สรุปภาพรวมธุรกิจ ปี 2567 สายการบิน Bangkok Airways ใน 5 ข้อ | BrandCase
29 มี.ค. 2024
วันนี้ บมจ.การบินกรุงเทพ เจ้าของสายการบิน Bangkok Airways ได้จัดงานแถลงข่าวผลประกอบการประจำปี 2566 พร้อมมุมมองภาพรวมอุตสาหกรรมการบิน และประกาศแผนธุรกิจในปี 2567
โดย บมจ.การบินกรุงเทพ มีรายได้รวม อยู่ที่ 21,840 ล้านบาท และกำไร 3,110 ล้านบาท
พร้อมตั้งเป้ารายได้ผู้โดยสาร (Passenger Revenue) 17,800 ล้านบาท
และยอดผู้โดยสาร 4.5 ล้านคน ภายในสิ้นปี 2567 นี้
พร้อมตั้งเป้ารายได้ผู้โดยสาร (Passenger Revenue) 17,800 ล้านบาท
และยอดผู้โดยสาร 4.5 ล้านคน ภายในสิ้นปี 2567 นี้
ซึ่งภายในงานแถลงข่าวครั้งนี้ ของ Bangkok Airways มีเรื่องอะไรน่าสนใจบ้าง ?
BrandCase สรุปให้ ภายใน 5 ข้อ
BrandCase สรุปให้ ภายใน 5 ข้อ
โดยถ้าดู รายได้ปี 2566 ของ บมจ.การบินกรุงเทพ เจ้าของ Bangkok Airways
รายได้จากธุรกิจสายการบิน 68.9%รายได้จากธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจสนามบิน เช่น บริการภาคพื้นดิน และครัวการบิน 19.6%รายได้จากธุรกิจสนามบิน 2.0%รายได้อื่น ๆ เช่น เงินปันผล 9.5%
โดยผลการดำเนินงานของสนามบินทั้ง 3 แห่ง ในปี 2566 ที่ Bangkok Airways เป็นเจ้าของ ได้แก่
สนามบินสมุย
มีจำนวนผู้โดยสารทั้งขาเข้า-ขาออก 2,273,351 คน และมีเที่ยวบินให้บริการจำนวน 25,443 เที่ยวบินสนามบินสุโขทัย
มีจำนวนผู้โดยสารทั้งขาเข้า-ขาออก 63,110 คน และมีเที่ยวบินให้บริการจำนวน 1,460 เที่ยวบินสนามบินตราด
มีจำนวนผู้โดยสารทั้งขาเข้า-ขาออก 69,519 คน และมีเที่ยวบินให้บริการจำนวน 1,459 เที่ยวบิน
มีจำนวนผู้โดยสารทั้งขาเข้า-ขาออก 2,273,351 คน และมีเที่ยวบินให้บริการจำนวน 25,443 เที่ยวบินสนามบินสุโขทัย
มีจำนวนผู้โดยสารทั้งขาเข้า-ขาออก 63,110 คน และมีเที่ยวบินให้บริการจำนวน 1,460 เที่ยวบินสนามบินตราด
มีจำนวนผู้โดยสารทั้งขาเข้า-ขาออก 69,519 คน และมีเที่ยวบินให้บริการจำนวน 1,459 เที่ยวบิน
ปัจจุบัน Bangkok Airways ให้บริการเที่ยวบินสู่ 20 จุดหมายปลายทาง ประกอบด้วย
เที่ยวบินภายในประเทศ 12 แห่ง ได้แก่ กรุงเทพฯ (สุวรรณภูมิและดอนเมือง), เกาะสมุย, เชียงใหม่, ภูเก็ต, กระบี่, ตราด, ลำปาง, แม่ฮ่องสอน, สุโขทัย, หาดใหญ่ และอู่ตะเภาจุดหมายปลายทางต่างประเทศ 8 แห่ง ได้แก่ มัลดีฟส์, สิงคโปร์, เซียมเรียบ, พนมเปญ, หลวงพระบาง, ฮ่องกง, เฉิงตู และฉงชิ่งเส้นทางบินที่กลับมาเปิดให้บริการล่าสุด ได้แก่ เส้นทางบินสมุย – ฉงชิ่ง และ สมุย – เฉิงตู ซึ่งเปิดให้บริการในช่วงปลายเดือนมกราคมที่ผ่านมา เฉลี่ย 2-3 เที่ยวบินต่อสัปดาห์ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวชาวจีน
ภาพรวมอุตสาหกรรมการบินโลก และการท่องเที่ยวของประเทศไทย
นายพุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ภาพรวมอุตสาหกรรมการบินโลก และการท่องเที่ยวของประเทศไทยมีการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง
โดยสมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (International Air Transport Association: IATA) ได้มีการสรุปรายได้สายการบินทั่วโลกปี 2566 อยู่ที่ 107% ของปี 2562 (ปีก่อนสถานการณ์โควิด) และคาดการณ์ว่าในระดับอุตสาหกรรมการบินโลก และระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จะฟื้นตัวกลับมาในปี 2567
ซึ่งเอเชียแปซิฟิก ถือเป็นภูมิภาคที่มีการคาดการณ์อัตราการเติบโตสูงสุด
โดยจะมีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นอีก 2,536 ล้านคน จากปี 2567-2583 สำหรับประเทศไทย
โดยจะมีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นอีก 2,536 ล้านคน จากปี 2567-2583 สำหรับประเทศไทย
จากสถิติผู้โดยสารที่ใช้บริการสนามบินในประเทศทั้งหมด ในปี 2566 จะอยู่ที่ 74% ของปี 2562
โดยการเดินทางภายในประเทศอยู่ที่ 80% และการเดินทางระหว่างประเทศอยู่ที่ 68% ของปี 2562
โดยการเดินทางภายในประเทศอยู่ที่ 80% และการเดินทางระหว่างประเทศอยู่ที่ 68% ของปี 2562
โดยมีปัจจัยที่สำคัญซึ่งเป็นแรงผลักดันจากภาครัฐบาล เช่น การยกเว้นวีซ่าให้กับบางสัญชาติ การส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง การท่องเที่ยวเชิงกิจกรรมเพื่อกระตุ้นและดึงนักท่องเที่ยวเข้ามาเพิ่มในไทย เป็นต้น
เป้าหมายการดำเนินงานของ Bangkok Airways ในปี 2567 ได้แก่
ตั้งเป้ารายได้ผู้โดยสาร (Passenger Revenue) 17,800 ล้านบาทคาดว่าจะมีจำนวนผู้โดยสาร 4.5 ล้านคนปรับราคาบัตรโดยสารเฉลี่ยต่อเที่ยวบิน ประมาณ 3,900 บาทต่อที่นั่งคาดการณ์จำนวนเที่ยวบิน 48,000 เที่ยวบินอัตราบรรทุกผู้โดยสาร (% Load Factor) เฉลี่ยเท่ากับ 85%
ทั้งนี้ มีแนวโน้มการสำรองที่นั่งล่วงหน้าในปี 2567 พบว่า เติบโตขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2566 ประมาณ 14% โดยมีสัดส่วนตามกลุ่มเส้นทางได้แก่
กลุ่มเส้นทางสมุย 63%กลุ่มเส้นทางภายในประเทศ 28%กลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน CLMV 8%เส้นทางต่างประเทศ 1%
โดยมีการตั้งเป้ารายได้จากการท่องเที่ยวปี 2567 คาดการณ์อยู่ที่ 3.5 ล้านล้านบาท โดยแบ่งเป็น
การเดินทางภายในประเทศ 205 ล้านครั้ง ซึ่งคาดว่าจะสามารถทำรายได้มากถึง 1.2 ล้านล้านบาทการเดินทางระหว่างประเทศ 35 ล้านคน ซึ่งคาดว่าจะสามารถทำรายได้มากถึง 2.3 ล้านล้านบาท
โดย Top 5 สัญชาติที่เข้ามาในไทย (ข้อมูล ณ เดือน ม.ค. 2567) ได้แก่
จีนมาเลเซีย (ส่วนใหญ่แล้วเข้ามาทางภาคใต้ )เกาหลีใต้รัสเซียอินเดีย
ปัจจุบันบริษัทมีสายการบินพันธมิตร (Codeshare Partners) รวมทั้งสิ้นจำนวน 28 สายการบิน และมีสายการบินข้อตกลงร่วม (Interline Partners) กว่า 70 สายการบิน
สำหรับปีนี้ บริษัทมีแผนเพิ่มสายการบินอีกประมาณ 2 สายการบิน เพื่อส่งเสริมศักยภาพเครือข่ายเส้นทางบิน และอำนวยความสะดวกให้กับผู้โดยสาร รวมทั้งรองรับอุปสงค์การเดินทางระหว่างประเทศ
