วิธีพรีเซนต์ให้น่าฟัง แบบ มาซาโยชิ
29 เม.ย. 2021
วิธีพรีเซนต์ให้น่าฟัง แบบ มาซาโยชิ | THE BRIEFCASE
ถ้าพูดถึงคนที่พรีเซนต์ได้มั่นใจและดึงดูดใจ
หลายคนคงจะนึกถึง สตีฟ จอบส์
ผู้ร่วมก่อตั้งและอดีต CEO ของ Apple
นอกจาก สตีฟ จอบส์ แล้ว ก็ยังมีอีกหลาย ๆ คนที่สามารถพูดนำเสนอได้มั่นใจและน่าฟังไม่แพ้กัน
ซึ่งถ้าลองมองมาที่ผู้บริหารฝั่งเอเชีย
หนึ่งคนที่มีคุณสมบัตินั้น ก็คือ “มาซาโยชิ ซน”
มาซาโยชิ ซน คือผู้ก่อตั้งและ CEO คนปัจจุบันของ SoftBank บริษัทที่เป็นเจ้าของหลากหลายธุรกิจในประเทศญี่ปุ่น และเจ้าของกองทุน Vision Fund ที่เน้นลงทุนในธุรกิจที่มีศักยภาพเติบโตดีในอนาคต โดยมีบริษัทที่เขาเข้าไปลงทุนและสามารถเติบโตเข้าตลาดหลักทรัพย์ไปแล้วหลายราย เช่น Alibaba, Uber และรายล่าสุดกำลังจะเป็น Grab
นอกจาก มาซาโยชิ ซน จะได้รับการยอมรับว่าเป็นคนที่มีวิสัยทัศน์เฉียบแหลมในด้านการลงทุนแล้ว
เขาคนนี้ยังได้รับการยกย่องว่าเป็นคนที่พรีเซนต์ได้ลื่นไหล มั่นใจ และดึงดูดผู้ฟังได้ดีคนหนึ่งของโลก
ลองมาดูเทคนิคในการพรีเซนต์ ให้ดูมั่นใจและน่าฟัง ที่ มาซาโยชิ ซน เคยบอกกล่าวไว้กับ คุณทาเคโนบุ มิกิ อดีตผู้จัดการประจำสำนักงานประธานคณะกรรมการบริหารในองค์กร SoftBank
1. การพรีเซนต์ที่ดี ต้องไม่มีโพย
กฎเหล็กข้อแรกของ มาซาโยชิ คือห้ามหยิบโพยขึ้นมาอ่านเด็ดขาด
เพราะโพยจะเป็นตัวดึงความสนใจของเราออกจากผู้ฟัง
เราจะเสียสมาธิในการพูด เพราะกังวลว่าพูดอะไรผิดหรือนอกเหนือจากที่จดมาหรือเปล่า
ซึ่งเรื่องนี้จะส่งผลให้บุคลิกภาพบนเวทีหรือขณะที่เราพูดดูไม่ดี
และผู้ฟังก็จะรู้สึกว่า เราไม่ได้ตั้งใจถ่ายทอดอะไรให้พวกเขาฟัง
2. อย่าให้สไลด์ เด่นกว่าคุณที่กำลังพูด
ถ้าลองไปเปิดดูวิดีโอที่ มาซาโยชิ พูดพรีเซนต์ใน YouTube
จะเห็นได้ว่าสไลด์ประกอบการบรรยายของเขา ในหนึ่งหน้าจะมีเพียง “Key Message” หรือสาระสำคัญสั้น ๆ เพียงแค่ประมาณ 1 ประโยคเท่านั้น นอกจากนั้นจะเป็นรูปภาพใหญ่ ๆ ที่ดูไม่ได้โดดเด่นอะไร แต่มองแล้วเข้าใจความหมายได้ทันที
มาซาโยชิ บอกว่า สไลด์เป็นแค่ “ตัวประกอบ”
เพราะฉะนั้น ใช้ข้อความบนสไลด์ให้น้อยที่สุด แต่เข้าใจง่ายที่สุด
และให้ใช้ภาพประกอบที่ช่วยเสริมสิ่งที่เราพูดให้คนเห็นภาพได้ดีที่สุด
สำคัญสุดคือ อย่าให้สไลด์เด่นกว่าเราที่กำลังพูด
เพราะคนฟังสิ่งที่เราพูด ไม่ใช่ฟังสไลด์พูด
3. ใน 1 สไลด์ ให้พูดไม่เกิน 3 ประเด็น
โดย 3 ประเด็นที่ว่านี้ ต้องเป็นประเด็นที่อยู่ภายใต้ Key Message ที่เราใส่ไว้ในสไลด์นั้น
มาซาโยชิ บอกเทคนิคว่า เขาจะพูด 3 ประเด็นต่อ 1 สไลด์
และพูดประเด็นละไม่เกิน 3 นาที รวมแล้ว 1 สไลด์ใช้เวลา 8-9 นาที
เพราะถ้ามากกว่านั้น ผู้ฟังอาจจะรู้สึกเบื่อกับประเด็นที่เราพูดแล้ว
4. เตรียมสไลด์ด้วยตัวเอง
ผู้บริหารระดับสูงหลายคนน่าจะเจอปัญหาว่า
เวลาพรีเซนต์จะกังวลเรื่องเนื้อหาสไลด์ถัดไป
เนื่องจากไม่ได้เตรียมสไลด์ประกอบการพูดด้วยตัวเอง
ข้อแนะนำของ มาซาโยชิ สำหรับปัญหานี้ก็คือ
ให้ทำสไลด์ด้วยตัวเอง เพราะเราจะรู้ว่าสไลด์ต่อ ๆ ไปเราจะพูดประเด็นอะไร เราพูดไปแล้วกี่เปอร์เซ็นต์ และเหลืออีกกี่สไลด์ที่ต้องพูด
เพราะคนที่รู้ดีที่สุดเกี่ยวกับเรื่องที่จะพรีเซนต์ คือตัวเราเท่านั้น..
