กรณีศึกษา ปังสยาม เจ้าของเค้กโบราณ ใน 7-Eleven รายได้ 400 ล้าน
24 ม.ค. 2024
กรณีศึกษา ปังสยาม เจ้าของเค้กโบราณ ใน 7-Eleven รายได้ 400 ล้าน | BrandCase
เค้กโบราณเป็นขนมหวานยอดนิยม ที่มักจะหาทานได้ง่ายตามหน้าโรงเรียน หรืองานวัดต่าง ๆ
หน้าตาเป็นเค้กก้อนกลม ๆ ชิ้นเล็ก ๆ รสชาติมีความหอมหวาน
หน้าตาเป็นเค้กก้อนกลม ๆ ชิ้นเล็ก ๆ รสชาติมีความหอมหวาน
และมีอยู่เจ้าหนึ่ง ที่ทำเค้กโบราณ เข้ามาขายใน 7-Eleven
โดยใช้ชื่อแบรนด์ขนมเค้กโบราณว่า “ปังสยาม พ.ศ.๒๕๑๕” หรือเรียกสั้นๆว่า “ปังสยาม”
โดยใช้ชื่อแบรนด์ขนมเค้กโบราณว่า “ปังสยาม พ.ศ.๒๕๑๕” หรือเรียกสั้นๆว่า “ปังสยาม”
ทุกวันนี้บริษัทที่ว่านี้ มีรายได้กว่า 400 ล้านบาท
และรู้หรือไม่ว่า บริษัทนี้เริ่มต้นจากการขายขนมเค้กโบราณ ตามหน้าโรงเรียนมาก่อน
และรู้หรือไม่ว่า บริษัทนี้เริ่มต้นจากการขายขนมเค้กโบราณ ตามหน้าโรงเรียนมาก่อน
ความน่าสนใจของเรื่องนี้ เป็นอย่างไร ?
BrandCase สรุปให้ แบบเข้าใจง่าย ๆ
BrandCase สรุปให้ แบบเข้าใจง่าย ๆ
ย้อนกลับไปในปี 2515 คุณพ่อของคุณชวดล ชินวงศ์ (เจ้าของปัจจุบัน) ได้ก่อตั้งโรงงานผลิตขนมปังขึ้นมา
โดยใช้ชื่อว่า สยามรุ่งเรือง โดยเริ่มต้นจากห้องแถว 4 ห้อง บริเวณย่านถนนตากสิน
ในตอนแรกโรงงานผลิตขนมปังแห่งนี้ จะผลิตขนมปังและเบเกอรีต่าง ๆ เช่น ขนมไข่ ขนมปัง และขนมเค้กโบราณ
ซึ่งขนมเค้กโบราณ เป็นของขึ้นชื่อของร้าน เพราะขายดีเป็นอย่างมาก
ต่อมาในปี 2544 ทางร้านได้ย้ายโรงงานไปที่ย่านมหาชัย
และเริ่มแตกไลน์ธุรกิจเป็นร้านสไตล์คาเฟ-นม โดยใช้ชื่อร้านว่า ปังสยาม พ.ศ.๒๕๑๕ และใช้ชื่อนี้มาเป็นแบรนด์ขนมปังของร้านด้วยเลย
และเริ่มแตกไลน์ธุรกิจเป็นร้านสไตล์คาเฟ-นม โดยใช้ชื่อร้านว่า ปังสยาม พ.ศ.๒๕๑๕ และใช้ชื่อนี้มาเป็นแบรนด์ขนมปังของร้านด้วยเลย
จุดเปลี่ยนสำคัญของปังสยาม
คือตอนที่คุณชวดล ตัดสินใจนำขนมเค้กโบราณจำนวน 12 ชิ้นใส่กล่อง และนำไปขายตามหน้าโรงเรียน
คือตอนที่คุณชวดล ตัดสินใจนำขนมเค้กโบราณจำนวน 12 ชิ้นใส่กล่อง และนำไปขายตามหน้าโรงเรียน
ปรากฏว่าได้รับผลตอบรับเป็นอย่างดีจากเด็ก ๆ และผู้ปกครอง ส่งผลให้ร้านเป็นที่รู้จักมากขึ้น
ทำให้ในเวลาต่อมา ทาง 7-Eleven ติดต่อทางร้าน เพื่อให้นำเค้กโบราณเข้าไปวางขาย
คุณชวดลจึงเห็นโอกาสเลยตอบตกลง ซึ่งจุดนี้เองที่ทำให้แบรนด์ปังสยาม เป็นที่รู้จักของคนทั่วประเทศ
และนอกจากขนมเค้กโบราณที่สร้างชื่อให้กับแบรนด์แล้ว
“ปังสยาม” ยังมีจุดเด่นอีกอย่างก็คือ ร้านคาเฟ ของทางแบรนด์
“ปังสยาม” ยังมีจุดเด่นอีกอย่างก็คือ ร้านคาเฟ ของทางแบรนด์
โดยร้านจะมีลักษณะเหมือนร้านกาแฟโบราณ หรือร้านโกปี๊ ในสมัยก่อน
