สรุปวิธี แบ่งโซนตลาด สร้าง Brand Position ให้แบรนด์เรา ชนะคนอื่นได้
7 ม.ค. 2024
สรุปวิธี แบ่งโซนตลาด สร้าง Brand Position ให้แบรนด์เรา ชนะคนอื่นได้ | BrandCase
ถ้าสินค้าหรือบริการของเรา เหมือนกับแบรนด์ของคู่แข่ง คงหนีไม่พ้นการแข่งกันลดราคาสินค้า
ทำให้สินค้าที่ขายได้แทบจะไม่มีกำไรเลย
ทำให้สินค้าที่ขายได้แทบจะไม่มีกำไรเลย
แล้วเราต้องทำอย่างไรให้รอดพ้นจากสงครามราคาที่โหดร้ายนี้ได้ ?
ในทางการตลาด มีกลยุทธ์หนึ่งที่ชื่อว่า Brand Positioning ที่มาช่วยตอบคำถามว่า
“ธุรกิจที่ขายสินค้าเหมือน ๆ กัน ต้องทำอย่างไรให้ลูกค้าซื้อสินค้าหรือบริการของเรา แทนแบรนด์คู่แข่ง”
“ธุรกิจที่ขายสินค้าเหมือน ๆ กัน ต้องทำอย่างไรให้ลูกค้าซื้อสินค้าหรือบริการของเรา แทนแบรนด์คู่แข่ง”
แล้ว Brand Positioning คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร ?
BrandCase สรุปให้ แบบเข้าใจง่าย ๆ
BrandCase สรุปให้ แบบเข้าใจง่าย ๆ
Brand Positioning แปลแบบตรงตัวคือ “การวางตำแหน่งของแบรนด์”
แต่บางครั้งนักการตลาดก็เรียกกลยุทธ์นี้ง่าย ๆ ว่า “การหาจุดยืนของแบรนด์”
แต่บางครั้งนักการตลาดก็เรียกกลยุทธ์นี้ง่าย ๆ ว่า “การหาจุดยืนของแบรนด์”
โดยคอนเซปต์ของ Brand Positioning ก็คือ การสร้างแบรนด์ของเราให้แตกต่างจากแบรนด์อื่น ๆ
และกำหนดว่าแบรนด์ของเราจะอยู่ตำแหน่งไหนในตลาด เพื่อให้ได้เปรียบ หรือชนะแบรนด์คู่แข่งได้
แล้วเราจะวิเคราะห์ตำแหน่งของแบรนด์ ได้อย่างไร ?
การวิเคราะห์ตำแหน่งของแบรนด์ เบื้องต้นสามารถทำได้จากการหาข้อมูลอินไซต์ของลูกค้าเรา และลูกค้าของคู่แข่ง
โดยอาจผ่านการสัมภาษณ์ การทำแบบสอบถาม หรือการสังเกตพฤติกรรมของลูกค้า
แล้วนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจมาวิเคราะห์ต่อ ผ่านการตอบคำถามสำคัญ 3 ข้อ คือ
ลูกค้าต้องการอะไร ? (Customer Desire)จุดแข็งของแบรนด์เรา (Company Strengths) หรือสิ่งที่แบรนด์เราทำได้ดีกว่าแบรนด์คู่แข่งคืออะไร ?จุดแข็งของแบรนด์คู่แข่ง (Competitor Strengths) หรือสิ่งที่แบรนด์คู่แข่งทำได้ดีกว่าคืออะไร ?