ปิดท้ายด้วยสิ่งสำคัญที่สุดที่ มาซาโยชิ ซน แนะนำ
นั่นคือ เราจะพรีเซนต์ได้เป็นธรรมชาติที่สุด เมื่อเราเข้าใจสิ่งที่เราถ่ายทอดอย่างแท้จริง
การเข้าใจทุกอย่างหมดจดเป็นอย่างดี ยังช่วยให้เราสามารถถ่ายทอดสิ่งที่เราต้องการจะสื่อออกไปได้อย่างเหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟังด้วย เช่น เราจะรู้ว่าควรใช้คำอธิบายในระดับไหนเมื่อต้องพรีเซนต์ให้คนระดับผู้บริหารฟัง หรือควรจะใช้คำอธิบายระดับไหนในเรื่องเดียวกันนั้น ถ้าต้องพูดให้คนทั่วไปฟัง
สรุปง่าย ๆ คือ ก่อนจะพรีเซนต์หรือพูดให้คนอื่นฟังได้อย่างดีนั้น
ต้องมั่นใจก่อน ว่าเราเข้าใจสิ่งที่จะพูดโดยสมบูรณ์แล้วจริง ๆ
ที่เหลือก็แค่ถ่ายทอดออกมาให้เป็นตัวเราที่สุด และเหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟังมากที่สุด
แล้วการพรีเซนต์ทุกครั้งของเรา จะดูมีความมั่นใจ
และสามารถดึงดูดคนฟัง ให้คล้อยตามไปกับสิ่งที่เรานำเสนอได้นั่นเอง..
Reference
- หนังสือ มาซาโยชิ ซน แห่ง SoftBank เขียนโดย ทาเคโนบุ มิกิ, แปลโดย ธมกร ศรีกิจกุล
ถ้าพูดถึงคนที่พรีเซนต์ได้มั่นใจและดึงดูดใจ
หลายคนคงจะนึกถึง สตีฟ จอบส์
ผู้ร่วมก่อตั้งและอดีต CEO ของ Apple
นอกจาก สตีฟ จอบส์ แล้ว ก็ยังมีอีกหลาย ๆ คนที่สามารถพูดนำเสนอได้มั่นใจและน่าฟังไม่แพ้กัน
ซึ่งถ้าลองมองมาที่ผู้บริหารฝั่งเอเชีย
หนึ่งคนที่มีคุณสมบัตินั้น ก็คือ “มาซาโยชิ ซน”
มาซาโยชิ ซน คือผู้ก่อตั้งและ CEO คนปัจจุบันของ SoftBank บริษัทที่เป็นเจ้าของหลากหลายธุรกิจในประเทศญี่ปุ่น และเจ้าของกองทุน Vision Fund ที่เน้นลงทุนในธุรกิจที่มีศักยภาพเติบโตดีในอนาคต โดยมีบริษัทที่เขาเข้าไปลงทุนและสามารถเติบโตเข้าตลาดหลักทรัพย์ไปแล้วหลายราย เช่น Alibaba, Uber และรายล่าสุดกำลังจะเป็น Grab
นอกจาก มาซาโยชิ ซน จะได้รับการยอมรับว่าเป็นคนที่มีวิสัยทัศน์เฉียบแหลมในด้านการลงทุนแล้ว
เขาคนนี้ยังได้รับการยกย่องว่าเป็นคนที่พรีเซนต์ได้ลื่นไหล มั่นใจ และดึงดูดผู้ฟังได้ดีคนหนึ่งของโลก
ลองมาดูเทคนิคในการพรีเซนต์ ให้ดูมั่นใจและน่าฟัง ที่ มาซาโยชิ ซน เคยบอกกล่าวไว้กับ คุณทาเคโนบุ มิกิ อดีตผู้จัดการประจำสำนักงานประธานคณะกรรมการบริหารในองค์กร SoftBank
1. การพรีเซนต์ที่ดี ต้องไม่มีโพย
กฎเหล็กข้อแรกของ มาซาโยชิ คือห้ามหยิบโพยขึ้นมาอ่านเด็ดขาด
เพราะโพยจะเป็นตัวดึงความสนใจของเราออกจากผู้ฟัง
เราจะเสียสมาธิในการพูด เพราะกังวลว่าพูดอะไรผิดหรือนอกเหนือจากที่จดมาหรือเปล่า
ซึ่งเรื่องนี้จะส่งผลให้บุคลิกภาพบนเวทีหรือขณะที่เราพูดดูไม่ดี
และผู้ฟังก็จะรู้สึกว่า เราไม่ได้ตั้งใจถ่ายทอดอะไรให้พวกเขาฟัง
