กลยุทธ์ เลือกแบรนด์ เข้าพอร์ตร้านอาหาร ของ Minor Food
23 ก.ค. 2023
กลยุทธ์ เลือกแบรนด์ เข้าพอร์ตร้านอาหาร ของ Minor Food | BrandCase
รู้หรือไม่ว่า ร้าน The Pizza Company, Swensen’s, Dairy Queen, Sizzler และ Burger King
ร้านเหล่านี้ในไทย มีเจ้าของคนเดียวกัน นั่นคือ “บริษัท เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า Minor Food
ร้านเหล่านี้ในไทย มีเจ้าของคนเดียวกัน นั่นคือ “บริษัท เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า Minor Food
ซึ่ง Minor Food เป็นหนึ่งในผู้นำธุรกิจเชนร้านอาหาร ที่ใหญ่เป็นอันดับต้น ๆ ในเอเชีย
มีร้านอาหารในเครือกว่า 2,500 สาขา กระจายอยู่ใน 24 ประเทศทั่วโลก
มีร้านอาหารในเครือกว่า 2,500 สาขา กระจายอยู่ใน 24 ประเทศทั่วโลก
ที่น่าสนใจคือ แค่ประเทศไทยเพียงประเทศเดียว ก็มีร้านอาหารของเครือ Minor Food ไปแล้ว 1,914 สาขา ซึ่งแต่ละแบรนด์ร้านอาหารที่เลือกเข้ามาเปิดในไทย ก็ได้รับกระแสตอบรับดีทีเดียว
แล้ว Minor Food มีเทคนิคอะไร ? ในการคัดเลือกร้านอาหารเข้ามาเปิดในไทย
BrandCase หาคำตอบมาให้ทุกคนอ่านกัน
BrandCase หาคำตอบมาให้ทุกคนอ่านกัน
เรื่องนี้ คุณธันยเชษฐ์ เอกเวชวิท ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เคยให้สัมภาษณ์ถึง เทคนิคการนำเข้าร้านอาหารที่ใช่
Minor Food มีขั้นตอนการคัดเลือกและพิจารณาร้านอาหารที่เข้มงวดมาก ๆ เพื่อให้ได้ร้านอาหารที่ดีที่สุด มานำเสนอผู้บริโภคในประเทศไทย
โดยเกณฑ์การพิจารณาหลัก ๆ จะประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบสำคัญ คือ
1.สำรวจ (Exploration)
Minor Food จะทำการสำรวจและค้นหาร้านอาหารเบื้องต้น จากลิสต์ร้านอาหารที่ได้รับความนิยมสูงสุดจากหลาย ๆ ประเทศเป็นอย่างแรก
เพื่อหาว่าร้านที่ได้รับความนิยมเหล่านั้น มีร้านไหนบ้างที่โดดเด่นและถูกใจผู้บริโภค
2.ชิม (Taste)
เมื่อคัดเลือกร้านอาหารได้แล้ว Minor Food จะทำการส่งผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารไปที่ร้านเหล่านั้น เพื่อทดลองชิมว่ารสชาติอาหารเป็นอย่างไร
โดยจะดูทั้งรสชาติความอร่อยของอาหาร และมาคิดต่อว่ารสชาตินั้น สามารถนำมาปรับให้เข้ากับคนไทยได้ไหม
รวมถึงสไตล์ร้านอาหารที่เลือกมาตรงกับไลฟ์สไตล์ และพฤติกรรมการกินของคนไทยมากน้อยแค่ไหนด้วย
3.ความสำเร็จ (Success)
หลังจากได้ร้านอาหารที่อร่อยแล้ว Minor Food จะดูที่ความสำเร็จของร้านต่อไป
เช่น กระแสความนิยม ยอดขาย จำนวนสาขา ขนาดธุรกิจต้องมีขนาดที่ใหญ่ในระดับหนึ่ง
