เรียนรู้ความเป็นผู้นำ ในแบบฉบับ ผู้สร้างประเทศสหรัฐอเมริกา "จอร์จ วอชิงตัน"
17 พ.ค. 2021
เรียนรู้ความเป็นผู้นำ ในแบบฉบับ ผู้สร้างประเทศสหรัฐอเมริกา "จอร์จ วอชิงตัน" | THE BRIEFCASE
รู้ไหมว่า..
จอร์จ วอชิงตัน คือ ผู้ที่ประกาศชัยชนะจาก สงครามปฏิวัติอเมริกา และขับไล่อังกฤษออกจากแผ่นดิน
จอร์จ วอชิงตัน คือ ประธานาธิบดีคนแรก ของสหรัฐอเมริกา (ค.ศ. 1789-1797)
จอร์จ วอชิงตัน คือ เจ้าของวาทะชื่อดัง “การปฏิบัติที่เป็นธรรม คือเสาค้ำที่มั่นคงของรัฐบาล”
นอกจากความสามารถในการสู้รบที่เก่งฉกาจแล้ว
ไหวพริบ และความเป็นผู้นำ คือคุณสมบัติสำคัญที่ จอร์จ วอชิงตัน ได้แสดงให้ชาวอเมริกันในสมัยก่อน ได้เห็นอยู่ตลอดเวลา
แน่นอนว่า สิ่งนี้คือสิ่งสำคัญที่สร้างความน่าเชื่อถือ ยึดเหนี่ยว และทำให้เกิดความเป็นปึกแผ่นเดียวกันของชาวอเมริกัน อีกด้วย
สำหรับการเป็นผู้นำที่ดี กับการบริหารองค์กร ก็เช่นเดียวกัน
หากพนักงานในองค์กร ไม่มีความเชื่อถือในตัวของเรา หรือไม่มีความมั่นใจในวิสัยทัศน์ในความเป็นผู้นำของเรา
มันก็คงเป็นเรื่องยาก ที่เราจะผลักดันองค์กรให้ก้าวต่อไปในทางที่ดี
วันนี้ THE BRIEFCASE ขอพาทุกท่านไปเรียนรู้แนวคิดของความเป็นผู้นำ กับบุคคลในประวัติศาสตร์ อย่าง “จอร์จ วอชิงตัน” ผู้ที่ประกาศอิสรภาพ และทำให้โลกรู้จักกับประเทศสหรัฐอเมริกา
จอร์จ วอชิงตัน (George Washington) เกิดในปี ค.ศ. 1732 ที่อาณานิคมแห่งเวอร์จิเนีย (หนึ่งใน 13 อาณานิคมของอังกฤษ ในอเมริกาเหนือ)
โดย วอชิงตัน ในวัยหนุ่ม ได้เริ่มต้นทำงานเป็นเจ้าหน้าที่สำรวจที่ดิน เพราะตัวเขาชอบการสำรวจอะไรใหม่ ๆ
จนกระทั่ง วอชิงตัน มีอายุเกือบ 20 ปี เขาได้เริ่มทำตามความชอบของตัวเองให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยการเข้าไปทำงานในกรมทหารที่เมืองโอไฮโอ ในอาณานิคมเวอร์จิเนีย
เพื่อที่จะได้ออกสำรวจแผ่นดินตะวันตกใหม่ ๆ ไปพร้อมกับอาณานิคมอังกฤษ
ต่อมาวอชิงตันก็เริ่มมีชื่อเสียงทางการทหารมากขึ้น
และด้วยวัยเพียง 20 ปี อีกเช่นกัน วอชิงตันก็ได้ถูกโปรโมตติดยศทางทหารให้เป็น “พันตรี”
จนมาถึงเรื่องราวการสู้รบครั้งสำคัญครั้งแรกของพันตรีวอชิงตัน กับการปราบปรามการรุกรานของอาณานิคมฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1753
ด้วยความสำเร็จในการรบต่อต้านผู้ที่เข้ามารุกราน และความสามารถในการบริหารจัดการกองกำลังพล
กองทัพอังกฤษจึงได้ติดยศ “พันเอก” ให้กับวอชิงตัน ในปี ค.ศ. 1758 ซึ่งนับเป็นเพียงแค่เวลา 5 ปี เท่านั้น
แต่ทว่าในเวลาต่อมา พันเอกวอชิงตัน กลับรู้สึกว่า เขาอยากเลิกเป็นทหาร
และเขาได้ตัดสินใจกลับไปพัฒนาไร่นาของเขา พร้อมผันตัวเองไปเป็นนักการเมืองท้องถิ่น บริหารบ้านเกิดในอาณานิคมเวอร์จิเนีย
