คุยกับเจ้าของ JOURNAL แบรนด์ไทย ที่ขายน้ำหอม กลิ่นแม่นาค กลิ่นกุมาร กลิ่นนางรำ
22 ต.ค. 2023
คุยกับเจ้าของ JOURNAL แบรนด์ไทย ที่ขายน้ำหอม กลิ่นแม่นาค กลิ่นกุมาร กลิ่นนางรำ | BrandCase
หลายคนน่าจะยังไม่เคยรู้ว่า มีน้ำหอม “กลิ่นแม่นาค” ซึ่งแบรนด์ที่ทำน้ำหอมกลิ่นนี้ เป็นแบรนด์ไทยที่ชื่อว่า “JOURNAL”
หลายคนน่าจะยังไม่เคยรู้ว่า มีน้ำหอม “กลิ่นแม่นาค” ซึ่งแบรนด์ที่ทำน้ำหอมกลิ่นนี้ เป็นแบรนด์ไทยที่ชื่อว่า “JOURNAL”
ทีนี้หลายคนน่าจะสงสัยต่อว่า กลิ่นแม่นาค มันเป็นอย่างไร ?
ลองมาดูการตีความกลิ่นแม่นาคของ JOURNAL
ลองมาดูการตีความกลิ่นแม่นาคของ JOURNAL
-Top Notes (กลิ่นแรก) คือ มะนาว ตัวแทนฉากแม่นาคหยิบมะนาวที่ทุกคนจำกันได้ดี
-Heart Notes (กลิ่นกลาง) คือ กุหลาบ ตัวแทนของความรักที่แม่นาคมีให้กับพ่อมาก
-Base Notes (กลิ่นพื้นฐาน) คือ ไม้กฤษณา ตัวแทนของบ้านไม้เรือนไทย และศาลาไม้ริมคลอง
นี่คือตัวอย่างความน่าสนใจในการตีความ และออกแบบกลิ่น ของน้ำหอมแบรนด์ไทยแบรนด์นี้
ซึ่งนอกจากกลิ่นแม่นาค JOURNAL ก็มีอีกหลายกลิ่นชื่อแปลก เช่น
-กลิ่นข้าวเหนียวมะม่วง
-กลิ่นกาสะลอง
-กลิ่นสงกรานต์
-กลิ่นกุมาร
-กลิ่นนางรำ
วันนี้ BrandCase มีโอกาสพูดคุยกับคุณป๊อด-จักรชลัช เกษจำรัส Chief Executive Officer (CEO) แบรนด์ JOURNAL
เรื่องราวของแบรนด์น้ำหอมไทย JOURNAL น่าสนใจขนาดไหน ?
BrandCase สรุปให้แบบเข้าใจง่าย ๆ
BrandCase สรุปให้แบบเข้าใจง่าย ๆ
JOURNAL มีจุดเริ่มต้นมาจากความคิดสมัยเรียนที่ต่างประเทศของผู้ก่อตั้ง คือ คุณป๊อด-จักรชลัช เกษจำรัส
คุณป๊อด อยากทำสินค้าของไทย ให้เป็นของฝากประจำชาติ ที่ต้องซื้อไปฝากเพื่อน ๆ ต่างชาติ
เนื่องจากช่วงที่คุณป๊อดไปเรียนต่างประเทศ มีเพื่อนต่างชาติเยอะ
ซึ่งเวลาปิดเทอมแยกย้ายกันกลับประเทศตัวเอง เพื่อน ๆ แต่ละชาติก็มักจะมีของท้องถิ่นของตัวเองกลับมาฝากเสมอ
ซึ่งเวลาปิดเทอมแยกย้ายกันกลับประเทศตัวเอง เพื่อน ๆ แต่ละชาติก็มักจะมีของท้องถิ่นของตัวเองกลับมาฝากเสมอ