แต่ทางแบรนด์ได้นำมาพัฒนาและต่อยอดให้ร่วมสมัย มีเมนูที่จะหาได้ตามร้านสมัยก่อน เช่น ไข่กระทะ กาแฟ ติ่มซำ ขนมไข่ เป็นต้น ซึ่งในสมัยนี้หาทานได้ยาก
แต่ทางแบรนด์ได้นำมาพัฒนาและต่อยอดให้ร่วมสมัย มีเมนูที่จะหาได้ตามร้านสมัยก่อน เช่น ไข่กระทะ กาแฟ ติ่มซำ ขนมไข่ เป็นต้น ซึ่งในสมัยนี้หาทานได้ยาก
ปัจจุบัน ปังสยาม มีอยู่ 34 สาขา ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และต่างจังหวัด
ทีนี้เรามาดูผลประกอบการณ์ของ บริษัท สยามรุ่งเรืองฟู้ด แอนด์ เบเกอรี่ จำกัด เจ้าของ ปังสยามกันบ้าง
ปี 2564 รายได้ 246 ล้านบาท กำไร 2 ล้านบาท
ปี 2565 รายได้ 426 ล้านบาท กำไร 3.3 ล้านบาท
ปี 2565 รายได้ 426 ล้านบาท กำไร 3.3 ล้านบาท
โดย 3 เคล็ดลับความสำเร็จ ที่ ปังสยาม ให้ความสำคัญคือ
สินค้าคุณภาพดี รสชาติอร่อย
โดยการใช้วัตถุดิบคุณภาพดีในการทำขนมเค้กโบราณ รักษามาตรฐานสูตรให้เป็นมาตรฐาน เพื่อให้ได้รสชาติอร่อย เป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค
ปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัย
ปังสยาม ไม่ได้หยุดอยู่แค่การขายเค้กโบราณตามหน้าโรงเรียน แต่ได้แตกไลน์ธุรกิจเป็นร้านคาเฟ-นม
โดยใช้แนวคิด “อนุรักษ์ความอร่อยแบบโบราณ ผสมผสานความทันสมัย” ส่งผลให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้กว้างขึ้น
ขยายช่องทางการขาย
ไม่จำกัดการขายแค่หน้าร้าน แต่ได้ขยายช่องทางการขายไปยังร้านสะดวกซื้อต่าง ๆ ส่งผลให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้มากขึ้น
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ
ที่มาของชื่อ ปังสยาม พ.ศ.๒๕๑๕ เกิดมาจากการรวมคำ ระหว่างคำว่า “ขนมปัง” และ ”สยามรุ่งเรือง” ที่เป็นชื่อโรงงานขนมปังในช่วงแรก
ส่วน พ.ศ. 2515 นั้นมาจาก ปีที่เริ่มกิจการ นั่นเอง..
ที่มาของชื่อ ปังสยาม พ.ศ.๒๕๑๕ เกิดมาจากการรวมคำ ระหว่างคำว่า “ขนมปัง” และ ”สยามรุ่งเรือง” ที่เป็นชื่อโรงงานขนมปังในช่วงแรก
ส่วน พ.ศ. 2515 นั้นมาจาก ปีที่เริ่มกิจการ นั่นเอง..
References
-https://mgronline.com/smes/detail/9660000060258
-https://pungsiam.com/
-คลิปวิดีโอ: ตำนานเบเกอรี่ห้องแถว “ปังสยาม” จากช่อง YouTube: SMEs Manager
-https://datawarehouse.dbd.go.th/company/profile/Zm6STvjlZBJFk7QpTw5V3mw9O-ESLCAF-8tMmcdpy8nqs5xVg0JktSpwMbWtiGkB
-https://mgronline.com/smes/detail/9660000060258
-https://pungsiam.com/
-คลิปวิดีโอ: ตำนานเบเกอรี่ห้องแถว “ปังสยาม” จากช่อง YouTube: SMEs Manager
-https://datawarehouse.dbd.go.th/company/profile/Zm6STvjlZBJFk7QpTw5V3mw9O-ESLCAF-8tMmcdpy8nqs5xVg0JktSpwMbWtiGkB