รู้จัก “Contactless Crime” โจรกรรมไร้สัมผัส ที่คนมีบัตรเครดิต ต้องระวัง
9 พ.ย. 2021
รู้จัก “Contactless Crime” โจรกรรมไร้สัมผัส ที่คนมีบัตรเครดิต ต้องระวัง | THE BRIEFCASE
รู้ไหมว่า หนึ่งในวิธีที่อาชญากรใช้ในการขโมยข้อมูลบัตรเครดิตของเรา
คือ การใช้เครื่องสแกนข้อมูลบัตรเครดิตของเราเวลาเราเผลอ
เช่น ระหว่างที่เรากำลังเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะ
ที่ต้องเบียดเสียดหรือต้องอยู่ใกล้ชิดกับคนอื่น อย่างเช่น รถไฟฟ้าใต้ดิน หรือรถเมล์
การที่มีพื้นที่หรือระยะห่างระหว่างกันน้อย ๆ
เป็นโอกาสให้ผู้ก่ออาชญากรรมใช้เครื่องสแกน เพื่ออ่านข้อมูลของเราได้
ซึ่งการโจรกรรมรูปแบบนี้จะเรียกว่า “Contactless Crime”
เราจะสังเกตได้ว่าแทบจะทุกรุ่นของบัตรเครดิตหรือเดบิตทุกวันนี้
จะมีสัญลักษณ์ 3 ขีดคล้าย ๆ สัญลักษณ์คลื่นสัญญาณ WiFi อยู่ ซึ่งสัญลักษณ์อันนี้หมายความว่าบัตรของเรานั้นสามารถใช้การจ่ายเงินแบบ Contactless ได้
แล้ว Contactless ในบัตรเครดิตหรือเดบิต คืออะไร ?
Contactless คือบริการจ่ายเงินแบบไร้สัมผัส
โดยใช้หลักการทำงานของเทคโนโลยี NFC (Near Field Communication) ที่มีระยะส่งหรือรับข้อมูลในระยะ 4-10 เซนติเมตร
แต่ว่า บริการจ่ายเงินแบบนี้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากในเมืองไทย
เพราะว่าคนไทยส่วนมากนิยมการจ่ายเงินผ่าน QR Code กันมากกว่า
ซึ่งจะแตกต่างจากพฤติกรรมการซื้อของประชากรในทวีปยุโรป โดยเฉพาะในสหราชอาณาจักร
ที่มีการจ่ายเงินผ่าน Contactless Payment มากกว่า 855 ล้านครั้ง ในปี 2021
แล้วทำไมการชำระเงินแบบ Contactless ถึงได้รับความนิยมในประเทศเหล่านั้น ?
ก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักเทคโนโลยีเบื้องหลังของ NFC กันก่อน
NFC คือเทคโนโลยีที่ต่อยอดมาจากการสื่อสารแบบ RFID หรือ Radio Frequency Identification
ซึ่ง RFID คือ เทคโนโลยีที่ใช้คลื่นวิทยุในการสแกน
อธิบายแบบให้เห็นคอนเซปต์หลัก ๆ ก็คือ เป็นการประยุกต์มาจากการสแกนบาร์โคด โดยอาศัยไมโครชิปที่ทนทานและขนาดเล็ก เป็นตัวเก็บข้อมูลของบัตรนั้น ๆ เอาไว้
ความแตกต่างระหว่าง RFID และ NFC คือระยะทางการอ่านข้อมูล
RFID จะสามารถอ่านข้อมูลได้ไกลกว่า จึงมักจะถูกเอาไปใช้สำหรับการติดตามสัมภาระ
ส่วน NFC ที่มีระยะในการอ่านข้อมูลที่ใกล้กว่า จึงถูกเอาไปใช้ในการอ่านข้อมูลบัตรเครดิต
ซึ่งแน่นอนว่าเทคโนโลยี NFC มันก็นำมาซึ่งความสะดวกสบายในการใช้จ่าย
นึกภาพง่าย ๆ ก็เช่น การแตะบัตรใช้บริการรถไฟฟ้าในบ้านเรา
แต่ว่า.. ความสะดวกสบายในการจ่ายเงิน ก็แลกมาด้วย ความปลอดภัยที่น้อยลง
แล้วเราจะมีวิธีป้องกัน ไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ อย่างไรได้บ้าง ?
หนึ่งในวิธีที่จะป้องกันบัตรเครดิตของเราจากการถูกโจรกรรมข้อมูลคือการใช้กระเป๋าสตางค์ที่มีวัสดุที่ป้องกันการสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุ อย่างเช่น คาร์บอนไฟเบอร์ หรืออะลูมิเนียม
โดยกระเป๋าสตางค์ที่มีคุณสมบัตินี้จะมีสัญลักษณ์เขียนว่า RFID Blocking
อีกหนึ่งสิ่งที่ทุก ๆ คนที่มีบัตรเครดิตหรือเดบิต ควรทำอย่างสม่ำเสมอ
คือหมั่นตรวจสอบว่ามีรายการใช้จ่าย ข้อความ หรืออีเมลที่ผิดปกติเกี่ยวกับการใช้งานบัตรของเราหรือไม่
เพราะถ้าเกิดเราโดน Contactless Crime หรือโจรกรรมรูปแบบอื่น ๆ ขึ้นมา
เราก็จะรู้ตัวและหาวิธีจัดการในขั้นต่อไป ได้อย่างรวดเร็ว..