ทำให้คุณป๊อดเห็นว่า ของฝากจากไทยที่คุณป๊อดนำไปฝากเพื่อนต่างชาติ สำหรับเขาแล้วยังมีภาพลักษณ์ไม่ดูดีเท่าประเทศอื่น ๆ
จึงเกิดไอเดียที่อยากจะปรับโฉมสินค้าบ้าน ๆ ของไทยให้ดูดีขึ้น
และตั้งใจไว้ว่า “อยากทำธุรกิจอะไรสักอย่างที่สร้างรายได้ พร้อมกับความภูมิใจ”
และตั้งใจไว้ว่า “อยากทำธุรกิจอะไรสักอย่างที่สร้างรายได้ พร้อมกับความภูมิใจ”
หลังจากคุณป๊อดเรียนจบ จึงกลับมาเปิด Design Agency ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีวัตถุประสงค์หลักคือ การเพิ่มมูลค่าให้สินค้า และปรับโฉมสินค้าใหม่ให้หน้าตาดูดีขึ้น
เมื่อทำไปสักพักคุณป๊อดก็ได้มาเจอกับหุ้นส่วนที่ทำธุรกิจน้ำหอม ซึ่งเป็นแบรนด์ที่มีวิธีการผลิตน้ำหอมแบบไทย ๆ แต่คอนเซปต์ของแบรนด์ยังไม่ชัดเจน
ประกอบกับคุณป๊อดเอง ก็มีความต้องการที่อยากจะเอาความเป็นไทยมาเล่าต่อในมุมมองที่แตกต่าง
คุณป๊อดจึงตัดสินใจร่วมกับหุ้นส่วน ก่อตั้งแบรนด์ JOURNAL ขึ้นมาเมื่อปี 2017 ที่ถนนนิมมานเหมินท์ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นสาขาแรก
คุณป๊อดเล่าว่า ณ ตอนนั้นราคาน้ำหอมไทย ยังไม่มีแบรนด์ไหนที่กล้าขายในราคาหลัก 1,000 บาท
แต่ด้วยความเชื่อที่ว่า “เราสามารถทำน้ำหอมไทย คุณภาพดีได้”
ทำให้เขากล้าลองตั้งราคาขายที่สูงกว่าท้องตลาดในขณะนั้น
ทำให้เขากล้าลองตั้งราคาขายที่สูงกว่าท้องตลาดในขณะนั้น
โดยมีกลิ่นเบสิกประจำแบรนด์ คือกลิ่น The Legacy
ซึ่งเป็นกลิ่นไม้กฤษณาของไทย ที่ในสมัยก่อนถูกใช้เป็นเครื่องบรรณาการที่ประเทศไทยส่งไปให้กับเมืองต่าง ๆ เพื่อแสดงไมตรีต่อกัน
ซึ่งเป็นกลิ่นไม้กฤษณาของไทย ที่ในสมัยก่อนถูกใช้เป็นเครื่องบรรณาการที่ประเทศไทยส่งไปให้กับเมืองต่าง ๆ เพื่อแสดงไมตรีต่อกัน
และหลังจากเปิดขายในช่วงแรก ปรากฏว่าได้รับความนิยมจากลูกค้าชาวต่างชาติในทันที
เนื่องจากต่างชาติมองว่าไม้กฤษณาหรือไม้หอมไทย เป็นหนึ่งในวัตถุดิบของน้ำหอมที่มีราคาแพง เมื่อผสมเข้ากับความเป็นของไทย จึงทำให้ต่างชาติเกิดความรู้สึกอยากซื้อเป็นของฝาก
นอกจากนี้ทางแบรนด์ยังได้นำวิธีการปรุงน้ำหอมแบบสมัยโบราณมาผสมผสานกับการปรุงสมัยใหม่
