เบื้องหลังโครงการ ZERO TO ONE by SCG พื้นที่แห่งโอกาส เพื่อสนับสนุนให้พนักงานทุกคนได้ปล่อยแสง

เบื้องหลังโครงการ ZERO TO ONE by SCG พื้นที่แห่งโอกาส เพื่อสนับสนุนให้พนักงานทุกคนได้ปล่อยแสง

5 มิ.ย. 2024
SCG x BrandCase
หนึ่งในหมุดหมายสำคัญของ SCG  คือ การเดินหน้าเเนวคิด ‘Passion for Inclusive Green Growth’ ชู 4 นโยบายหลัก ‘องค์กรคล่องตัว – นวัตกรรมกรีน – องค์กรแห่งโอกาส – ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง’ มุ่งสร้างสังคม Net Zero ให้เติบโตอย่างยั่งยืน
แน่นอนว่า การจะไปถึงเป้าหมายนั้น ต้องอาศัยหลายปัจจัย 
แต่หนึ่งในหัวใจสำคัญที่ขาดไม่ได้ คือ คน ซึ่งก็หมายถึงพนักงานของ SCG นั่นเอง
แต่ลำพังการ Upskill หรือ Reskill พนักงานแบบเดิม ๆ 
อาจไม่ทันกับการเปลี่ยนแปลงของโลกใบเดิมที่ไม่มีอะไรเหมือนเดิมอีกต่อไป 
โดยเปิดโอกาส ให้คนที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจและมีศักยภาพเพื่อเข้ามาร่วมสร้างสรรค์ นวัตกรรม สินค้า และโซลูชัน เพื่อตอบโจทย์ความต้องการที่หลากหลาย พร้อมเดินหน้าสู่ “องค์กรแห่งโอกาส” (Organization of possibilities) และร่วมเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างการเปลี่ยนแปลงขององค์กร และเป็นโอกาสของคนที่มีไอเดียหรือสนใจสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเร่งปัญหาโลกเดือดที่เป็นวิกฤตเร่งด่วนของโลก โดยการเปิด โอกาสเปลี่ยนไอเดียเป็นนวัตกรรม เปลี่ยนแพสชันให้เป็นจริง 
SCG จึงได้ริเริ่มโครงการ ZERO TO ONE by SCG ซึ่งเป็น SCG Startup Studio
พื้นที่แห่งโอกาส เพื่อสนับสนุนและผลักดันให้พนักงานได้ปล่อยแสง และเกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ภายในองค์กรขึ้นจนปีนี้เข้าสู่ปีที่ 7 แล้ว 
ที่สำคัญยังมี 9 ธุรกิจในพอร์ตโฟลิโอของโครงการ ZERO TO ONE by SCG ที่โบยบินได้แล้ว หรืออยู่ในช่วง Fly Stage และมีอีก 2 ธุรกิจที่อยู่ในช่วง Walk Stage
แล้วโครงการ ZERO TO ONE by SCG น่าสนใจอย่างไร ?
ทำไมถึงเป็นอีกหนึ่งจิกซอว์สำคัญของ SCG ?
BrandCase จะพาไปหาคำตอบจากคุณธรรมศักดิ์ เศรษฐอุดม กรรมการผู้จัดการใหญ่ SCG 
คุณธรรมศักดิ์ ฉายภาพให้เห็นความสำคัญของโครงการ ZERO TO ONE by SCG
การทรานส์ฟอร์เมชันองค์กร เป็นสิ่งสำคัญต่อการอยู่รอดของทุกธุรกิจ 
แต่การจะทำสิ่งนี้ได้ ต้องเริ่มจาก “คน”
นี่จึงเป็นเหตุผลว่า ทำไม SCG   ถึงเชื่อมั่นในคุณค่าของคน และ มุ่งมั่นสร้าง “องค์กรแห่งโอกาส” 
เพื่อให้พนักงาน มีพื้นที่แสดงพลังและปล่อยแพสชันไร้ขีดจำกัด คิดทำนอกกรอบ 
หนึ่งในช่องทางที่ให้พนักงาน SCG ได้ปล่อยแสง คือ โครงการ ZERO TO ONE by SCG ที่ปีนี้ก้าวสู่ปีที่ 7 แล้ว 
คุณธรรมศักดิ์บอกเล่าถึงจุดเริ่มต้นของโครงการ ว่า SCG เล็งเห็นว่าสตาร์ตอัปมีบทบาทอย่างมากในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และสังคม ทั้งในระดับโลก, ระดับภูมิภาคเอเชีย และในประเทศไทย 
