เรื่องนี้อธิบายให้เห็นภาพง่าย ๆ ด้วยมุมมองทางเศรษฐศาสตร์ ผ่านเรื่องของต้นทุน และอุปสงค์ อุปทาน BrandCase จะสรุปให้เข้าใจง่าย ๆ
เคยรู้สึกไหมว่า ขนมที่เราซื้อกินเป็นปกติ ที่ภายนอกดูเหมือนเดิม ราคาก็เท่าเดิม แต่เมื่อเปิดซองมาแล้วกลับมีความรู้สึกแวบเข้ามาในหัว นั่นคือ “ปริมาณของมันน้อยลงรึเปล่า” และในบางครั้ง สิ่งเหล่านี้เราก็ไม่ได้คิดไปเอง เพราะมันน้อยลงจริง ๆ.. สิ่งที่เราเจอนี้ อธิบายได้ด้วยคำว่า “Shrinkflation” แล้ว Shrinkflation คืออะไร ? THE BRIEFCASE จะสรุปให้ฟัง ในทางเศรษฐศาสตร์ Shrinkflation ก็คือ การที่ผู้ผลิตลดขนาดหรือปริมาณสินค้าลง แต่ยังคงขายสินค้าเหล่านั้นในราคาที่เท่าเดิม หรือขึ้นราคาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งผู้ที่ริเริ่มอธิบายคำนี้ ก็คือนักเศรษฐศาสตร์ที่มีชื่อว่า Pippa Malmgren โดยเธอบอกว่าเรามักเจอปรากฏการณ์ Shrinkflation ในหมวดอาหารและเครื่องดื่ม
พอพูดถึงกำไรหรือขาดทุนจากการทำธุรกิจ คนส่วนใหญ่จะหมายถึง กำไรหรือขาดทุนทางบัญชี ที่ปรากฏอยู่ในงบกำไรขาดทุน แต่จริง ๆ แล้ว ยังมีกำไรอีกประเภทที่คนส่วนใหญ่ไม่ได้นึกถึงหรือมองข้ามไป นั่นก็คือ “กำไรทางเศรษฐศาสตร์” แล้วกำไรทางเศรษฐศาสตร์ คืออะไร ความแตกต่างระหว่างกำไรทั้ง 2 ประเภทนี้คืออะไร และที่สำคัญคือ ทำไมเวลาทำธุรกิจ เราควรพิจารณาถึงทั้งกำไรทางบัญชีและกำไรทางเศรษฐศาสตร์..
เมื่อลืมตาตื่นขึ้นมาในตอนเช้า เราจะลุกไปทำงาน หรือ นอนต่อ ? ถ้าต้องออกจากบ้าน เราจะเลือกเดินทางด้วยรถไฟฟ้า หรือ ขับรถไปเอง ? เมื่อถึงเวลาอาหาร เราจะเลือกกินก๋วยเตี๋ยว หรือ ข้าวผัด ? หรือเมื่อเงินเดือนออก เราจะนำเงินเก็บของเราไปฝากธนาคาร หรือ นำมาลงทุนในสินทรัพย์ชนิดอื่น ? จะเห็นได้ว่า ทุก ๆ การกระทำของเราต้องมีการตัดสินใจด้วยกันทั้งสิ้น และเมื่อเราเลือกอย่างหนึ่ง เราก็อาจจะเสียอีกอย่างหนึ่งไปเลยก็ได้ ซึ่งสิ่งที่เราเสียไปก็มีต้นทุนที่เรียกว่า “ต้นทุนค่าเสียโอกาส” เกิดขึ้น แล้วต้นทุนค่าเสียโอกาส คืออะไร ? THE BRIEFCASE จะเล่าให้ฟัง