ใช้ Essential Oil ที่สกัดออกมาจากพรรณไม้ ผลไม้ ดอกไม้ และสมุนไพรเป็นส่วนผสมหลัก
ทำให้น้ำหอมของ JOURNAL มีความหอมติดผิวนานขึ้น
ทำให้น้ำหอมของ JOURNAL มีความหอมติดผิวนานขึ้น
จุดขายที่พิเศษของแบรนด์ก็คือ ถึงแม้จะฉีดน้ำหอมกลิ่นเดียวกันก็ตาม แต่กลิ่นหอมที่ได้ก็จะแตกต่างกันไปตามอุณหภูมิผิวของแต่ละบุคคล
จากจุดเด่นทั้งหมดนี้ ทำให้แบรนด์ JOURNAL ที่เพิ่งเปิดตัวได้ไม่นาน
กลายเป็นแบรนด์น้ำหอมไทย ที่ต่างชาตินิยมซื้อกลับไปฝากคนที่บ้านในทันที
กลายเป็นแบรนด์น้ำหอมไทย ที่ต่างชาตินิยมซื้อกลับไปฝากคนที่บ้านในทันที
แต่ต้องบอกก่อนว่าในช่วงแรก ๆ นั้น น้ำหอมของแบรนด์ JOURNAL ยังไม่เป็นที่รู้จักในกลุ่มลูกค้าคนไทยมากนัก
แต่จุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้ลูกค้าคนไทยรู้จักแบรนด์มากขึ้น เกิดขึ้นในช่วงที่มีโรคระบาด
เนื่องจากเดิมทีกลุ่มลูกค้าหลักของแบรนด์คือ ลูกค้าชาวต่างชาติ เกือบ 100%
แต่พอเกิดโรคระบาดขึ้น ทำให้นักท่องเที่ยวน้อยลง และธุรกิจก็ได้รับผลกระทบโดยตรง
แต่พอเกิดโรคระบาดขึ้น ทำให้นักท่องเที่ยวน้อยลง และธุรกิจก็ได้รับผลกระทบโดยตรง
แบรนด์จึงต้องวางแผนการตลาดใหม่ และหันมาทำการตลาดกับกลุ่มลูกค้าคนไทยมากขึ้น ด้วยการออกผลิตภัณฑ์ใหม่คือ Body Oil หรือออยล์บำรุงผิวขึ้นมา
และทำการสื่อสารผ่านอินฟลูเอนเซอร์ ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ คุณยิปซี-คีรติ มหาพฤกษ์พงศ์ ซึ่งเป็นนักแสดงสาวผิวสวย
เนื่องจากคุณป๊อดมองว่า Body Oil เป็นสินค้าที่สามารถสู้กับแบรนด์อื่นที่อยู่ในระดับราคาหลักพันบาทเหมือนกันได้
และถือเป็นสินค้าที่คนไทยเปิดใจซื้อได้ง่ายกว่าสินค้าประเภทน้ำหอม
และถือเป็นสินค้าที่คนไทยเปิดใจซื้อได้ง่ายกว่าสินค้าประเภทน้ำหอม
และแน่นอนว่าสินค้า Body Oil ก็ถูกแนะนำกันแบบปากต่อปาก และดังขึ้นมาในหมู่คนไทย
รวมถึงชื่อแบรนด์ JOURNAL เองก็เริ่มเป็นที่รู้จักและถูกพูดถึงเช่นกัน..
รวมถึงชื่อแบรนด์ JOURNAL เองก็เริ่มเป็นที่รู้จักและถูกพูดถึงเช่นกัน..