รวมถึงส่งผลต่อการพัฒนาระบบนิเวศของสตาร์ตอัปไทย, การลงทุนในธุรกิจใหม่ ๆ และการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินธุรกิจให้เดินหน้าไปกับกระแสของโลก
จากเหตุผลนี้เอง ทำให้ที่ผ่านมา SCG มีการผลักดันนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง ใน 3 ลักษณะ ได้แก่ Buy-Borrow-Build
เริ่มจาก Buy เป็นการลงทุนซื้อเทคโนโลยีเหล่านั้นจากนักพัฒนา ผู้เชี่ยวชาญ หรือเจ้าขององค์ความรู้เหล่านั้น เพื่อมาพัฒนานวัตกรรมและธุรกิจของ SCG  
ถัดมา คือ Borrow เป็นการพัฒนาและสร้างนวัตกรรมผ่านการหยิบยืมหรือนำเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาอยู่แล้วในองค์กรต่าง ๆ ภายนอก SCG  มาทดลองใช้ ต่อยอด ขยายผลให้สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างนวัตกรรมของ SCG เพื่อตอบสนองลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว
สุดท้ายคือการ Build หรือ การสร้างความเชี่ยวชาญ พัฒนาเทคโนโลยีพื้นฐานจากความรู้ ความเชี่ยวชาญ ความสามารถ ประสบการณ์ของบุคลากรและทรัพยากรต่าง ๆ ภายใน SCG เอง 
อย่างไรก็ตาม แม้การ Buy และ Borrow จะเป็นวิธีที่ง่าย และรวดเร็ว 
แต่การเทรนพนักงานให้ก้าวทันนวัตกรรมหรือเทคโนโลยี ก็เป็นเรื่องที่ไม่อาจมองข้าม 
โดยโครงการที่เข้ามาตอบโจทย์ข้อนี้ คือ โครงการ ZERO TO ONE by SCG 
คุณแป้ง - สุรภี อิทธิสวัสดิ์พันธุ์ Head of Business Incubation กล่าวถึงความน่าสนใจของโครงการ ZERO TO ONE by SCG
ว่าเป็นพื้นที่ที่เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้ามาทดลอง เรียนรู้ และเริ่มต้นสร้างธุรกิจ
ผ่านการฝึกฝน ทดลองทำธุรกิจ รวมถึงสร้าง Playground 
ซึ่งเปรียบเสมือนการติดอาวุธทางธุรกิจก่อนลงสนามจริง เริ่มต้นจาก 0 ไป 1 และเติบโตแบบ ก้าวกระโดดไปถึง 100 
เป้าหมายก็เพื่อสนับสนุนและผลักดันให้เกิดการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ 
ทั้งนี้ SCG จะช่วยสนับสนุนทั้งทรัพยากร องค์ความรู้ และเครือข่ายธุรกิจจากองค์กร 
ภายใต้แนวคิด “Unleash Your Endless Possibilities - ปลดปล่อยความคิด ติดอาวุธแห่งอนาคต สู่ทุกความเป็นไปได้ ที่ไม่สิ้นสุด  
โดยนำความเชี่ยวชาญและทรัพยากรที่มีอยู่แล้วของบริษัทแม่ มาช่วยพัฒนานวัตกรรม และการเข้าสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว
ขณะเดียวกันก็ยังมีความยืดหยุ่น ความคล่องตัว และการโฟกัส เพื่อสร้างนวัตกรรม ในแบบสตาร์ตอัป
สำหรับโครงการจะแบ่งออกเป็น 3 เฟส ได้แก่  
-ระยะฟักไข่ (HATCH) ช่วยค้นหาปัญหาหรือสิ่งที่อยากเปลี่ยนแปลงที่แท้จริง  
-ระยะเดิน (WALK) หาวิธีการตอบโจทย์ปัญหานั้น
-ระยะบิน (FLY) ขยายผลให้กลายเป็นธุรกิจจริง
โดยแต่ละทีมที่เข้าร่วมโครงการ จะต้องผ่านขั้นตอนของการทดสอบความเป็นไปได้ ทั้งในแง่ของลูกค้า ปัญหา วิธีการแก้ปัญหา และโมเดลทางธุรกิจ รวมไปถึงการขยายฐานลูกค้าและการเติบโตทางธุรกิจอีกด้วย
สำหรับปลายทางของสตาร์ตอัปภายใต้อ้อมอกของ ZERO TO ONE by SCG