คำถามทั้ง 3 ข้อนี้ จะเป็นตัวกำหนด “โซน” ต่าง ๆ ในตลาดขึ้นมา ได้แก่
ตำแหน่งที่ แบรนด์เราได้เปรียบ (Winning Zone)
คือ ตำแหน่งที่ “ความต้องการของลูกค้า ตรงกับ จุดแข็งของแบรนด์”
และแบรนด์คู่แข่งไม่สามารถตอบสนองความต้องการส่วนนี้ให้ลูกค้าได้
และแบรนด์คู่แข่งไม่สามารถตอบสนองความต้องการส่วนนี้ให้ลูกค้าได้
ด้วยข้อได้เปรียบทั้งหมดนี้ จึงทำให้ตำแหน่งนี้เป็นจุดที่เหมาะสมที่สุด ในการวางตำแหน่งทางการตลาด
ตำแหน่งที่ แบรนด์เราเสียเปรียบ (Losing Zone)
คือ ตำแหน่งที่ “ความต้องการของลูกค้า ตรงกับ จุดแข็งของแบรนด์คู่แข่ง”
และแบรนด์ของเราไม่สามารถตอบโจทย์ลูกค้าในส่วนนี้ได้
และแบรนด์ของเราไม่สามารถตอบโจทย์ลูกค้าในส่วนนี้ได้
ตำแหน่งนี้จึงไม่ใช่จุดที่เหมาะสม ในการวางตำแหน่งทางการตลาด
เพราะเป็นตำแหน่งที่แบรนด์คู่แข่งทำได้ดีกว่า
เพราะเป็นตำแหน่งที่แบรนด์คู่แข่งทำได้ดีกว่า
ตำแหน่งที่ ลูกค้าไม่ต้องการ (Dump Zone)
คือ ตำแหน่งที่ “จุดแข็งของทั้งแบรนด์เรา ตรงกับ จุดแข็งของแบรนด์คู่แข่ง”
แต่ไม่ใช่ตำแหน่งที่มีความต้องการของลูกค้าอยู่
แต่ไม่ใช่ตำแหน่งที่มีความต้องการของลูกค้าอยู่
ตำแหน่งนี้ก็ไม่ใช่จุดที่เหมาะสมในการวางตำแหน่งทางการตลาดเช่นกัน
เพราะถึงแม้สินค้าจะดีแค่ไหนก็ตาม และไม่ว่าจะทำการตลาดมากเท่าไร ลูกค้าก็จะไม่สนใจเราเลย
เพราะถึงแม้สินค้าจะดีแค่ไหนก็ตาม และไม่ว่าจะทำการตลาดมากเท่าไร ลูกค้าก็จะไม่สนใจเราเลย
ตำแหน่งที่ มีความเสี่ยงและแข่งขันสูง (Risky Zone)
คือตำแหน่งที่ “ความต้องการของลูกค้า ตรงกับทั้ง จุดแข็งของแบรนด์เรา และจุดแข็งของแบรนด์คู่แข่ง”
เรียกว่าเป็นพื้นที่ที่คุณค่าของแบรนด์เรา กับแบรนด์คู่แข่งไม่มีความแตกต่างกัน
เพราะไม่ว่าใครก็สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ไม่ต่างกัน จึงเป็นพื้นที่ที่มีการแข่งขันสูง
จุดนี้จึงอาจไม่เหมาะสมที่จะวางตำแหน่งทางการตลาดอีกเช่นกัน
เพราะสินค้าที่ไม่แตกต่างกัน จะทำให้เกิดการแข่งขันกันทำธุรกิจ และมักเกิดสงครามราคาอยู่เสมอ
เพราะสินค้าที่ไม่แตกต่างกัน จะทำให้เกิดการแข่งขันกันทำธุรกิจ และมักเกิดสงครามราคาอยู่เสมอ
เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น ขอยกตัวอย่างการใช้เครื่องมือนี้อย่างง่าย ๆ ผ่านผลิตภัณฑ์ iPhone ของแบรนด์ Apple
ในตลาดสมาร์ตโฟน ผู้บริโภคมีความต้องการโทรศัพท์ที่นอกจากโทรเข้า-ออก ได้แล้ว
ต้องสามารถใช้งานอย่างอื่นได้ เช่น เล่นอินเทอร์เน็ต และแอปพลิเคชันต่าง ๆ ได้ ถ่ายรูป อัดวิดีโอ จดโน้ต เล่นเกม ฟังเพลง ดูหนัง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานที่สมาร์ตโฟนหลายยี่ห้อทำได้อยู่แล้วจุดแข็งของ iPhone เช่น
ใช้ระบบปฏิบัติการ iOS ที่มีความเสถียรและปลอดภัย, ให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัวสูง, มีระบบนิเวศที่ครบ จบ ใช้ร่วมกับอุปกรณ์อื่น ๆ ของ Apple ได้อย่างลื่นไหลจุดแข็งของสมาร์ตโฟนแบรนด์อื่น ๆ เช่น
สมาร์ตโฟนมีหลากหลายรุ่น และหลายระดับราคาให้เลือกมากกว่า, สเป็กโดยรวมที่สูงกว่า ในราคาที่เท่ากันหรือต่ำกว่า, สามารถปรับแต่งลูกเล่นต่าง ๆ เช่น รูปแบบตัวอักษร ได้มากกว่า