ปัจจุบันแบรนด์ JOURNAL มีสาขาทั้งหมด 5 สาขา
ได้แก่ สาขาวัน นิมมาน เชียงใหม่, สาขาเมญ่า เชียงใหม่, สาขาสยามสแควร์วัน, สาขาเซ็นทรัลเวิลด์ และ สาขาเซ็นทรัล พระราม 9
ได้แก่ สาขาวัน นิมมาน เชียงใหม่, สาขาเมญ่า เชียงใหม่, สาขาสยามสแควร์วัน, สาขาเซ็นทรัลเวิลด์ และ สาขาเซ็นทรัล พระราม 9
และจะสังเกตเห็นว่าส่วนผสมหลักในน้ำหอมของ JOURNAL ส่วนใหญ่เป็นสารสกัดจากธรรมชาติ
หลายคนอาจสงสัยว่าแบรนด์มีวิธีควบคุมสูตรการผลิตอย่างไร ให้ได้มาตรฐาน
หลายคนอาจสงสัยว่าแบรนด์มีวิธีควบคุมสูตรการผลิตอย่างไร ให้ได้มาตรฐาน
ซึ่งสิ่งที่ JOURNAL ใช้ควบคุมมาตรฐานการผลิตน้ำหอมให้กับแบรนด์คือ การเลือกซัปพลายเออร์ที่ผลิตน้ำหอม ที่เป็นเจ้าเดียวกับที่ผลิตให้กับเคาน์เตอร์แบรนด์ดัง ๆ เพื่อให้น้ำหอมของ JOURNAL ได้มาตรฐานเดียวกับแบรนด์เหล่านั้น
นอกจากนี้คุณป๊อดยังได้เล่าเบื้องหลังแนวคิดและแรงบันดาลใจ ในการสร้างกลิ่นน้ำหอมที่แปลกใหม่ของ แบรนด์ JOURNAL ให้เราฟังว่า
“แบรนด์ JOURNAL เกิดขึ้นมา เพราะอยากเอาความเป็นไทยมาเล่าต่อในมุมมองที่แตกต่าง และให้คนต่างชาติจดจำ”
และถ้าหากใครได้รู้จักแบรนด์ JOURNAL จะค่อนข้างรู้สึกแปลกใจกับบางกลิ่นน้ำหอมของแบรนด์ที่ทำออกมาขาย เช่น กลิ่นแม่นาค กลิ่นกุมาร และกลิ่นนางรำ
โดยจุดเริ่มต้นของน้ำหอมคอลเลกชันนี้ ได้ไอเดียมาจากช่วงวันฮาโลวีน ที่คุณป๊อดเห็นว่า ผีต่างชาติ อย่างเช่น แดรกคูลา หรือแฟรงเกนสไตน์ ทำไมผีบ้านเขามันดังไปทั่วโลก
ในขณะที่ตำนานผีไทยเราก็ไม่ได้แพ้ต่างชาติ
นี่จึงเป็นเหตุผลที่ JOURNAL ทำน้ำหอมคอลเลกชันพิเศษ Thai Ghost Collection หรือน้ำหอมคอลเลกชันผีไทยออกมา
โดยคุณป๊อดได้ยกตัวอย่าง เรื่องราวและความหมายที่อยู่เบื้องหลังของน้ำหอมแต่ละกลิ่นให้ฟังอย่างน่าสนใจ
เช่น
เช่น
-กลิ่นแม่นาค
แม่นาคพระโขนง คือหนึ่งในตำนานผีไทยที่ดังมาหลายยุคหลายสมัย
ซึ่ง JOURNAL ก็อยากนำเรื่องราวของตำนานแม่นาคนี้ มาเล่าผ่านความหอมให้คนต่างชาติและคนไทยได้สัมผัสกัน
ซึ่ง JOURNAL ก็อยากนำเรื่องราวของตำนานแม่นาคนี้ มาเล่าผ่านความหอมให้คนต่างชาติและคนไทยได้สัมผัสกัน
โดยเริ่มจากซีนในภาพยนตร์ที่ทุกคนจำได้ คือฉากแม่นาคหยิบมะนาว ซึ่งไม่ว่าจะนำมารีเมกใหม่อีกกี่รอบก็ต้องมีฉากนี้
