รู้จัก กองทุน ETF ที่ใหญ่สุดในโลก
8 ก.ค. 2021
รู้จัก กองทุน ETF ที่ใหญ่สุดในโลก | THE BRIEFCASE
ETF ย่อมาจาก “Exchange Traded Fund”
เป็นกองทุนรวมดัชนีที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์
ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อมีนโยบายสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับการเคลื่อนไหวของดัชนีหรือราคาของสินทรัพย์ที่กองทุนใช้อ้างอิง
รู้ไหมว่า ETF ที่ใหญ่ที่สุดในโลกนั้น มีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการ ที่มีมูลค่าใหญ่กว่า GDP ของประเทศแอฟริกาใต้เสียอีก
ETF ที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือกองทุนไหน
ลงทุนหุ้นอะไรบ้าง และที่ผ่านมาผลตอบแทนเป็นอย่างไร ?
THE BRIEFCASE จะเล่าให้ฟัง
การลงทุนใน ETF ก็คล้าย ๆ กับการลงทุนในกองทุนรวมทั่วไป
คือผู้ลงทุนจะได้ผลตอบแทน เป็นกำไรจากส่วนต่างของราคา (Capital Gain)
และเงินปันผล กรณีที่ ETF กองนั้นมีนโยบายจ่ายปันผลให้นักลงทุน
ปัจจุบัน ETF มีหลายหลากประเภทให้นักลงทุนเลือก ตัวอย่างเช่น
- ETF ที่เน้นสร้างผลตอบแทนอ้างอิงราคาหุ้นหรือดัชนีตลาดหุ้น
- ETF ที่เน้นสร้างผลตอบแทนอ้างอิงดัชนีราคาตราสารหนี้
- ETF ที่เน้นสร้างผลตอบแทนอ้างอิงดัชนีราคาสินค้าโภคภัณฑ์
- ETF ที่เน้นสร้างผลตอบแทนอ้างอิงกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
- ETF ที่เน้นสร้างผลตอบแทนอ้างอิงราคาทองคำ
การลงทุนผ่าน ETF เกิดขึ้นครั้งแรกในปี 1993
ที่น่าสนใจคือ ภายในระยะเวลาเพียง 28 ปีที่ ETF ถูกจัดตั้งขึ้นมา การลงทุนผ่าน ETF เติบโตอย่างต่อเนื่อง
สิ้นปี 2020 ETF ทั่วโลกมีจำนวนทั้งหมด 7,602 กองทุน
คิดเป็นเกือบ 28 เท่าของปี 2003 ที่มีอยู่ 276 กองทุน
ไม่ใช่แค่จำนวนกองทุนเท่านั้นที่เติบโต
แต่มูลค่าทรัพย์สินที่อยู่ภายใต้การบริหาร หรือ Asset Under Management (AUM) ของ ETF ยังเติบโตแบบก้าวกระโดดด้วยเช่นกัน
สิ้นปี 2020 มูลค่าทรัพย์สินที่อยู่ภายใต้การบริหารของ ETF ทั่วโลก เท่ากับ 246 ล้านล้านบาท ซึ่งคิดเป็น 38 เท่าของปี 2003 ที่เท่ากับ 6.5 ล้านล้านบาท
ETF มีความพิเศษกว่ากองทุนรวมทั่วไป
คือสามารถซื้อขายเปลี่ยนมือในตลาดหลักทรัพย์ได้เหมือนซื้อขายหุ้น
ทำให้มีสภาพคล่องสูงกว่า การลงทุนในกองทุนรวมทั่วไป
ที่จะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของราคาหน่วยลงทุนหลังสิ้นวันทำการเท่านั้น
แล้ววันนี้ ETF ที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือกองทุนไหน ?
