วิเคราะห์ ถ้า LAZADA ถูกปิดจริง จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ?
12 พ.ค. 2022
วิเคราะห์ ถ้า LAZADA ถูกปิดจริง จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง ? | BrandCase
หลายคนคงได้ยินข่าวและกระแสเกี่ยวกับ Lazada ในช่วงที่ผ่านมา
ซึ่งบางคนคาดการณ์ไปไกลถึงขั้นว่า Lazada จะถูกปิดกิจการ ในประเทศไทย
เราลองมาวิเคราะห์กันว่า ถ้า Lazada ถูกปิดจริง
จะเกิดอะไรขึ้นบ้างกับอุตสาหกรรม E-Commerce ไทย
1. สิ่งที่จะเกิดขึ้นแบบเห็นได้ชัดก็คือ E-Commerce จะเหลือผู้เล่นใหญ่ที่เป็นเจ้าตลาดรายเดียว
สำหรับอุตสาหกรรมนี้ ทุกคนรู้ดีว่าเจ้าตลาดในไทยตอนนี้ หลัก ๆ มีแค่ Shopee และ Lazada
นอกจากนั้นก็เป็นผู้เล่นรายเล็กหรือรายอื่น ๆ ที่กินส่วนแบ่งการตลาดนิดหน่อย
และหาก Lazada ถูกปิด ฝั่ง Shopee ก็จะกลายเป็นว่าครองตลาดอยู่รายเดียว
เมื่อครองตลาดอยู่รายเดียว ก็จะมีการแข่งขันที่ลดลงมา
สุดท้ายก็ส่งผลต่อคุณภาพหรือการพัฒนาสินค้าและบริการ รวมถึงการทำการตลาด ที่ลดลง ซึ่งเป็นแบบนี้ในทุกอุตสาหกรรม
ดั้งนั้น Shopee ก็ไม่ต้องแข่งขันเรื่องโปรโมชันต่าง ๆ เช่น การส่งฟรี การลดแลกแจกแถม
นอกจากนั้น Shopee ยังสามารถขึ้นค่าบริการได้อีกต่างหาก เพราะผู้บริโภคมีทางเลือกไม่มาก
2. รายได้ของหมื่นล้านบาทของ Lazada จะหายไป
จากงบการเงินปี 2563 Shopee มีรายได้ 5,812 ล้าน ขาดทุน 4,170 ล้านบาท
ส่วน Lazada มีรายได้ 14,675 ล้านบาท กำไร 226 ล้านบาท
เมื่อรายได้ของ Lazada หาย แน่นอนว่าจะกระทบกับบริษัทแม่อย่าง Alibaba
รวมถึงคู่ค้าโดยตรงต่าง ๆ ไม่ว่าเป็น
- ผู้ทำธุรกิจขนส่ง ได้รับผลกระทบ ยอด GMV น่าจะตก มากกว่าที่ไปเพิ่มใน Shopee
- ร้านค้าบน Lazada จะรายได้หายไปทันที และไม่น่าจะสร้างยอดบน Shopee ได้เท่าเดิมในช่วงแรก
3. สต็อกสินค้าของพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ตกค้าง
ปกติแล้วคนที่ขายของออนไลน์กับแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ อาจมีการสต็อกสินค้าไว้กับแพลตฟอร์ม เพื่อให้บริษัทสามารถจัดส่งได้ง่าย ๆ
หากแพลตฟอร์มถูกสั่งปิดกะทันหัน สินค้าที่ถูกสต็อกอยู่ก็อาจจะมีปัญหาเรื่องการขนย้ายสินค้าออกมาจากคลัง
ดังนั้นเรื่องนี้ ความยุ่งยากเรื่องการจัดการสินค้า ก็จะไม่ได้กระทบแค่กับฝั่งแพลตฟอร์ม
แต่กระทบพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ที่สต็อกสินค้ากับ Lazada ไปด้วยเต็ม ๆ
ในขณะเดียวกันเจ้าของ Warehouse หรือโกดังเก็บสินค้าที่ Lazada เช่าอยู่ ก็น่าจะสูญเสียรายได้ไม่น้อยเช่นกัน
4. พนักงานของ Lazada และคู่ค้าทางอ้อม
แน่นอนว่าพนักงานของ Lazada อาจจะต้องถูกเลิกจ้างหรือโอนย้ายไปหน่วยงานอื่น
และคู่ค้าทางอ้อม เช่น บริษัทเอเจนซีโฆษณา ที่รับทำงานให้ Lazada ก็อาจจะไม่ได้งานอีกต่อไป รวมไปถึงงานที่ทำค้างอยู่ ก็อาจจะไม่ได้ทำงานต่อจนจบ
เรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าติดตาม ว่าเรื่องราวจะจบลงอย่างไร
และทั้งหมดนี้เป็นข้อเท็จจริงที่อาจจะเกิดขึ้น ถ้าหากว่า Lazada ถูกสั่งปิดจริง ๆ
