รู้จัก หลัก 7C ที่บริษัทควรนึกถึง เวลาเลือกคนเข้าทำงาน
30 ส.ค. 2021
รู้จัก หลัก 7C ที่บริษัทควรนึกถึง เวลาเลือกคนเข้าทำงาน | THE BRIEFCASE
“ถ้าบริษัทมีพนักงานดีก็มีชัยไปแล้วกว่าครึ่ง”
ถือเป็นประโยคที่หลายคนน่าจะเคยผ่านหูกันมาบ้าง
ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่า พนักงานนั้นเปรียบเสมือนทรัพยากรที่สำคัญ จนสามารถนำมาใช้ตัดสินได้เลยว่า บริษัทนั้นจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวหรือไม่
แต่ละบริษัทก็จะมีวิธีในการคัดเลือกพนักงานที่แตกต่างกันออกไปตามแบบฉบับของตัวเอง และวันนี้ THE BRIEFCASE จะพาไปทำความรู้จักกับหลัก หรือเทคนิคในการเลือกคนเข้าทำงานที่ชื่อว่า “7C”
การคัดเลือกพนักงานด้วยการอาศัยเพียงแค่ความถูกใจ หรือชอบพอกันเพียงอย่างเดียว โดยไม่ได้คิดถึงปัจจัยด้านอื่น ๆ เลย อาจทำให้บริษัทนั้นได้พนักงานไม่ตรงตามที่ต้องการ
ทำให้สุดท้าย บริษัทอาจต้องเสียเวลาหาพนักงานใหม่ ซึ่งตามมาด้วยต้นทุนต่าง ๆ เช่น
- ค่าใช้จ่ายในการประกาศหรือมองหาคนเก่ง ๆ
- ต้องอาศัยเวลา ในการสัมภาษณ์คนจำนวนมาก
- ค่าใช้จ่ายฝึกอบรมพนักงานใหม่
บางบริษัทจึงนำหลัก 7C ในการเลือกคนเข้าทำงาน ซึ่งหลักดังกล่าวประกอบไปด้วย
1. มีทักษะ ความรู้ และประสบการณ์ (Competent)
แน่นอนว่า สิ่งแรกที่บริษัทจะพิจารณาใครสักคนเข้ามาทำงาน คือการดูว่าพนักงานคนดังกล่าว มีทักษะ ความรู้ และประสบการณ์ ที่จำเป็นเพื่อให้งานของบริษัทนั้น ประสบความสำเร็จลุล่วงตามที่ตั้งเป้าไว้หรือไม่
ซึ่งหากเป็นการพิจารณารับพนักงานที่ยังไม่เคยผ่านการทำงานที่ไหนมาก่อน หรือเด็กจบใหม่ ทักษะ ความรู้ และประสบการณ์ในที่นี้ ก็อาจพิจารณาดูได้จากกิจกรรมที่เคยทำมาในช่วงเรียน หรือลองถามคำถามเพื่อดูว่าเขามีความรอบรู้ในเรื่องที่บริษัทต้องการหรือไม่
2. ความสามารถ หรือสมรรถภาพ (Capable)
สิ่งที่ควรถูกนำมาพิจารณาต่อมาก็คือ ความสามารถ หรือสมรรถภาพ เพราะบางคนมีเพียงแค่ทักษะ ความรู้และประสบการณ์ แต่ไม่สามารถนำเอาสิ่งเหล่านั้นมาใช้ในการทำงานได้ ก็อาจยังถือว่าขาดคุณสมบัติที่ดีในการทำงาน
นอกจากนี้ ความสามารถ หรือสมรรถภาพยังรวมไปถึง การใช้ความพยายาม ความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน โดยผู้สัมภาษณ์อาจใช้วิธีถามคำถามเชิงประยุกต์ คือไม่ได้ถามว่าคุณรู้อะไรโดยตรง แต่ถามในเชิงที่ว่า สิ่งที่คุณรู้ ถ้าเจอปัญหาแบบต่าง ๆ เข้ามา จะเอาความรู้ที่มีมาใช้งานอย่างไร
3. การเข้ากับคนอื่นได้ (Compatible)
งานจำนวนมาก เป็นงานที่เราต้องประสานงานกับคนอื่น หรือแม้แต่หลายครั้ง บริษัทมอบหมายให้พนักงานทำงานเป็นทีมเพื่อดึงจุดแข็งของแต่ละคนออกมา ซึ่งจะทำให้ผลงานนั้นออกมาดี
ดังนั้น การเข้ากับคนอื่นได้ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ แม้ว่าบางคนอาจทำงานเก่ง แต่เข้ากับคนอื่นไม่ได้ ก็อาจไม่เป็นที่ต้องการของหลายบริษัทเช่นกัน
