เจ้าสัวธนินท์ ทำอย่างไร ให้ได้ 7-Eleven มาเปิดในไทย
1 ก.ย. 2022
เจ้าสัวธนินท์ ทำอย่างไร ให้ได้ 7-Eleven มาเปิดในไทย | BrandCase
รู้หรือไม่ ประเทศไทย เกือบจะไม่มี 7-Eleven
เพราะเจ้าของแบรนด์ในสหรัฐอเมริกา บอกว่า GDP ต่อหัวของคนไทย ยังน้อยเกินไป ถ้าเอา 7-Eleven ไปเปิด ก็เตรียมตัวขาดทุนได้เลย
เพราะเจ้าของแบรนด์ในสหรัฐอเมริกา บอกว่า GDP ต่อหัวของคนไทย ยังน้อยเกินไป ถ้าเอา 7-Eleven ไปเปิด ก็เตรียมตัวขาดทุนได้เลย
แต่สุดท้าย คุณธนินท์ เจียรวนนท์ ก็สามารถเจรจา จนนำ 7-Eleven มาเปิดในไทยได้สำเร็จ
โดยเปิดสาขาแรกในปี 2531 ที่บริเวณพัฒน์พงศ์
และปัจจุบัน 7-Eleven กลายเป็นเชนร้านสะดวกซื้อ ที่ใหญ่สุดในไทย ทำกำไรต่อปีได้มหาศาล
โดยเปิดสาขาแรกในปี 2531 ที่บริเวณพัฒน์พงศ์
และปัจจุบัน 7-Eleven กลายเป็นเชนร้านสะดวกซื้อ ที่ใหญ่สุดในไทย ทำกำไรต่อปีได้มหาศาล
แล้วเรื่องราวตอนนั้นเป็นอย่างไร
เจ้าสัวธนินท์ ไปเจรจาอย่างไร ให้ได้ลิขสิทธิ์ร้าน 7-Eleven มาเปิดในไทย ?
BrandCase จะสรุปเรื่องนี้ให้ฟัง แบบเข้าใจง่าย ๆ
เจ้าสัวธนินท์ ไปเจรจาอย่างไร ให้ได้ลิขสิทธิ์ร้าน 7-Eleven มาเปิดในไทย ?
BrandCase จะสรุปเรื่องนี้ให้ฟัง แบบเข้าใจง่าย ๆ
เรื่องนี้เขียนไว้ในหนังสือเรื่อง ความสำเร็จ ดีใจได้วันเดียว
ที่คุณธนินท์ เป็นคนเขียนเอง
ที่คุณธนินท์ เป็นคนเขียนเอง
คุณธนินท์เล่าว่า ได้ไปเห็นโมเดลร้านสะดวกซื้อ 7-Eleven ในสหรัฐอเมริกาแล้วชอบ ทำให้อยากที่จะนำเข้ามาเปิดที่ไทย
อย่างไรก็ตาม พอได้คุยกับทางบริษัทแม่ คือเซาท์แลนด์ คอร์ปอเรชั่น พวกเขาได้กล่าวปฏิเสธคุณธนินท์ โดยให้เหตุผลสำคัญคือ GDP ต่อหัวของไทย ยังต่ำมาก
แต่คุณธนินท์ก็ยังไม่ยอมแพ้ โดยเขาได้เชิญสองพี่น้องผู้ก่อตั้งร้าน 7-Eleven มายังประเทศไทย
ซึ่งทริปนั้น ก็สร้างความประทับใจให้คนทั้งสองเป็นอย่างมาก
ซึ่งทริปนั้น ก็สร้างความประทับใจให้คนทั้งสองเป็นอย่างมาก
อย่างไรก็ตาม ทั้งสองพี่น้องก็ยังยืนยันคำเดิมว่า
เขาต้องการเตือนคุณธนินท์ด้วยความหวังดีว่า GDP ต่อหัวของไทยยังต่ำเกินไป หากเอา 7-Eleven มาเปิด ก็จะมีแต่ขาดทุน
แต่ถ้าคุณธนินท์ ยังยืนยันที่จะเปิด พวกเขาก็จะยินยอมและไม่เปลี่ยนแปลงอะไรอีก
เขาต้องการเตือนคุณธนินท์ด้วยความหวังดีว่า GDP ต่อหัวของไทยยังต่ำเกินไป หากเอา 7-Eleven มาเปิด ก็จะมีแต่ขาดทุน
แต่ถ้าคุณธนินท์ ยังยืนยันที่จะเปิด พวกเขาก็จะยินยอมและไม่เปลี่ยนแปลงอะไรอีก
ถ้าลองดู GDP เฉลี่ยต่อหัวของไทย กับ สหรัฐอเมริกา ในปี 2531
สหรัฐอเมริกา 786,229 บาท ต่อหัว ต่อปี
ไทย 41,226 บาท ต่อหัว ต่อปี
สหรัฐอเมริกา 786,229 บาท ต่อหัว ต่อปี
ไทย 41,226 บาท ต่อหัว ต่อปี
แต่คุณธนินท์ ก็ยังยืนยันคำเดิมเหมือนกัน ว่าจะเอา 7-Eleven มาเปิดในไทยให้ได้
แล้วอะไรที่ทำให้คุณธนินท์เชื่อมั่นว่า 7-Eleven จะประสบความสำเร็จในไทย
- ประการแรก คือ ความพร้อมด้านอื่นที่ไม่ใช่แค่ รายได้ต่อหัวของประชากร