คำตอบคือ “SPDR S&P 500 Trust ETF”
SPDR S&P 500 เป็น ETF กองแรกของโลก ก่อตั้งขึ้นในปี 1993 โดย State Street Global Advisors บริษัทจัดการกองทุนในสหรัฐอเมริกา
ETF กองนี้ ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อลงทุนล้อไปกับดัชนี S&P 500 ของสหรัฐอเมริกา
โดยจากข้อมูลล่าสุด SPDR S&P 500 มีมูลค่าทรัพย์สินภายใต้การบริหารงาน 11.3 ล้านล้านบาท
ใหญ่กว่าขนาดเศรษฐกิจ (GDP) ของแอฟริกาใต้ ที่ประมาณ 10 ล้านล้านบาทเสียอีก
จึงทำให้ SPDR S&P 500 ไม่ใช่เพียงแค่เป็น ETF กองแรกของโลกเท่านั้น แต่ยังเป็น ETF ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกด้วย
ปัจจุบัน กลุ่มอุตสาหกรรม 3 อันดับแรกที่กองทุน SPDR S&P 500 ลงทุนอยู่ คือ
- กลุ่มเทคโนโลยี 26.7%
- กลุ่มบริการทางการแพทย์และสุขภาพ 13.0%
- กลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย 12.5%
ขณะที่หุ้น 3 อันดับแรกที่มีสัดส่วนมากที่สุด ที่กองทุนถืออยู่คือ
- หุ้น Apple 5.7%
- หุ้น Microsoft 5.3%
- หุ้น Amazon.com 3.9%
(ข้อมูลอัปเดตล่าสุดของ ETF ณ วันที่ 31 มี.ค. 2021)
ผลตอบแทนย้อนหลัง 10 ปี กองทุน SPDR S&P 500 เฉลี่ยอยู่ที่ปีละ 13.7%
หมายความว่า ถ้าเราลงทุนด้วยเงิน 1 ล้านบาท กับกองทุนนี้เมื่อ 10 ปีที่แล้ว มาวันนี้เงินลงทุนของเราจะเพิ่มขึ้นเป็น 3.6 ล้านบาท
ครั้งหนึ่ง วอร์เรน บัฟเฟตต์ นักลงทุนชื่อดังของโลก เคยบอกไว้ว่า
“การลงทุนในกองทุนดัชนีในระยะยาว จะทำให้ผู้ลงทุนที่แม้ไม่มีความรู้ในการลงทุน สามารถเอาชนะผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนในตลาดหุ้นได้”
ที่เป็นแบบนี้ เนื่องจากพอร์ตการลงทุนที่ลงทุนผ่านกองทุนดัชนี มีความหลากหลายและกระจายความเสี่ยงโดยอัตโนมัติ
ที่สำคัญมีต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการลงทุนต่ำ ซึ่งทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนผ่านกองทุนดัชนีนั้น หลาย ๆ ครั้งมีโอกาสทำได้ดีกว่า การเลือกหุ้นด้วยตัวเองของนักลงทุน
เรื่องนี้ถึงขนาดทำให้ครั้งหนึ่ง วอร์เรน บัฟเฟตต์ เคยบอกว่า
กองทุนเฮดจ์ฟันด์ต่าง ๆ ที่มีนโยบายบริหารแบบเน้นเอาชนะดัชนี มักคิดค่าบริหารที่แพงมาก ๆ สุดท้ายอาจไม่สามารถสร้างผลตอบแทนได้คุ้มค่ากับเงินที่นักลงทุนต้องจ่าย
เขายังเคยท้าเดิมพันกับกองทุนเฮดจ์ฟันด์ว่า
ภายในระยะเวลา 10 ปี (ระหว่างปี 2008-2017) จะมีกองทุนเฮดจ์ฟันด์รายไหน ที่สามารถทำผลตอบแทนชนะดัชนี S&P 500 ได้หรือไม่
โดยตัวของบัฟเฟตต์ จะลงทุนผ่านกองทุน Vanguard S&P ที่ลงทุนในดัชนี S&P 500
ถ้ากองทุนเฮดจ์ฟันด์สามารถทำผลตอบแทนชนะกองทุน Vanguard S&P ก็จะได้เงินเดิมพันจำนวน 1,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในครั้งนี้ไป
บัฟเฟตต์รออยู่นาน ก็ยังไม่มีกองทุนไหนตอบรับคำท้าของเขา
จนกระทั่งมีบริษัทจัดการด้านการลงทุนที่มาท้าเดิมพันในครั้งนั้นคือ Protégé Partners LLC ซึ่งได้นำเงินมาลงทุนกระจายผ่านกองทุนเฮดจ์ฟันด์จำนวน 5 กอง
ผลการแข่งขันในครั้งนี้ที่ออกมาคือ
ผลตอบแทนของกองทุนดัชนี S&P 500 ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยปีละประมาณ 9%
ขณะที่กองทุนเฮดจ์ฟันด์ทำผลตอบแทนได้เฉลี่ยปีละประมาณ 3%
ทำให้สุดท้าย บัฟเฟตต์ จึงเป็นผู้ชนะ
และเขาได้นำเงินรางวัลทั้งหมดที่ได้ไปบริจาคให้แก่องค์กรการกุศล ในเวลาต่อมา..