มีทั้งได้เดินหน้าออกไปเป็นสตาร์ตอัปจริง ๆ คือออกจากบริษัทฯ ไปทำธุรกิจของตนเอง 
โดยเปลี่ยนจากความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานกับบริษัท SCG จากนายจ้างกับลูกจ้าง มาเป็นผู้ลงทุนกับเจ้าของธุรกิจ หรือเลือกที่จะเป็นบริษัทข้างใน SCG ก็ได้ 
กระบวนการทั้งหมดนี้ ก็เพื่อให้พนักงานที่มีแพสชัน ได้ลองสวมบทเป็นผู้พัฒนาสตาร์ตอัปตั้งแต่ระยะเริ่มต้น (Early stage) 
ซึ่งถือเป็นการสร้างวิถีการทำงานใหม่ และเป็นการ Upskill-Reskill เพื่อยกระดับทักษะใหม่ ๆ ให้พนักงาน
สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงได้อย่างดี และสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ที่น่าสนใจ คือ ด้วยความที่ตัวโครงการ เปิดโอกาสให้สร้างวิธีคิดใหม่ ๆ ที่ช่วยเปลี่ยนโอน (Transform) การทำงานของพนักงาน ทั้งเรื่องความรับผิดชอบและการตัดสินใจ 
ดังนั้น โครงการ ZERO TO ONE by SCG จึงถือเป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กร บ่มเพาะทักษะและสร้างความเป็นผู้ประกอบการให้เกิดขึ้นในตัวพนักงานในองค์กร 
ที่เรียกได้ว่าถือเป็นการปฏิวัติแนวคิดของพนักงานทุกคน
เพราะไม่ว่าจะเป็นพนักงานที่ประสบความสำเร็จหรือไม่ในโครงการ ก็ล้วนนำไปสู่การเปลี่ยนแปลง
ที่ทำให้พนักงานเหล่านี้กลายเป็น กำลังสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวหน้า หลายคนกลับเข้าไปเป็นดาวเด่นของสายงานธุรกิจ ไปดูแลบริหารโครงการใหญ่ ๆ ของหน่วยงาน
ช่วยพัฒนาให้เป็นองค์กรแห่งความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรมยุคใหม่ได้ในที่สุด
ในแง่ขององค์กรก็ได้รับผลดีเช่นกัน เพราะการที่พนักงานมีคุณสมบัติของการล้มเร็ว เรียนรู้เร็ว และมีวัฒนธรรมการเรียนรู้แบบ Design Thinking ทำให้องค์กรเกิด Speed & Scale ในการสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้เกิดขึ้นได้จริง และทันกับความต้องการของลูกค้าในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เอื้อต่อการสร้างช่องทางรายได้ใหม่ และสร้างธุรกิจเพื่อเข้าสู่ตลาดใหม่ 
ปัจจุบัน สตาร์ตอัปที่อยู่ภายใต้พอร์ตฟอลิโอของโครงการ มีอยู่ 9 ธุรกิจที่โบยบินได้แล้ว (Fly Stage)
ตัวอย่างสตาร์ตอัป จากโครงการ ZERO TO ONE by SCG  เช่น 
DezpaX ธุรกิจจำหน่ายบรรจุภัณฑ์ ที่เชี่ยวชาญการทำกล่องบรรจุอาหารทุกประเภท ซึ่งใกล้เคียงกับธุรกิจแพ็กเกจจิงของ SCG 
แต่สิ่งที่ต่างออกไป คือ กลุ่มลูกค้า ที่เป็นกลุ่ม B2C หรือ ผู้บริโภคที่ใช้สินค้าโดยตรง
ขณะที่ธุรกิจแพ็กเกจจิงของ SCG  เป็นลักษณะค้าขายกับธุรกิจใหญ่แบบ B2B 
ธุรกิจนี้ จึงถือเป็นการขยายโอกาส สร้างรายได้ช่องทางใหม่ ๆ ให้กับ SCG 
ปัจจุบัน DezpaX มีการระดมทุนในรอบ Series A หลังจากที่ทีม Spin-Off ออกไปจัดตั้งบริษัท 
ซึ่งมีการประเมินมูลค่าธุรกิจสูงถึง 204 ล้านบาท 
