กรณีศึกษา ตราแม่ครัว แบรนด์เครื่องปรุง 2,000 ล้าน โตมาจากธุรกิจเล็ก ๆ ในชลบุรี
9 ธ.ค. 2023
กรณีศึกษา ตราแม่ครัว แบรนด์เครื่องปรุง 2,000 ล้าน โตมาจากธุรกิจเล็ก ๆ ในชลบุรี | BrandCase
ถ้าพูดถึงซอสหอยนางรม แบรนด์ดังในไทย “ตราแม่ครัว” ที่มีโลโก เป็นรูปผู้หญิง กำลังทำกับข้าวอยู่
น่าจะเป็นชื่อที่หลายคนนึกถึง เป็นชื่อแรก ๆ
น่าจะเป็นชื่อที่หลายคนนึกถึง เป็นชื่อแรก ๆ
ที่น่าสนใจคือ เจ้าของแบรนด์นี้เริ่มต้นมาจากธุรกิจเล็ก ๆ ในจังหวัดชลบุรี
แต่วันนี้กลายเป็นแบรนด์ซอส ที่ต้องมีติดครัวของคนไทย และปีที่ผ่านมา ก็ทำรายได้ไปกว่า 2,000 ล้านบาท
แต่วันนี้กลายเป็นแบรนด์ซอส ที่ต้องมีติดครัวของคนไทย และปีที่ผ่านมา ก็ทำรายได้ไปกว่า 2,000 ล้านบาท
เรื่องราวของแบรนด์นี้ น่าสนใจอย่างไร ?
BrandCase สรุปให้ แบบเข้าใจง่าย ๆ
BrandCase สรุปให้ แบบเข้าใจง่าย ๆ
เจ้าของซอสหอยนางรมตราแม่ครัว คือบริษัทที่ชื่อว่า จิ้วฮวด จำกัด
ซึ่งเป็นธุรกิจของตระกูลกาญจนวิสิษฐผล
ซึ่งเป็นธุรกิจของตระกูลกาญจนวิสิษฐผล
โดยนอกจากเครื่องปรุงรส ตราแม่ครัว บริษัทนี้ยังเป็นเจ้าของเครื่องปรุงรสอีกหลาย ๆ แบรนด์ที่เราคุ้นเคยกัน
เช่น ตราฉลากทอง และตราแม่ครัวฉลากทอง
เช่น ตราฉลากทอง และตราแม่ครัวฉลากทอง
จุดเริ่มต้นของจิ้วฮวด เกิดขึ้นในปี 2510 ณ บ้านแหลมแท่น ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี
โดยตระกูลกาญจนวิสิษฐผล ที่เริ่มต้นธุรกิจจำหน่ายหอยนางรมสด และอาหารทะเลแห้ง
โดยตระกูลกาญจนวิสิษฐผล ที่เริ่มต้นธุรกิจจำหน่ายหอยนางรมสด และอาหารทะเลแห้ง
ต่อมาในปี 2525 ตระกูลกาญจนวิสิษฐผล ได้ก่อตั้งบริษัท จิ้วฮวด จำกัด เพื่อทำธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ซอสหอยนางรม ตราแม่ครัว
และต่อยอดด้วยผลิตภัณฑ์ ตราฉลากทอง ได้แก่ ซอสปรุงรส ซอสพริก น้ำส้ม แป้งทอดกรอบ น้ำปลา และซีอิ๊วขาว
ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ได้กลายเป็นเครื่องปรุงรสอาหารชื่อดัง ที่หลายคนคุ้นเคยในเวลาต่อมา
โดยหนึ่งในกลยุทธ์ที่สำคัญในการทำธุรกิจของจิ้วฮวดคือ การควบคุมกระบวนการผลิต ตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ
โดยเฉพาะการจัดหาวัตถุดิบ เพื่อให้สามารถควบคุมต้นทุนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยเฉพาะการจัดหาวัตถุดิบ เพื่อให้สามารถควบคุมต้นทุนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ยกตัวอย่าง สินค้าที่เป็นจุดขายอย่างซอสหอยนางรม ตราแม่ครัวนั้น จุดเด่นคือ มีการใช้ส่วนผสมของหอยนางรมสดจริง ๆ
