โมเดลธุรกิจ ซุปเปอร์ชีป เชนค้าปลีกภาคใต้ ขายของ 100 บาท เอากำไร 0.6 บาท
5 ส.ค. 2023
โมเดลธุรกิจ ซุปเปอร์ชีป เชนค้าปลีกภาคใต้ ขายของ 100 บาท เอากำไร 0.6 บาท | BrandCase
ถ้าไม่ใช่คนสุราษฎร์ธานี พังงา ภูเก็ต กระบี่ จะไม่คุ้นชื่อร้านค้าปลีกที่ชื่อว่า ซุปเปอร์ชีป
แต่ถ้าใครเคยไปเที่ยวจังหวัดเหล่านี้ อาจจะพอผ่าน ๆ ตาร้านนี้อยู่บ้าง เพราะร้านชื่อนี้ มีสาขาแค่ใน 4 จังหวัดนี้เท่านั้น
แต่ถ้าใครเคยไปเที่ยวจังหวัดเหล่านี้ อาจจะพอผ่าน ๆ ตาร้านนี้อยู่บ้าง เพราะร้านชื่อนี้ มีสาขาแค่ใน 4 จังหวัดนี้เท่านั้น
เรื่องน่าสนใจก็คือ ซุปเปอร์ชีป มีอัตรากำไรในปีที่ผ่านมา แค่ 0.6%
ซึ่งพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ ขายของ 100 บาท เอากำไรแค่ 0.6 บาท
โมเดลธุรกิจของ ซุปเปอร์ชีป เป็นอย่างไร ?
BrandCase สรุปให้ แบบเข้าใจง่าย ๆ
BrandCase สรุปให้ แบบเข้าใจง่าย ๆ
ซุปเปอร์ชีป ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2538 หรือเมื่อ 28 ปีที่แล้ว โดยครอบครัว อนันตจรูญวงศ์
เชนร้านค้าปลีกนี้มีประมาณ 100 สาขา โดยอยู่ในภาคใต้ทั้งหมด
ครอบคลุมจังหวัดสุราษฎร์ธานี, พังงา, ภูเก็ต และกระบี่
ซึ่งสาขาใหญ่จะตั้งอยู่บริเวณ ถนนเทพกระษัตรี อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต
ครอบคลุมจังหวัดสุราษฎร์ธานี, พังงา, ภูเก็ต และกระบี่
ซึ่งสาขาใหญ่จะตั้งอยู่บริเวณ ถนนเทพกระษัตรี อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต
โดยชื่อ ซุปเปอร์ชีป (SuperCheap) ถ้าแปลเป็นไทยง่าย ๆ จะมีความหมายว่า “โคตรถูก”
ซึ่งก็ตรงกับคอนเซปต์ของร้านจริง ๆ เพราะของในร้านจะขายถูกมาก
โดยสินค้าหลาย ๆ รายการ จะขายถูกกว่าร้านค้าปลีกเชนใหญ่ ๆ อย่าง 7-Eleven เสียอีก
โดยสินค้าหลาย ๆ รายการ จะขายถูกกว่าร้านค้าปลีกเชนใหญ่ ๆ อย่าง 7-Eleven เสียอีก
และนอกจากนั้นในหลายสาขา จะมีโซนค้าส่งที่ขายเป็นเซตใหญ่ ๆ ด้วย
โดยสินค้าที่ขาย ก็มีตั้งแต่ของใช้ทั่วไป อาหารสด อาหารแห้ง เสื้อผ้า เครื่องประดับ ยันสินค้าประดับยนต์เฟอร์นิเจอร์ และของพื้นบ้านในพื้นที่นั้น ๆ
ทีนี้มาดู งบกำไรขาดทุน ปี 2565 ของ บริษัท ซุปเปอร์ชีป จำกัด
-รายได้รวม 10,463 ล้านบาท
-ต้นทุนขาย 9,302 ล้านบาท
-ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 1,077 ล้านบาท
-ดอกเบี้ยจ่าย 12 ล้านบาท
-ภาษีเงินได้ 13 ล้านบาท
-กำไรสุทธิ 59 ล้านบาท
ซึ่งต้นทุนขายและค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ของร้านค้าแบบนี้
หลัก ๆ ก็จะเป็น ต้นทุนสินค้าที่ซื้อมาขายต่อในร้าน
ต้นทุนค่าจ้างพนักงาน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าจัดการด้านโลจิสติกส์ และอาจจะมีค่าเช่าที่
หลัก ๆ ก็จะเป็น ต้นทุนสินค้าที่ซื้อมาขายต่อในร้าน
ต้นทุนค่าจ้างพนักงาน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าจัดการด้านโลจิสติกส์ และอาจจะมีค่าเช่าที่
จะเห็นว่า รายได้ของ ซุปเปอร์ชีป เยอะถึง 10,463 ล้านบาท
แต่พอหักรายจ่ายรวม ดอกเบี้ย และภาษี ออกแล้ว บริษัทเหลือกำไรสุทธิ 59 ล้านบาท
สรุปแล้วจะเหลือ อัตรากำไร 0.6%
สรุปแล้วจะเหลือ อัตรากำไร 0.6%
และถ้าลองย้อนดูปีก่อน ๆ
ปี 2562 รายได้ 11,357 ล้านบาท กำไร 57 ล้านบาท
อัตรากำไร 0.5%
อัตรากำไร 0.5%
ปี 2563 รายได้ 12,475 ล้านบาท กำไร 61 ล้านบาท
อัตรากำไร 0.5%
อัตรากำไร 0.5%
ปี 2564 รายได้ 9,727 ล้านบาท กำไร 47 ล้านบาท
อัตรากำไร 0.5%
อัตรากำไร 0.5%
ก็จะเห็นว่า อัตรากำไรอยู่ในระดับใกล้เคียงกันนี้ตลอดเวลา
ซึ่งก็สะท้อนโมเดลธุรกิจของ ซุปเปอร์ชีป ว่าตั้งใจขายถูกมาก เอากำไรเฉลี่ยต่อชิ้นบาง ๆ
แต่เน้นทำปริมาณการขาย (Volume) ให้มาก ๆ
แต่เน้นทำปริมาณการขาย (Volume) ให้มาก ๆ
ซึ่งจากตัวเลขที่เราเห็น ก็สรุปเป็นภาษาง่าย ๆ ได้ว่า โมเดลธุรกิจของซุปเปอร์ชีป คือขายสินค้า 100 บาท เอากำไรแค่ 0.5 - 0.6 บาท เท่านั้นเอง
References
-กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
-เฟซบุ๊กเพจ บริษัท ซุปเปอร์ชีป จำกัด
https://www.posttoday.com/politics/253672
-กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
-เฟซบุ๊กเพจ บริษัท ซุปเปอร์ชีป จำกัด
https://www.posttoday.com/politics/253672