Branding vs Marketing ต่างกัน มุมไหนบ้าง ?
7 ส.ค. 2023
Branding vs Marketing ต่างกัน มุมไหนบ้าง ? | BrandCase
คำว่า Branding แปลตรง ๆ คือ การสร้างแบรนด์
ส่วนคำว่า Marketing แปลตรง ๆ คือ การตลาด
ส่วนคำว่า Marketing แปลตรง ๆ คือ การตลาด
บางคนก็อาจจะคิดว่าทั้ง Branding และ Marketing ก็คงเหมือน ๆ กัน หรือรู้ว่าต่างกัน แต่ก็บอกไม่ได้ชัด ๆ ว่าต่างกันมุมไหนบ้าง
ซึ่งจริง ๆ แล้ว 2 คำนี้ มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนในหลายมุม
ซึ่งจริง ๆ แล้ว 2 คำนี้ มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนในหลายมุม
สรุปแล้วทั้ง Branding กับ Marketing ต่างกัน มุมไหนบ้าง ?
BrandCase สรุปให้ แบบเข้าใจง่าย ๆ
BrandCase สรุปให้ แบบเข้าใจง่าย ๆ
คำว่า “Branding” หรือการสร้างแบรนด์นั้น คือ การทำธุรกิจให้มีตัวตนขึ้นมาในสายตาของลูกค้า
ผ่านสิ่งต่าง ๆ ที่ช่วยสร้างความรู้สึกร่วมขึ้นมา
ผ่านสิ่งต่าง ๆ ที่ช่วยสร้างความรู้สึกร่วมขึ้นมา
ไม่ว่าจะเป็นโลโก สโลแกน หรือภาพลักษณ์ของแบรนด์
ซึ่งโดยปกติแล้วการสร้างแบรนด์จะเป็นการตอบคำถามว่า
ธุรกิจของเราคืออะไร ?
คุณค่าของเราคืออะไร ?
เรามีจุดยืนอะไร ?
หรือเป้าหมายระยะยาวของเราคืออะไร ?
ธุรกิจของเราคืออะไร ?
คุณค่าของเราคืออะไร ?
เรามีจุดยืนอะไร ?
หรือเป้าหมายระยะยาวของเราคืออะไร ?
ส่วนคำว่า “Marketing” หรือการทำการตลาด คือ เครื่องมือ กระบวนการ หรือกลยุทธ์ที่ช่วยโปรโมตสินค้า บริการ หรือธุรกิจ
โดยมีเป้าหมายให้คนมาสนใจ และซื้อสินค้าหรือใช้บริการของเรา
โดยมีเป้าหมายให้คนมาสนใจ และซื้อสินค้าหรือใช้บริการของเรา
ซึ่งสิ่งที่สะท้อนการทำการตลาดได้มากที่สุด ที่เราจะคุ้นเคยกันดี ก็คือ “แคมเปญ” หรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่แบรนด์จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการขายนั่นเอง
แล้ว Branding กับ Marketing แตกต่างกันอย่างไรบ้างในแต่ละมุม ?
BrandCase สรุปให้เป็น 5 ข้อสำคัญ ๆ
BrandCase สรุปให้เป็น 5 ข้อสำคัญ ๆ
1.การสื่อสารกับฐานลูกค้าเก่า - ฐานลูกค้าใหม่
การสร้างแบรนด์ มีเป้าหมายในการทำให้ลูกค้าของเรากลับมาซื้อสินค้าหรือใช้บริการของเราต่อเนื่องในระยะยาว
ส่วนการทำการตลาด มีเป้าหมายในการทำให้ลูกค้าใหม่ ๆ ซึ่งก็พ่วงรวมลูกค้าเดิมด้วย เข้ามาซื้อสินค้าหรือบริการในช่วงเวลานั้น
เช่น การสร้างแบรนด์อาหารฟาสต์ฟูดของ Burger King ที่นำเสนอสินค้าที่มีคุณภาพ ใช้วัตถุดิบที่ดีเยี่ยม เน้นสร้างภาพลักษณ์ว่าตัวเองเป็น “King” หรือราชาด้านการขายเบอร์เกอร์
เอกลักษณ์และตัวตนแบบนี้ คือการสร้างแบรนด์ ที่ทำให้ลูกค้ายังคงมาซื้อเบอร์เกอร์ของ Burger King อย่างต่อเนื่อง
ส่วนการทำการตลาดของ Burger King ที่ชัด ๆ คือ มีการจัดแคมเปญแปลก ๆ
อย่างเช่น แคมเปญ Have It Your Way ของคนรักเนื้อ ที่ออกสินค้า The Real Meat Burger สำหรับคนชอบสเต๊กเนื้อแบบแฮมเบอร์เกอร์ ให้สามารถสั่งเนื้อแฮมเบอร์เกอร์มากขึ้นได้ไปจนถึง 100 ชิ้น โดยตกราคาชิ้นละเพียง 100 บาท
อย่างเช่น แคมเปญ Have It Your Way ของคนรักเนื้อ ที่ออกสินค้า The Real Meat Burger สำหรับคนชอบสเต๊กเนื้อแบบแฮมเบอร์เกอร์ ให้สามารถสั่งเนื้อแฮมเบอร์เกอร์มากขึ้นได้ไปจนถึง 100 ชิ้น โดยตกราคาชิ้นละเพียง 100 บาท
ทำให้คนที่ไม่เคยกินหรือรู้จักแบรนด์มาก่อน รวมทั้งกลุ่มที่เป็นแฟนคลับของแบรนด์อยู่แล้ว สนใจแคมเปญแบบสุดโต่งนี้ได้ และอยากลองซื้อสินค้า