2. อย่าให้สไลด์ เด่นกว่าคุณที่กำลังพูด
ถ้าลองไปเปิดดูวิดีโอที่ มาซาโยชิ พูดพรีเซนต์ใน YouTube
จะเห็นได้ว่าสไลด์ประกอบการบรรยายของเขา ในหนึ่งหน้าจะมีเพียง “Key Message” หรือสาระสำคัญสั้น ๆ เพียงแค่ประมาณ 1 ประโยคเท่านั้น นอกจากนั้นจะเป็นรูปภาพใหญ่ ๆ ที่ดูไม่ได้โดดเด่นอะไร แต่มองแล้วเข้าใจความหมายได้ทันที
มาซาโยชิ บอกว่า สไลด์เป็นแค่ “ตัวประกอบ”
เพราะฉะนั้น ใช้ข้อความบนสไลด์ให้น้อยที่สุด แต่เข้าใจง่ายที่สุด
และให้ใช้ภาพประกอบที่ช่วยเสริมสิ่งที่เราพูดให้คนเห็นภาพได้ดีที่สุด
สำคัญสุดคือ อย่าให้สไลด์เด่นกว่าเราที่กำลังพูด
เพราะคนฟังสิ่งที่เราพูด ไม่ใช่ฟังสไลด์พูด
3. ใน 1 สไลด์ ให้พูดไม่เกิน 3 ประเด็น
โดย 3 ประเด็นที่ว่านี้ ต้องเป็นประเด็นที่อยู่ภายใต้ Key Message ที่เราใส่ไว้ในสไลด์นั้น
มาซาโยชิ บอกเทคนิคว่า เขาจะพูด 3 ประเด็นต่อ 1 สไลด์
และพูดประเด็นละไม่เกิน 3 นาที รวมแล้ว 1 สไลด์ใช้เวลา 8-9 นาที
เพราะถ้ามากกว่านั้น ผู้ฟังอาจจะรู้สึกเบื่อกับประเด็นที่เราพูดแล้ว
4. เตรียมสไลด์ด้วยตัวเอง
ผู้บริหารระดับสูงหลายคนน่าจะเจอปัญหาว่า
เวลาพรีเซนต์จะกังวลเรื่องเนื้อหาสไลด์ถัดไป
เนื่องจากไม่ได้เตรียมสไลด์ประกอบการพูดด้วยตัวเอง
ข้อแนะนำของ มาซาโยชิ สำหรับปัญหานี้ก็คือ
ให้ทำสไลด์ด้วยตัวเอง เพราะเราจะรู้ว่าสไลด์ต่อ ๆ ไปเราจะพูดประเด็นอะไร เราพูดไปแล้วกี่เปอร์เซ็นต์ และเหลืออีกกี่สไลด์ที่ต้องพูด
เพราะคนที่รู้ดีที่สุดเกี่ยวกับเรื่องที่จะพรีเซนต์ คือตัวเราเท่านั้น..
ปิดท้ายด้วยสิ่งสำคัญที่สุดที่ มาซาโยชิ ซน แนะนำ
นั่นคือ เราจะพรีเซนต์ได้เป็นธรรมชาติที่สุด เมื่อเราเข้าใจสิ่งที่เราถ่ายทอดอย่างแท้จริง
การเข้าใจทุกอย่างหมดจดเป็นอย่างดี ยังช่วยให้เราสามารถถ่ายทอดสิ่งที่เราต้องการจะสื่อออกไปได้อย่างเหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟังด้วย เช่น เราจะรู้ว่าควรใช้คำอธิบายในระดับไหนเมื่อต้องพรีเซนต์ให้คนระดับผู้บริหารฟัง หรือควรจะใช้คำอธิบายระดับไหนในเรื่องเดียวกันนั้น ถ้าต้องพูดให้คนทั่วไปฟัง
สรุปง่าย ๆ คือ ก่อนจะพรีเซนต์หรือพูดให้คนอื่นฟังได้อย่างดีนั้น
ต้องมั่นใจก่อน ว่าเราเข้าใจสิ่งที่จะพูดโดยสมบูรณ์แล้วจริง ๆ
ที่เหลือก็แค่ถ่ายทอดออกมาให้เป็นตัวเราที่สุด และเหมาะสมกับกลุ่มผู้ฟังมากที่สุด
แล้วการพรีเซนต์ทุกครั้งของเรา จะดูมีความมั่นใจ
และสามารถดึงดูดคนฟัง ให้คล้อยตามไปกับสิ่งที่เรานำเสนอได้นั่นเอง..
Reference
- หนังสือ มาซาโยชิ ซน แห่ง SoftBank เขียนโดย ทาเคโนบุ มิกิ, แปลโดย ธมกร ศรีกิจกุล