กลยุทธ์ใช้ “ความเงียบ” เมื่อเจอคำถามที่ท้าทาย

กลยุทธ์ใช้ “ความเงียบ” เมื่อเจอคำถามที่ท้าทาย

8 มิ.ย. 2021
กลยุทธ์ใช้ “ความเงียบ” เมื่อเจอคำถามที่ท้าทาย | THE BRIEFCASE
เมื่อเราเจอคำถามที่ท้าทาย ยากที่จะหาคำตอบได้ทันที
อาจทำให้เรารีบตอบคำถามออกไป โดยไม่ทันได้คิดไตร่ตรองให้ดีเสียก่อน
ซึ่งผลที่ได้อาจไม่น่าพอใจเท่าไรนัก
แต่เราก็ไม่ใช่คนเดียว ที่เคยเจอกับคำถามที่ไม่สามารถตอบได้ในทันที
เพราะผู้ที่ประสบความสำเร็จระดับโลกไม่ว่าจะเป็น อีลอน มัสก์, สตีฟ จอบส์ หรือ ทิม คุก
ต่างก็เคยเผชิญกับคำถามที่ยากจะตอบได้ทันทีทั้งสิ้น
แต่พวกเขามีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกัน คือ การนำ Rule of Awkward Silence
หรือเราเรียกง่าย ๆ ว่า “กลยุทธ์ความเงียบ” มาปรับใช้
แล้ว Rule of Awkward Silence คืออะไร ?
Rule of Awkward Silence คือ เมื่อเราต้องเผชิญกับคำถามที่ท้าทาย หรือคำถามที่เราไม่สามารถตอบได้ในทันที ให้เราลองหยุดใช้ความคิดอย่างลึกซึ้งว่าต้องการตอบคำถามนั้นอย่างไร แทนที่จะรีบตอบคำถามเหล่านั้นในทันที
ซึ่งเวลาที่เราใช้ ก็ไม่ใช่การหยุดใช้ความคิดในเวลาเพียงสั้น ๆ แต่อาจใช้เวลานานหลายวินาที
อาจหยุดไปคิด 10 ถึง 20 วินาที หรือ นานกว่านั้น
แล้วคิดให้รอบคอบก่อนที่จะตอบคำถามออกมา
โดยการหยุดในลักษณะนี้ อาจทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า Awkward Silence หรือ ความเงียบที่น่าอึดอัด
ทั้งกับตัวเราเอง และ กับคู่สนทนา
แต่เมื่อเราฝึกฝนมากพอ เวลาที่เราใช้ก็จะน้อยลง ความอึดอัดที่เกิดจากความเงียบก็จะลดลงไปด้วย
ซึ่งข้อดีของการนำ Rule of Awkward Silence มาปรับใช้ก็คือ การฝึกให้เราคิดให้รอบคอบมากขึ้น
เพราะในช่วงที่เราใช้ชีวิตกันอย่างเร่งรีบ หรือการสื่อสารอย่างรวดเร็ว เช่น การตอบแช็ต หรือ ตอบอีเมลอย่างรวดเร็ว อาจทำให้เราไม่ได้มีเวลาในการคิดมากพอ ซึ่งคำตอบที่เราตอบออกไป ก็อาจจะไม่ใช่คำตอบที่ดีนัก
เพราะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ พิจารณาเรื่องราวอย่างลึกซึ้งและรอบคอบ มักต้องใช้เวลา สติ และสมาธิ ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากเราไม่มีเวลา
แล้วมีใครบ้างที่นำหลักการนี้ไปใช้ ?
