รู้จัก นิคมอุตสาหกรรม ปิ่นทอง ที่กำลังเนื้อหอมมาก ในตอนนี้
20 มี.ค. 2024
รู้จัก นิคมอุตสาหกรรม ปิ่นทอง ที่กำลังเนื้อหอมมาก ในตอนนี้ | BrandCase
ในไทยมีบริษัทเจ้าของนิคมอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ อยู่หลายราย
ถ้าชื่อที่ได้ยินกันบ่อย ๆ ก็น่าจะเป็น บมจ.ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น (WHA) หรือ บมจ.อมตะ คอร์ปอเรชัน (AMATA)
ถ้าชื่อที่ได้ยินกันบ่อย ๆ ก็น่าจะเป็น บมจ.ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น (WHA) หรือ บมจ.อมตะ คอร์ปอเรชัน (AMATA)
และตอนนี้ก็มีอีกบริษัทในตลาดหุ้นไทย ซึ่งเป็นบริษัทผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมอีกเจ้า ที่กำลังเนื้อหอม
คือ บมจ.ปิ่นทอง อินดัสเตรียล ปาร์ค หรือ PIN
คือ บมจ.ปิ่นทอง อินดัสเตรียล ปาร์ค หรือ PIN
แล้วที่นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง มีอะไรน่าสนใจ
ทำไมตอนนี้ถึงกำลังเนื้อหอมมาก ?
BrandCase สรุปให้ แบบเข้าใจง่าย ๆ
ทำไมตอนนี้ถึงกำลังเนื้อหอมมาก ?
BrandCase สรุปให้ แบบเข้าใจง่าย ๆ
บมจ.ปิ่นทอง อินดัสเตรียล ปาร์ค หรือ PIN ก่อตั้งขึ้นในปี 2538
ปัจจุบัน นิคมอุตสาหกรรมที่บริษัทบริหารอยู่ มีทั้งหมด 7 แห่ง คือ
นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง 1-6โครงการ Logistics Park ชื่อว่า ปิ่นทองแลนด์
แล้วนิคมอุตสาหกรรมของเครือปิ่นทอง อยู่ตรงไหน ?
นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง 1-6 รวมถึงโครงการ Logistics Park ชื่อว่า ปิ่นทองแลนด์ ตั้งอยู่ในจังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง
ซึ่ง 2 จังหวัดนี้ เป็นพื้นที่สำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย ทั้งยังตั้งอยู่ในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี
ซึ่งพื้นที่ตั้งของนิคมฯ ก็อยู่ไม่ไกลจากระบบโครงสร้างคมนาคมสำคัญ อย่างเช่น สนามบินสุวรรณภูมิ และท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง
แล้วในเครือนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง มีแบรนด์ไหนไปตั้งโรงงานหรือเป็นลูกค้าของนิคมฯ บ้าง ?
ถ้าแบ่งสัดส่วนบริษัทลูกค้าตามสัญชาติ
บริษัทสัญชาติญี่ปุ่น 65%บริษัทสัญชาติไทย 12%บริษัทสัญชาติจีน 8%อื่น ๆ 15%
ถ้าแบ่งสัดส่วนลูกค้า ตามประเภทอุตสาหกรรม
ชิ้นส่วนยานยนต์ 25%เหล็กและโลหะ 17%อิเล็กทรอนิกส์ 9%พลาสติก 9%เครื่องจักรอุตสาหกรรมและครัวเรือน 8%โลจิสติกส์ 6%อาหาร 2%อื่น ๆ 24%
โดยตัวอย่างลูกค้า ที่เป็นบริษัทดัง ๆ ก็อย่างเช่น
CPRAM ผู้ผลิตและจำหน่าย อาหารพร้อมทาน ของเครือซีพีBrand’s ซุปไก่สกัดNippon Steel บริษัทเหล็กสัญชาติญี่ปุ่นสยามคูโบต้าMidea Group ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าสัญชาติจีนThai Nippon Rubber เจ้าของถุงยาง ONETOUCH
โดย ณ สิ้นปี 2566 โครงสร้างรายได้ของบริษัท ประกอบไปด้วย 4 ส่วนหลักคือ
การขายที่ดินในนิคมอุตสาหกรรม สัดส่วน 86.8%การให้บริการพื้นที่ส่วนกลางและระบบสาธารณูปโภค สัดส่วน 5.9%
เช่น ขายน้ำประปาและน้ำดิบ บริการกระแสไฟฟ้า บริการระบบบำบัดน้ำเสีย บริการควบคุมงานก่อสร้างการให้เช่าอาคารโรงงาน/คลังสินค้า สัดส่วน 2.2%รายได้อื่น สัดส่วน 5.1%
เช่น บริหารสินทรัพย์กองทุนอสังหาริมทรัพย์ กำไรจากการขายอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการลงทุนและเงินปันผล
เช่น ขายน้ำประปาและน้ำดิบ บริการกระแสไฟฟ้า บริการระบบบำบัดน้ำเสีย บริการควบคุมงานก่อสร้างการให้เช่าอาคารโรงงาน/คลังสินค้า สัดส่วน 2.2%รายได้อื่น สัดส่วน 5.1%
เช่น บริหารสินทรัพย์กองทุนอสังหาริมทรัพย์ กำไรจากการขายอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการลงทุนและเงินปันผล
ผลประกอบการของ บมจ.ปิ่นทอง อินดัสเตรียล ปาร์ค
ปี 2564 รายได้ 591 ล้านบาท 144 กำไร ล้านบาท
ปี 2565 รายได้ 1,147 ล้านบาท กำไร 325 ล้านบาท
ปี 2566 รายได้ 3,030 ล้านบาท กำไร 1,355 ล้านบาท
ปี 2564 รายได้ 591 ล้านบาท 144 กำไร ล้านบาท
ปี 2565 รายได้ 1,147 ล้านบาท กำไร 325 ล้านบาท
ปี 2566 รายได้ 3,030 ล้านบาท กำไร 1,355 ล้านบาท
จะเห็นว่าผลประกอบการปีที่ผ่านมา บริษัทมีรายได้และกำไรเพิ่มขึ้นเยอะมาก
ซึ่งสาเหตุสำคัญบริษัทบอกว่า
บริษัทมียอดขายโอนที่ดิน เติบโตอย่างมีนัยสำคัญ จากกลุ่มลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยเฉพาะนักลงทุนจีน
ซึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากการย้ายฐานการผลิต จากความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ระหว่างประเทศจีนกับสหรัฐอเมริกา
และแนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า..
และแนวโน้มการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า..
ก็เลยทำให้ บมจ.ปิ่นทอง อินดัสเตรียล ปาร์ค เจ้าของนิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง
กลายเป็นหนึ่งบริษัทที่กำลังเนื้อหอม ในตอนนี้ไปเลย..
กลายเป็นหนึ่งบริษัทที่กำลังเนื้อหอม ในตอนนี้ไปเลย..
References
-https://www.pinthongindustrial.com/about-pinthong/
-แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี/รายงานประจำปี 2565, บมจ.ปิ่นทอง อินดัสเตรียล ปาร์ค
-คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ประจำปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. 2566 บมจ.ปิ่นทอง อินดัสเตรียล ปาร์ค
-https://www.pinthongindustrial.com/about-pinthong/
-แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี/รายงานประจำปี 2565, บมจ.ปิ่นทอง อินดัสเตรียล ปาร์ค
-คำอธิบายและวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ ประจำปี สิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. 2566 บมจ.ปิ่นทอง อินดัสเตรียล ปาร์ค