ทำไมทำธุรกิจ ต้องดูทั้ง กำไรทางบัญชี และ กำไรทางเศรษฐศาสตร์
27 มิ.ย. 2021
ทำไมทำธุรกิจ ต้องดูทั้ง กำไรทางบัญชี และ กำไรทางเศรษฐศาสตร์ | THE BRIEFCASE
พอพูดถึงกำไรหรือขาดทุนจากการทำธุรกิจ
คนส่วนใหญ่จะหมายถึง กำไรหรือขาดทุนทางบัญชี ที่ปรากฏอยู่ในงบกำไรขาดทุน
แต่จริง ๆ แล้ว ยังมีกำไรอีกประเภทที่คนส่วนใหญ่ไม่ได้นึกถึงหรือมองข้ามไป
นั่นก็คือ “กำไรทางเศรษฐศาสตร์”
แล้วกำไรทางเศรษฐศาสตร์ คืออะไร
ความแตกต่างระหว่างกำไรทั้ง 2 ประเภทนี้คืออะไร
และที่สำคัญคือ ทำไมเวลาทำธุรกิจ
เราควรพิจารณาถึงทั้งกำไรทางบัญชีและกำไรทางเศรษฐศาสตร์..
เรามาดูฝั่งกำไรทางบัญชีกันก่อน
กำไรทางบัญชี เป็นกำไรที่ถูกคำนวณมาจากยอดขาย หักด้วยค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นจริง
โดยเป็นการวัดผลการดำเนินงานของธุรกิจที่ปรากฏออกมาเป็นตัวเลขที่ชัดเจน
ยกตัวอย่างเช่น เราเปิดร้านขายขนม โดยมียอดขายปีละ 100 ล้านบาท
มีต้นทุนการผลิต เช่น ค่าวัตถุดิบ ค่าแรง ปีละ 70 ล้านบาท
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน เช่น ค่าสาธารณูปโภค ค่าเดินทาง ค่าขนส่ง ปีละ 10 ล้านบาท
ดังนั้น ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของเราจะเท่ากับ 80 ล้านบาท
เหลือเป็นกำไรคือ 20 ล้านบาท
ทีนี้มาดูกำไรทางเศรษฐศาสตร์กันบ้าง
ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ คิดจาก ต้นทุนทางบัญชี + ต้นทุนค่าเสียโอกาส
ต้นทุนทางบัญชีเรารู้กันไปแล้ว ทีนี้คำถามคือ ต้นทุนค่าเสียโอกาส คืออะไร ?
จากเคสเดิมที่ยกตัวอย่างไปเมื่อสักครู่
ต่อมาวันหนึ่ง เรากำลังมองหาช่องทางโฆษณาเพื่อโปรโมตขนมของร้าน ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้รายได้ของร้านเพิ่มขึ้น 10 ล้านบาท โดยที่เราต้องจ่ายค่าโฆษณาไปก่อน 5 ล้านบาท
แต่เนื่องจากเศรษฐกิจไม่ดี ทำให้เราจำเป็นต้องเลื่อนการใช้จ่ายค่าโฆษณาในครั้งนี้ออกไปก่อน
ซึ่งการที่เราเลื่อนหรือยกเลิกทางเลือกนี้ไป จะทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “ต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost)”
โดยค่าเสียโอกาสจากกรณีนี้ จะเท่ากับ 5 ล้านบาท
ซึ่งคิดจาก รายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการโฆษณา 10 ล้านบาท หักด้วยค่าใช้จ่ายโฆษณา 5 ล้านบาท นั่นเอง
เพราะฉะนั้น ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ของเคสนี้
จะเท่ากับ ต้นทุนทางบัญชี 80 ล้านบาท บวกกับต้นทุนค่าเสียโอกาสอีก 5 ล้านบาท ซึ่งจะรวมเป็นต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ เท่ากับ 85 ล้านบาท
จากตัวอย่างนี้ เราจะเห็นว่า ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์จะมากกว่า ต้นทุนทางบัญชี
จึงส่งผลให้กำไรทางเศรษฐศาสตร์ ต่ำกว่ากำไรทางบัญชี
แล้วต้นทุนค่าเสียโอกาสมีความเป็นมาอย่างไร ?