ต่อมาคือการตีความแครักเตอร์ให้กับแม่นาค แน่นอนว่า JOURNAL ไม่ได้มองแม่นาคเป็นเพียงแค่ผี
แต่มองไปถึงเรื่องราวของความรักที่แม่นาคมีต่อพ่อมาก ที่ไม่ว่าจะผ่านไปนานแค่ไหนก็ตาม
แต่มองไปถึงเรื่องราวของความรักที่แม่นาคมีต่อพ่อมาก ที่ไม่ว่าจะผ่านไปนานแค่ไหนก็ตาม
และสุดท้ายเรื่องราวนี้ก็เกิดขึ้นภายในบ้านไม้เรือนไทย และศาลาไม้ริมคลองย่านพระโขนง
ซึ่งเรื่องราวทั้งหมดนี้ ถูกออกแบบมาอยู่ในรูปของน้ำหอมกลิ่นแม่นาค
โดยจะมีความหอมเรียงเป็น 3 ระดับ คือ
โดยจะมีความหอมเรียงเป็น 3 ระดับ คือ
-Top Notes (กลิ่นแรก) คือ มะนาว ตัวแทนซีนแม่นาคหยิบมะนาวที่ทุกคนจำกันได้ดี
-Heart Notes (กลิ่นกลาง) คือ กุหลาบ ตัวแทนของความรักที่แม่นาคมีให้กับพ่อมาก
-Base Notes (กลิ่นพื้นฐาน) คือ ไม้กฤษณา ตัวแทนของบ้านไม้เรือนไทย และศาลาไม้ริมแม่น้ำ
-กลิ่นนางรำ
สำหรับคนไทยหลายคนแค่นึกถึงนางรำ เราก็จะนึกถึงผีที่มีความน่ากลัว
แต่ในมุมมองของ JOURNAL กลับมองว่า นางรำ คือการแสดงชั้นสูงที่มีความเก่าแก่ และมีความคลาสสิกอยู่ในตัว
แต่ในมุมมองของ JOURNAL กลับมองว่า นางรำ คือการแสดงชั้นสูงที่มีความเก่าแก่ และมีความคลาสสิกอยู่ในตัว
ทำให้การตีความแครักเตอร์นางรำในมุมมองของ JOURNAL ถูกนำเสนอออกมาเป็น ผู้หญิงที่มีความเซ็กซี่แต่ดูแพง
ต่อมาสิ่งที่เป็นซิกเนเชอร์เมื่อนึกถึงนางรำก็คือ ดอกไม้ทัดหู และสุดท้ายคือการนึกภาพถึงการแสดงของนางรำที่อยู่ในโรงละครไม้ที่หรูหรา
ซึ่งเรื่องราวทั้งหมดนี้ ถูกออกแบบมาอยู่ในรูปของน้ำหอมกลิ่นนางรำ
โดยจะมีความหอมเรียงเป็น 3 ระดับ คือ
โดยจะมีความหอมเรียงเป็น 3 ระดับ คือ
-Top Notes (กลิ่นแรก) คือ เชอร์รี่ ตัวแทนความเซ็กซี่และความเย้ายวน
-Heart Notes (กลิ่นกลาง) คือ กุหลาบ ตัวแทนของดอกไม้ทัดหู
-Base Notes (กลิ่นพื้นฐาน) คือ ไม้กฤษณา ตัวแทนของโรงละครไม้ที่จัดแสดง
อีกจุดสำคัญที่น่าสนใจของ JOURNAL คือ ทุก ๆ กลิ่นน้ำหอมของแบรนด์ จะมีกลิ่นหอมสุดท้ายหรือ Base Nose (กลิ่นพื้นฐาน) เป็นกลิ่นไม้กฤษณา ซึ่งถือเป็นซิกเนเชอร์ของแบรนด์
ซึ่งถ้าดูจากบางกลิ่นแล้วค่อนข้างเป็นเรื่องยาก ที่จะนำเสนอสินค้าเหล่านี้ให้กับลูกค้าได้
แล้วแบรนด์ JOURNAL มีวิธีการสื่อสารและนำเสนอน้ำหอม ให้ลูกค้าเข้าใจในตัวสินค้า ได้อย่างไร ?