นอกจากนี้ยังมีกองทุน ORZON Ventures ซึ่งเป็นกองทุนที่ลงทุนในธุรกิจสตาร์ตอัปภายใต้ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) หรือ OR ลงทุนร่วมกับ Next Ventures ซึ่งเป็น Corporate Venture Capital (CVC) ภายใต้ บริษัท ที.เค.เอส. เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) (TKS) ร่วมผลักดันการเติบโตด้านออนไลน์สำหรับธุรกิจบรรจุภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มอย่างครบวงจร
อีกหนึ่งตัวอย่าง คือ Wake Up Waste แพลตฟอร์มและรถบีบอัด ที่จะช่วยให้กระบวนการตั้งแต่ต้นทางไปจนสู่การรีไซเคิลครบวงจร จากแอปพลิเคชัน ซึ่งจะมีการบันทึกข้อมูลการรับซื้อแบ่งตามประเภทขยะ น้ำหนัก ราคา 
จากนั้นจะจัดรถขนส่งไปรับเป็นรถบีบอัดขยะรีไซเคิลที่ติดตั้งเครื่องบีบอัดบนรถกระบะสี่ล้อจัมโบ้ เพื่อส่งต่อวัตถุดิบคุณภาพให้โรงงานเฉพาะทาง พร้อมออกใบเสร็จอิเล็กทรอนิกส์ และสรุปรายงานภาพรวม 
รวมถึงสามารถสะสมคะแนนเพื่อแลกแต้มเป็นเงินหรือเป็นสินค้าได้ 
ทั้งนี้จากการดำเนินงานที่ผ่านมา พบว่า มีลูกค้าจากทั้งกลุ่มผู้อยู่อาศัย ผู้ขนส่ง และโรงงานรีไซเคิลถึง 300 แห่งครอบคลุมพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร 
ที่ผ่านมา Wake Up Waste ได้รับขยะรีไซเคิลเติบโตต่อเนื่องทุกเดือน ยอดสะสมทั้งหมด 1,150 ตัน 
ที่สำคัญช่วยลดการปล่อยคาร์บอนฟุตพริ้นต์ไปกว่า 7.5 แสนกิโลคาร์บอนเทียบเป็นปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ต้นไม้ดูดซับได้ 60,000 ต้น.
สำหรับเป้าหมายต่อไปของโครงการ ZERO TO ONE by SCG คือ การสร้างสรรค์นวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อมอบประสบการณ์ที่ดีขึ้นของลูกค้า สังคมที่ดีขึ้น และโลกที่ดีกว่า 
สอดคล้องกับแนวคิด “Passion for Inclusive Green Growth” ของ SCG 
นอกจากนี้ SCG  ยังมองว่า การร่วมมือกันระหว่างธุรกิจหรือระหว่างองค์กร จากภาครัฐและเอกชน ทั้งในไทยและต่างประเทศ จากเครือข่ายที่ SCG มีอยู่ ถือเป็นทางออกที่จะทำให้เกิดการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ การแบ่งปันคนและความรู้ระหว่างกัน 
รวมไปถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของตลาดเดิมให้เป็นไปตามกรอบแนวคิดที่ใช้ขับเคลื่อนภาคธุรกิจให้เกิดการเติบโตอย่างยั่งยืน
เช่น Green Economy หรือ ESG (สิ่งแวดล้อมความยั่งยืน และธรรมาภิบาล) ที่เกิดจากความต้องการของผู้บริโภคเปลี่ยนไป ทำให้เจ้าเดิม ๆ ต้องปรับตัว และเจ้าใหม่ ๆ ได้เข้ามา โดยความร่วมมือที่จะเกิดขึ้นสามารถเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ
ทั้งหมดนี้ คือ เหตุผลว่า ทำไมโครงการ ZERO TO ONE by SCG  ถึงเป็นหนึ่งในจิกซอว์สำคัญของ SCG นั่นเอง
จากนี้ก็น่าติดตามว่า ผลผลิตของโครงการ  ZERO TO ONE by SCG จะสร้างผลงานอะไรที่น่าตื่นเต้นออกมาให้เห็น
ใครจะรู้ว่า ในอนาคต เราอาจจะได้เห็น สตาร์ตอัปไทยที่มาจากโครงการ ZERO TO ONE by SCG กลายเป็นยูนิคอร์นก็เป็นได้..
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมของโครงการ ZERO TO ONE by SCG ได้ที่ https://bit.ly/ZTOSCGXB
© 2024 BrandCase. All rights reserved. Privacy Policy.