4. ความตั้งใจที่จะทำงานในระยะยาว (Commitment)
หลายบริษัทเมื่อรับพนักงานเข้ามาแล้ว ก็อยากให้พนักงานทำงานไปนานสักระยะหนึ่ง เพราะการลาออกบ่อย ๆ ของพนักงานนั้นไม่เพียงแต่ส่งผลเสียต่อตัวพนักงานเอง แต่รวมไปถึงบริษัทด้วย
เพราะบริษัทจะมีต้นทุนในการหาพนักงานใหม่ ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายในการหาคน เวลาที่ต้องใช้ในการมาสัมภาษณ์ ค่าใช้จ่ายในการอบรมสำหรับพนักงานใหม่
5. ลักษณะนิสัย และค่านิยม (Character)
บุคลิก ลักษณะนิสัย ความคิดความอ่านของพนักงาน ถือว่าเป็นสิ่งที่บริษัทให้ความสำคัญเช่นกัน เช่น พนักงานที่บริษัทกำลังมองหานั้น เป็นคนพูดจริงทำจริงหรือไม่ ซื่อสัตย์ต่อบริษัทหรือเพื่อนร่วมงาน หรือแม้แต่เป็นคนรักษาสัญญาไหม
ซึ่งในระหว่างสัมภาษณ์บริษัทอาจใช้หลักคำถามทางจิตวิทยา การสัมภาษณ์แบบอิงพฤติกรรม เพื่อช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้ก็ได้
6. วัฒนธรรมองค์กร (Culture)
วัฒนธรรมองค์กรของแต่ละบริษัทจะแตกต่างกันไป บางบริษัทชอบคนที่มาทำงานเช้าและเลิกค่ำ แต่พนักงานคนดังกล่าวกลับไม่สามารถมาเช้าหรืออยู่ค่ำ ๆ เหมือนคนอื่นได้
หรือบางบริษัทชอบทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีการรวมกลุ่มกันเป็นประจำ แต่พนักงานคนดังกล่าวกลับชอบทำงานกับคนน้อย ๆ มากกว่า
ซึ่งการที่บริษัทมีวัฒนธรรมองค์กรที่ชัดเจน ยังช่วยให้บริษัทคัดเลือกคนที่เหมาะสม คนแบบไหนที่มีโอกาสประสบความสำเร็จ คนแบบไหนที่ควรหลีกเลี่ยง
หรือแม้แต่พนักงานที่มาสมัครเองก็จะรู้ว่า ตนเองเหมาะที่จะมาทำงานกับบริษัทด้วยหรือไม่
7. ค่าตอบแทน (Compensation)
ผลตอบแทนโดยเฉพาะเงินเดือนนั้น ถือเป็นสิ่งสำคัญที่พนักงานหลายคนให้ความสำคัญ และเป็นสิ่งที่ทุกบริษัทไม่ควรมองข้าม
ทั้งนี้ บริษัทต้องวิเคราะห์และพิจารณาอย่างละเอียดว่า ผลตอบแทนที่พนักงานคนนั้นต้องการเหมาะสมกับความสามารถหรือไม่ อยู่ภายใต้งบประมาณที่บริษัทตั้งไว้หรือเปล่า
ถ้าผลตอบแทนที่พนักงานต้องการสูงมากเกินไป บริษัทก็อาจต้องตัดตัวเลือกนี้ออกไป แล้วไปมองหาคนอื่นที่อาจมีความเหมาะสมกับค่าตอบแทนกว่า
เพราะบางครั้งการที่บริษัทพยายามที่จะเจรจาต่อรองผลตอบแทนให้ต่ำที่สุด อาจทำให้พนักงานคนนั้นไม่มีความสุข และกลายเป็นว่าทำงานออกมาไม่ดี หรือแม้แต่ลาออกในอนาคตถ้าได้รับข้อเสนอที่ดีกว่า
อ่านมาถึงตรงนี้ เราก็น่าจะพอได้ไอเดียในการคัดเลือกพนักงานที่เหมาะสมเข้ามาทำงานภายในบริษัทภายใต้แนวคิดของหลัก 7C
แน่นอนว่ามีแนวทางในการคัดเลือกพนักงานที่แตกต่างกันออกไป
แต่ไม่ว่าวิธีไหน สิ่งสำคัญก็คือ ทั้งบริษัทและคนที่คัดเลือกพนักงานเข้ามานั้นควรต้องวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ของผู้สมัคร ให้ละเอียดและถี่ถ้วน
ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกใครสักคน เข้ามาทำงานร่วมกับเรา..