แนวคิดเรื่องของ ต้นทุนค่าเสียโอกาสถูกค้นพบครั้งแรกโดย John Stuart Mill นักเศรษฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งของอังกฤษ
โดย John Stuart Mill ได้บอกว่า เนื่องจากทรัพยากรในการผลิตนั้นมีอยู่อย่างจำกัด ทำให้เราไม่สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดนี้ ไปทำกิจกรรมทุกอย่างได้
ดังนั้น เราจำเป็นต้องเลือกที่จะทำเพียงอย่างหนึ่ง และการที่เราเลือกที่จะทำอย่างหนึ่ง หมายความว่า เราจะเสียโอกาสที่จะทำอีกอย่างหนึ่งไป
หรือยกตัวอย่างให้เข้าใจง่าย ๆ คือ ถ้าเรามีเงิน 1 ล้านบาท แล้วมี 2 กิจกรรมให้เราเลือก คือ ไปเที่ยวรอบโลก ด้วยค่าใช้จ่ายรวมแล้ว 1 ล้านบาท หรือศึกษาต่อซึ่งก็ใช้เงิน 1 ล้านบาทเช่นกัน
ถ้าเราเลือกที่จะเรียนต่อ เราจะเสียโอกาสเอาเงินไปเที่ยว แต่ถ้าเราเลือกที่จะไปเที่ยว เราก็จะเสียโอกาสเรียนต่อ
หรืออีกกรณีเช่น ถ้าเรากำลังจะสอบวันพรุ่งนี้ แต่มีเพื่อนมาชวนเล่นเกม
ถ้าเราเลือกจะไปอ่านหนังสือ เราก็จะเสียโอกาสที่จะเล่นเกมกับเพื่อน แต่ถ้าเราเลือกเล่นเกม เราก็จะเสียโอกาสในการอ่านหนังสือเพื่อเตรียมสอบนั่นเอง
แต่ละตัวเลือกที่เราทิ้งไป มันจะมีต้นทุนค่าเสียโอกาสแฝงอยู่เสมอ
ซึ่งมีทั้งต้นทุนที่เราคำนวณออกมาเป็นตัวเลขได้ชัดเจน และบางต้นทุนที่คำนวณออกมาเป็นตัวเลขได้ยาก
จากเรื่องนี้ เราก็คงพอเห็นภาพกันแล้วว่า
ต้นทุนทางบัญชีคือ ต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง มีการจ่ายจริงและสามารถวัดออกมาเป็นเงินหรือสิ่งของได้
ในขณะที่ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์คือ ต้นทุนทางบัญชีรวมกับต้นทุนค่าเสียโอกาส ซึ่งก็มักจะมีมูลค่าที่สูงกว่าต้นทุนทางบัญชี
กำไรทางบัญชี ถือเป็นข้อมูลที่สำคัญแก่นักลงทุน
ที่ใช้ติดตามผลการดำเนินงานของบริษัท และช่วยให้เราประเมินได้ว่า บริษัทนั้นมีผลประกอบการเป็นอย่างไร
มีความสามารถจ่ายคืนหนี้ให้เจ้าหนี้ จ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นได้หรือไม่
สำหรับบริษัทที่อยู่ในตลาดหุ้น กำไรทางบัญชี ยังเป็นข้อมูลที่ดี ที่สามารถบอกได้ว่ามูลค่ากิจการของบริษัทนั้น มีราคาถูกหรือแพงในปัจจุบัน
ส่วนกำไรทางเศรษฐศาสตร์แม้ว่าจะประเมินได้ค่อนข้างยาก
แต่ในแง่ของการลงทุนนั้น เราก็ควรจะพิจารณาถึงกำไรทางเศรษฐศาสตร์เพิ่มเติมเข้าไปด้วย
อย่างน้อยก็เพื่อ ช่วยให้ตระหนักถึงต้นทุนค่าเสียโอกาสที่เราเสียไป
เพราะสิ่งที่เป็นหัวใจของเศรษฐศาสตร์
คือการจัดสรรทรัพยากรที่เรามีอยู่ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด..