อย่างไรก็ดี ดูเหมือนว่าโชคชะตาในอนาคตของชาวอเมริกัน อาจถูกกำหนดไว้ที่การเริ่มต้นต่อสู้เพื่อเรียกร้องอิสรภาพ
จุดที่เป็นชนวนระเบิด ก็คือ อาณานิคมทั้ง 13 ของอังกฤษที่อยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ เริ่มก่อการปฏิวัติ โดยสาเหตุมาจาก ความไม่พอใจที่ ถึงแม้พวกเขาจะสร้างผลงานดีเด่น และสร้างชื่อเสียงให้กับจักรวรรดิอังกฤษ ในดินแดนอเมริกามากเท่าไร แต่ก็ดูเหมือนว่า ทางประเทศแม่อย่างอังกฤษเอง ก็ไม่ได้ให้คุณค่ามากไปกว่า การขูดรีดเก็บเงิน หรือการขึ้นภาษี
ยกตัวอย่างเช่น พระราชบัญญัติแสตมป์ พระราชบัญญัติทาวน์เซนด์ หรือพระราชบัญญัติใบชา ที่นำมาสู่เหตุการณ์ประท้วงครั้งใหญ่อย่าง “ปาร์ตีน้ำชาในบอสตัน (Boston Tea Party)”
เรื่องราวนี้ จึงทำให้พลเมืองชาวอาณานิคมในทวีปอเมริกาเหนือ เริ่มลุกขึ้นมาต่อต้านอาณานิคมอังกฤษ
และเรียกหาอิสรภาพและการปกครอง ด้วยตัวพวกเขาเอง
กลุ่มต่อต้านอาณานิคมซึ่งประกอบไปด้วยชาวบ้าน ชาวนา และพลเมืองที่ไม่เคยทำการสู้รบ
เพราะเหตุนี้พวกเขาจึงต้องการผู้นำที่มีความสามารถในการทำศึก และรู้จักกองทัพอังกฤษเป็นอย่างดี
แน่นอนว่าคงจะเป็นใครไปไม่ได้ นอกจาก พันเอกจอร์จ วอชิงตัน ที่ตอนนี้กำลังขยายกิจการทำไร่อยู่ที่เมานต์เวอร์นอน (Mount Vernon) และดำรงตำแหน่งเป็นผู้พิพากษา ในอาณานิคมเวอร์จิเนีย
ซึ่งผู้ที่เข้าไปเกลี้ยกล่อมพร้อมทั้งเสนอชื่อ พันเอกจอร์จ วอชิงตัน ให้เข้ามาเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของกองกำลังอาณานิคม ต่อต้านกองทัพอังกฤษ
ก็คือ “จอห์น อดัมส์” หรือผู้ที่ในอนาคตจะได้เป็นประธานาธิบดีคนที่ 2 ของสหรัฐอเมริกา นั่นเอง
ในที่สุด จอร์จ วอชิงตัน ก็ได้กลับเข้ามาสู่สังเวียนการทำศึกอีกครั้ง และได้ประดับยศเป็น พลเอกจอร์จ วอชิงตัน ในฐานะจอมทัพ
จนกระทั่งเขาสามารถนำกำลังพลอาณานิคม ประกาศชัยชนะ และขับไล่กองทัพอังกฤษออกจนหมดได้
และเรียกอิสรภาพจนทำให้ โลกของเราได้รับรู้ถึงการมีอยู่ของ ประเทศสหรัฐอเมริกา
จากการประกาศอิสรภาพใน วันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 ซึ่งตรงกับวันชาติของสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน
เรื่องราวความสำเร็จนี้ ก็คงต้องอ้างอิงจากการเป็นศูนย์รวมจิตใจ และความเป็นผู้นำที่ดี ของ “จอร์จ วอชิงตัน” และเหล่าสมาชิกผู้ก่อตั้ง
ในเรื่องแนวคิดความเป็นผู้นำของ “จอร์จ วอชิงตัน” ก็พอจะสรุปคร่าว ๆ ได้ ดังนี้
1. ความสำเร็จจะไม่มีทางเกิดขึ้นได้ หากไม่มีการเริ่มต้น
และการเริ่มต้นจะไม่มีทางเกิดขึ้นได้ หากผู้นำไม่เป็นคนเริ่มก่อน