References:
-https://www.forbes.com/sites/alanhall/2012/06/19/the-7-cs-how-to-find-and-hire-great-employees/?sh=5cf13d2653c8
-https://smartsme.co.th/content/219796
“ถ้าบริษัทมีพนักงานดีก็มีชัยไปแล้วกว่าครึ่ง”
ถือเป็นประโยคที่หลายคนน่าจะเคยผ่านหูกันมาบ้าง
ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่า พนักงานนั้นเปรียบเสมือนทรัพยากรที่สำคัญ จนสามารถนำมาใช้ตัดสินได้เลยว่า บริษัทนั้นจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวหรือไม่
แต่ละบริษัทก็จะมีวิธีในการคัดเลือกพนักงานที่แตกต่างกันออกไปตามแบบฉบับของตัวเอง และวันนี้ THE BRIEFCASE จะพาไปทำความรู้จักกับหลัก หรือเทคนิคในการเลือกคนเข้าทำงานที่ชื่อว่า “7C”
การคัดเลือกพนักงานด้วยการอาศัยเพียงแค่ความถูกใจ หรือชอบพอกันเพียงอย่างเดียว โดยไม่ได้คิดถึงปัจจัยด้านอื่น ๆ เลย อาจทำให้บริษัทนั้นได้พนักงานไม่ตรงตามที่ต้องการ
ทำให้สุดท้าย บริษัทอาจต้องเสียเวลาหาพนักงานใหม่ ซึ่งตามมาด้วยต้นทุนต่าง ๆ เช่น
- ค่าใช้จ่ายในการประกาศหรือมองหาคนเก่ง ๆ
- ต้องอาศัยเวลา ในการสัมภาษณ์คนจำนวนมาก
- ค่าใช้จ่ายฝึกอบรมพนักงานใหม่
บางบริษัทจึงนำหลัก 7C ในการเลือกคนเข้าทำงาน ซึ่งหลักดังกล่าวประกอบไปด้วย
1. มีทักษะ ความรู้ และประสบการณ์ (Competent)
แน่นอนว่า สิ่งแรกที่บริษัทจะพิจารณาใครสักคนเข้ามาทำงาน คือการดูว่าพนักงานคนดังกล่าว มีทักษะ ความรู้ และประสบการณ์ ที่จำเป็นเพื่อให้งานของบริษัทนั้น ประสบความสำเร็จลุล่วงตามที่ตั้งเป้าไว้หรือไม่
ซึ่งหากเป็นการพิจารณารับพนักงานที่ยังไม่เคยผ่านการทำงานที่ไหนมาก่อน หรือเด็กจบใหม่ ทักษะ ความรู้ และประสบการณ์ในที่นี้ ก็อาจพิจารณาดูได้จากกิจกรรมที่เคยทำมาในช่วงเรียน หรือลองถามคำถามเพื่อดูว่าเขามีความรอบรู้ในเรื่องที่บริษัทต้องการหรือไม่
2. ความสามารถ หรือสมรรถภาพ (Capable)
สิ่งที่ควรถูกนำมาพิจารณาต่อมาก็คือ ความสามารถ หรือสมรรถภาพ เพราะบางคนมีเพียงแค่ทักษะ ความรู้และประสบการณ์ แต่ไม่สามารถนำเอาสิ่งเหล่านั้นมาใช้ในการทำงานได้ ก็อาจยังถือว่าขาดคุณสมบัติที่ดีในการทำงาน
นอกจากนี้ ความสามารถ หรือสมรรถภาพยังรวมไปถึง การใช้ความพยายาม ความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน โดยผู้สัมภาษณ์อาจใช้วิธีถามคำถามเชิงประยุกต์ คือไม่ได้ถามว่าคุณรู้อะไรโดยตรง แต่ถามในเชิงที่ว่า สิ่งที่คุณรู้ ถ้าเจอปัญหาแบบต่าง ๆ เข้ามา จะเอาความรู้ที่มีมาใช้งานอย่างไร
3. การเข้ากับคนอื่นได้ (Compatible)
งานจำนวนมาก เป็นงานที่เราต้องประสานงานกับคนอื่น หรือแม้แต่หลายครั้ง บริษัทมอบหมายให้พนักงานทำงานเป็นทีมเพื่อดึงจุดแข็งของแต่ละคนออกมา ซึ่งจะทำให้ผลงานนั้นออกมาดี
ดังนั้น การเข้ากับคนอื่นได้ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ แม้ว่าบางคนอาจทำงานเก่ง แต่เข้ากับคนอื่นไม่ได้ ก็อาจไม่เป็นที่ต้องการของหลายบริษัทเช่นกัน
4. ความตั้งใจที่จะทำงานในระยะยาว (Commitment)