ทั้งสองพี่น้องมองว่า GDP ต่อหัวของไทยนั้นยังต่ำเกินไป ซึ่งคุณธนินท์มองว่า ถึงแม้ว่าประเทศที่ประสบความสำเร็จอย่างสหรัฐอเมริกา จะมีตัวเลข GDP ต่อหัวของประชากรที่สูง
แต่สหรัฐอเมริกา ไม่ได้มีประชากรหนาแน่นในบางพื้นที่ เหมือนกับประเทศไทย
แต่สหรัฐอเมริกา ไม่ได้มีประชากรหนาแน่นในบางพื้นที่ เหมือนกับประเทศไทย
ประเทศไทยโดยเฉพาะในส่วนที่เจริญแล้ว จะมีประชากรหนาแน่นค่อนข้างมาก
และถึงแม้ว่า GDP ต่อหัวของไทยจะไม่ได้สูงเท่ากับสหรัฐอเมริกา แต่โอกาสที่คนจะเข้ามาใช้บริการนั้นกลับมีมากกว่า
และถึงแม้ว่า GDP ต่อหัวของไทยจะไม่ได้สูงเท่ากับสหรัฐอเมริกา แต่โอกาสที่คนจะเข้ามาใช้บริการนั้นกลับมีมากกว่า
คุณธนินท์เล่าว่า ได้ลงทุนไปนับคนด้วยตัวเองที่เขตพระโขนง
ว่าจะมีคนเดินผ่านหน้าร้านกี่คน ซึ่งก็ได้ผลสรุปออกมาว่า แม้รายได้ต่อหัวของเราจะต่ำกว่าเขาจริง แต่ถ้าเทียบเป็นสัดส่วนคนที่เดินเข้าร้าน
ว่าจะมีคนเดินผ่านหน้าร้านกี่คน ซึ่งก็ได้ผลสรุปออกมาว่า แม้รายได้ต่อหัวของเราจะต่ำกว่าเขาจริง แต่ถ้าเทียบเป็นสัดส่วนคนที่เดินเข้าร้าน
ในสหรัฐอเมริกามีคนเดินเข้าร้าน 1 คน ในไทยจะมีคนเดินเข้าร้าน 10 คน
ดังนั้นเมื่อรวมรายได้แล้ว ถึงแม้ว่ายอดซื้อต่อคนอาจจะไม่มากเท่าที่สหรัฐอเมริกา แต่ด้วยปริมาณคนที่เข้าร้านมากกว่า ทำให้ยอดขายที่ออกมาไม่แพ้กันเลย
นอกจากนี้ยังมีเรื่องของต้นทุนต่าง ๆ ที่ถูกกว่าสหรัฐอเมริกาด้วย ไม่ว่าจะเป็นมูลค่าที่ดิน หรือค่าแรง ที่ถูกกว่าหลายเท่า ทำให้มีโอกาสในการขยับขยาย และทำกำไรได้ดีกว่า
- ประการที่สอง คือ ความใหม่
ในสมัยก่อนที่จะมี 7-Eleven นั้น คนส่วนใหญ่ก็จะซื้อของจากร้านค้าปลีก แบบโชห่วย
ซึ่งอาจจะไม่ได้มีสินค้าครบทุกอย่าง หรืออยู่ในตึกสำนักงานใกล้ ๆ
ซึ่งอาจจะไม่ได้มีสินค้าครบทุกอย่าง หรืออยู่ในตึกสำนักงานใกล้ ๆ
ดังนั้น นี่จึงเป็นโอกาสของ 7-Eleven ที่จะไปเจาะกลุ่มลูกค้า ที่มีรายได้ที่สูงขึ้น และต้องการหาความสะดวกสบาย เพราะตัวร้าน 7-Eleven เองก็ไม่ได้ขายในราคาที่ถูกกว่าร้านโชห่วยทั่ว ๆ ไป
โดยคุณธนินท์กล่าวว่า เมื่อคนมีรายได้สูง พวกเขาจะไม่ได้ดูแค่เรื่องราคาเท่านั้น แต่พวกเขายังมองเรื่องความสะดวกสบายอีกด้วย
และสุดท้ายคุณธนินท์ก็เริ่มต้นเซ็นสัญญากับเซาท์แลนด์ คอร์ปอเรชั่น เจ้าของ 7-Eleven ในปี 2531 และเปิดสาขาแรกที่บริเวณพัฒน์พงศ์
จนปัจจุบัน 7-Eleven ในไทย มีทั้งหมด 13,433 สาขา มียอดขายเฉลี่ยต่อสาขาต่อวันราว 77,000 บาท
และสร้างรายได้ มากกว่า 300,000 ล้านบาท ในแต่ละปี..
และสร้างรายได้ มากกว่า 300,000 ล้านบาท ในแต่ละปี..
References
-หนังสือ ความสำเร็จ ดีใจได้วันเดียว โดย ธนินท์ เจียรวนนท์
-https://www.settrade.com/th/equities/quote/CPALL/overview
-หนังสือ ความสำเร็จ ดีใจได้วันเดียว โดย ธนินท์ เจียรวนนท์
-https://www.settrade.com/th/equities/quote/CPALL/overview