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเลยคือ เวลาที่ทำการรบในทุก ๆ ครั้ง
จอร์จ วอชิงตัน จะเป็นคนที่ขี่ม้านำกองกำลังของตัวเองอยู่เสมอ
และการเริ่มต้นครั้งสำคัญที่สะท้อนได้ดีที่สุด คือ การเริ่มต้นเรียกร้องอิสรภาพให้กับชาวอเมริกัน นั่นเอง
หากเราต้องการที่จะทำให้บริษัทของเรา เติบโตและเดินหน้าต่อไป
ในฐานะผู้บริหารอย่างเรา ต้องรู้จักการวางแผนและเป็นคนเริ่มต้นนำผู้อื่นให้ได้ก่อน
2. ต้องอ่านให้ขาด ว่าองค์กรของเรามีทรัพยากรที่เพียงพอ ต่อการเดินหน้าหรือไม่
ถ้าไม่เพียงพอ ก็จะต้องจัดหาแผนสำรอง มารองรับ
ข้อคิดนี้ สามารถสะท้อนจาก เหตุการณ์ศึกล้างตาที่เทรนตัน
ที่เกิดขึ้นหลังจากที่ วอชิงตันได้ประกาศอิสรภาพให้กับสหรัฐอเมริกาไปแล้ว
แน่นอนว่า อาณานิคมชาวอังกฤษก็ไม่ได้จากหายไปหมดซะทีเดียว
เพราะคนบางกลุ่ม ก็ยังลุกขึ้นต่อต้านอำนาจรัฐบาลปัจจุบันของชาวอเมริกันอยู่
โดยในเหตุการณ์นี้ นายพลวอชิงตัน ต้องพบกับความยากลำบากเมื่อกองกำลังของเขา ต้องเข้าไปในพื้นที่ที่มีความกันดาร และประสบกับอากาศที่หนาวเย็นจัด เพราะภูมิประเทศตรงนั้นเป็นภูเขาและต้องข้ามแม่น้ำเดลาแวร์ที่เย็นจนเป็นน้ำแข็งอีก
ทหารของเขาจึงได้ล้มตายระหว่างทางไปทำศึกปราบกบฏในครั้งนี้จำนวนเยอะมาก
ด้วยเหตุนี้นายพลวอชิงตัน จึงใช้ความสามารถในการประเมินสถานการณ์ความเสียหาย
ก่อนที่จะปรับแผนกลยุทธ์ ผูกพันธมิตรกับชนเผ่าที่ชำนาญการในพื้นที่
รวมทั้งการจัดหน่วยข่าวกรองสอดแนมศัตรู เพื่อสร้างความได้เปรียบ
จนกระทั่งกองกำลังของนายพลวอชิงตัน ที่มีจำนวนน้อยกว่า สามารถเอาชนะ กลุ่มผู้ต่อต้านของอังกฤษได้ สำเร็จ
เรื่องนี้ก็เปรียบได้กับการเป็นผู้นำในองค์กรที่ดี
เราจะต้องประเมินสถานการณ์ให้ดีก่อนการลงทุน หรือการนำพาบริษัทเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี เพราะหากเราไม่ประเมินทรัพยากรของเราให้ดีแล้ว การตัดสินใจของเรา อาจนำพาความผิดพลาดครั้งใหญ่มาให้ตัวเองได้
3. ต้องรู้จักการกระจายอำนาจและการตัดสินใจ โดยไม่เอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลาง
หลังจากที่ จอร์จ วอชิงตัน ได้เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอเมริกา ในช่วงปี ค.ศ. 1789
สิ่งที่วอชิงตันเริ่มต้นทำเลยก็คือ การสร้างวัฒนธรรมการปกครองที่ไม่ผูกขาดอำนาจ ให้อยู่ที่ผู้นำเพียงผู้เดียว
โดยเขาได้จัดตั้งคณะรัฐมนตรีกระทรวงต่าง ๆ ที่มีความสามารถในด้านนั้น ๆ เข้ามาช่วยบริหาร และมีอำนาจในการตัดสินใจแทนเขาได้ทันทีในบางเรื่อง
นั่นก็เพราะวอชิงตันมีความเชื่ออยู่แล้วว่า บุคคลที่ถูกเลือกมาในที่นี้ ล้วนมีความสามารถทั้งหมด และหากเขากระจุกอำนาจไว้อยู่ที่ตัวเขาเอง ก็จะทำให้การบริหารงาน ล่าช้าลงไป