ต้องสามารถใช้งานอย่างอื่นได้ เช่น เล่นอินเทอร์เน็ต และแอปพลิเคชันต่าง ๆ ได้ ถ่ายรูป อัดวิดีโอ จดโน้ต เล่นเกม ฟังเพลง ดูหนัง ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานที่สมาร์ตโฟนหลายยี่ห้อทำได้อยู่แล้วจุดแข็งของ iPhone เช่น
ใช้ระบบปฏิบัติการ iOS ที่มีความเสถียรและปลอดภัย, ให้ความสำคัญกับความเป็นส่วนตัวสูง, มีระบบนิเวศที่ครบ จบ ใช้ร่วมกับอุปกรณ์อื่น ๆ ของ Apple ได้อย่างลื่นไหลจุดแข็งของสมาร์ตโฟนแบรนด์อื่น ๆ เช่น
สมาร์ตโฟนมีหลากหลายรุ่น และหลายระดับราคาให้เลือกมากกว่า, สเป็กโดยรวมที่สูงกว่า ในราคาที่เท่ากันหรือต่ำกว่า, สามารถปรับแต่งลูกเล่นต่าง ๆ เช่น รูปแบบตัวอักษร ได้มากกว่า
จากข้างต้น อาจจะวิเคราะห์ได้ว่า iPhone วางตำแหน่งแบรนด์ตัวเองในตลาด โดยให้ความสำคัญเรื่องความเสถียร ความปลอดภัย ความลื่นไหล และความเป็นส่วนตัว
ซึ่งเป็นจุดแข็งของแบรนด์ Apple ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าบางกลุ่มได้ อีกทั้งสมาร์ตโฟนแบรนด์อื่น ๆ ยังสู้ได้ยาก
โดยถ้าเราไปดูในเว็บไซต์ของ Apple - ประเทศไทย
จะเห็นว่า Apple - ประเทศไทย ได้สื่อสารโดยเน้นย้ำจุดแข็งเหล่านี้เป็นหลัก ทำให้ผู้บริโภคมีภาพจำจุดแข็งเหล่านี้มาโดยตลอด
จะเห็นว่า Apple - ประเทศไทย ได้สื่อสารโดยเน้นย้ำจุดแข็งเหล่านี้เป็นหลัก ทำให้ผู้บริโภคมีภาพจำจุดแข็งเหล่านี้มาโดยตลอด
และก็เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้แบรนด์ iPhone ของ Apple ประสบความสำเร็จ ในฐานะแบรนด์ที่แข็งแกร่งได้นั่นเอง
ซึ่งการวางตำแหน่งแบรนด์ มีความสำคัญหลายอย่าง เช่น
สร้างคุณค่าและสร้างมูลค่าเพิ่ม ให้แบรนด์ของเรา
เช่น ถ้าเราขายสินค้าที่เหมือนกับคู่แข่ง แต่บริการของเราแตกต่างจากคู่แข่ง เช่น ตอบคำถามลูกค้าได้ชัดเจนและรวดเร็วกว่า มีบริการหลังการขายที่ดีกว่า หรือมีการรับประกันสินค้า
ความแตกต่างเหล่านี้ จะทำให้แบรนด์สามารถแข่งขันในตลาดที่มีสินค้าเหมือน ๆ กันได้ เพราะมีมูลค่าเพิ่มที่แบรนด์อื่นไม่มี
และยังช่วยให้แบรนด์ไม่จำเป็นต้องแข่งขันในเรื่อง “ราคาสินค้า” เพียงอย่างเดียว
สร้างการรับรู้ ให้คนจดจำแบรนด์ได้ดียิ่งขึ้น
แครักเตอร์ของแบรนด์ที่แตกต่าง โดดเด่น ชัดเจน ย่อมทำให้ลูกค้ารู้จัก และจดจำแบรนด์ได้ง่ายขึ้น
ทำให้แบรนด์รู้ว่าควรสื่อสารไปยังผู้บริโภคอย่างไร
เมื่อแบรนด์รู้ว่าจุดยืนของตัวเองคืออะไร ก็จะทำให้แบรนด์สื่อสารไปยังลูกค้าได้ชัดเจนมากขึ้น
ทำให้แบรนด์ไม่ทำการตลาดแบบสะเปะสะปะ ช่วยประหยัดงบประมาณในการทำการตลาด
และจะทำให้แบรนด์เรา ชนะคนอื่น ในตลาดได้..
References
-หนังสือ Customer Strategy Handbook คู่มือกลยุทธ์ด้านลูกค้า
-https://www.marketingthai.or.th/mat-vaccine-for-business-ep-7/
-https://www.maxideastudio.com/blog/brand-positioning/
-https://www.apple.com/th/iphone/switch/
-หนังสือ Customer Strategy Handbook คู่มือกลยุทธ์ด้านลูกค้า
-https://www.marketingthai.or.th/mat-vaccine-for-business-ep-7/
-https://www.maxideastudio.com/blog/brand-positioning/
-https://www.apple.com/th/iphone/switch/