References:
-https://www.set.or.th/th/products/etf/etf_faq.html
-https://www.statista.com/statistics/278249/global-number-of-etfs/
-https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_GDP_(nominal)
-https://en.wikipedia.org/wiki/SPDR_S%26P_500_Trust_ETF
-https://www.investopedia.com/articles/exchangetradedfunds/12/brief-history-exchange-traded-funds.asp
-https://www.statista.com/statistics/224579/worldwide-etf-assets-under-management-since-1997/
-https://www.ssga.com/library-content/products/factsheets/etfs/us/factsheet-us-en-spy.pdf
-https://www.setinvestnow.com/th/knowledge/article/113-warren-buffett-and-investing-in-etf
-https://en.wikipedia.org/wiki/Jeffrey_Tarrant
-https://passiveway.com/active-vs-passive-fund-2/
ETF ย่อมาจาก “Exchange Traded Fund”
เป็นกองทุนรวมดัชนีที่จดทะเบียนซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์
ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อมีนโยบายสร้างผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับการเคลื่อนไหวของดัชนีหรือราคาของสินทรัพย์ที่กองทุนใช้อ้างอิง
รู้ไหมว่า ETF ที่ใหญ่ที่สุดในโลกนั้น มีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการ ที่มีมูลค่าใหญ่กว่า GDP ของประเทศแอฟริกาใต้เสียอีก
ETF ที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือกองทุนไหน
ลงทุนหุ้นอะไรบ้าง และที่ผ่านมาผลตอบแทนเป็นอย่างไร ?
THE BRIEFCASE จะเล่าให้ฟัง
การลงทุนใน ETF ก็คล้าย ๆ กับการลงทุนในกองทุนรวมทั่วไป
คือผู้ลงทุนจะได้ผลตอบแทน เป็นกำไรจากส่วนต่างของราคา (Capital Gain)
และเงินปันผล กรณีที่ ETF กองนั้นมีนโยบายจ่ายปันผลให้นักลงทุน
ปัจจุบัน ETF มีหลายหลากประเภทให้นักลงทุนเลือก ตัวอย่างเช่น
- ETF ที่เน้นสร้างผลตอบแทนอ้างอิงราคาหุ้นหรือดัชนีตลาดหุ้น
- ETF ที่เน้นสร้างผลตอบแทนอ้างอิงดัชนีราคาตราสารหนี้
- ETF ที่เน้นสร้างผลตอบแทนอ้างอิงดัชนีราคาสินค้าโภคภัณฑ์
- ETF ที่เน้นสร้างผลตอบแทนอ้างอิงกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์
- ETF ที่เน้นสร้างผลตอบแทนอ้างอิงราคาทองคำ
การลงทุนผ่าน ETF เกิดขึ้นครั้งแรกในปี 1993
ที่น่าสนใจคือ ภายในระยะเวลาเพียง 28 ปีที่ ETF ถูกจัดตั้งขึ้นมา การลงทุนผ่าน ETF เติบโตอย่างต่อเนื่อง
สิ้นปี 2020 ETF ทั่วโลกมีจำนวนทั้งหมด 7,602 กองทุน