ก็คงไม่ต่างกับที่หลาย ๆ องค์กร โดยเฉพาะบริษัทเทคโนโลยีสมัยใหม่ หรือบริษัทสตาร์ตอัป ที่มีการจัดโครงสร้างองค์กรแบบแนวราบ (Flat Organization) เพื่อที่จะให้ทุกคนในองค์กรมีอิสระในการแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่และเท่าเทียมกัน อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนความเป็นทีมเวิร์ก ให้กับพนักงาน
เรื่องราวของ จอร์จ วอชิงตัน ก็ได้จบลงด้วยการปลดเกษียณตนเอง หลังจากที่ได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีร่วม 2 สมัย
ตัวเขาเอง ก็ได้ใช้ชีวิตในช่วงบั้นปลายอย่างมีความสุข ตามที่ฝันเอาไว้
ที่เมานต์เวอร์นอน โดยเขาให้เวลากับการทำการเกษตรและสร้างโรงกลั่นสุรา
และเสียชีวิตด้วยโรคปอดบวม ด้วยวัยเพียง 67 ปี เท่านั้น
แต่ชื่อและใบหน้าของ จอร์จ วอชิงตัน ก็ไม่ได้จางหายไปไหน
เพราะชื่อของเขาได้ถูกนำมาตั้งเป็นชื่อเมืองหลวงของสหรัฐอเมริกา ที่เราคุ้นเคยอย่าง
“กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. (Washington D.C.)”
และภาพใบหน้าของเขา ก็ได้ถูกนำมาตีพิมพ์ลงในเหรียญและธนบัตร 1 ดอลลาร์ของสหรัฐอเมริกา นั่นเอง
References
-หนังสือ “The American Revolution” เขียนโดย พีรพงษ์ ฉายยายนต์
-https://artsandculture.google.com
-https://integrispa.com/blog/lessons-from-history-george-washington-the-leader-we-needed/
-https://oiglobalpartners.com/4-executive-leadership-lessons-from-george-washington/
-https://en.wikipedia.org/wiki/#
รู้ไหมว่า..
จอร์จ วอชิงตัน คือ ผู้ที่ประกาศชัยชนะจาก สงครามปฏิวัติอเมริกา และขับไล่อังกฤษออกจากแผ่นดิน
จอร์จ วอชิงตัน คือ ประธานาธิบดีคนแรก ของสหรัฐอเมริกา (ค.ศ. 1789-1797)
จอร์จ วอชิงตัน คือ เจ้าของวาทะชื่อดัง “การปฏิบัติที่เป็นธรรม คือเสาค้ำที่มั่นคงของรัฐบาล”
นอกจากความสามารถในการสู้รบที่เก่งฉกาจแล้ว
ไหวพริบ และความเป็นผู้นำ คือคุณสมบัติสำคัญที่ จอร์จ วอชิงตัน ได้แสดงให้ชาวอเมริกันในสมัยก่อน ได้เห็นอยู่ตลอดเวลา
แน่นอนว่า สิ่งนี้คือสิ่งสำคัญที่สร้างความน่าเชื่อถือ ยึดเหนี่ยว และทำให้เกิดความเป็นปึกแผ่นเดียวกันของชาวอเมริกัน อีกด้วย
สำหรับการเป็นผู้นำที่ดี กับการบริหารองค์กร ก็เช่นเดียวกัน
หากพนักงานในองค์กร ไม่มีความเชื่อถือในตัวของเรา หรือไม่มีความมั่นใจในวิสัยทัศน์ในความเป็นผู้นำของเรา
มันก็คงเป็นเรื่องยาก ที่เราจะผลักดันองค์กรให้ก้าวต่อไปในทางที่ดี
วันนี้ THE BRIEFCASE ขอพาทุกท่านไปเรียนรู้แนวคิดของความเป็นผู้นำ กับบุคคลในประวัติศาสตร์ อย่าง “จอร์จ วอชิงตัน” ผู้ที่ประกาศอิสรภาพ และทำให้โลกรู้จักกับประเทศสหรัฐอเมริกา
