“เราจะแก้ปัญหา ที่ไม่มีใครแก้ได้” นี่คือคำพูดของ เจนเซ่น หวง ผู้ก่อตั้งและผู้บริหารคนปัจจุบัน ของบริษัท NVIDIA บริษัทผลิตการ์ดจออันดับ 1 ซึ่งมีมูลค่าสูงถึง 13 ล้านล้านบาท ที่น่าสนใจคือ ถ้าย้อนกลับไปเมื่อ 28 ปีที่แล้ว NVIDIA เพิ่งก่อตั้งขึ้น ด้วยเงินทุนเพียง 1.2 ล้านบาทเท่านั้น ซึ่งปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์ของ NVIDIA ก็ไม่ได้มีแค่การ์ดจอสำหรับเล่นเกมแบบที่หลายคนเข้าใจ แต่ยังได้เข้าไปอยู่ในอุตสาหกรรมอื่นอีกด้วย เช่น Data Center ที่มีลูกค้าเป็นถึง AWS, Google Cloud หรือรถยนต์ไร้คนขับ ซึ่งมี Benz, Volvo, Audi เป็นลูกค้า วันนี้ THE BRIEFCASE จะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับ เจนเซ่น หวง เขาเป็นใคร ? และมีแนวคิดการบริหารธุรกิจอย่างไร ? มาดูกัน
เราคงจะเห็นกันแล้วว่าหลายคนในยุคนี้ มีชื่อเสียง มีแบรนด์ที่โด่งดังจนเป็นที่รู้จัก จากการไลฟ์ขายของจนยอดวิวเป็นหมื่นเป็นแสน บางคนทำคอนเทนต์ยูทูบจนคนดูเป็นล้าน ๆ หรือบางคนแค่โพสต์ลงโซเชียลมีเดียนิดเดียว ก็ทำให้คนสนใจบริษัทได้แล้ว.. ทำให้หลายคนกังวลว่า ถ้าตัวเองเป็นคนสาย Introvert หรือก็คือคนที่ไม่ค่อยชอบพูดคุย ไม่ชอบออกสื่อบ่อย ๆ จะเป็นผู้บริหาร หรือผู้นำที่ดี จนพาธุรกิจประสบความสำเร็จได้หรือไม่ เพราะยุคนี้ก็มีคนที่ประสบความสำเร็จมากมาย เหมือนจะมาพร้อมกับพรสวรรค์ของการเป็นนักพูด
เมื่อเราเจอคำถามที่ท้าทาย ยากที่จะหาคำตอบได้ทันที อาจทำให้เรารีบตอบคำถามออกไป โดยไม่ทันได้คิดไตร่ตรองให้ดีเสียก่อน ซึ่งผลที่ได้อาจไม่น่าพอใจเท่าไรนัก แต่เราก็ไม่ใช่คนเดียว ที่เคยเจอกับคำถามที่ไม่สามารถตอบได้ในทันที เพราะผู้ที่ประสบความสำเร็จระดับโลกไม่ว่าจะเป็น อีลอน มัสก์, สตีฟ จอบส์ หรือ ทิม คุก ต่างก็เคยเผชิญกับคำถามที่ยากจะตอบได้ทันทีทั้งสิ้น แต่พวกเขามีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน คือ การนำ Rule of Awkward Silence หรือเราเรียกง่าย ๆ ว่า “กลยุทธ์ความเงียบ” มาปรับใช้ แล้ว Rule of Awkward Silence คืออะไร ?
หากเราต้องการประสบความสำเร็จ ก็จงดูและเรียนรู้จากความสำเร็จของผู้อื่น ซึ่งส่วนใหญ่ เราก็จะเรียนรู้มาจากการบริหาร หรือชีวประวัติของเหล่า CEO ชื่อดัง แต่เหตุผลที่ทำให้เราอยากเรียนรู้เรื่องราวของ CEO จากบริษัทใหญ่ชื่อดังเหล่านั้น ก็เพราะว่า เราอาจจะเห็นแค่ด้านที่พวกเขานำพาบริษัทไปสู่ความสำเร็จแต่เพียงด้านเดียว แต่รู้ไหมว่า อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันเลยก็คือ จุดเริ่มต้นของพวกเขา จุดเริ่มต้นในที่นี้ เราไม่ได้จะกล่าวถึงจุดเริ่มต้นของเส้นทางอาชีพของพวกเขา เพียงแต่ว่าจุดเริ่มต้นในที่นี้คือ จุดเริ่มต้นของการเข้ามารับตำแหน่งเป็น CEO หรือ ผู้นำสูงสุดขององค์กรนั่นเอง