สรุป Brand Persona สร้างตัวตนของแบรนด์ ให้ลูกค้าอิน และมีความรู้สึกร่วม
16 ธ.ค. 2023
สรุป Brand Persona สร้างตัวตนของแบรนด์ ให้ลูกค้าอิน และมีความรู้สึกร่วม | BrandCase
การสร้างแบรนด์จำเป็นต้องทำอะไรบ้าง ?
มีแค่ชื่อแบรนด์และโลโก เพียงพอหรือยังสำหรับการสร้างแบรนด์ ?
มีแค่ชื่อแบรนด์และโลโก เพียงพอหรือยังสำหรับการสร้างแบรนด์ ?
คนทำธุรกิจหน้าใหม่หลาย ๆ คน อาจจะคาใจกับคำถามเหล่านี้
และสงสัยว่า การจะสร้างแบรนด์ขึ้นมาสักแบรนด์หนึ่ง ต้องทำอะไรบ้าง
และสงสัยว่า การจะสร้างแบรนด์ขึ้นมาสักแบรนด์หนึ่ง ต้องทำอะไรบ้าง
ซึ่งต้องบอกว่า ลำพังแค่ชื่อแบรนด์และโลโก
อาจยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ลูกค้ามีความอิน และรู้สึกร่วมกับแบรนด์ได้
อาจยังไม่เพียงพอที่จะทำให้ลูกค้ามีความอิน และรู้สึกร่วมกับแบรนด์ได้
เพราะมีอีกสิ่งหนึ่งที่ธุรกิจควรจะทำก็คือ การกำหนด “Brand Persona”
แล้ว Brand Persona คืออะไร ? สำคัญอย่างไรต่อการสร้างแบรนด์ ?
BrandCase สรุปให้ แบบเข้าใจง่าย ๆ
BrandCase สรุปให้ แบบเข้าใจง่าย ๆ
Persona ในภาษาไทย หมายถึง บุคลิกลักษณะ
Brand Persona จึงหมายถึง การกำหนดบุคลิก กำหนดความเป็นตัวตนให้กับแบรนด์
Brand Persona จึงหมายถึง การกำหนดบุคลิก กำหนดความเป็นตัวตนให้กับแบรนด์
เรื่องนี้มีความสำคัญมาก ในการทำการตลาดและการสร้างแบรนด์
เพราะบุคลิกที่โดดเด่น แตกต่างจากแบรนด์อื่นอย่างชัดเจน จะทำให้เกิด Brand Awareness หรือเกิดการสร้างภาพจำของแบรนด์ ให้ลูกค้านึกถึงได้ตลอด
และเมื่อลูกค้าจดจำแบรนด์ได้ ก็เหมือนว่าเราได้เป็นส่วนหนึ่งของตัวเลือกของลูกค้า
ตัวอย่างเช่น Burger King มีการสร้างแบรนด์
ให้เป็นที่จดจำด้วยการสร้างคอนเทนต์ ให้เป็นไวรัลบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ผ่านบุคลิกร่าเริง สนุกสนาน และตลกขบขัน
ให้เป็นที่จดจำด้วยการสร้างคอนเทนต์ ให้เป็นไวรัลบนแพลตฟอร์มออนไลน์ ผ่านบุคลิกร่าเริง สนุกสนาน และตลกขบขัน
ตัวอย่างเช่น การทำแคมเปญ Have It Your Way ที่ให้ลูกค้าได้ปรับเพิ่ม ลด วัตถุดิบในแฮมเบอร์เกอร์ได้ตามใจชอบ จนออกมาเป็นเมนู The Real Cheese Burger, The Real Meat Burger และเมนูอื่น ๆ อีกมากมาย
หรือคอนเทนต์ที่มีการเล่นมุก อย่างเช่น
“ถ้าเราเขียนเก่ง.. เราก็จะได้เป็นนักเขียน แต่ถ้าเราเข้าใจเก่ง.. เราก็จะได้เป็น ‘นักเก็ตต์’”
ก็สร้างกระแสตอบรับที่ดีจากลูกเพจเช่นเดียวกัน
“ถ้าเราเขียนเก่ง.. เราก็จะได้เป็นนักเขียน แต่ถ้าเราเข้าใจเก่ง.. เราก็จะได้เป็น ‘นักเก็ตต์’”
ก็สร้างกระแสตอบรับที่ดีจากลูกเพจเช่นเดียวกัน
ซึ่งก็ทำให้แบรนด์ Burger King ได้ยอดเอนเกจเมนต์บนเฟซบุ๊กแฟนเพจเพิ่มขึ้น 3,000%
และสามารถขยายฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ได้มากถึง 50%
และสามารถขยายฐานลูกค้ากลุ่มใหม่ได้มากถึง 50%
และเมื่อลูกค้าอยากกินแฮมเบอร์เกอร์ขึ้นมา Burger King ก็จะกลายเป็นตัวเลือกหนึ่ง ที่ลูกค้ารู้จักและจดจำได้จากบุคลิกที่ทางแบรนด์ได้นำเสนอออกมา
ซึ่งนี่ก็เป็นหนึ่งในเหตุผลให้ Burger King สามารถสร้างยอดขายนิวไฮได้ในปีนี้ด้วย
นอกจากนี้ การสร้างบุคลิกของแบรนด์ ให้มีความใกล้เคียงกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของเรา
ยังทำให้ลูกค้ารู้สึกว่า แบรนด์มีความใกล้ชิดกับตัวเอง
ยังทำให้ลูกค้ารู้สึกว่า แบรนด์มีความใกล้ชิดกับตัวเอง
และทำให้ลูกค้าเปิดใจให้แบรนด์ของเรามากขึ้น ซึ่งก็จะส่งผลให้สามารถเก็บข้อมูลอินไซต์ของลูกค้าได้ง่ายขึ้นด้วย
แล้ว Brand Persona มีกี่ประเภท อะไรบ้าง ?