References
-https://nordvpn.com/blog/does-rfid-blocking-work/
-https://financebuzz.com/what-is-rfid-blocking
-http://www.lampangtc.ac.th/mnfile/branch5/file/knowledge/RFID.pdf
-https://www.statista.com/statistics/488054/number-of-contactless-cards-transactions-united-kingdom/
รู้ไหมว่า หนึ่งในวิธีที่อาชญากรใช้ในการขโมยข้อมูลบัตรเครดิตของเรา
คือ การใช้เครื่องสแกนข้อมูลบัตรเครดิตของเราเวลาเราเผลอ
เช่น ระหว่างที่เรากำลังเดินทางด้วยขนส่งสาธารณะ
ที่ต้องเบียดเสียดหรือต้องอยู่ใกล้ชิดกับคนอื่น อย่างเช่น รถไฟฟ้าใต้ดิน หรือรถเมล์
การที่มีพื้นที่หรือระยะห่างระหว่างกันน้อย ๆ
เป็นโอกาสให้ผู้ก่ออาชญากรรมใช้เครื่องสแกน เพื่ออ่านข้อมูลของเราได้
ซึ่งการโจรกรรมรูปแบบนี้จะเรียกว่า “Contactless Crime”
เราจะสังเกตได้ว่าแทบจะทุกรุ่นของบัตรเครดิตหรือเดบิตทุกวันนี้
จะมีสัญลักษณ์ 3 ขีดคล้าย ๆ สัญลักษณ์คลื่นสัญญาณ WiFi อยู่ ซึ่งสัญลักษณ์อันนี้หมายความว่าบัตรของเรานั้นสามารถใช้การจ่ายเงินแบบ Contactless ได้
แล้ว Contactless ในบัตรเครดิตหรือเดบิต คืออะไร ?
Contactless คือบริการจ่ายเงินแบบไร้สัมผัส
โดยใช้หลักการทำงานของเทคโนโลยี NFC (Near Field Communication) ที่มีระยะส่งหรือรับข้อมูลในระยะ 4-10 เซนติเมตร
แต่ว่า บริการจ่ายเงินแบบนี้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมมากในเมืองไทย
เพราะว่าคนไทยส่วนมากนิยมการจ่ายเงินผ่าน QR Code กันมากกว่า
ซึ่งจะแตกต่างจากพฤติกรรมการซื้อของประชากรในทวีปยุโรป โดยเฉพาะในสหราชอาณาจักร
ที่มีการจ่ายเงินผ่าน Contactless Payment มากกว่า 855 ล้านครั้ง ในปี 2021
แล้วทำไมการชำระเงินแบบ Contactless ถึงได้รับความนิยมในประเทศเหล่านั้น ?
ก่อนอื่นเราต้องมาทำความรู้จักเทคโนโลยีเบื้องหลังของ NFC กันก่อน
NFC คือเทคโนโลยีที่ต่อยอดมาจากการสื่อสารแบบ RFID หรือ Radio Frequency Identification
ซึ่ง RFID คือ เทคโนโลยีที่ใช้คลื่นวิทยุในการสแกน
อธิบายแบบให้เห็นคอนเซปต์หลัก ๆ ก็คือ เป็นการประยุกต์มาจากการสแกนบาร์โคด โดยอาศัยไมโครชิปที่ทนทานและขนาดเล็ก เป็นตัวเก็บข้อมูลของบัตรนั้น ๆ เอาไว้
ความแตกต่างระหว่าง RFID และ NFC คือระยะทางการอ่านข้อมูล
RFID จะสามารถอ่านข้อมูลได้ไกลกว่า จึงมักจะถูกเอาไปใช้สำหรับการติดตามสัมภาระ
ส่วน NFC ที่มีระยะในการอ่านข้อมูลที่ใกล้กว่า จึงถูกเอาไปใช้ในการอ่านข้อมูลบัตรเครดิต
ซึ่งแน่นอนว่าเทคโนโลยี NFC มันก็นำมาซึ่งความสะดวกสบายในการใช้จ่าย
นึกภาพง่าย ๆ ก็เช่น การแตะบัตรใช้บริการรถไฟฟ้าในบ้านเรา
แต่ว่า.. ความสะดวกสบายในการจ่ายเงิน ก็แลกมาด้วย ความปลอดภัยที่น้อยลง
แล้วเราจะมีวิธีป้องกัน ไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ อย่างไรได้บ้าง ?
หนึ่งในวิธีที่จะป้องกันบัตรเครดิตของเราจากการถูกโจรกรรมข้อมูลคือการใช้กระเป๋าสตางค์ที่มีวัสดุที่ป้องกันการสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุ อย่างเช่น คาร์บอนไฟเบอร์ หรืออะลูมิเนียม
โดยกระเป๋าสตางค์ที่มีคุณสมบัตินี้จะมีสัญลักษณ์เขียนว่า RFID Blocking
อีกหนึ่งสิ่งที่ทุก ๆ คนที่มีบัตรเครดิตหรือเดบิต ควรทำอย่างสม่ำเสมอ
คือหมั่นตรวจสอบว่ามีรายการใช้จ่าย ข้อความ หรืออีเมลที่ผิดปกติเกี่ยวกับการใช้งานบัตรของเราหรือไม่
เพราะถ้าเกิดเราโดน Contactless Crime หรือโจรกรรมรูปแบบอื่น ๆ ขึ้นมา
เราก็จะรู้ตัวและหาวิธีจัดการในขั้นต่อไป ได้อย่างรวดเร็ว..
References
-https://nordvpn.com/blog/does-rfid-blocking-work/
-https://financebuzz.com/what-is-rfid-blocking
-http://www.lampangtc.ac.th/mnfile/branch5/file/knowledge/RFID.pdf
-https://www.statista.com/statistics/488054/number-of-contactless-cards-transactions-united-kingdom/