และด้วยความที่จิ้วฮวดมีฟาร์มหอยนางรมเป็นของตัวเอง ทำให้สามารถควบคุมต้นทุนวัตถุดิบได้
และด้วยความที่จิ้วฮวดมีฟาร์มหอยนางรมเป็นของตัวเอง ทำให้สามารถควบคุมต้นทุนวัตถุดิบได้
ซึ่งหากวัตถุดิบไหนที่ทางจิ้วฮวดไม่สามารถควบคุม หรือผลิตเองได้ และต้นทุนของสินค้านั้นมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทางบริษัทก็จะยกเลิกการผลิตสินค้านั้นออกไป
อย่างเช่น กรณีของซอสพริกตราฉลากทอง ที่จิ้วฮวดเคยทำจำหน่าย ก็ได้ถูกยกเลิกการผลิตไป เนื่องจากในสมัยก่อนนั้น ต้นทุนของพริกยังไม่สูงมาก อยู่ที่ราคากิโลกรัมประมาณ 10 บาท
แต่ต่อมาราคาพริกเพิ่มขึ้นไปที่กิโลกรัมละประมาณ 80 บาท ทำให้ต้นทุนในการผลิตพุ่งสูงขึ้น ส่งผลให้จิ้วฮวดตัดสินใจเลิกผลิตซอสพริกตราฉลากทอง
รายได้และกำไรของ บริษัท จิ้วฮวด จำกัด
ปี 2563 รายได้ 2,200 ล้านบาท กำไร 63 ล้านบาท
ปี 2564 รายได้ 2,632 ล้านบาท กำไร 73 ล้านบาท
ปี 2565 รายได้ 2,339 ล้านบาท กำไร 71 ล้านบาท
ปี 2563 รายได้ 2,200 ล้านบาท กำไร 63 ล้านบาท
ปี 2564 รายได้ 2,632 ล้านบาท กำไร 73 ล้านบาท
ปี 2565 รายได้ 2,339 ล้านบาท กำไร 71 ล้านบาท
อีกอย่างที่น่าสนใจคือ รู้ไหมว่า ตลาดเครื่องปรุงรสของประเทศไทยนั้น มีการเติบโตตลอดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา
โดยในปี 2561 มีมูลค่าตลาดอยู่ที่ 43,819 ล้านบาท ขณะที่ในปี 2565 อยู่ที่ 53,320 ล้านบาท
แม้แต่ในช่วงของโรคระบาด ตลาดเครื่องปรุงรสก็ยังเติบโต เนื่องจากการที่ผู้คนอยู่บ้านมากขึ้น จึงมีการทำอาหารทานเอง
แม้แต่กลุ่มคนที่ไม่เคยทำอาหารก็ยังหันมาทำอาหารทาน
แม้แต่กลุ่มคนที่ไม่เคยทำอาหารก็ยังหันมาทำอาหารทาน
และนี่คือ เรื่องราวของจิ้วฮวด จากธุรกิจเล็ก ๆ ที่เกิดขึ้นในต่างจังหวัด เมื่อประมาณ 50 ปีที่แล้ว
มาวันนี้กลายเป็นธุรกิจขนาดใหญ่ ที่มียอดขายปีละกว่า 2,000 ล้านบาท..
References
-https://krungthai.com/th/financial-partner/learn-financial/1658
-แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี/รายงานประจำปี 2565, บริษัท ไทยเทพรส จำกัด (มหาชน)
-https://krungthai.com/th/financial-partner/learn-financial/1658
-แบบแสดงรายการข้อมูลประจำปี/รายงานประจำปี 2565, บริษัท ไทยเทพรส จำกัด (มหาชน)