ไปจนถึง Brand Story เรื่องราวของร้านอาหาร ต้องมีที่มาและมีตำนานที่น่าสนใจ สามารถนำมาสร้างจุดขายและดึงดูดความสนใจจากผู้บริโภคได้
ซึ่งจุดนี้ถือเป็นหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ Minor Food ใช้ในการตัดสินใจเลือกเอาแต่ละร้านมาเปิดตัวในประเทศไทยด้วยเช่นกัน
ยกตัวอย่าง ร้านอาหารในเครือ Minor Food ที่เพิ่งเข้ามาเปิดในไทยเมื่อไม่นานมานี้อย่าง ร้านริเวอร์ไซด์ กริลล์ ฟิช แอนด์ หม่าล่า (Riverside Grilled Fish & Mala)
โดยในงานเปิดตัวร้าน คุณธันยเชษฐ์ ได้เล่าถึงเบื้องหลังของการนำร้านนี้เข้ามาเปิดในไทยด้วย
เริ่มจาก Minor Food ไปสำรวจร้านอาหารเจ้าดังในจีน แล้วเจอกับร้านริเวอร์ไซด์ กริลล์ ฟิช ซึ่งเป็นร้านอาหารสไตล์ฉงชิ่งและเสฉวน ที่กำลังได้รับความนิยมในหมู่คนจีน
หลังจากนั้นก็ส่งผู้เชี่ยวชาญเข้าไปชิมรสชาติ เมื่อได้ความเห็นว่า อาหารอร่อยมีความเผ็ดจัดจ้าน และมีเมนูซิกเนเชอร์ประจำร้านคือ ปลาย่างกระทะร้อนสไตล์ฉงชิ่ง ที่ขายดีต่อเนื่องและเป็นจุดเด่นที่ร้านใช้เรียกลูกค้าได้
ต่อมาจึงมองความสำเร็จของร้าน ด้วยขนาดของธุรกิจที่มีการเติบโต และขยายสาขาได้อย่างรวดเร็ว มีสาขารวม 149 สาขา ทั้งในประเทศจีน และประเทศสิงคโปร์
ซึ่งก่อนที่จะนำร้าน ริเวอร์ไซด์ กริลล์ ฟิช เข้ามาเปิดในไทย ก็มีการเก็บข้อมูลและปรับเปลี่ยนเมนูบางอย่างให้เหมาะกับคนไทยมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น ชนิดปลาที่คนไทยชอบทาน อย่างปลาเก๋า หรือปลากะพง
รวมไปถึงเมนูหม่าล่าผัด ประเภทอาหารจานเดียว แบบ DIY ที่ลูกค้าสามารถเลือกวัตถุดิบได้เอง
ตรงนี้ก็มีการเพิ่มชนิดของวัตถุดิบ ให้มีความหลากหลาย มากกว่าร้านในสาขาต่างประเทศ
ตรงนี้ก็มีการเพิ่มชนิดของวัตถุดิบ ให้มีความหลากหลาย มากกว่าร้านในสาขาต่างประเทศ
และปรับชื่อร้านเป็น ริเวอร์ไซด์ กริลล์ ฟิช แอนด์ หม่าล่า เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเข้าใจคอนเซปต์ของร้านได้ง่ายขึ้น
เมื่อพิจารณาครบทั้ง 3 องค์ประกอบสำคัญแล้ว บวกกับการวิเคราะห์แล้วเห็นว่า ตลาดอาหารจีนในไทยมีขนาดที่ใหญ่ และความต้องการจากผู้บริโภคเอง ก็สูงขึ้นเรื่อย ๆ
ทำให้ Minor Food ตัดสินใจเอาร้านริเวอร์ไซด์ กริลล์ ฟิช เข้ามาเปิดในประเทศไทยนั่นเอง
ปิดท้ายด้วยข้อมูลที่น่าสนใจ ผลประกอบการในไตรมาส 1 ปี 2566
Minor Food สามารถทำรายได้รวมทั้งหมด 7,728 ล้านบาท
Minor Food สามารถทำรายได้รวมทั้งหมด 7,728 ล้านบาท
คิดเป็น 24% ของรายได้รวมของบริษัทแม่ หรือก็คือ บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)