จอร์จ วอชิงตัน (George Washington) เกิดในปี ค.ศ. 1732 ที่อาณานิคมแห่งเวอร์จิเนีย (หนึ่งใน 13 อาณานิคมของอังกฤษ ในอเมริกาเหนือ)
โดย วอชิงตัน ในวัยหนุ่ม ได้เริ่มต้นทำงานเป็นเจ้าหน้าที่สำรวจที่ดิน เพราะตัวเขาชอบการสำรวจอะไรใหม่ ๆ
จนกระทั่ง วอชิงตัน มีอายุเกือบ 20 ปี เขาได้เริ่มทำตามความชอบของตัวเองให้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยการเข้าไปทำงานในกรมทหารที่เมืองโอไฮโอ ในอาณานิคมเวอร์จิเนีย
เพื่อที่จะได้ออกสำรวจแผ่นดินตะวันตกใหม่ ๆ ไปพร้อมกับอาณานิคมอังกฤษ
ต่อมาวอชิงตันก็เริ่มมีชื่อเสียงทางการทหารมากขึ้น
และด้วยวัยเพียง 20 ปี อีกเช่นกัน วอชิงตันก็ได้ถูกโปรโมตติดยศทางทหารให้เป็น “พันตรี”
จนมาถึงเรื่องราวการสู้รบครั้งสำคัญครั้งแรกของพันตรีวอชิงตัน กับการปราบปรามการรุกรานของอาณานิคมฝรั่งเศส ในปี ค.ศ. 1753
ด้วยความสำเร็จในการรบต่อต้านผู้ที่เข้ามารุกราน และความสามารถในการบริหารจัดการกองกำลังพล
กองทัพอังกฤษจึงได้ติดยศ “พันเอก” ให้กับวอชิงตัน ในปี ค.ศ. 1758 ซึ่งนับเป็นเพียงแค่เวลา 5 ปี เท่านั้น
แต่ทว่าในเวลาต่อมา พันเอกวอชิงตัน กลับรู้สึกว่า เขาอยากเลิกเป็นทหาร
และเขาได้ตัดสินใจกลับไปพัฒนาไร่นาของเขา พร้อมผันตัวเองไปเป็นนักการเมืองท้องถิ่น บริหารบ้านเกิดในอาณานิคมเวอร์จิเนีย
อย่างไรก็ดี ดูเหมือนว่าโชคชะตาในอนาคตของชาวอเมริกัน อาจถูกกำหนดไว้ที่การเริ่มต้นต่อสู้เพื่อเรียกร้องอิสรภาพ
จุดที่เป็นชนวนระเบิด ก็คือ อาณานิคมทั้ง 13 ของอังกฤษที่อยู่ในทวีปอเมริกาเหนือ เริ่มก่อการปฏิวัติ โดยสาเหตุมาจาก ความไม่พอใจที่ ถึงแม้พวกเขาจะสร้างผลงานดีเด่น และสร้างชื่อเสียงให้กับจักรวรรดิอังกฤษ ในดินแดนอเมริกามากเท่าไร แต่ก็ดูเหมือนว่า ทางประเทศแม่อย่างอังกฤษเอง ก็ไม่ได้ให้คุณค่ามากไปกว่า การขูดรีดเก็บเงิน หรือการขึ้นภาษี
ยกตัวอย่างเช่น พระราชบัญญัติแสตมป์ พระราชบัญญัติทาวน์เซนด์ หรือพระราชบัญญัติใบชา ที่นำมาสู่เหตุการณ์ประท้วงครั้งใหญ่อย่าง “ปาร์ตีน้ำชาในบอสตัน (Boston Tea Party)”
เรื่องราวนี้ จึงทำให้พลเมืองชาวอาณานิคมในทวีปอเมริกาเหนือ เริ่มลุกขึ้นมาต่อต้านอาณานิคมอังกฤษ
และเรียกหาอิสรภาพและการปกครอง ด้วยตัวพวกเขาเอง
กลุ่มต่อต้านอาณานิคมซึ่งประกอบไปด้วยชาวบ้าน ชาวนา และพลเมืองที่ไม่เคยทำการสู้รบ
เพราะเหตุนี้พวกเขาจึงต้องการผู้นำที่มีความสามารถในการทำศึก และรู้จักกองทัพอังกฤษเป็นอย่างดี
แน่นอนว่าคงจะเป็นใครไปไม่ได้ นอกจาก พันเอกจอร์จ วอชิงตัน ที่ตอนนี้กำลังขยายกิจการทำไร่อยู่ที่เมานต์เวอร์นอน (Mount Vernon) และดำรงตำแหน่งเป็นผู้พิพากษา ในอาณานิคมเวอร์จิเนีย