2.ความรู้สึก - ความเป็นเหตุเป็นผล
การสร้างแบรนด์ เน้นการนำเสนอธุรกิจและสร้างภาพจำให้แก่ลูกค้า
ผ่านทางโลโก สโลแกน สี หรือเสียง ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับอารมณ์และความรู้สึกมากกว่าการใช้เหตุผล
ผ่านทางโลโก สโลแกน สี หรือเสียง ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับอารมณ์และความรู้สึกมากกว่าการใช้เหตุผล
แต่การทำการตลาด ก่อนจะออกมาเป็นแคมเปญต่าง ๆ มักจะต้องอาศัยความเป็นเหตุเป็นผลมากกว่า
ตัวอย่างเช่น แบรนด์ Starbucks ที่สร้างภาพจำและความรู้สึกให้ลูกค้าว่าเป็นแบรนด์กาแฟพรีเมียม มีบรรยากาศของร้านที่สบาย ๆ และเป็นกันเองเหมือนบ้านหลังที่สองหลังที่สาม ที่ใคร ๆ ก็ไปนั่งฆ่าเวลาได้
โดย Starbucks นิยามว่าเป็นการขาย “ประสบการณ์” ผ่านแก้วกาแฟ ซึ่งนี่คือ Branding ของ Starbucks
แต่ถ้าเป็นการทำการตลาดของแบรนด์ Starbucks จะมีการวิเคราะห์เมนูที่ขายดีในแต่ละประเทศ เพื่อปรับเปลี่ยนเมนู หรือเพิ่มเมนูท้องถิ่นให้เหมาะสมกับในแต่ละประเทศมากขึ้น
ซึ่งจะเห็นว่าต้องใช้ข้อมูล และเอามาวิเคราะห์ ก่อนจะออกมาเป็น Marketing
3.ทำไม - อย่างไร
การสร้างแบรนด์ คือการตอบคำถามว่า ทำไมลูกค้าควรซื้อสินค้าหรือบริการของเรา ?
ส่วนการตลาด คือการตอบคำถามว่า ธุรกิจจะทำอย่างไร ที่จะโน้มน้าวลูกค้าให้มาซื้อสินค้าหรือบริการของเรา ?
ยกตัวอย่างเช่น แบรนด์ Levi’s ที่สร้างแบรนด์โดยการมีสตอรีของการเป็นแบรนด์กางเกงยีนเก่าแก่ที่สุดในโลก มีประสบการณ์ข้ามกาลเวลากว่า 140 ปี
ทำให้ Branding ของ Levi’s คือเรื่องคุณภาพ ความสวยงาม และความคลาสสิก
ทำให้ Branding ของ Levi’s คือเรื่องคุณภาพ ความสวยงาม และความคลาสสิก
สิ่งเหล่านี้เป็นการตอบคำถามว่า ทำไมลูกค้าควรมาซื้อกางเกงยีนของแบรนด์ Levi’s
ส่วนการตลาดของแบรนด์ Levi’s อาจจะเป็นโปรโมชันลดราคากางเกงยีนในบางเทศกาล หรือกางเกงยีนบางรุ่นที่ออกมาสักพักแล้ว เพื่อชักจูงให้ลูกค้ามาซื้อกางเกงยีนของแบรนด์มากขึ้น
4.การหวังผลระยะยาว - ระยะสั้น
การสร้างแบรนด์ คือการหวังผลระยะยาว เพราะต้องโฟกัสไปที่เป้าหมายของธุรกิจ และการสร้างตัวตนของแบรนด์ขึ้นมาให้เป็นที่จดจำ
แต่การทำการตลาด เป็นการทำเพื่อหวังผลการกระตุ้นยอดขายเป็นครั้ง ๆ หรือระยะเวลาสั้น ๆ
ยกตัวอย่างเช่น Branding ของ Nike คือมีพันธกิจสร้างแรงบันดาลใจ และนำเสนอนวัตกรรมให้นักกีฬาทุกคนบนโลก เป็นพันธกิจที่ทำให้เราเห็นภาพของความเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมกีฬาได้อย่างชัดเจน
ซึ่งนี่ก็เป็นกระบวนการของการสร้างแบรนด์อย่างหนึ่ง ที่ต้องทำเป็นระยะเวลายาวนาน เพื่อให้ลูกค้าเชื่อมั่นในตัวแบรนด์ Nike
ขณะที่ Marketing ของ Nike ก็อย่างเช่น การโปรโมตสินค้ารุ่นใหม่ที่ออกมาในแต่ละครั้ง เพื่อกระตุ้นยอดขายเป็นเวลาสั้น ๆ
5.ความต่อเนื่องสม่ำเสมอ - การเปลี่ยนแปลง
การสร้างแบรนด์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเป้าหมาย หรือพันธกิจ มักจะเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
แม้บางครั้งจะมีการรีแบรนด์ เพื่อเปลี่ยนโลโกหรือรายละเอียดปลีกย่อยต่าง ๆ แต่หัวใจของแบรนด์ อย่างเป้าหมายก็ยังคงเหมือนเดิม
ขณะที่การทำการตลาด มักจะเปลี่ยนไปเสมอ ๆ ตามช่วงเวลา หรือตามเทรนด์ที่เปลี่ยนไปของสังคม
ยกตัวอย่างเช่น Branding ของ Coca-Cola คือเครื่องดื่มที่มอบความสดชื่นให้กับคนทั้งโลก