คุณป๊อดตอบสั้น ๆ เลยว่า “ของดี ถ้าไม่ได้ลอง ก็ขายไม่ได้”
ดังนั้นพนักงานของ JOURNAL จะไม่ได้อธิบายเพียงแค่กลิ่นน้ำหอมแต่ละระดับเท่านั้น
แต่จะเล่าเรื่องราวที่ส่งผ่านมาในรูปแบบกลิ่นน้ำหอมให้ลูกค้าได้ฟังด้วย
แต่จะเล่าเรื่องราวที่ส่งผ่านมาในรูปแบบกลิ่นน้ำหอมให้ลูกค้าได้ฟังด้วย
และสิ่งสำคัญที่สุดคือ
“ลูกค้าต้องรู้สึกประทับใจ หลังจากที่เดินออกจากร้านไป เพราะ JOURNAL เป็นแบรนด์น้ำหอมที่ขายประสบการณ์ ถ้าลูกค้าไม่ได้รับประสบการณ์จากเรา เขาก็จะจำเราไม่ได้”
“ลูกค้าต้องรู้สึกประทับใจ หลังจากที่เดินออกจากร้านไป เพราะ JOURNAL เป็นแบรนด์น้ำหอมที่ขายประสบการณ์ ถ้าลูกค้าไม่ได้รับประสบการณ์จากเรา เขาก็จะจำเราไม่ได้”
ดังนั้น หน้าร้านของแบรนด์จึงต้องดิไซน์สวยเพื่อให้ลูกค้าเห็น พนักงานต้องบริการลูกค้าให้ดีที่สุด หรือสูงกว่าระดับมาตรฐานทั่วไป เพื่อให้ลูกค้าประทับใจที่สุด
ถ้าถามว่า JOURNAL อยากอยู่ตรงไหน ในวงการธุรกิจน้ำหอมไทย ?
คุณป๊อดตอบว่า “จริง ๆ แล้วเราอยากเป็นของฝากที่อยู่ใน Top of Mind ของคนต่างชาติที่เข้ามาเที่ยวในไทย คือมาเที่ยวเสร็จแล้วอยากซื้อของฝาก ก็อยากให้เขานึกถึง JOURNAL”
ซึ่งถ้าถามว่า อะไรคือสิ่งที่ทำให้แบรนด์ JOURNAL แตกต่างจากคู่แข่งรายอื่น ๆ
แน่นอนว่าคือเรื่องของคอนเซปต์และจุดยืนของแบรนด์ ที่เชื่อในเรื่องของคุณค่าความเป็นไทย
และการนำเอาคุณค่านั้น นำเสนอออกมาในรูปแบบใหม่ให้มันแตกต่างไปจากเดิม
และการนำเอาคุณค่านั้น นำเสนอออกมาในรูปแบบใหม่ให้มันแตกต่างไปจากเดิม
และความพิเศษของ JOURNAL ไม่ได้มีแค่ความติดทนเท่านั้น แต่น้ำหอมของ JOURNAL ทุกกลิ่น สามารถฉีดผสมกันได้
เนื่องจากน้ำหอมของ JOURNAL จะมีส่วนผสมพื้นฐานคือไม้กฤษณา เหมือนกันหมดทุกตัว
ทำให้ลูกค้าสามารถเพิ่มลูกเล่นในการใช้ ด้วยการฉีดผสมกลิ่นได้ตามความชอบ
ทำให้ลูกค้าสามารถเพิ่มลูกเล่นในการใช้ ด้วยการฉีดผสมกลิ่นได้ตามความชอบ
อีกทั้งคุณป๊อดยังได้เล่าถึงขั้นตอนในการผลิตน้ำหอมของ JOURNAL ว่าปกติแล้วจะมาจากสองทาง
-ทางแรกคือ มาจากเรื่องราว ที่ยังไม่มีกลิ่นหอม
-ทางที่สองคือ มาจากกลิ่นหอม ที่ยังไม่มีเรื่องราวให้เล่า