References :
-https://advicecenter.kkpfg.com/th/money-lifestyle/money/economic-trend/e-commerce-situation-in-thailand
หลายคนคงได้ยินข่าวและกระแสเกี่ยวกับ Lazada ในช่วงที่ผ่านมา
ซึ่งบางคนคาดการณ์ไปไกลถึงขั้นว่า Lazada จะถูกปิดกิจการ ในประเทศไทย
เราลองมาวิเคราะห์กันว่า ถ้า Lazada ถูกปิดจริง
จะเกิดอะไรขึ้นบ้างกับอุตสาหกรรม E-Commerce ไทย
1. สิ่งที่จะเกิดขึ้นแบบเห็นได้ชัดก็คือ E-Commerce จะเหลือผู้เล่นใหญ่ที่เป็นเจ้าตลาดรายเดียว
สำหรับอุตสาหกรรมนี้ ทุกคนรู้ดีว่าเจ้าตลาดในไทยตอนนี้ หลัก ๆ มีแค่ Shopee และ Lazada
นอกจากนั้นก็เป็นผู้เล่นรายเล็กหรือรายอื่น ๆ ที่กินส่วนแบ่งการตลาดนิดหน่อย
และหาก Lazada ถูกปิด ฝั่ง Shopee ก็จะกลายเป็นว่าครองตลาดอยู่รายเดียว
เมื่อครองตลาดอยู่รายเดียว ก็จะมีการแข่งขันที่ลดลงมา
สุดท้ายก็ส่งผลต่อคุณภาพหรือการพัฒนาสินค้าและบริการ รวมถึงการทำการตลาด ที่ลดลง ซึ่งเป็นแบบนี้ในทุกอุตสาหกรรม
ดั้งนั้น Shopee ก็ไม่ต้องแข่งขันเรื่องโปรโมชันต่าง ๆ เช่น การส่งฟรี การลดแลกแจกแถม
นอกจากนั้น Shopee ยังสามารถขึ้นค่าบริการได้อีกต่างหาก เพราะผู้บริโภคมีทางเลือกไม่มาก
2. รายได้ของหมื่นล้านบาทของ Lazada จะหายไป
จากงบการเงินปี 2563 Shopee มีรายได้ 5,812 ล้าน ขาดทุน 4,170 ล้านบาท
ส่วน Lazada มีรายได้ 14,675 ล้านบาท กำไร 226 ล้านบาท
เมื่อรายได้ของ Lazada หาย แน่นอนว่าจะกระทบกับบริษัทแม่อย่าง Alibaba
รวมถึงคู่ค้าโดยตรงต่าง ๆ ไม่ว่าเป็น
- ผู้ทำธุรกิจขนส่ง ได้รับผลกระทบ ยอด GMV น่าจะตก มากกว่าที่ไปเพิ่มใน Shopee
- ร้านค้าบน Lazada จะรายได้หายไปทันที และไม่น่าจะสร้างยอดบน Shopee ได้เท่าเดิมในช่วงแรก
3. สต็อกสินค้าของพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ตกค้าง
ปกติแล้วคนที่ขายของออนไลน์กับแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ อาจมีการสต็อกสินค้าไว้กับแพลตฟอร์ม เพื่อให้บริษัทสามารถจัดส่งได้ง่าย ๆ
หากแพลตฟอร์มถูกสั่งปิดกะทันหัน สินค้าที่ถูกสต็อกอยู่ก็อาจจะมีปัญหาเรื่องการขนย้ายสินค้าออกมาจากคลัง
ดังนั้นเรื่องนี้ ความยุ่งยากเรื่องการจัดการสินค้า ก็จะไม่ได้กระทบแค่กับฝั่งแพลตฟอร์ม
แต่กระทบพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ ที่สต็อกสินค้ากับ Lazada ไปด้วยเต็ม ๆ
ในขณะเดียวกันเจ้าของ Warehouse หรือโกดังเก็บสินค้าที่ Lazada เช่าอยู่ ก็น่าจะสูญเสียรายได้ไม่น้อยเช่นกัน
4. พนักงานของ Lazada และคู่ค้าทางอ้อม
แน่นอนว่าพนักงานของ Lazada อาจจะต้องถูกเลิกจ้างหรือโอนย้ายไปหน่วยงานอื่น
และคู่ค้าทางอ้อม เช่น บริษัทเอเจนซีโฆษณา ที่รับทำงานให้ Lazada ก็อาจจะไม่ได้งานอีกต่อไป รวมไปถึงงานที่ทำค้างอยู่ ก็อาจจะไม่ได้ทำงานต่อจนจบ
เรื่องนี้เป็นเรื่องที่น่าติดตาม ว่าเรื่องราวจะจบลงอย่างไร
และทั้งหมดนี้เป็นข้อเท็จจริงที่อาจจะเกิดขึ้น ถ้าหากว่า Lazada ถูกสั่งปิดจริง ๆ
References :
-https://advicecenter.kkpfg.com/th/money-lifestyle/money/economic-trend/e-commerce-situation-in-thailand