“เมนูเยอะ” ดาบสองคม ของธุรกิจร้านอาหาร
12 พ.ย. 2023
เมื่อช่วงต้นปี 2023 ที่ผ่านมา มีข่าวว่า KFC ในหลายประเทศ เริ่มมีการเลิกขายเมนูบางเมนูลง
อย่างในหลายสาขาในสหรัฐอเมริกา มีการเลิกขายบางเมนูไปแล้ว เช่น ไก่ป๊อปคอร์น, ปีกไก่ทอดเคนตักกี, ซอสเผ็ดแนชวิลล์, น้ำมะนาวสตรอว์เบอรรี, คุกกี้ช็อกโกแลตชิป
อย่างในหลายสาขาในสหรัฐอเมริกา มีการเลิกขายบางเมนูไปแล้ว เช่น ไก่ป๊อปคอร์น, ปีกไก่ทอดเคนตักกี, ซอสเผ็ดแนชวิลล์, น้ำมะนาวสตรอว์เบอรรี, คุกกี้ช็อกโกแลตชิป
ความจริงแล้ว การมีเมนูอาหารที่หลากหลาย น่าจะเป็นทางเลือกให้ลูกค้าได้มากขึ้น
แต่เรื่องนี้ ทำไมถึงเป็นดาบสองคม ให้ธุรกิจอาหารได้เหมือนกัน
BrandCase วิเคราะห์ให้ แบบเข้าใจง่าย ๆ
BrandCase วิเคราะห์ให้ แบบเข้าใจง่าย ๆ
เมนูยิ่งเยอะ ต้นทุนต่อหน่วยยิ่งสูง
ยิ่งร้านอาหารมีเมนูให้เลือกเยอะมากเท่าไร ก็ต้องมีการสต็อกวัตถุดิบของร้านอาหาร ที่หลากหลายมากขึ้น
ประเด็นคือ ถ้าเราสั่งวัตถุดิบมาหลากหลายชนิด แต่ว่าแต่ละชนิดสั่งมาในปริมาณน้อย
ตามธรรมชาติแล้วจะมีต้นทุนสูงกว่า การสั่งวัตถุดิบน้อยอย่าง โดยแต่ละอย่างนั้น สั่งมาในปริมาณมาก
ตามธรรมชาติแล้วจะมีต้นทุนสูงกว่า การสั่งวัตถุดิบน้อยอย่าง โดยแต่ละอย่างนั้น สั่งมาในปริมาณมาก
เนื่องจากกรณีที่สั่งซื้อวัตถุดิบครั้งละมาก ๆ เราจะมีอำนาจในการต่อรองราคา จากซัปพลายเออร์มากกว่า
ซึ่งหากเราซื้อยิ่งมาก แล้วได้ราคาเฉลี่ยต่อหน่วยยิ่งถูก ก็คือเกิดสิ่งที่เรียกว่า Economies of Scale หรือการประหยัดต่อขนาด
เมนูเยอะ บางทีลูกค้าตัดสินใจซื้อยาก
เวลาที่เราไปร้านอาหารที่มีเมนูให้เลือกเยอะ ๆ บางครั้งลูกค้าก็ไม่รู้จะสั่งอะไรดี
การลดจำนวนเมนูลง สำหรับหลาย ๆ ร้านมีส่วนช่วยให้ทั้งลูกค้าเดิม หรือลูกค้าใหม่ สั่งได้ง่ายขึ้น
มีการทดลองจากคุณ Bill Burnett ผู้เป็น Executive Director ที่มหาวิทยาลัย Stanford
คุณ Bill เล่าถึงการทดลองที่ Stanford ว่า
นักวิจัยได้ทดลองตั้งซุ้มขายแยม โดยมีแยมทั้งหมด 6 รสชาติให้ลองชิม แล้วเขาก็เก็บตัวเลขว่ามีคนชิมเท่าไร
และหลังจากชิมแล้ว เปลี่ยนมาซื้อจำนวนเท่าไร
นักวิจัยได้ทดลองตั้งซุ้มขายแยม โดยมีแยมทั้งหมด 6 รสชาติให้ลองชิม แล้วเขาก็เก็บตัวเลขว่ามีคนชิมเท่าไร
และหลังจากชิมแล้ว เปลี่ยนมาซื้อจำนวนเท่าไร
หลังจากนั้นหนึ่งสัปดาห์ ก็ได้เพิ่มจำนวนรสชาติแยมเป็น 24 รสชาติ
ผลปรากฏว่า ตอนขายแยม 6 รสชาติ มีคนซื้อมากกว่า ตอนขายแยม 24 รสชาติ
คุณ Bill เลยสรุปได้ว่า การมีทางเลือกมากไปก็อาจไม่ใช่สิ่งที่ดี เพราะการมีตัวเลือกเยอะมากเกินไป
ทำให้เกิดความลังเล จนตัดสินใจไม่ได้
ทำให้เกิดความลังเล จนตัดสินใจไม่ได้
เมนูน้อย เพิ่มประสิทธิภาพและลดเวลาในการปรุงอาหารได้
เมื่อลูกค้าเลือกเมนูที่คุ้นเคย เมนูนี้ก็จะกลายเป็นเมนูที่ร้านอาหารมักขายเป็นประจำ
ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานภายในครัว ที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ทันท่วงที
ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานภายในครัว ที่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ทันท่วงที
เราจะสังเกตจากร้านอาหารประเภทฟาสต์ฟูด ที่ต้องเน้นความรวดเร็ว ชอบจัดเซตอาหารเด่น ๆ ไว้ไม่มากเซต เพื่อให้เลือกง่าย ๆ แถมการเตรียมอาหารก็จะได้รวดเร็ว
อย่างไรก็ตาม การมีเมนูเยอะ ๆ ไม่ได้หมายความว่าไม่ดี
เพราะถ้าสไตล์ของร้านชัดเจน ลูกค้าชอบความหลากหลาย ชอบรสชาติ
การมีเมนูให้เลือกเยอะ ๆ แบบไม่จำเจ
ก็กลายเป็นจุดเด่นที่ทำให้ลูกค้าเลือกทานร้านนั้นเป็นประจำ ได้เหมือนกัน
ก็กลายเป็นจุดเด่นที่ทำให้ลูกค้าเลือกทานร้านนั้นเป็นประจำ ได้เหมือนกัน
References
-https://edition.cnn.com/2020/06/23/business/restaurant-menus-shrinking/index.html
-https://www.businessinsider.com/kfc-getting-rid-menu-items-popcorn-chicken-2023-2
-https://www.bangkokbiznews.com/business/business/1086276
-https://makrohorecaacademy.com/th/articles/916448ae-8b37-4637-bd02-a2bca894a736
-https://edition.cnn.com/2020/06/23/business/restaurant-menus-shrinking/index.html
-https://www.businessinsider.com/kfc-getting-rid-menu-items-popcorn-chicken-2023-2
-https://www.bangkokbiznews.com/business/business/1086276
-https://makrohorecaacademy.com/th/articles/916448ae-8b37-4637-bd02-a2bca894a736