สรุปกลยุทธ์ SC Asset ทำอย่างไร ถึงได้รับสินเชื่อเพื่อความยั่งยืน เป็นครั้งแรกจาก LH Bank
22 พ.ย. 2024
SC Asset x BrandCase
การที่บริษัทหนึ่งนั้นจะได้รับสินเชื่อเพื่อความยั่งยืนหรือที่เรียกว่า Sustainability-Linked Loan แต่ละครั้งนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะต้องเข้าเกณฑ์หลายอย่างที่ธนาคารต่าง ๆ กำหนดเอาไว้
แต่ตอนนี้ มีบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์อย่าง SC Asset เป็นหนึ่งในบริษัทที่ได้รับความเชื่อมั่นจากธนาคาร จนได้รับสินเชื่อเพื่อความยั่งยืน
แล้ว SC Asset ทำอย่างไร ถึงสร้างความเชื่อมั่น จนได้รับสินเชื่อนี้มาได้ ?
โดยปกติแล้ว การที่แต่ละบริษัทจะได้รับสินเชื่อประเภทนี้มา เกณฑ์หลัก ๆ ที่ทางธนาคารจะพิจารณาคือ เรื่องของการนำสินเชื่อเหล่านั้นไปใช้พัฒนางานด้าน ESG ต่าง ๆ โดยทางบริษัทเองต้องระบุเป้าหมายให้ชัดเจน เช่น ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ลดลง, ปริมาณการใช้วัตถุดิบจากแหล่งที่ได้มาตรฐานความยั่งยืน
อย่างกรณีนี้ ทาง SC Asset ตั้งเป้าว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการเลือกซื้อวัสดุก่อสร้างที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Product) เพิ่มขึ้นทุกปี ปีละ 5%
ซึ่งคาดว่าจะสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ได้มากกว่า 35,000 ตันคาร์บอนฯ ตลอดระยะเวลาของสินเชื่อ
นอกจากนี้ SC Asset เลือกออกแบบ โดยใช้หลักการ Customer-Centric ที่เข้าใจไลฟ์สไตล์ของผู้พักอาศัยกับพื้นที่ใช้สอย เพื่อออกแบบบ้านให้ลดการใช้พลังงานอย่างต่อเนื่องตลอดอายุบ้านในระยะยาว
ทีนี้ต้องบอกว่า ลักษณะของการสนับสนุนทางการเงิน
อย่างยั่งยืนของธนาคารนั้นจะมีหลายรูปแบบ ทั้งตราสารหนี้สีเขียว (Green Bond), สินเชื่อเพื่อความยั่งยืนสำหรับโครงการขนาดใหญ่ (Project Finance)
อย่างยั่งยืนของธนาคารนั้นจะมีหลายรูปแบบ ทั้งตราสารหนี้สีเขียว (Green Bond), สินเชื่อเพื่อความยั่งยืนสำหรับโครงการขนาดใหญ่ (Project Finance)
หรือจะเป็นแบบสินเชื่อเพื่อความยั่งยืน (Sustainability-Linked Loan)
ซึ่งสินเชื่อประเภทนี้จะเป็นสินเชื่อที่ทางธนาคารไว้ใจในการปล่อยกู้ให้ไปพัฒนาโครงการใดก็ได้ตามความเหมาะสม หรือพูดง่าย ๆ ว่านำไปพัฒนาโครงการไหนก็ได้
โดยการที่จะได้มาซึ่งสินเชื่อประเภทนี้ก็จะต้องพิจารณาที่มาตรฐานด้าน ESG ของบริษัทมากพอสมควร
และหนึ่งในเกณฑ์สำคัญที่จะได้รับ Sustainability-Linked Loan นั้น ก็คือการที่บริษัทต้องถูกจัดอันดับให้อยู่ในกลุ่มบริษัทที่มีความยั่งยืน ตามเกณฑ์ ESG Ratings ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
อย่าง SC Asset เองก็ถูกจัดอยู่ในระดับ AA
โดยตัวอย่างเกณฑ์ที่ถูกนำมาพิจารณาในการจัดอันดับก็เช่น
โดยตัวอย่างเกณฑ์ที่ถูกนำมาพิจารณาในการจัดอันดับก็เช่น
- ต้องมีผลคะแนน จากการประเมินความยั่งยืนอย่างน้อย 50% ในแต่ละมิติ