References:
-https://courses.lumenlearning.com/boundless-economics/chapter/economic-profit/
-http://www2.fpo.go.th/S-I/Source/word/Word.php?Language=Thai&BeginRec=856&NumRecShow=8&sort=1&search=
-http://www.challengemetutor.com/index.php?mo=3&art=42012514
-https://en.wikipedia.org/wiki/John_Stuart_Mill
-https://th.strephonsays.com/accounting-profit-and-vs-economic-profit-7998
-https://en.wikipedia.org/wiki/Opportunity_cost
พอพูดถึงกำไรหรือขาดทุนจากการทำธุรกิจ
คนส่วนใหญ่จะหมายถึง กำไรหรือขาดทุนทางบัญชี ที่ปรากฏอยู่ในงบกำไรขาดทุน
แต่จริง ๆ แล้ว ยังมีกำไรอีกประเภทที่คนส่วนใหญ่ไม่ได้นึกถึงหรือมองข้ามไป
นั่นก็คือ “กำไรทางเศรษฐศาสตร์”
แล้วกำไรทางเศรษฐศาสตร์ คืออะไร
ความแตกต่างระหว่างกำไรทั้ง 2 ประเภทนี้คืออะไร
และที่สำคัญคือ ทำไมเวลาทำธุรกิจ
เราควรพิจารณาถึงทั้งกำไรทางบัญชีและกำไรทางเศรษฐศาสตร์..
เรามาดูฝั่งกำไรทางบัญชีกันก่อน
กำไรทางบัญชี เป็นกำไรที่ถูกคำนวณมาจากยอดขาย หักด้วยค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นจริง
โดยเป็นการวัดผลการดำเนินงานของธุรกิจที่ปรากฏออกมาเป็นตัวเลขที่ชัดเจน
ยกตัวอย่างเช่น เราเปิดร้านขายขนม โดยมียอดขายปีละ 100 ล้านบาท
มีต้นทุนการผลิต เช่น ค่าวัตถุดิบ ค่าแรง ปีละ 70 ล้านบาท
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน เช่น ค่าสาธารณูปโภค ค่าเดินทาง ค่าขนส่ง ปีละ 10 ล้านบาท
ดังนั้น ค่าใช้จ่ายทั้งหมดของเราจะเท่ากับ 80 ล้านบาท
เหลือเป็นกำไรคือ 20 ล้านบาท
ทีนี้มาดูกำไรทางเศรษฐศาสตร์กันบ้าง
ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ คิดจาก ต้นทุนทางบัญชี + ต้นทุนค่าเสียโอกาส
ต้นทุนทางบัญชีเรารู้กันไปแล้ว ทีนี้คำถามคือ ต้นทุนค่าเสียโอกาส คืออะไร ?
จากเคสเดิมที่ยกตัวอย่างไปเมื่อสักครู่
ต่อมาวันหนึ่ง เรากำลังมองหาช่องทางโฆษณาเพื่อโปรโมตขนมของร้าน ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้รายได้ของร้านเพิ่มขึ้น 10 ล้านบาท โดยที่เราต้องจ่ายค่าโฆษณาไปก่อน 5 ล้านบาท
แต่เนื่องจากเศรษฐกิจไม่ดี ทำให้เราจำเป็นต้องเลื่อนการใช้จ่ายค่าโฆษณาในครั้งนี้ออกไปก่อน
ซึ่งการที่เราเลื่อนหรือยกเลิกทางเลือกนี้ไป จะทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “ต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost)”
โดยค่าเสียโอกาสจากกรณีนี้ จะเท่ากับ 5 ล้านบาท
ซึ่งคิดจาก รายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการโฆษณา 10 ล้านบาท หักด้วยค่าใช้จ่ายโฆษณา 5 ล้านบาท นั่นเอง
เพราะฉะนั้น ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ของเคสนี้
จะเท่ากับ ต้นทุนทางบัญชี 80 ล้านบาท บวกกับต้นทุนค่าเสียโอกาสอีก 5 ล้านบาท ซึ่งจะรวมเป็นต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ เท่ากับ 85 ล้านบาท
จากตัวอย่างนี้ เราจะเห็นว่า ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์จะมากกว่า ต้นทุนทางบัญชี
จึงส่งผลให้กำไรทางเศรษฐศาสตร์ ต่ำกว่ากำไรทางบัญชี
แล้วต้นทุนค่าเสียโอกาสมีความเป็นมาอย่างไร ?