คิดเป็นเกือบ 28 เท่าของปี 2003 ที่มีอยู่ 276 กองทุน
ไม่ใช่แค่จำนวนกองทุนเท่านั้นที่เติบโต
แต่มูลค่าทรัพย์สินที่อยู่ภายใต้การบริหาร หรือ Asset Under Management (AUM) ของ ETF ยังเติบโตแบบก้าวกระโดดด้วยเช่นกัน
สิ้นปี 2020 มูลค่าทรัพย์สินที่อยู่ภายใต้การบริหารของ ETF ทั่วโลก เท่ากับ 246 ล้านล้านบาท ซึ่งคิดเป็น 38 เท่าของปี 2003 ที่เท่ากับ 6.5 ล้านล้านบาท
ETF มีความพิเศษกว่ากองทุนรวมทั่วไป
คือสามารถซื้อขายเปลี่ยนมือในตลาดหลักทรัพย์ได้เหมือนซื้อขายหุ้น
ทำให้มีสภาพคล่องสูงกว่า การลงทุนในกองทุนรวมทั่วไป
ที่จะได้เห็นการเปลี่ยนแปลงของราคาหน่วยลงทุนหลังสิ้นวันทำการเท่านั้น
แล้ววันนี้ ETF ที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือกองทุนไหน ?
คำตอบคือ “SPDR S&P 500 Trust ETF”
SPDR S&P 500 เป็น ETF กองแรกของโลก ก่อตั้งขึ้นในปี 1993 โดย State Street Global Advisors บริษัทจัดการกองทุนในสหรัฐอเมริกา
ETF กองนี้ ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อลงทุนล้อไปกับดัชนี S&P 500 ของสหรัฐอเมริกา
โดยจากข้อมูลล่าสุด SPDR S&P 500 มีมูลค่าทรัพย์สินภายใต้การบริหารงาน 11.3 ล้านล้านบาท
ใหญ่กว่าขนาดเศรษฐกิจ (GDP) ของแอฟริกาใต้ ที่ประมาณ 10 ล้านล้านบาทเสียอีก
จึงทำให้ SPDR S&P 500 ไม่ใช่เพียงแค่เป็น ETF กองแรกของโลกเท่านั้น แต่ยังเป็น ETF ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลกด้วย
ปัจจุบัน กลุ่มอุตสาหกรรม 3 อันดับแรกที่กองทุน SPDR S&P 500 ลงทุนอยู่ คือ
- กลุ่มเทคโนโลยี 26.7%
- กลุ่มบริการทางการแพทย์และสุขภาพ 13.0%
- กลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย 12.5%
ขณะที่หุ้น 3 อันดับแรกที่มีสัดส่วนมากที่สุด ที่กองทุนถืออยู่คือ
- หุ้น Apple 5.7%
- หุ้น Microsoft 5.3%
- หุ้น Amazon.com 3.9%
(ข้อมูลอัปเดตล่าสุดของ ETF ณ วันที่ 31 มี.ค. 2021)
ผลตอบแทนย้อนหลัง 10 ปี กองทุน SPDR S&P 500 เฉลี่ยอยู่ที่ปีละ 13.7%
หมายความว่า ถ้าเราลงทุนด้วยเงิน 1 ล้านบาท กับกองทุนนี้เมื่อ 10 ปีที่แล้ว มาวันนี้เงินลงทุนของเราจะเพิ่มขึ้นเป็น 3.6 ล้านบาท
ครั้งหนึ่ง วอร์เรน บัฟเฟตต์ นักลงทุนชื่อดังของโลก เคยบอกไว้ว่า
“การลงทุนในกองทุนดัชนีในระยะยาว จะทำให้ผู้ลงทุนที่แม้ไม่มีความรู้ในการลงทุน สามารถเอาชนะผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนในตลาดหุ้นได้”
