตถุดิบแล้ว จะไหลลงมากลายเป็นกำไรขั้นต้น มากถึง 58 บาท เลยทีเดียว
เท่านั้นยังไม่พอ ธุรกิจโรงภาพยนตร์อย่าง MAJOR
ก็ยังมีรายได้จากอีกขาหนึ่ง นั่นคือ รายได้จากโฆษณา
ก็ยังมีรายได้จากอีกขาหนึ่ง นั่นคือ รายได้จากโฆษณา
ซึ่งธุรกิจโฆษณาของ Major ก็จะประกอบไปด้วย
โฆษณาก่อนฉายภาพยนตร์ ประมาณ 20-30 นาทีโฆษณาตอนช่วงทดสอบเสียง อย่าง Digital Soundcheck Presented by ………..โฆษณาตอนให้ปิดโทรศัพท์มือถือก่อนภาพยนตร์เริ่มฉายโฆษณาตามป้ายบิลบอร์ด หรือจอ LCD ที่อยู่ตามจุดจำหน่ายตั๋ว
ไปจนถึงด้านหน้าทางเข้าโรงภาพยนตร์Naming Sponsor โดยให้มีชื่อสปอนเซอร์ตามโรงภาพยนตร์
อย่าง Krungsri Imax ที่ Paragon Cineplex
ไปจนถึงด้านหน้าทางเข้าโรงภาพยนตร์Naming Sponsor โดยให้มีชื่อสปอนเซอร์ตามโรงภาพยนตร์
อย่าง Krungsri Imax ที่ Paragon Cineplex
จะเห็นว่าเราจะเจอสื่อโฆษณาต่าง ๆ ของโรงภาพยนตร์
ตั้งแต่ตอนที่เดินเข้าไปซื้อตั๋ว ไปจนถึงตอนที่ภาพยนตร์เริ่มฉายเลยทีเดียว..
ตั้งแต่ตอนที่เดินเข้าไปซื้อตั๋ว ไปจนถึงตอนที่ภาพยนตร์เริ่มฉายเลยทีเดียว..
นอกจากนี้ Major ก็ยังมีธุรกิจที่ทำเงินเพิ่มเติมอีก นั่นคือ
ธุรกิจบันเทิง อย่างลานโบว์ลิงและคาราโอเกะ Blu-O และลานสเกต Sub-Zero ของเครือ MAJOR
ที่น่าสนใจคือ ธุรกิจบันเทิงอย่างโบว์ลิง สามารถทำกำไรให้ MAJOR ได้เป็นกอบเป็นกำ
โดยรายได้จากธุรกิจบันเทิงทุก ๆ 100 บาท คิดเป็นกำไรขั้นต้นมากถึง 49 บาทเลยทีเดียว
โดยรายได้จากธุรกิจบันเทิงทุก ๆ 100 บาท คิดเป็นกำไรขั้นต้นมากถึง 49 บาทเลยทีเดียว
ธุรกิจปล่อยพื้นที่ให้เช่า ทั้งพื้นที่ภายในโรงภาพยนตร์ Major
และพื้นที่ศูนย์การค้า Major รูปแบบสแตนด์อะโลน อย่าง เมเจอร์สุขุมวิท เมเจอร์รัชโยธิน และเมเจอร์รังสิตธุรกิจสื่อภาพยนตร์ หรือ Movies Content
ซึ่งเป็นธุรกิจผลิต และจัดจำหน่ายภาพยนตร์ เพื่อฉายในโรงภาพยนตร์, Free TV และระบบสตรีมมิง
และพื้นที่ศูนย์การค้า Major รูปแบบสแตนด์อะโลน อย่าง เมเจอร์สุขุมวิท เมเจอร์รัชโยธิน และเมเจอร์รังสิตธุรกิจสื่อภาพยนตร์ หรือ Movies Content
ซึ่งเป็นธุรกิจผลิต และจัดจำหน่ายภาพยนตร์ เพื่อฉายในโรงภาพยนตร์, Free TV และระบบสตรีมมิง
จะเห็นว่า ทั้งธุรกิจขายอาหารและเครื่องดื่ม โฆษณา มาจนถึงธุรกิจบันเทิง อย่างโบว์ลิง
ล้วนเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้ และช่วยเสริมกำไร ให้กับธุรกิจโรงภาพยนตร์เครือ MAJOR นั่นเอง
ล้วนเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้ และช่วยเสริมกำไร ให้กับธุรกิจโรงภาพยนตร์เครือ MAJOR นั่นเอง
ซึ่งถ้าเราไปดูรายได้และกำไร ของโรงภาพยนตร์เครือ MAJOR ปี 2566 ก็จะเห็นว่า
มีรายได้ 8,734 ล้านบาท
กำไร 1,042 ล้านบาท
กำไร 1,042 ล้านบาท
แล้วมาดูกันอีกที ว่ารายได้ของ Major ในปี 2566 ทุก ๆ 100 บาทนั้น มาจากอะไรบ้าง
สรุปคือมาจาก
ธุรกิจโรงภาพยนตร์ และบัตรสมาชิก 51 บาทธุรกิจอื่น ๆ ที่ไม่ใช่โรงภาพยนตร์ 49 บาท ซึ่งประกอบไปด้วย
ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม เช่น พ็อปคอร์น และน้ำอัดลม 27 บาทธุรกิจสื่อโฆษณา อย่างเช่น โฆษณาก่อนหนังฉาย 12 บาทธุรกิจโบว์ลิงและคาราโอเกะ 5 บาทธุรกิจให้เช่าพื้นที่ 3 บาทธุรกิจสื่อภาพยนตร์ หรือ Movies Content 2 บาท
ทั้งหมดนี้ ก็เป็นภาพรวมธุรกิจทั้งหมดของ Major
ที่รายได้เกือบครึ่งหนึ่ง มากธุรกิจอื่นที่ไม่ได้มาจากการ ขายตั๋วหนัง นั่นเอง..
ที่รายได้เกือบครึ่งหนึ่ง มากธุรกิจอื่นที่ไม่ได้มาจากการ ขายตั๋วหนัง นั่นเอง..
References
-รายงานประจำปี บมจ.เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป ปี 2566
-MAJOR CINEPLEX GROUP PLC. FY2023 Company Presentation
-https://www.investerest.co/lifestyle/why-do-we-eat-popcorn-at-the-movies/
-https://brandage.com/article/4777
-รายงานประจำปี บมจ.เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป ปี 2566
-MAJOR CINEPLEX GROUP PLC. FY2023 Company Presentation
-https://www.investerest.co/lifestyle/why-do-we-eat-popcorn-at-the-movies/
-https://brandage.com/article/4777
Tag:โรงหนัง MAJOR