ซึ่งผู้ที่เข้าไปเกลี้ยกล่อมพร้อมทั้งเสนอชื่อ พันเอกจอร์จ วอชิงตัน ให้เข้ามาเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุดของกองกำลังอาณานิคม ต่อต้านกองทัพอังกฤษ
ก็คือ “จอห์น อดัมส์” หรือผู้ที่ในอนาคตจะได้เป็นประธานาธิบดีคนที่ 2 ของสหรัฐอเมริกา นั่นเอง
ในที่สุด จอร์จ วอชิงตัน ก็ได้กลับเข้ามาสู่สังเวียนการทำศึกอีกครั้ง และได้ประดับยศเป็น พลเอกจอร์จ วอชิงตัน ในฐานะจอมทัพ
จนกระทั่งเขาสามารถนำกำลังพลอาณานิคม ประกาศชัยชนะ และขับไล่กองทัพอังกฤษออกจนหมดได้
และเรียกอิสรภาพจนทำให้ โลกของเราได้รับรู้ถึงการมีอยู่ของ ประเทศสหรัฐอเมริกา
จากการประกาศอิสรภาพใน วันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1776 ซึ่งตรงกับวันชาติของสหรัฐอเมริกาในปัจจุบัน
เรื่องราวความสำเร็จนี้ ก็คงต้องอ้างอิงจากการเป็นศูนย์รวมจิตใจ และความเป็นผู้นำที่ดี ของ “จอร์จ วอชิงตัน” และเหล่าสมาชิกผู้ก่อตั้ง
ในเรื่องแนวคิดความเป็นผู้นำของ “จอร์จ วอชิงตัน” ก็พอจะสรุปคร่าว ๆ ได้ ดังนี้
1. ความสำเร็จจะไม่มีทางเกิดขึ้นได้ หากไม่มีการเริ่มต้น
และการเริ่มต้นจะไม่มีทางเกิดขึ้นได้ หากผู้นำไม่เป็นคนเริ่มก่อน
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเลยคือ เวลาที่ทำการรบในทุก ๆ ครั้ง
จอร์จ วอชิงตัน จะเป็นคนที่ขี่ม้านำกองกำลังของตัวเองอยู่เสมอ
และการเริ่มต้นครั้งสำคัญที่สะท้อนได้ดีที่สุด คือ การเริ่มต้นเรียกร้องอิสรภาพให้กับชาวอเมริกัน นั่นเอง
หากเราต้องการที่จะทำให้บริษัทของเรา เติบโตและเดินหน้าต่อไป
ในฐานะผู้บริหารอย่างเรา ต้องรู้จักการวางแผนและเป็นคนเริ่มต้นนำผู้อื่นให้ได้ก่อน
2. ต้องอ่านให้ขาด ว่าองค์กรของเรามีทรัพยากรที่เพียงพอ ต่อการเดินหน้าหรือไม่
ถ้าไม่เพียงพอ ก็จะต้องจัดหาแผนสำรอง มารองรับ
ข้อคิดนี้ สามารถสะท้อนจาก เหตุการณ์ศึกล้างตาที่เทรนตัน
ที่เกิดขึ้นหลังจากที่ วอชิงตันได้ประกาศอิสรภาพให้กับสหรัฐอเมริกาไปแล้ว
แน่นอนว่า อาณานิคมชาวอังกฤษก็ไม่ได้จากหายไปหมดซะทีเดียว
เพราะคนบางกลุ่ม ก็ยังลุกขึ้นต่อต้านอำนาจรัฐบาลปัจจุบันของชาวอเมริกันอยู่
โดยในเหตุการณ์นี้ นายพลวอชิงตัน ต้องพบกับความยากลำบากเมื่อกองกำลังของเขา ต้องเข้าไปในพื้นที่ที่มีความกันดาร และประสบกับอากาศที่หนาวเย็นจัด เพราะภูมิประเทศตรงนั้นเป็นภูเขาและต้องข้ามแม่น้ำเดลาแวร์ที่เย็นจนเป็นน้ำแข็งอีก
ทหารของเขาจึงได้ล้มตายระหว่างทางไปทำศึกปราบกบฏในครั้งนี้จำนวนเยอะมาก
ด้วยเหตุนี้นายพลวอชิงตัน จึงใช้ความสามารถในการประเมินสถานการณ์ความเสียหาย
ก่อนที่จะปรับแผนกลยุทธ์ ผูกพันธมิตรกับชนเผ่าที่ชำนาญการในพื้นที่
รวมทั้งการจัดหน่วยข่าวกรองสอดแนมศัตรู เพื่อสร้างความได้เปรียบ