ที่เป็นแบบนี้ เนื่องจากพอร์ตการลงทุนที่ลงทุนผ่านกองทุนดัชนี มีความหลากหลายและกระจายความเสี่ยงโดยอัตโนมัติ
ที่สำคัญมีต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการลงทุนต่ำ ซึ่งทำให้ผลตอบแทนจากการลงทุนผ่านกองทุนดัชนีนั้น หลาย ๆ ครั้งมีโอกาสทำได้ดีกว่า การเลือกหุ้นด้วยตัวเองของนักลงทุน
เรื่องนี้ถึงขนาดทำให้ครั้งหนึ่ง วอร์เรน บัฟเฟตต์ เคยบอกว่า
กองทุนเฮดจ์ฟันด์ต่าง ๆ ที่มีนโยบายบริหารแบบเน้นเอาชนะดัชนี มักคิดค่าบริหารที่แพงมาก ๆ สุดท้ายอาจไม่สามารถสร้างผลตอบแทนได้คุ้มค่ากับเงินที่นักลงทุนต้องจ่าย
เขายังเคยท้าเดิมพันกับกองทุนเฮดจ์ฟันด์ว่า
ภายในระยะเวลา 10 ปี (ระหว่างปี 2008-2017) จะมีกองทุนเฮดจ์ฟันด์รายไหน ที่สามารถทำผลตอบแทนชนะดัชนี S&P 500 ได้หรือไม่
โดยตัวของบัฟเฟตต์ จะลงทุนผ่านกองทุน Vanguard S&P ที่ลงทุนในดัชนี S&P 500
ถ้ากองทุนเฮดจ์ฟันด์สามารถทำผลตอบแทนชนะกองทุน Vanguard S&P ก็จะได้เงินเดิมพันจำนวน 1,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ ในครั้งนี้ไป
บัฟเฟตต์รออยู่นาน ก็ยังไม่มีกองทุนไหนตอบรับคำท้าของเขา
จนกระทั่งมีบริษัทจัดการด้านการลงทุนที่มาท้าเดิมพันในครั้งนั้นคือ Protégé Partners LLC ซึ่งได้นำเงินมาลงทุนกระจายผ่านกองทุนเฮดจ์ฟันด์จำนวน 5 กอง
ผลการแข่งขันในครั้งนี้ที่ออกมาคือ
ผลตอบแทนของกองทุนดัชนี S&P 500 ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยปีละประมาณ 9%
ขณะที่กองทุนเฮดจ์ฟันด์ทำผลตอบแทนได้เฉลี่ยปีละประมาณ 3%
ทำให้สุดท้าย บัฟเฟตต์ จึงเป็นผู้ชนะ
และเขาได้นำเงินรางวัลทั้งหมดที่ได้ไปบริจาคให้แก่องค์กรการกุศล ในเวลาต่อมา..
References:
-https://www.set.or.th/th/products/etf/etf_faq.html
-https://www.statista.com/statistics/278249/global-number-of-etfs/
-https://en.wikipedia.org/wiki/List_of_countries_by_GDP_(nominal)
-https://en.wikipedia.org/wiki/SPDR_S%26P_500_Trust_ETF
-https://www.investopedia.com/articles/exchangetradedfunds/12/brief-history-exchange-traded-funds.asp
-https://www.statista.com/statistics/224579/worldwide-etf-assets-under-management-since-1997/
-https://www.ssga.com/library-content/products/factsheets/etfs/us/factsheet-us-en-spy.pdf
-https://www.setinvestnow.com/th/knowledge/article/113-warren-buffett-and-investing-in-etf
-https://en.wikipedia.org/wiki/Jeffrey_Tarrant
-https://passiveway.com/active-vs-passive-fund-2/