แน่นอนว่าการที่แบรนด์จะผลิตออกมาเป็นน้ำหอมหนึ่งกลิ่นได้นั้น
กลิ่นหอมนั้นจะต้องมีทั้งเรื่องราวความเป็นไทย และถูกเล่าผ่านกลิ่นหอมที่สมูท
กลิ่นหอมนั้นจะต้องมีทั้งเรื่องราวความเป็นไทย และถูกเล่าผ่านกลิ่นหอมที่สมูท
และถึงแม้ว่าบางครั้งคุณป๊อดมีสักหนึ่งเรื่องราว ที่อยากจะเล่าผ่านกลิ่นมากแค่ไหน
แต่ถ้าส่วนผสมของน้ำหอมยังไม่ลงตัวหรือกลิ่นยังไม่นิ่ง เรื่องราวนั้นก็จะยังไม่ถูกถ่ายทอดออกมาให้ผู้คนได้ดมกัน
แต่ถ้าส่วนผสมของน้ำหอมยังไม่ลงตัวหรือกลิ่นยังไม่นิ่ง เรื่องราวนั้นก็จะยังไม่ถูกถ่ายทอดออกมาให้ผู้คนได้ดมกัน
ในทางกลับกัน หากนักปรุงน้ำหอมมีสูตรน้ำหอมออกมาสำเร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ยังไม่มีเรื่องราวไหนที่จะนำมาเล่าให้เข้ากับน้ำหอมสูตรนั้นได้ สูตรน้ำหอมนั้นก็จะยังไม่ถูกนำออกมาขาย
เพราะคุณป๊อดเชื่อว่า “ทุกกลิ่นน้ำหอมต้องเล่าเรื่องราวได้ ถ้ายังเล่าเรื่องไม่ได้ หรือยังเล่าได้ไม่ดี ก็จะยังไม่ขาย”
แล้วราคาน้ำหอม JOURNAL อยู่ที่ประมาณไหน ? ลองมาดูตัวอย่างราคา
น้ำหอมขนาด 50 ml แบบ EDT ราคาจะเริ่มต้นที่ 1,600 บาท
น้ำหอมคอลเลกชันพิเศษ เช่น กลิ่นแม่นาค กลิ่นกุมาร กลิ่นนางรำ ขนาด 50 ml ราคา 2,600 บาท
Body Oil ขนาด 180 ml ราคา 1,090 บาท
Hand Cream ขนาด 55 ml ราคา 490 บาท
และนี่คือเรื่องราวของแบรนด์ JOURNAL
แบรนด์น้ำหอมที่เปรียบเสมือนการเดินทาง ที่ต้องออกไปพบเจอสิ่งต่าง ๆ ในประเทศไทย และนำเรื่องราวที่ได้สัมผัส กลับมาถ่ายทอดในรูปแบบของน้ำหอม
แบรนด์น้ำหอมที่เปรียบเสมือนการเดินทาง ที่ต้องออกไปพบเจอสิ่งต่าง ๆ ในประเทศไทย และนำเรื่องราวที่ได้สัมผัส กลับมาถ่ายทอดในรูปแบบของน้ำหอม
และเรื่องราวเหล่านั้นก็จะถูกส่งต่อให้กับผู้คนได้สัมผัสกัน ผ่านกลิ่นของน้ำหอม JOURNAL นั่นเอง..
References
-สัมภาษณ์พิเศษกับคุณป๊อด-จักรชลัช เกษจำรัส Chief Executive Officer (CEO) แบรนด์ JOURNAL
-https://www.journal-boutique.com/product/collections
-สัมภาษณ์พิเศษกับคุณป๊อด-จักรชลัช เกษจำรัส Chief Executive Officer (CEO) แบรนด์ JOURNAL
-https://www.journal-boutique.com/product/collections