- มีผลการประเมินคุณภาพรายงานด้านบรรษัทภิบาล (CGR) ระดับ 3 ดาว ขึ้นไป
- ไม่เป็นบริษัทที่ถูกกล่าวโทษ หรือได้รับการตัดสินความผิดจากหน่วยงานทางการ
- มีผลกำไรสุทธิ 3 ใน 5 ปีย้อนหลัง
โดยในปี 2566 มีทั้งหมด 193 บริษัทเท่านั้น ที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน SET ESG Ratings จากบริษัทจดทะเบียนทั้งหมด 262 บริษัท ที่เข้าร่วมประเมิน
- มีผลการประเมินคุณภาพรายงานด้านบรรษัทภิบาล (CGR) ระดับ 3 ดาว ขึ้นไป
- ไม่เป็นบริษัทที่ถูกกล่าวโทษ หรือได้รับการตัดสินความผิดจากหน่วยงานทางการ
- มีผลกำไรสุทธิ 3 ใน 5 ปีย้อนหลัง
โดยในปี 2566 มีทั้งหมด 193 บริษัทเท่านั้น ที่ผ่านเกณฑ์การประเมิน SET ESG Ratings จากบริษัทจดทะเบียนทั้งหมด 262 บริษัท ที่เข้าร่วมประเมิน
และในทั้งหมดนั้นมีเพียง 70 บริษัท ที่อยู่ในระดับ AA
ซึ่งระดับ AA นั้นจะได้คะแนนอยู่ในช่วง 80-89 จาก 100 คะแนนเต็ม
แล้วที่ผ่านมา SC Asset ทำอะไรบ้าง ถึงมาถึงจุดนี้ได้ ?
หนึ่งในภารกิจสำคัญที่แสดงให้เห็นถึง การพัฒนาธุรกิจแบบยั่งยืนของ SC Asset ก็คือ โครงการที่ชื่อว่า SCero Mission อ่านว่า ซีโร่ มิชชั่น
โดย SCero Mission เป็น ชื่อภารกิจที่ SC Asset ใช้ในการทำงานเพื่อมุ่งสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามเป้าหมายของประเทศไทย
โดยบริษัทตั้งเป้าหมายที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตลอดกระบวนการธุรกิจลง 25% ภายในปี 2030
ด้วยกรอบการทำงาน 4 หลักสำคัญ ได้แก่
ด้วยกรอบการทำงาน 4 หลักสำคัญ ได้แก่
1. การออกแบบและเลือกใช้วัสดุสีเขียว
โดยทาง SC Asset มองว่า Developer มีส่วนสำคัญในการเลือกออกแบบที่พักอาศัยแบบยั่งยืน ซึ่งจะส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตของลูกบ้านในระยะยาวด้วย
2. การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
โดยเฉพาะการใช้ไฟฟ้า ที่จะต้องเกิดประโยชน์สูงสุด และลดการใช้ด้วยผลิตภัณฑ์ที่คิดมาแล้วว่าเหมาะกับไลฟ์สไตล์ในแต่ละช่วงเวลา ซึ่งมีผลต่อการใช้ไฟฟ้า
3. การนำพลังงานทดแทนมาใช้ในผลิตภัณฑ์
ที่ SC Asset พัฒนาผลิตภัณฑ์ด้วยนวัตกรรมที่เหมาะสม เพื่อให้รองรับการปรับเปลี่ยนสู่การใช้พลังงานทดแทนในทุกผลิตภัณฑ์
4. การจัดการขยะ
จะต้องมีการบริหารจัดการขยะที่เหมาะสมตั้งแต่กระบวนการก่อสร้าง ทั้งกับพาร์ตเนอร์ คู่ค้าและผู้รับเหมา รวมไปถึงการสร้าง Community ที่มีการบริหารจัดการขยะในโครงการตั้งแต่การออกแบบและส่งมอบแก่ลูกบ้าน เพื่อลดผลกระทบจากขยะครัวเรือนในระยะยาว
ทั้งนี้ เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากผลกระทบสำคัญที่ Developer สามารถสร้างคุณค่าได้ตั้งแต่กระบวนการก่อสร้าง การใช้ และการทิ้ง ของห่วงโซ่คุณค่าของ SC Asset
ซึ่งทั้งหมดนี้ก็ทำให้ SC Asset สามารถพิสูจน์แล้วว่าเป็น บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เพื่อความยั่งยืนอย่างแท้จริงนั่นเอง..
#SCAsset #SCeroMission #SCยั่งยืน