และถึงแม้ Coca-Cola จะมีการรีแบรนด์ครั้งใหญ่หลายครั้ง
ทั้งเปลี่ยนโลโก และรูปแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อให้แบรนด์ดูทันสมัยตรงใจผู้บริโภคมากขึ้น แต่ก็ยังมีพันธกิจเช่นเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
ทั้งเปลี่ยนโลโก และรูปแบบบรรจุภัณฑ์ เพื่อให้แบรนด์ดูทันสมัยตรงใจผู้บริโภคมากขึ้น แต่ก็ยังมีพันธกิจเช่นเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
ขณะที่ Marketing ของ Coca-Cola จะมีการปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัย
ไม่ว่าจะเป็นการทำแคมเปญโปรโมตเครื่องดื่มไม่มีน้ำตาล ที่ทำมาตอบสนองเทรนด์การรักสุขภาพของคนสมัยนี้
หรือแคมเปญที่เราเคยเห็นแล้วจำได้กัน อย่างเช่น “ร้อนนี้ ส่งโค้กให้…” ที่ทำการตลาดให้คนนึกถึงโค้กในช่วงหน้าร้อน
แคมเปญ “Share a Coke Day” ที่มีชื่อเล่นหรือข้อความสั้น ๆ พิมพ์อยู่ข้างกระป๋อง เพื่อให้ลูกค้าได้ส่งต่อความสัมพันธ์ดี ๆ ต่อกัน
หรือแคมเปญ “Real Magic” ที่เป็นแคมเปญเอาใจคน Gen Z
โดยการนำวงดนตรี นักร้อง และนักกีฬา E-Sports มาเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ในการโปรโมตสินค้า
โดยการนำวงดนตรี นักร้อง และนักกีฬา E-Sports มาเป็นแบรนด์แอมบาสเดอร์ในการโปรโมตสินค้า
สรุปแล้ว Branding กับ Marketing ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน และมีความแตกต่างกันในหลาย ๆ ด้าน
ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมาย การสื่อสาร กลยุทธ์ ความคาดหวัง หรือความต่อเนื่อง
ไม่ว่าจะเป็นเป้าหมาย การสื่อสาร กลยุทธ์ ความคาดหวัง หรือความต่อเนื่อง
ซึ่งการทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่าง การสร้างแบรนด์และการทำการตลาด มีความสำคัญมาก ๆ
เพราะถ้าเราเข้าใจ จะทำให้เรากำหนดวิธีการที่เหมาะสม
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการทำธุรกิจที่เราตั้งไว้ได้ นั่นเอง..
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการทำธุรกิจที่เราตั้งไว้ได้ นั่นเอง..
References
-https://www.indeed.com/career-advice/career-development/branding-vs-marketing
-https://www.brandbuffet.in.th/2020/10/burger-king-thailand-brand-transformation-and-reinvent-business/
-https://www.levistrauss.com/levis-history/
-https://www.nike.com/th/help/a/nikeinc-mission
-https://km-ir.arts.tu.ac.th/files/original/8572bfff350dc6b48c1c87b15cb1bf3163c133c3.pdf
-https://www.everydaymarketing.co/business-and-marketing-case-study/coca-cola-refreshes-brand-with-real-magic-campaign-appeals-to-gen-z/
-https://investors.coca-colacompany.com/about/our-purpose
-https://www.indeed.com/career-advice/career-development/branding-vs-marketing
-https://www.brandbuffet.in.th/2020/10/burger-king-thailand-brand-transformation-and-reinvent-business/
-https://www.levistrauss.com/levis-history/
-https://www.nike.com/th/help/a/nikeinc-mission
-https://km-ir.arts.tu.ac.th/files/original/8572bfff350dc6b48c1c87b15cb1bf3163c133c3.pdf
-https://www.everydaymarketing.co/business-and-marketing-case-study/coca-cola-refreshes-brand-with-real-magic-campaign-appeals-to-gen-z/
-https://investors.coca-colacompany.com/about/our-purpose