แนวคิดเรื่องของ ต้นทุนค่าเสียโอกาสถูกค้นพบครั้งแรกโดย John Stuart Mill นักเศรษฐศาสตร์ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคนหนึ่งของอังกฤษ
โดย John Stuart Mill ได้บอกว่า เนื่องจากทรัพยากรในการผลิตนั้นมีอยู่อย่างจำกัด ทำให้เราไม่สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดนี้ ไปทำกิจกรรมทุกอย่างได้
ดังนั้น เราจำเป็นต้องเลือกที่จะทำเพียงอย่างหนึ่ง และการที่เราเลือกที่จะทำอย่างหนึ่ง หมายความว่า เราจะเสียโอกาสที่จะทำอีกอย่างหนึ่งไป
หรือยกตัวอย่างให้เข้าใจง่าย ๆ คือ ถ้าเรามีเงิน 1 ล้านบาท แล้วมี 2 กิจกรรมให้เราเลือก คือ ไปเที่ยวรอบโลก ด้วยค่าใช้จ่ายรวมแล้ว 1 ล้านบาท หรือศึกษาต่อซึ่งก็ใช้เงิน 1 ล้านบาทเช่นกัน
ถ้าเราเลือกที่จะเรียนต่อ เราจะเสียโอกาสเอาเงินไปเที่ยว แต่ถ้าเราเลือกที่จะไปเที่ยว เราก็จะเสียโอกาสเรียนต่อ
หรืออีกกรณีเช่น ถ้าเรากำลังจะสอบวันพรุ่งนี้ แต่มีเพื่อนมาชวนเล่นเกม
ถ้าเราเลือกจะไปอ่านหนังสือ เราก็จะเสียโอกาสที่จะเล่นเกมกับเพื่อน แต่ถ้าเราเลือกเล่นเกม เราก็จะเสียโอกาสในการอ่านหนังสือเพื่อเตรียมสอบนั่นเอง
แต่ละตัวเลือกที่เราทิ้งไป มันจะมีต้นทุนค่าเสียโอกาสแฝงอยู่เสมอ
ซึ่งมีทั้งต้นทุนที่เราคำนวณออกมาเป็นตัวเลขได้ชัดเจน และบางต้นทุนที่คำนวณออกมาเป็นตัวเลขได้ยาก
จากเรื่องนี้ เราก็คงพอเห็นภาพกันแล้วว่า
ต้นทุนทางบัญชีคือ ต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง มีการจ่ายจริงและสามารถวัดออกมาเป็นเงินหรือสิ่งของได้
ในขณะที่ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์คือ ต้นทุนทางบัญชีรวมกับต้นทุนค่าเสียโอกาส ซึ่งก็มักจะมีมูลค่าที่สูงกว่าต้นทุนทางบัญชี
กำไรทางบัญชี ถือเป็นข้อมูลที่สำคัญแก่นักลงทุน
ที่ใช้ติดตามผลการดำเนินงานของบริษัท และช่วยให้เราประเมินได้ว่า บริษัทนั้นมีผลประกอบการเป็นอย่างไร
มีความสามารถจ่ายคืนหนี้ให้เจ้าหนี้ จ่ายเงินปันผลให้ผู้ถือหุ้นได้หรือไม่
สำหรับบริษัทที่อยู่ในตลาดหุ้น กำไรทางบัญชี ยังเป็นข้อมูลที่ดี ที่สามารถบอกได้ว่ามูลค่ากิจการของบริษัทนั้น มีราคาถูกหรือแพงในปัจจุบัน
ส่วนกำไรทางเศรษฐศาสตร์แม้ว่าจะประเมินได้ค่อนข้างยาก
แต่ในแง่ของการลงทุนนั้น เราก็ควรจะพิจารณาถึงกำไรทางเศรษฐศาสตร์เพิ่มเติมเข้าไปด้วย
อย่างน้อยก็เพื่อ ช่วยให้ตระหนักถึงต้นทุนค่าเสียโอกาสที่เราเสียไป
เพราะสิ่งที่เป็นหัวใจของเศรษฐศาสตร์
คือการจัดสรรทรัพยากรที่เรามีอยู่ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด..
References:
-https://courses.lumenlearning.com/boundless-economics/chapter/economic-profit/
-http://www2.fpo.go.th/S-I/Source/word/Word.php?Language=Thai&BeginRec=856&NumRecShow=8&sort=1&search=
-http://www.challengemetutor.com/index.php?mo=3&art=42012514
-https://en.wikipedia.org/wiki/John_Stuart_Mill
-https://th.strephonsays.com/accounting-profit-and-vs-economic-profit-7998
-https://en.wikipedia.org/wiki/Opportunity_cost