บุคลิกของแบรนด์แบ่งออกเป็น 12 แบบ อ้างอิงตามลักษณะบุคลิกของบุคคล
ที่คุณ Carl Gustav Jung จิตแพทย์และนักจิตวิเคราะห์ชาวสวิส ได้วิเคราะห์เอาไว้ ได้แก่
ที่คุณ Carl Gustav Jung จิตแพทย์และนักจิตวิเคราะห์ชาวสวิส ได้วิเคราะห์เอาไว้ ได้แก่
ผู้สร้างสรรค์ (Creator) มีบุคลิกชอบสร้างสรรค์สิ่งใหม่ ๆ ชอบจินตนาการ เช่น Legoผู้คุมกฎ (Ruler) มีบุคลิกความเป็นผู้นำ ชอบควบคุม สร้างบรรทัดฐาน เช่น Mercedes-Benzผู้ดูแล (Caregiver) มีบุคลิกเป็นผู้ใหญ่ ชอบดูแลและเป็นที่พึ่งให้ผู้อื่นได้ เช่น Volvoคนไร้เดียงสา (Innocent) มีบุคลิกเป็นมิตร รู้สึกปลอดภัย ไม่มีพิษภัย เช่น Procter & Gambleคนคงแก่เรียน (Sage) มีบุคลิกสุขุม ฉลาด ชอบเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ เช่น Googleนักสำรวจ (Explorer) มีบุคลิกที่ชอบความท้าทาย ค้นหาสิ่งใหม่ ๆ เช่น Red Bullคนธรรมดา (Everyman) มีบุคลิกที่เรียบง่าย เข้ากับใครก็ได้ เช่น IKEAตัวโจ๊ก (Jester) มีบุคลิกตลกขบขัน ชอบสร้างเสียงหัวเราะ เช่น Burger Kingนักรักช่ำชอง (Lover) มีบุคลิกน่าดึงดูด ชอบหว่านเสน่ห์และความโรแมนติก เช่น Chanelคนชอบแหกกฎ (Outlaw) มีบุคลิกชอบคิดนอกกรอบ ไม่ชอบการจำกัดความคิด เช่น SpaceXผู้วิเศษ (Magician) มีบุคลิกเพ้อฝัน อยากให้จินตนาการกลายเป็นความจริง เช่น Disneyวีรบุรุษ (Hero) มีบุคลิกชอบสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้อื่น เพื่อเปลี่ยนแปลงโลก เช่น Nike
แล้วการสร้าง Brand Persona ด้วยวิธีง่าย ๆ ทำได้อย่างไรบ้าง ?
การสร้าง Brand Persona ให้ได้ผลและมีประสิทธิภาพ นอกจากแบรนด์จะสำรวจตัวตนและคุณค่าของตัวเองแล้ว
แบรนด์ยังจำเป็นต้องกลับมาทบทวน กลุ่มลูกค้าเป้าหมายของแบรนด์อีกครั้ง ว่าพวกเขามีจุดร่วมอะไรที่คล้ายคลึงกันบ้าง มีความชื่นชอบและสนใจอะไรเป็นพิเศษ
ซึ่งการหาจุดร่วมของลูกค้า อาจหาได้จากการสอบถามความสนใจ ความรู้สึก ความคิดเห็นของลูกค้า
การตอบแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ หรือการถามพนักงานที่ทำงานใกล้ชิดลูกค้า
การตอบแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ หรือการถามพนักงานที่ทำงานใกล้ชิดลูกค้า
แล้วจึงค่อยวิเคราะห์หาบุคลิกที่เหมาะสม ที่จะใช้สื่อสารกับกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของเรา
เช่น หากกลุ่มลูกค้าของเรา ต้องการสินค้าหรือบริการที่มีความปลอดภัย เป็นที่พึ่งทางใจได้
แบรนด์อาจจะเลือกบุคลิกแบบ Caregiver หรือ Innocent ที่แสดงถึงความเป็นมิตร และพึ่งพาได้
เพื่อใช้สื่อสารกับลูกค้า
แบรนด์อาจจะเลือกบุคลิกแบบ Caregiver หรือ Innocent ที่แสดงถึงความเป็นมิตร และพึ่งพาได้
เพื่อใช้สื่อสารกับลูกค้า
หรือหากลูกค้าชอบสินค้าที่มีความน่าเชื่อถือ
แบรนด์อาจจะเลือกบุคลิกแบบ Sage ที่แสดงถึงความสุขุม ฉลาด และน่าเชื่อถือ ในการสื่อสารกับลูกค้าก็ได้
แบรนด์อาจจะเลือกบุคลิกแบบ Sage ที่แสดงถึงความสุขุม ฉลาด และน่าเชื่อถือ ในการสื่อสารกับลูกค้าก็ได้
อ่านมาถึงตรงนี้ หลายคนน่าจะเข้าใจแนวคิดการสร้างแบรนด์ ผ่านบุคลิกแต่ละแบบมากขึ้นแล้ว
ซึ่งการสร้างบุคลิกให้แบรนด์ มีความสำคัญไม่ต่างจากกลยุทธ์การตลาดอื่น ๆ เลย
ซึ่งการสร้างบุคลิกให้แบรนด์ มีความสำคัญไม่ต่างจากกลยุทธ์การตลาดอื่น ๆ เลย
เพราะบุคลิกของแบรนด์ที่เป็นเอกลักษณ์ชัดเจน จะทำให้ลูกค้ารู้จัก และจดจำแบรนด์ได้ง่าย
ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการที่แบรนด์จะเข้าไปอยู่ในใจของลูกค้านั่นเอง…