จนกระทั่งกองกำลังของนายพลวอชิงตัน ที่มีจำนวนน้อยกว่า สามารถเอาชนะ กลุ่มผู้ต่อต้านของอังกฤษได้ สำเร็จ
เรื่องนี้ก็เปรียบได้กับการเป็นผู้นำในองค์กรที่ดี
เราจะต้องประเมินสถานการณ์ให้ดีก่อนการลงทุน หรือการนำพาบริษัทเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี เพราะหากเราไม่ประเมินทรัพยากรของเราให้ดีแล้ว การตัดสินใจของเรา อาจนำพาความผิดพลาดครั้งใหญ่มาให้ตัวเองได้
3. ต้องรู้จักการกระจายอำนาจและการตัดสินใจ โดยไม่เอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลาง
หลังจากที่ จอร์จ วอชิงตัน ได้เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐอเมริกา ในช่วงปี ค.ศ. 1789
สิ่งที่วอชิงตันเริ่มต้นทำเลยก็คือ การสร้างวัฒนธรรมการปกครองที่ไม่ผูกขาดอำนาจ ให้อยู่ที่ผู้นำเพียงผู้เดียว
โดยเขาได้จัดตั้งคณะรัฐมนตรีกระทรวงต่าง ๆ ที่มีความสามารถในด้านนั้น ๆ เข้ามาช่วยบริหาร และมีอำนาจในการตัดสินใจแทนเขาได้ทันทีในบางเรื่อง
นั่นก็เพราะวอชิงตันมีความเชื่ออยู่แล้วว่า บุคคลที่ถูกเลือกมาในที่นี้ ล้วนมีความสามารถทั้งหมด และหากเขากระจุกอำนาจไว้อยู่ที่ตัวเขาเอง ก็จะทำให้การบริหารงาน ล่าช้าลงไป
ก็คงไม่ต่างกับที่หลาย ๆ องค์กร โดยเฉพาะบริษัทเทคโนโลยีสมัยใหม่ หรือบริษัทสตาร์ตอัป ที่มีการจัดโครงสร้างองค์กรแบบแนวราบ (Flat Organization) เพื่อที่จะให้ทุกคนในองค์กรมีอิสระในการแสดงความคิดเห็นได้อย่างเต็มที่และเท่าเทียมกัน อีกทั้งยังเป็นการสนับสนุนความเป็นทีมเวิร์ก ให้กับพนักงาน
เรื่องราวของ จอร์จ วอชิงตัน ก็ได้จบลงด้วยการปลดเกษียณตนเอง หลังจากที่ได้ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดีร่วม 2 สมัย
ตัวเขาเอง ก็ได้ใช้ชีวิตในช่วงบั้นปลายอย่างมีความสุข ตามที่ฝันเอาไว้
ที่เมานต์เวอร์นอน โดยเขาให้เวลากับการทำการเกษตรและสร้างโรงกลั่นสุรา
และเสียชีวิตด้วยโรคปอดบวม ด้วยวัยเพียง 67 ปี เท่านั้น
แต่ชื่อและใบหน้าของ จอร์จ วอชิงตัน ก็ไม่ได้จางหายไปไหน
เพราะชื่อของเขาได้ถูกนำมาตั้งเป็นชื่อเมืองหลวงของสหรัฐอเมริกา ที่เราคุ้นเคยอย่าง
“กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. (Washington D.C.)”
และภาพใบหน้าของเขา ก็ได้ถูกนำมาตีพิมพ์ลงในเหรียญและธนบัตร 1 ดอลลาร์ของสหรัฐอเมริกา นั่นเอง
References
-หนังสือ “The American Revolution” เขียนโดย พีรพงษ์ ฉายยายนต์
-https://artsandculture.google.com
-https://integrispa.com/blog/lessons-from-history-george-washington-the-leader-we-needed/
-https://oiglobalpartners.com/4-executive-leadership-lessons-from-george-washington/
-https://en.wikipedia.org/wiki/#