เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงเคยเจอปัญหาว่า เราจะฟีดแบ็ก หรือให้ข้อเสนอแนะกับหัวหน้างานหรือคนที่มีตำแหน่งสูงกว่าเราอย่างไรดี โดยเฉพาะถ้าเรายิ่งเป็นคนที่กำลังอยู่ในช่วงเริ่มงานใหม่ ๆ.. หลายครั้งที่เรารู้สึกว่า เราอยากให้คำแนะนำกับหัวหน้างานในบางเรื่อง ซึ่งเป็นเรื่องที่หัวหน้างานเราอาจจะมองข้าม หรือมองไม่เห็นได้ด้วยตัวเอง ยกตัวอย่างเช่น เวลาที่เราถูกตำหนิจากหัวหน้าอยู่บ่อยครั้งในที่ประชุม ซึ่งบางครั้งหัวหน้าอาจทำไปด้วยจุดประสงค์ที่ดี และต้องการให้คำแนะนำที่เหมาะสมกับเรา แต่การถูกตำหนิต่อหน้าผู้อื่นหลาย ๆ ครั้งอาจจะทำให้พนักงานใหม่บางคนรู้สึกกดดัน และขาดความมั่นใจในการทำงาน
รู้ไหมว่า.. จอร์จ วอชิงตัน คือ ผู้ที่ประกาศชัยชนะจาก สงครามปฏิวัติอเมริกา และขับไล่อังกฤษออกจากแผ่นดิน จอร์จ วอชิงตัน คือ ประธานาธิบดีคนแรก ของสหรัฐอเมริกา (ค.ศ. 1789-1797) จอร์จ วอชิงตัน คือ เจ้าของวาทะชื่อดัง “การปฏิบัติที่เป็นธรรม คือเสาค้ำที่มั่นคงของรัฐบาล” นอกจากความสามารถในการสู้รบที่เก่งฉกาจแล้ว ไหวพริบ และความเป็นผู้นำ คือคุณสมบัติสำคัญที่ จอร์จ วอชิงตัน ได้แสดงให้ชาวอเมริกันในสมัยก่อน ได้เห็นอยู่ตลอดเวลา แน่นอนว่า สิ่งนี้คือสิ่งสำคัญที่สร้างความน่าเชื่อถือ ยึดเหนี่ยว และทำให้เกิดความเป็นปึกแผ่นเดียวกันของชาวอเมริกัน อีกด้วย สำหรับการเป็นผู้นำที่ดี กับการบริหารองค์กร ก็เช่นเดียวกัน หากพนักงานในองค์กร ไม่มีความเชื่อถือในตัวของเรา หรือไม่มีความมั่นใจในวิสัยทัศน์ในความเป็นผู้นำของเรา มันก็คงเป็นเรื่องยาก ที่เราจะผลักดันองค์กรให้ก้าวต่อไปในทางที่ดี วันนี้ THE BRIEFCASE ขอพาทุกท่านไปเรียนรู้แนวคิดของความเป็นผู้นำ กับบุคคลในประวัติศาสตร์ อย่าง “จอร์จ วอชิงตัน” ผู้ที่ประกาศอิสรภาพ และทำให้โลกรู้จักกับประเทศสหรัฐอเมริกา
“ซีอีโอ” คือคนที่รับตำแหน่งสำคัญ ในการบริหารการทำงานขององค์กร ซึ่งก็แน่นอนว่า พวกเขาจะต้องมีหน้าที่ความรับผิดชอบที่สูง มีความรอบรู้ และความสามารถรอบด้าน ถ้าเปรียบบริษัทเป็นบ้าน ซีอีโอก็เปรียบเสมือนหัวหน้าครอบครัว ที่ทำหน้าที่ดูแลสมาชิกภายในบ้าน คอยดูแลเอาใจใส่และทำให้ครอบครัวอยู่ด้วยกันได้อย่างมีความสุข ซึ่งถ้าถามว่า คุณอยากจะเก่งเหมือนกับใคร หรือมีใครเป็นไอดอลในการทำงาน ก็เชื่อว่าหลายคนต้องตอบเป็นชื่อของซีอีโอระดับโลก หรือซีอีโอของบริษัทตัวเองอย่างแน่นอน
โดยทั่วไปแล้ว วิธีที่จะช่วยเพิ่มกำไรของบริษัทให้มากขึ้น แบ่งได้ง่าย ๆ เป็น 2 วิธีคือ 1. ลดค่าใช้จ่าย 2. เพิ่มรายได้ แต่การจะเปลี่ยนแปลงผลลัพธ์ให้เป็นเช่นนี้ ก็อาจกระทบกับทรัพยากรบุคคลของบริษัท เช่น พนักงานต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อสร้างยอดขาย หรือการเข้มงวดเรื่องการปรับขึ้นเงินเดือน อาจทำให้พนักงานรู้สึกว่ายิ่งทำไป ยิ่งได้น้อยลงกว่าเดิม