เริ่มกันที่คนแรกกับ อีลอน มัสก์
คุณ Garrett Reisman อดีตวิศวกรของนาซ่า ที่ลาออกมาร่วมงานกับ SpaceX ของ อีลอน มัสก์ เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า เมื่อใดก็ตามที่ อีลอน มัสก์ ถูกถามคำถามที่ยาก เขาจะเหมือนตกอยู่ในภวังค์ จ้องไปที่ความว่างเปล่า ซึ่งเราจะสังเกตุได้เลยว่า ในหัวของอีลอน มักส์ กำลังครุ่นคิดอะไรอยู่มากมาย
โดยอีลอนมักใช้เวลาประมาณ 15 วินาที ในการครุ่นคิดก่อนที่จะตอบคำถามออกไป
คนต่อมาก็คือ สตีฟ จอบส์
ย้อนกลับไปในปี 1997 หลังจากที่ สตีฟ จอบส์ กลับเข้ามาทำงานกับ Apple อีกครั้งหนึ่ง
เขาได้จัดการประชุม Q&A กับเหล่านักพัฒนาของ Apple
ซึ่งตัวของสตีฟ จอบส์ เอง ก็โดนยิงด้วยคำถามที่ยากจะตอบเช่นกัน
หลังจากที่เขาได้ยินคำถามแล้ว สตีฟ ก็เงียบไปใช้เวลาไต่ตรองเกือบ 20 วินาที
ก่อนที่จะตอบคำถามนั้นออกมาอย่างชาญฉลาด
หลังจากที่สตีฟ จอบส์ได้เสียชีวิตไปแล้ว
หัวเรือใหญ่ของ Apple คนถัดมาก็คือ ทิม คุก ที่ก็ใช้เวลาในการไตร่ตรองความคิดเช่นกัน
ซึ่ง ในปี 2008 บทความในนิตยสารฟอร์จูนได้กล่าวว่า
ในการประชุม ทิม คุก นั้นขึ้นชื่อมาก ในเรื่องหยุดเงียบเพื่อใช้ความคิด
เขาจะมีช่วงที่เงียบเพื่อครุ่นคิด และผู้คนในห้องประชุมก็จะเงียบตามไปด้วย
เงียบจน ภายในห้องจะได้ยินเพียงแค่เสียงฉีกห่อขนมเท่านั้น..
และคนสุดท้ายที่ใช้การเงียบขณะกำลังใช้ความคิดก็คือ เจฟฟ์ เบโซส
โดยที่ Amazon.com จะแตกต่างออกไป คือ ไม่ได้ใช้ความเงียบในการครุ่นคิดคำตอบ
แต่เป็นการใช้ความเงียบกว่า 30 นาที ในการอ่าน Memo ที่ใช้ในการประชุม ก่อนจะเริ่มประชุม
ซึ่งวิธีนี้ เจฟฟ์ เบโซส ระบุว่า การอ่านเอกสารที่ใช้ในการประชุมอย่างเงียบ ๆ ก่อนเริ่มประชุมนั้น
ทำให้ผู้เข้าร่วมประชุมมีเวลาอ่านและคิดไตร่ตรองถึงสิ่งต่าง ๆ ได้ดีขึ้น นั่นเอง
อย่างไรก็ตาม เมื่อเจอคำถามที่ยาก ๆ เราอาจคาดหวังให้ตัวเองสามารถตอบคำถามได้ในทันที
แต่การคิดอย่างมีวิจารณญาณจำเป็นต้องใช้เวลาในการคิดทบทวนสิ่งต่างๆ
ซึ่งอาจกินเวลาประมาณ 10 ถึง 20 วินาที
ถึงแม้เวลาเพียงชั่วครู่นี้อาจดูเหมือนไม่มาก
แต่ก็มากเกินพอสำหรับสมองในการประมวลผล
และช่วยให้เราคิดหาคำตอบได้ดียิ่งขึ้น...
References
-https://medium.com/curious/how-to-apply-the-rule-of-awkward-silence-in-your-life-2707d1aafcd2
-https://www.inc.com/justin-bariso/why-intelligent-minds-like-elon-musk-steve-jobs-embrace-rule-of-awkward-silence.html
-https://www.inc.com/justin-bariso/intelligent-minds-like-tim-cook-jeff-bezos-embrace-rule-of-awkward-silence-you-should-too.html
© 2024 BrandCase. All rights reserved. Privacy Policy.