พร้อมกันนี้ยังให้ความสำคัญต่อการดำเนินกลยุทธ์ ด้านการบริหารจัดการฝูงบินอย่างมีประสิทธิภาพ
โดยสำหรับปี 2567 นี้ บริษัทฯ คาดการณ์ว่าจะมีจำนวนเครื่องบินรวมทั้งสิ้น 25 ลำในฝูงบิน
โดยสำหรับปี 2567 นี้ บริษัทฯ คาดการณ์ว่าจะมีจำนวนเครื่องบินรวมทั้งสิ้น 25 ลำในฝูงบิน
นอกจากนี้บริษัทยังเห็นโอกาสทางธุรกิจที่สำคัญ สำหรับปี 2567 นี้ คือการดำเนินงานของธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสนามบิน ที่มีแนวโน้มการเติบโตเพิ่มสูงขึ้น ตามจำนวนเที่ยวบินที่เข้ามายังสนามบินสุวรรณภูมิ ได้แก่
บริษัท ครัวการบินกรุงเทพ จำกัด (Bangkok Air Catering: BAC) โดยจากปี 2566 มีจำนวนลูกค้าสายการบิน 23 ราย มีรายได้ในระดับ 81% ของปี 2562 จากช่วงก่อนโควิด 19บริษัท บริการภาคพื้นการบินกรุงเทพเวิลด์ไวด์ไฟลท์เซอร์วิส จำกัด (BFS Ground) มีจำนวนลูกค้าสายการบินทั้งหมด 90 ราย และมีรายได้อยู่ในระดับ 93% จากปี 2562บริษัท ดับบลิวเอฟเอสพีจีคาร์โก้ จำกัด (BFS Cargo) มีลูกค้าสายการบิน รวม 86 สายการบิน
กลยุทธ์การตลาดของ Bangkok Airways
ปรับโฉมเว็บไซต์การจำหน่ายบัตรโดยสารของ Bangkok Airways เพื่อรองรับการหาข้อมูลและการสำรองที่นั่งผ่านอุปกรณ์มือถือ โดยจะเริ่มเปิดใช้งานช่วงกลางปี 2567เพิ่มช่องทางการขาย ในปี 2567 นี้ Bangkok Airways วางสัดส่วนของช่องทางการขาย เป็นทางเว็บไซต์ 30% และช่องทางอื่น ๆ 70% (BSP Agent, Online Travel Agent, Call Center และอื่น ๆ)
ซึ่งจะมาจากต่างประเทศ 57% โดยวางแผนขยายการขายเชิงรุกสำหรับตลาดต่างประเทศ โดยการขยาย GSA หรือ ตัวแทนขายของสายการบิน Bangkok Airways ในต่างประเทศ
เพื่อครอบคลุมโอกาสการขายไปยังกลุ่มตลาดใหม่ เช่น เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ในประเทศซาอุดีอาระเบีย ลาตินอเมริกา และตุรกี โดยปัจจุบันมี GSA รวมทั้งสิ้น 26 สำนักงานทั่วโลก
ด้านโปรโมชัน เช่น โปรโมชันพิเศษเฉพาะช่วงเทศกาล โปรโมชันดับเบิลเดต บัตรโดยสารราคาพิเศษ เพื่อตอบรับกระแสการท่องเที่ยวในช่วงเวลาต่าง ๆ
เป้าหมายด้าน ESG
แคมเปญด้านสิ่งแวดล้อม “Low Carbon Skies by Bangkok Airways” เช่น โครงการใช้น้ำมันอากาศยานอย่างมีประสิทธิภาพ การประเมินคาร์บอนฟุตพรินต์ขององค์กร การจัดการของเสียและเพิ่มมูลค่า (from “Waste” to “Value”) การส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และพลังงานทางเลือกด้านสังคมและธรรมาภิบาล เช่น การส่งเสริมวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยทั่วทั้งองค์กร การมีส่วนร่วมพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน การดำเนินธุรกิจอย่างมีธรรมาภิบาล การส่งมอบผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพ การบริหารประสบการณ์ลูกค้า
Tag:Bangkok Airways