หลายบริษัทเมื่อรับพนักงานเข้ามาแล้ว ก็อยากให้พนักงานทำงานไปนานสักระยะหนึ่ง เพราะการลาออกบ่อย ๆ ของพนักงานนั้นไม่เพียงแต่ส่งผลเสียต่อตัวพนักงานเอง แต่รวมไปถึงบริษัทด้วย
เพราะบริษัทจะมีต้นทุนในการหาพนักงานใหม่ ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายในการหาคน เวลาที่ต้องใช้ในการมาสัมภาษณ์ ค่าใช้จ่ายในการอบรมสำหรับพนักงานใหม่
5. ลักษณะนิสัย และค่านิยม (Character)
บุคลิก ลักษณะนิสัย ความคิดความอ่านของพนักงาน ถือว่าเป็นสิ่งที่บริษัทให้ความสำคัญเช่นกัน เช่น พนักงานที่บริษัทกำลังมองหานั้น เป็นคนพูดจริงทำจริงหรือไม่ ซื่อสัตย์ต่อบริษัทหรือเพื่อนร่วมงาน หรือแม้แต่เป็นคนรักษาสัญญาไหม
ซึ่งในระหว่างสัมภาษณ์บริษัทอาจใช้หลักคำถามทางจิตวิทยา การสัมภาษณ์แบบอิงพฤติกรรม เพื่อช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลเหล่านี้ก็ได้
6. วัฒนธรรมองค์กร (Culture)
วัฒนธรรมองค์กรของแต่ละบริษัทจะแตกต่างกันไป บางบริษัทชอบคนที่มาทำงานเช้าและเลิกค่ำ แต่พนักงานคนดังกล่าวกลับไม่สามารถมาเช้าหรืออยู่ค่ำ ๆ เหมือนคนอื่นได้
หรือบางบริษัทชอบทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีการรวมกลุ่มกันเป็นประจำ แต่พนักงานคนดังกล่าวกลับชอบทำงานกับคนน้อย ๆ มากกว่า
ซึ่งการที่บริษัทมีวัฒนธรรมองค์กรที่ชัดเจน ยังช่วยให้บริษัทคัดเลือกคนที่เหมาะสม คนแบบไหนที่มีโอกาสประสบความสำเร็จ คนแบบไหนที่ควรหลีกเลี่ยง
หรือแม้แต่พนักงานที่มาสมัครเองก็จะรู้ว่า ตนเองเหมาะที่จะมาทำงานกับบริษัทด้วยหรือไม่
7. ค่าตอบแทน (Compensation)
ผลตอบแทนโดยเฉพาะเงินเดือนนั้น ถือเป็นสิ่งสำคัญที่พนักงานหลายคนให้ความสำคัญ และเป็นสิ่งที่ทุกบริษัทไม่ควรมองข้าม
ทั้งนี้ บริษัทต้องวิเคราะห์และพิจารณาอย่างละเอียดว่า ผลตอบแทนที่พนักงานคนนั้นต้องการเหมาะสมกับความสามารถหรือไม่ อยู่ภายใต้งบประมาณที่บริษัทตั้งไว้หรือเปล่า
ถ้าผลตอบแทนที่พนักงานต้องการสูงมากเกินไป บริษัทก็อาจต้องตัดตัวเลือกนี้ออกไป แล้วไปมองหาคนอื่นที่อาจมีความเหมาะสมกับค่าตอบแทนกว่า
เพราะบางครั้งการที่บริษัทพยายามที่จะเจรจาต่อรองผลตอบแทนให้ต่ำที่สุด อาจทำให้พนักงานคนนั้นไม่มีความสุข และกลายเป็นว่าทำงานออกมาไม่ดี หรือแม้แต่ลาออกในอนาคตถ้าได้รับข้อเสนอที่ดีกว่า
อ่านมาถึงตรงนี้ เราก็น่าจะพอได้ไอเดียในการคัดเลือกพนักงานที่เหมาะสมเข้ามาทำงานภายในบริษัทภายใต้แนวคิดของหลัก 7C
แน่นอนว่ามีแนวทางในการคัดเลือกพนักงานที่แตกต่างกันออกไป
แต่ไม่ว่าวิธีไหน สิ่งสำคัญก็คือ ทั้งบริษัทและคนที่คัดเลือกพนักงานเข้ามานั้นควรต้องวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ของผู้สมัคร ให้ละเอียดและถี่ถ้วน
ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกใครสักคน เข้ามาทำงานร่วมกับเรา..
References:
-https://www.forbes.com/sites/alanhall/2012/06/19/the-7-cs-how-to-find-and-hire-great-employees/?sh=5cf13d2653c8
-https://smartsme.co.th/content/219796